ReadyPlanet.com


โคลงสี่สุภาพที่มีตำหนิ


     ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพมีอยู่อย่างไร สามารถค้นคว้าหาความรู้ได้ไม่ยาก ทุกตำราพูดตรงกัน เว้นแต่ข้อควรรู้ปลีกย่อยซึ่งนักเลงโคลงเขาถือเป็นข้อเคร่งครัดไม่ยอมละเลยเป็นอันขาด แต่ตำราเหล่านั้นมิได้พูดถึง
     โคลงสี่สุภาพที่วรรคแรก คำสุดท้าย ลงไว้โดยไม่มีรูปวรรณยุกต์ คำที่มารับสัมผัสคำต่อ ๆ ไปก็ต้องไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น
       อันใดย้ำแก้มแม่       หมองหมาย
       ยุงเหลือบฤาริ้นพราย       ลอบกล้ำ
       ผิวชนสิจะกราย       ยังยาก
       ใครอยากจะให้ช้ำ       ชอกเนื้อเรียมสงวน

       หากเป็นว่า
       อันใดยำแก้มแม่       หมองหม่น
       คำว่า หม่น มีรูปวรรณยุกต์เอก คำที่มารับสัมผัสคำต่อไปก็ต้องมีรูปเดียวกันคือ เอก (เสียงสระเดียวกัน)

       หากเป็นว่า
       อันใดยำแก้มแม่       หมองเศร้า
       คำว่า เศร้า มีรูปวรรณยุกต์โท คำที่มารับสัมผัสคำต่อไปก็ต้องมีรูปเดียวกันคือ โท (เสียงสระเดียวกัน)

       โคลงสี่สุภาพเขียนได้เด็ดขาดเพียงใดหากไม่เป็นไปตามที่กล่าวนี้ โคลงสี่สุภาพสำนวนนั้น มีตำหนิ



ผู้ตั้งกระทู้ พิกกาจู้ :: วันที่ลงประกาศ 2007-10-05 16:37:49


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (937949)

ขออนุญาตเสริม

เนื่องจากการเห็นโคลงที่คนในปัจจุบันเขียนกัน มักพบสร้อยเจตนัง ขอความกรุณาผู้เชี่ยวชาญด้านโคลงมาให้ความรู้อย่างถี่ถ้วนเพื่ประโยชน์แก่ผู้สนใจอีกประการหนึ่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น พาร วันที่ตอบ 2007-10-07 07:30:05


ความคิดเห็นที่ 2 (937950)
สร้อยเจตนัง เป็นอย่างไร ไม่เคยได้ยินคำนี้เลย
ผู้แสดงความคิดเห็น นักเรียนชั้นม.๒ วันที่ตอบ 2007-10-07 11:35:03


ความคิดเห็นที่ 3 (937951)

คำสร้อยที่นิยมใช้กันมาแต่โบราณนั้น มีทั้งหมด ๑๘ คำ ดังนี้

๑. "พ่อ" ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล เช่น ฤทธิ์พ่อ, นี้พ่อ, นาพ่อ ฯลฯ
ศัตรูหมู่พาลา ...................................... พาลพ่าย ฤทธิ์พ่อ

๒. "แม่" ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล หรือเป็นคำร้องเรียก เช่น แม่แม่, มาแม่ ฯลฯ
แสนศึกแสนศาสตร์ซ้อง ......................... แสนพัน มาแม่

๓. "พี่" ใช้ขยายความเฉพาะบุคคล อาจทำหน้าที่เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ หรือบุรุษที่ ๒ ก็ได้ เช่น เรือพี่, ฤๅพี่ ฯลฯ
สองเขือพี่หลับไหล ............................... ลืมตื่น ฤๅพี่

๔. "เลย" ใช้ในความหมายเชิงปฏิเสธ เช่น เรียมเลย, ถึงเลย ฯลฯ
ประมาณกึ่งเกศา ................................. ฤๅห่าง เรียมเลย

๕. "เทอญ" มีความหมายในเชิงขอให้มี หรือขอให้เป็น เช่น ตนเทอญ ฯลฯ
สารพัดเขตจักรพาล ............................ ฟังด่ำ บลเทอญ

๖. "นา" ดังนั้น เช่นนั้น
จำบำราศบุญเรือง .............................. รองบาท พระนา


๗. "นอ" มีความหมายเช่นเดียวกับคำอุทานว่า "หนอ" หรือ "นั่นเอง"
ยอกไหล่ยอกตะโพกปาน ..................... ปืนปัก อยู่นอ

๘. "บารนี" สร้อยคำนี้ นิยมใช้มากในลิลิตพระลอ มีความหมายว่า "ดังนี้" "เช่นนี้"
กินบัวอร่อยโอ้ .................................. เอาใจ บารนี

๙. "รา" มีความหมายละเอียดว่า "เถอะ" "เถิด"
วานจวนชำระใจ ................................ ความทุกข์ พี่รา

๑๐. "ฤๅ" มีความหมายเชิงถาม เหมือนกับคำว่า หรือ
มกุฏพิมานมณ ................................. ฑิรทิพย์ เทียมฤๅ

๑๑. "เนอ" มีความหมายว่า ดังนั้น "เช่นนั้น"
วันรุ่งแม่กองทวิ ................................ ทศพวก นายเนอ

๑๒. "ฮา" มีความหมายเช่นเดียวกับ คำสร้อย นา
กวัดเท้าท่ามวยเตะ ............................ ตึงเมื่อย หายฮา

๑๓. "แล" มีความหมายว่า อย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
กัลยาเคยเชื่อไว้ ............................... วางใจ มาแล


๑๔. "ก็ดี" มีความหมายทำนองเดียวกับ ฉันใดก็ฉันนั้น
นิทานนิเทศท้าว ................................. องค์ใด ก็ดี

๑๕. "แฮ" มีความหมายว่า เป็นอย่างนั้นนั่นเอง ทำนองเดียวกับคำสร้อย แล
อัชฌาสัยแห่งสามัญ ........................ บุญแต่ง มาแฮ

๑๖. "อา" สร้อยคำนี้ไม่มีความหมายแน่ชัด แต่จะวางไว้หลังคำร้องเรียกให้ครบพยางค์
เช่น พ่ออา แม่อา พี่อา หรือเป็นคำออกเสียงพูด ในเชิง รำพึง แสดงความวิตกกังวล
เป็นไฉนจึงด่วนทิ้ง .......................... น้องไป พี่อา

๑๗. "เอย" ใช้เมื่ออยู่หลังคำร้องเรียก เหมือนคำว่า เอ๋ย หรือวางไว้ให้คำครบตามบังคับ
จำปาจำเปรียบเนื้อ .......................... นางสวรรค์ kuเอย

๑๘. "เฮย" ใช้ในลักษณะที่ต้องการเน้น ให้มีความเห็นคล้อยตามข้อความที่กล่าวมาข้างหน้า
สร้อยคำนี้มาจากคำเขมรว่า "เหย" แปลว่า "แล้ว" ดังนั้นเมื่อใช้ในคำสร้อย จึงน่าจะมีความหมายว่า
เป็นเช่นนั้นแล้ว ได้เช่นกัน
ขึ้นดั่งชัยพฤกษ์พร้อม ....................... มุรธา ภิเษกเฮย

คำสร้อยทั้ง ๑๘ คำที่กล่าวมานี้ เป็นคำสร้อยแบบแผน ที่ใช้กันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว
ยังมีคำสร้อยอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "สร้อยเจตนัง" เป็นคำสร้อยที่กวี ต้องการให้เป็นไปตามใจของตน
หรือใช้คำสร้อยนั้นโดยจงใจ ผู้ที่เริ่มฝึกหัดการประพันธ์ ควรใช้แต่สร้อยที่เป็นแบบแผน
หลีกเลี่ยงการใช้สร้อยเจตนัง ในงานกวีนิพนธ์ที่เป็นพิธีการ ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน สร้อยแบบนี้ไม่พบบ่อยนัก
ในวรรณกรรมเก่า จึงหาตัวอย่างได้ยาก เช่น
หายเห็นประเหลนุช .......................... นอนเงื่อง งงง่วง
พวกไทยไล่ตามเพลิง ........................ เผาจุด ฉางฮือ
ลัทธิท่านเคร่งเขมง .......................... เมืองท่าน อือฮือ

การใช้คำสร้อยของกวีในอดีต แต่ละท่านมีความนิยมแตกต่างกัน ในงานประพันธ์บางชิ้น
ที่ไม่ทราบว่าท่านใดเป็นผู้ประพันธ์ อาจใช้รูปแบบความนิยมในการใช้คำสร้อย เป็นสิ่งช่วยวินิจฉัยว่า
ผลงานนั้นเป็นของกวีท่านใดได้ 
 
 จาก lek Isara

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-10-07 20:06:00


ความคิดเห็นที่ 4 (937952)

                         

 

                                          ดีจัง

ผู้แสดงความคิดเห็น พิกกาจู้ วันที่ตอบ 2007-10-07 22:47:52


ความคิดเห็นที่ 5 (937953)

ขอคำแนะนำเพิ่มเติมในการเขียนโคลงนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ขอให้ท่านผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์กรุณาให้ความรู้ในเรื่องการเขียนโคลงรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นวิทยาทาน เพราะมีครูอาจารย์ นักเรียนเข้าชมเว็บไซต์ของสมาคมนักกลอนฯเป็นจำนวนมาก

ผู้แสดงความคิดเห็น ครูภาษาไทย วันที่ตอบ 2007-10-08 06:29:19


ความคิดเห็นที่ 6 (937954)

       จากความเห็นที่ ๓( กวินทรากร)  "สร้อยเจตนัง" คือ คำสร้อยที่ไม่นำคำใดคำหนึ่งในจำนวน ๑๘ คำมาวางไว้ในคำสุดท้ายของคำสร้อย เช่น..
       โฉมควรจักฝากฟ้า        ฤาดิน  ดี
หนอ
       หรือ...
       หากสยามพินาศลง       ไทยอยู่   ได้
ไหม
       หรือ...
        เรือแผงช่วยพานาง       เมียงม่าน   มาที

       สร้อยเจตนัง แปลตามรูปศัพท์ คำสร้อยที่ตั้งใจ ซึ่งในข้อเท็จจริงผู้ประพันธ์อาจไม่มีความรู้ในกฏเกณฑ์ข้อบังคับของการใช้คำสร้อยก็ได้

       โคลงสี่สุภาพมีลีลาสุภาพอ่อนหวานเปรียบกิริยาของหญิงสาวสมัยโบราณ ร่าย ก็เช่นกัน ส่วนฉันท์เปรียบเช่นนักพรต กิริยาท่าทางขรึมขลังน่าเกรงขาม กาพย์ เปรียบบุรุษหนุ่มเข้มแข็งฮึกเหิม คล่องแคล่วในทุกอิริยาบท ส่วน กลอน เปรียบได้กับหญิงสาวรุ่นมีจริตจะก้าน เปิดเผยและเชิญชวน
       เมื่อจะเริ่มต้นเขียนเรื่อง ควรนำชนิดคำประพันธ์ใดมารองรับเนื้อหา โปรดพิจารณาเอาตามอัธยาสัย
      

      

ผู้แสดงความคิดเห็น พิกกาจู้ วันที่ตอบ 2007-10-08 15:41:43


ความคิดเห็นที่ 7 (937955)

เคยฟังมาจาก "ป้าอนงค์ อินทรัมพรรย์" กวีผู้เชี่ยวชาญบทโคลง

ท่านเคยบอกให้ฟังว่า... "โคลงสุภาพ" หมายถึงโคลงที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์อยู่ผิดที่ผิดทาง ซึ่งจะทำให้บทโคลงดูรกรุงรัง ดังนั้นคนที่เขียนโคลงเป็น จึงไม่เขียนคำที่มีวรรณยุกต์อยู่ผิดที่ผิดทาง นอกจากจะเอาไว้ตรงที่บังคับไว้เท่านั้น

ยิ่งใช้คำที่มีวรรณยุกต์ ไปอยู่ตรงคำที่ห้าของวรรคที่ ๒-๓ น่าจะถือว่าผิดฉันทลักษณ์อย่างแรง

ผู้แสดงความคิดเห็น บาชัน วันที่ตอบ 2007-10-10 17:48:06


ความคิดเห็นที่ 8 (937956)
"โคลงสี่สุภาพ"

คือรูปแบบโคลงชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกจัดระเบียบใหม่เรียบร้อยเมื่อนานมาแล้ว
และหมายถึง

-โคลงที่มีข้อบังคับว่าด้วย เอกเจ็ดแห่ง และโทสี่แห่ง
-โคลงที่มีตำแห่ง "คำสุภาพ" อยู่สี่แห่ง เรียกว่า สี่สุภาพ
ตำแหน่งทั้งสี่ของคำสุภาพประกอบด้วย

คำที่เจ็ด วรรคท้าย ของบาทแรก
คำที่ห้า วรรคแรก ของบาทที่สอง
คำที่ห้า วรรคแรก ของบาทที่สาม
คำสุดท้าย วรรคท้าย ของบาทที่สี่(บาทจบ)


ผู้แสดงความคิดเห็น คนนอก วันที่ตอบ 2007-10-11 01:17:01


ความคิดเห็นที่ 9 (937957)

สวัสดีทุกท่านค่ะ..แวะมาศึกษาความรู้เพิ่มเติมค่ะ...กรุณาแนะนำบ้างนะคะ..

ผู้แสดงความคิดเห็น ณ..กมล วันที่ตอบ 2007-10-25 17:26:36


ความคิดเห็นที่ 10 (937958)

ผมเข้าใจมากเลยครับ

*--------------------*

ชอบจัง 

ผู้แสดงความคิดเห็น อย่ากกำ .... วันที่ตอบ 2007-11-28 20:41:09


ความคิดเห็นที่ 11 (1750950)

ความหมายโคลง

ผู้แสดงความคิดเห็น 1122 วันที่ตอบ 2008-05-21 13:28:04


ความคิดเห็นที่ 12 (1750953)

ความหมายโคลง

ผู้แสดงความคิดเห็น 1122 วันที่ตอบ 2008-05-21 13:31:27


ความคิดเห็นที่ 13 (1750958)
รักมู๋
ผู้แสดงความคิดเห็น 1234 วันที่ตอบ 2008-05-21 13:37:23


ความคิดเห็นที่ 14 (1893020)
  ขอบคุณ ความรู้ใหม่                  
ผู้แสดงความคิดเห็น หน่อย วันที่ตอบ 2009-01-26 15:58:37


ความคิดเห็นที่ 15 (1893026)

          ชีวิตต้องต่อสู้     ขนาดไหน

โปรดช่วยแถลงไข     ใคร่ร้อง

เปียกแฉะฉี่อย่างไร    บอกเล่า

ทุกข์ยิ่งกรรมจดจ้อง   ถ่องแท้อย่างไร

            ชีวิตต้องต่อสู้   ทราบไหม

จึงช่วยแถลงไข           ใคร่รู้

เปียกแฉะฉี่สดใส         หอมกลิ่น จริงนา

สุขยิ่งเรี่ยวแรงสู้           ก่อกู้ สมคน   

ผู้แสดงความคิดเห็น ไข่มุกราณี วันที่ตอบ 2009-01-26 16:09:50


ความคิดเห็นที่ 16 (2107184)

fake lv wallets for men chanel wallet and Applegates creative approach to louis vuitton PVC with black lining This handbag louis vuitton travel bags mens fake gucci wallets.

ผู้แสดงความคิดเห็น constantin (eudora-at-aol-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 08:05:40


ความคิดเห็นที่ 17 (2108817)

เศร้าสร้อยเป็นอุทานเสริมบทหรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น aa วันที่ตอบ 2010-09-14 10:51:54


ความคิดเห็นที่ 18 (4136422)
Lisa, no-one is emotionally unavailable for someone in particular. You can’t just turn yourself into an unavailable person for one person because you’re not that into them. Someone can be emotionally available and not interested or even not that interested in you. You can’t *make* him EU and to put yourself at the centre of this man’s thinking and problems, is to not only give yourself a power that you don’t have, but is to completely distort the truth and absolve this man of his character, actions, and responsibility. He’s not EU *to* you – you’ve chosen to be involved with him when he’s not over his feelings from a previous relationship. You could substitute a million and one women, and whichever you was next in line and around when he was feeling around for a Buffer, you were going to get it. It’s not you. You can keep making it about you, but it’s not you. falso orologio serpente http://www.bzero1jewelry.net/it/bulgari-serpenti-tubogas-35mm-orologio-in-acciaio-sp35c6ss2t-p-223.html
ผู้แสดงความคิดเห็น falso orologio serpente (ddeyahf-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2017-02-15 01:02:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.