ReadyPlanet.com


อะไร



       บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณบทนี้เป็นคำประพันธ์ชนิดใด

       องค์ใดพระสัมพุทธ     สุวิสุทธสันดาน
       ตัดมูลเกลศมาร         บมิหม่นมิหมองมัว
       หนึ่งในพระทัยท่าน     ก็เบิกบานคือดอกบัว
       ราคีบพันพัว               สุวคนธกำจร
       องค์ใดประกอบด้วย    พระกรุณาดังสาคร
       โปรดหมู่ประชากร      มลโอฆกันดาร
       ชี้ทางบรรเทาทุกข์      และชี้สุขเกษมสานต์
       ชี้ทางพระนฤพาน       อันพ้นโศกวิโยคภัย
       พร้อมเบญจพิธจัก      ษุจรัสวิมลใส
       เห็นเหตุที่ใกล้ไกล      ก็เจนจบประจักษ์จริง
       กำจัดน้ำใจหยาบ        สันดานบาปแห่งชายหญิง
       สัตว์โลกได้พึ่งพิง        มลบาปบำเพ็ญบุญ
       ข้าขอประณตน้อม      ศิระเกล้าบังคมคุณ
       สัมพุทธการุญ            ญภาพนั้นนิรันดร.


 





ผู้ตั้งกระทู้ พิกกาจู้ :: วันที่ลงประกาศ 2008-03-07 13:37:15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (985526)
กาพย์ยานี ๑๑
ผู้แสดงความคิดเห็น อุดรรังสี วันที่ตอบ 2008-03-07 15:26:51


ความคิดเห็นที่ 2 (985954)
  • เสียง สระอำ เหมือนมี ม. สะกด  เป็นครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้ ไม่ค่อยมีเณฑ์ตายตัว
  • ขึ้นอยู่กับว่า สระอำ จะอยู่ตรงไหนของประโยค
  • เพราะคำครุบางคำเวลาพูดในประโยค เสียงก็กลายเป็นลหุได้ ขึ้นอยู่กับกระสวนเสียง ของแต่ละชาติ แต่ละท้องถิ่น (มีอ้างไว้ในหนังสือชื่อ ภาษาศาสตร์เบื้องต้น : ศ.ดร.อุดม วิโรตม์สิกขดิตถ์ อรรถาธิบาย เรื่องกระสวนเสียง/การออกเสียง  ) 
  • ในสมัยอยุธยา กวีแต่ง ฉันท์โดยยึดเสียงหนักเบาเป็นเกณฑ์ โดยอ่านออกเสียงแล้วใช้หูฟัง คำบางคำเป็นคำ ครุ แต่เมื่ออ่านออกเสียงทำนองเสนาะแล้ว เสียงแผ่วลงเป็น ลหุ ฉะนั้นฉันท์ ไทย กับฉันท์ของอินเดีย ก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ของอินเดีย ยากกว่า
  • สมัย ร.6  ท่านทรงมีพระราชดำริให้ มีเกณฑ์ที่แน่ชัดในการแต่งฉันท์ จึงทรงให้ยึด รูปพยัญชนะ เป็นเกณฑ์ (สมัยโบราณยึดเสียงพยัญชนะเป็นเกณฑ์) ในการแต่งฉันท์ ฉะนั้นความไพเราะของคำฉันท์ ยุคหลังสมัย ร.6 จึงขาดความไพเราะลงไปมาก
  • สาเหตุเพราะคำลหุบางคำ เมื่ออยู่ในประโยค เวลาอ่านออกเสียงก็กลายเป็นเสียงครุไปก็มี
  • หากนำ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 ที่แต่งในสมัยอยุธยามาให้นักเรียนสมัยนี้ดู นักเรียนสมัยนี้ก็ต้องบอกว่าเป็น กาพย์ยานี 11 แน่ๆ เพราะนักเรียนสมัยนี้ ถูกฝึกมาให้ดูรูปพยัญชนะเป็นเกณฑ์ในการแต่งฉันท์ ยกตัวอย่างเช่น สมุทรโฆษคำฉันท์
  • พระสมุทรโฆษรำพันถึงนางพินทุมดี

    ๏อ้าแม่ผู้มีหน้า...............คือศศิอันเรืองรอง
    ราษตรีตระการสอง..........สุข(ะ)เล่นดีศรี

    ๏คิดเอวลำเภาเยา-...........พ(ะ)ดิพาล(ะ)พันลี
    คิดนมกรรพุมนี-...............รช(ะ)รัตน(ะ)เรียม
    ผจง

    ๏คิดคิ้วคำนวณนวย..........คือธนูอันก่งยง
    ตรูตาตระบอก บง.............บมิแล้วและติดใจ

    ๏คิดท้องสร(ะ)แทบพาง......นพ(ะ)โรม(ะ)เรืองไร
    คิดแก้มสร(ะ)แหล้มใส........และตระศักดิ์สมบูรณ์ปราง

    ๏บุญใดนี้โททำ..................และมานำไปสมนาง
    บาปใดนี้หนอปาง...............มาบำราส งางาม

    ๏สุดท้าย เที่ยวหา...........ทุกตำบลนาราม
    บ พบ ธูทราม..................รักษ(ะ)ท้าว นิราสา

    • คำตัวเขียว สันนิษฐานว่า โบราณท่านถือว่าเป็น คำลหุ ครับ
    • คือศศิอันเรืองรอง ถ้าสมัยนี้คำว่าคือ นั้นเป็น คำครุ ส่วน ศศิ เป็นลหุ แต่ คำฉันท์โบราณนี้ ยึดเสียงเป็นเกณฑ์ ลองอ่านออกเสียงก็จะพบว่า คำว่า "คือศ(ะ)"  เสียงเบากว่า ศิ และกระสวนเสียงถูกเน้นเสียงหนักที่คำว่า "ศิ"  ไปแผ่วเผาอีกทีที่คำว่า "อัน"
    • คำว่า ผจง = ปทันตครุ
    • คำว่า รัตน(ะ) ต้องอ่าน รัด-นะ เพื่อให้ได้คณะฉันท์
    • เทคนิคและลีลาแบบนี้นายผี เลียนแบบมาจาก ของโบราณ ครับ จึงทำให้ คำฉันท์ของนายผี มีลีลาแบบ อยุธยา ครับ

    ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-03-07 21:10:31


    ความคิดเห็นที่ 3 (985959)
    http://gotoknow.org/blog/kelvin/168820
    ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-03-07 21:12:38


    ความคิดเห็นที่ 4 (987739)

    อินทรวิเชียรฉันท์ 11 มั้ง

    ผู้แสดงความคิดเห็น รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง วันที่ตอบ 2008-03-09 14:07:00


    ความคิดเห็นที่ 5 (988172)
    อินทรวิเชียรฉันท์ น่าจะเป็นไปได้กว่ากาพย์ยานีคับ อย่าบอกว่ามันมีในเอเนตด้วย เหอะๆ
    ผู้แสดงความคิดเห็น กะติฆ วันที่ตอบ 2008-03-10 00:18:42



    [1]


    แสดงความคิดเห็น
    ความคิดเห็น *
    ผู้แสดงความคิดเห็น  *
    อีเมล 
    ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



    Copyright © 2010 All Rights Reserved.