ReadyPlanet.com


ลำดับยศ


ปล.เพลงข้างบนนี้ไม่เกี่ยวกะบทความ


ฉันท์เรื่อง ความเปลี่ยนแปลง ซึ่งประพันธ์โดย อัศนี พลจันทร (นายผี) ฉากที่กล่าวถึง พระยาพล ผู้รั้งเมืองกาญจนบุรี(เจ้าเมืองกาญจนบุรี/ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี) ได้บรรยายถึงเหตุการณ์ พม่ามารอบปล้นราษฎรฝ่ายไทย พระยาพลจึงสั่งให้ระดมกำลังพล เพื่อไปแก้แค้นพม่าที่เมือง ปิล๊อก (เมือง ปิล๊อกติดจังหวัดกาญจนบุรี) พระยาพล รอบเข้าเมืองปิล๊อกและกุดหัว เจ้าเมืองปิล๊อก ขาดกระเด็น พร้อมทั้งยึดเอา หอกเพชร ของเจ้าเมืองพปิล๊อกไว้ ฉันท ๑๑ (แต่งโดยยึดเสียงเป็นเกณฑ์) นั้นมีความว่า

ขุนม่านบ่เข็ดขาม..........มาลอบปล้นที่ปลายเมือง
ยินความให้แค้นเคือง....ก็เคี้ยวกรามดั่งเพลิงกัลป์
แม้มึงแมลงเม่า............จะมาม้วยเมื่อสำคัญ
เพลิงแรงว่าแสงจันทร์...แลมาตอมก็ตายเปลือง
โดดลงที่กลางเรือน.......แลเร่งร้องทนายเมือง
มึงอยู่แลหูเหือง............มึงแหกแล้วแลฤาไฉน
ทนายมาฆาตฆ้อง.......ก็กึกก้องทั้งกรุงไกร
พอสิบสมุดไทย............ก็สะพรึบอยู่พร้อมกัน
เลิกยังปิล๊อกแล้ว...........แลเข้าล้อมระหิดระหัน
เวียนปล้นอยู่สามวัน......แลเลิกล่ามาโดยกล
ให้ซุ่มทหารหาญ............แลรหัสอย่าสับสน
ครั้นแล้วพระยาพล.........ก็ปลอมเข้า ณ กลางคืน
ไปซุ่มประตูจวน..............เจ้าเมืองม่านมียามยืน
มึงฤาที่โหดหืน...............จะประหารให้หายหัว
เอาฆ้องกระแตตี.............แลม่านตื่นยังเงียงัว
ร้องถามทั้งมึนมัว.............ว่านั่นมันอะไรหวา
สวนไปว่าไทยเข้า............มากลางเมืองอยู่แล้วรา
ขุนม่านทะลึ่งหา..............ได้หอกแล้วก็เร่งไป
พอโผล่ประตูจวน............พระยาพลก็เพิดไพ
มึงฤาที่ปล้นไทย..............แลมาพบพญายม
เจ้าเมืองปิล๊อกร้อง...........แลถลาเข้าแทงลม
ดาบร้ายที่เหลือคม...........ก็กุดหัวกระเด็นหาย

คำว่า สิบสมุดไทย เป็นสำนวน หมายถึง มากมายมหาศาล นั่นเอง

คำว่า สะพรึบ นี้ สุนทรภู่ เคยใช้ใน พระอภัยมณีคำกลอนความว่า

๏ แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์
สมมุติวงศ์ทรงนามท้าวสุทัศน์
ผ่านสมบัติรัตนานามธานี
อันกรุงไกรใหญ่ยาวสิบเก้าโยชน์
ภูเขาโขดเป็นกำแพงบูรีศรี
สะพรึบพร้อมไพร่ฟ้าประชาชี
ชาวบุรีหรรษาสถาวร


คำว่า ทนาย ในที่นี้มิได้หมายถึง ทนาย ในความหมายปัจจุบัน ทว่า ทนาย ในที่นี้หมายถึงตำแหน่ง พลทหาร จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) อรรถาธิบายเปรียบเทียบยศราชการพลเรือนในสมัยก่อนไว้ ความว่า


ยศข้าราชการพลเรือนในราชสำนักในอดีต
ยศข้าราชการพลเรือนในราชสำนักในสมัยก่อนพ.ศ. ๒๔๗๕ แบ่งได้เป็น ๓ ชนิดดังนี้


ตารางเทียบยศข้าราชการในราชสำนักกับยศทหารบก


กระทรวงวัง...........กรมมหาดเล็ก......ตำรวจหลวง......ยศทหารบก

มหาเสวกเอก.......จางวางเอก.........พระตำรวจเอก......พลเอก
มหาเสวกโท.........จางวางโท..........พระตำรวจโท.......พลโท
มหาเสวกตรี.........จางวางตรี..........พระตำรวจตรี........พลตรี
เสวกเอก..............หัวหมื่น.............ขุนตำรวจเอก.......พันเอก
เสวกโท...............รองหัวหมื่น.......ขุนตำรวจโท..........พันโท
เสวกตรี...............จ่า........................ขุนตำรวจตรี.....พันตรี
รองเสวกเอก......หุ้มแพร................นายตำรวจเอก......ร้อยเอก
รองเสวกโท.......รองหุ้มแพร..........นายตำรวจโท.........ร้อยโท
รองเสวกตรี.......มหาดเล็กวิเศษ......นายตำรวจตรี.........ร้อยตรี
-.....................มหาดเล็กสำรอง..........-...................ว่าที่ร้อยตรี
จ่าพันทนาย.....พันจ่าเด็กชา............นายหมู่ใหญ่.........จ่าสิบเอก
...........................................................................จ่าสิบโท
...........................................................................จ่าสิบตรี
พันทนายเอก...พันเด็กชาเอก.............นายหมู่เอก.........สิบเอก
พันทนายโท....พันเด็กชาโท..............นายหมู่โท...........สิบโท
พันทนายตรี....พันเด็กชาตรี...............นายหมู่ตรี............สิบตรี
พันทนาย........เด็กชา.........................พลตำรวจ ........พลทหาร


ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเปิดอ่านกลอนจาก นิตยสาส์น์ ศาลาคนเศร้า ได้พบบทความเกี่ยวกับ การเทียบบรรดาศักดิ์ ข้าราชการในสมัยก่อน ด้วยความรีบร้อนในการจดจึงมิได้ จด ว่าเป็นประจำฉับบที่เท่าไร เนื้อหามีอยู่ว่า


บรรดาศักดิ์..................ยศ/ซี..................................ศักดินา-ไร่

สมเด็จเจ้าพระยา.......จอมพล/ซี ๑๑....................๕๐,๐๐๐ ขึ้นไป
เจ้าพระยา...................พลเอก/ซี ๑๐.....................๒๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐
พระยา.........................พลตรี-พลโท/ซี ๘-๙.......๕,๐๐๐-๘,๐๐๐
พระ.............................พันเอก/ซี ๖-๗..................๓,๐๐๐-๕,๐๐๐
หลวง...........................พันตรี-พันโท/ซี ๔-๖.....๑,๐๐๐-๓,๐๐๐
ขุน...............................ร้อยตรี-ร้อยเอก/ซี ๓-๔...๕๐๐-๑,๐๐๐
หมื่น............................จ่า-นายดาบ/ซี ๑................๕๐-๑๐๐
พัน...............................สิบตรี-สิบเอก...................๒๓-๓๐
ทนาย...........................พลทหาร............................๑๐-๑๕

อ้างอิง
อมรดรุณารักษ์, จมื่น (แจ่ม สุนทรเวช). พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องกำเนิดนามสกุล เล่ม ๑-๒ : กำเนิดนามสกุล. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๑.




ผู้ตั้งกระทู้ กวินทรากร :: วันที่ลงประกาศ 2007-11-13 18:24:11


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (938121)
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2007-11-13 18:24:52


ความคิดเห็นที่ 2 (938122)

เอ....อย่างเรานี่..ยศ...อะไรใน"แต่ปางก่อน"...น้า???

ผู้แสดงความคิดเห็น ภูสุภา วันที่ตอบ 2007-11-14 13:09:47


ความคิดเห็นที่ 3 (938123)
ยศปางก่อนของท่านคือ"ยศไปเหม็ด"
ผู้แสดงความคิดเห็น คนจัดลำดับยศ วันที่ตอบ 2007-11-14 21:08:50


ความคิดเห็นที่ 4 (938124)

:-(

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-11-16 14:35:12


ความคิดเห็นที่ 5 (938125)

อย่า ทา ลึง ทลึ่ง ทลึ่ง ทลึ่ง

 
ผู้แสดงความคิดเห็น ทิดโหน่ง วันที่ตอบ 2007-11-16 15:12:02


ความคิดเห็นที่ 6 (938126)

 

 

กลิ่นอายเพลงนี้..ชวนให้คิดถึงเพลงในStreet frier....เพลงสุดท้ายของเรื่องจังค่ะ.....จำชื่อเพลงไม่ได้

 

เนื้อหาไม่แน่ใจ

แต่จังหวะร็อคและ...กลิ่นอายคล้ายจัง...Tonight is seem to be young

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สาวน้อง วันที่ตอบ 2007-11-16 21:41:25


ความคิดเห็นที่ 7 (938127)

 

        วานผู้ดูแลเวบ เก็บขยะ ความเห็นที่ ๓ ทิ้งเสียที

ผู้แสดงความคิดเห็น พิกกาจู้ วันที่ตอบ 2007-11-18 14:21:29


ความคิดเห็นที่ 8 (938128)

ยอดเยี่ยมมากครับคุณกวินฯ

ส่วนท่าน คห.3 ยอดแย่เหมือนกันครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เทาแดง วันที่ตอบ 2007-11-19 10:20:59


ความคิดเห็นที่ 9 (938129)
ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ  ทางเวปน่าจะให้มีการลงทะเบียนสมัครสมาชิกก็ดีนะครับ หรือ แสดง เลขไอพีก็ได้
ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-11-19 13:02:33


ความคิดเห็นที่ 10 (938130)
ปวสฺตก คาถา (ปวสฺตก ฉันท์)
ยโส จลาโภ จ กิตฺติ จ
นิจฺจ ธัมฺมิกา เนว โหนฺติกา
วินาส ธมฺมา ว ปณฺฑิโต
ตาสุ มชฺชโต สพฺพทา ภเว

ชื่อเสียงลาภยศเบี้ย บริวาร
ฤาอยู่ยั่งยืนนาน เที่ยงแท้
ย่อมอันตรธาน ทุกเมื่อ
ปราชญ์ไป่มัวเมาแล้ เลิศสร้างทางเขษม

ลาภยศบริวารชื่อเสียงก็ดี
ไม่มีสภาวะอันมั่นเที่ยง
ย่อมมีสภาวะอันรู้ฉิบหายไป
เหตุนั้นบัณฑิตไม่พึงมัวเมาในกาลทุกเมื่อ
ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-11-21 21:14:03


ความคิดเห็นที่ 11 (2107653)

invisible lace wigs hair costumes types such as Brazilian wigs but are more natural looking blonde wig black hair extension.

ผู้แสดงความคิดเห็น chronomat (aiden-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 11:13:55


ความคิดเห็นที่ 12 (2322137)

ขายสุนัข เว็บขายสุนัข http://www.thaidogs.net

ผู้แสดงความคิดเห็น thaidogs (x-at-x-dot-com)วันที่ตอบ 2012-12-20 04:11:30


ความคิดเห็นที่ 13 (2322138)

ตรวจสลากฟรี เว็บตรวจสลาก http://www.lottoasian.com

ผู้แสดงความคิดเห็น lottoasian (x-at-x-dot-com)วันที่ตอบ 2012-12-20 04:11:36


ความคิดเห็นที่ 14 (4116025)
เมื่อใดได้ยลกลอน...แสนจะหลอน..นอนร้อง..อ้าวเฮ้ย..ไม่เหมือนที่คุยกันไว้นี่น่า...!!!
ผู้แสดงความคิดเห็น จอมยุทธ เสร่อแมน วันที่ตอบ 2017-01-14 00:04:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.