ReadyPlanet.com


เจ้าสุพานุวง-เจ้าชายผู้อภิวัฒน์ลาว


 

แม้เหตุการ
ณ์ พฤษภาวิปโยค ’53 จะผ่านมาหลายเดือนแล้ว ทว่าในความรู้สึกของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกคนคงมิอาจลบลืมไปได้ง่ายๆ บาดแผลซ้ำๆ ทางประวัติศาสตร์การเมืองอันนี้ได้บอกอะไรแก่เรา-ท่าน ผู้อยู่ในยุคที่คำว่า ‘ขอคืนพื้นที่’ เป็นคำอันตรายบ้าง
เดือนพฤษภาคม สำหรับเมืองไทยหากว่ากันตามจริงแล้ว เป็นเดือนแห่งรุ่งอรุณสำหรับเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนมากของประเทศนี้  เดือนแห่งการเพาะปลูก กระทั่งพิธีการฝ่ายหลวงยังถือเอาเดือนนี้จัดงานแรกนาขวัญ เสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ชาวไร่ชาวนาทั่วประเทศ  ยังไม่รวมไปถึงว่า เป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองเศวตฉัตร วันบรมราชาภิเษก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้  ...แต่แล้ว เดือนพฤษภาคม กลับเปลี่ยนกลายเป็นเดือนแห่งความเจ็บร้าวเพิ่มบาดแผลบนใบหน้าประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยซ้ำๆ ซากๆ (ไม่ต่างจากเดือนตุลาคม)
ยึดตามแผนที่โลกจากเมืองหลวงของไทย-กรุงเทพมหานคร ผินหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสิบสามนาฬิกา ณ ประเทศบ้านพี่เมืองน้องลาว  เดือนเดียวกันนี้เป็นเดือนแห่งการ ‘โตนคุกเพื่อเปลี่ยนประเทศ’ ของ เจ้าสุพานุวง อดีตผู้นำของแนวลาวรักชาติกับผู้นำอื่นๆ หลบหนีออกจากคุกโพนเค็งเมื่อ 50 ปีก่อน ทางการลาวจึงมีกิจกรรมที่น่าสนใจยิ่ง นั่นคือ มอบรถกระบะจำนวน 10 คันให้แก่อดีตสารวัตรทหารของรัฐบาลลาวฝ่ายขวาที่เคยช่วยเจ้าสุพานุวงและสหายในคราวนั้น โดยข่าวมีว่า
   “...นายบุนทอง จิตมะนี ได้มอบกุญแจรถกระบะฟอร์ดเรนเจอร์ แก่ พล.จ.คำแวว สีโคดจุนละมะนี นายทหารนอกราชการ ซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติ และเป็นอดีตสารวัตรทหารของรัฐบาลฝ่ายขวา 1 ใน 10 คนที่เคยช่วยนำ "เจ้าชายแดง" กับผู้นำอื่นๆ ออกจากคุกโพนเค็ง เมื่อ 50 ปีก่อน พรรคประชาชนปฏิวัติลาวได้มอบรถกระบะฟอร์ดจำนวน 10 คัน ให้กับอดีตทหารเหล่านั้น และ มี 5 คนที่เสียชีวิตไปแล้ว จึงมอบให้ภรรยาแทน  พิธีมอบจัดขึ้นวันที่  24 พ.ค. ที่สำนักงานศูนย์กลางพรรค โดยนายบุนทอง จิตมะนี หัวหน้าคณะกรรมการจัดตั้งศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นประธาน ทั้งนี้ เพื่อตอบแทนคุณงามความดี และผลงานอันล้ำเลิศของ บรรดาท่านที่ได้ประกอบส่วนในการเอาผู้นำออกจากคุกโพนเค็งอย่างมหัศจรรย์ แต่อดีต สห.เหล่านั้นได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว 5 คน จึงได้มอบรถกระบะให้แก่ภรรยาแทน สื่อของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวกล่าว 
   เหตุการณ์แหกคุกครั้งประวัติศาสตร์ดังกล่าว เกิดขึ้นเวลาหลังเที่ยงคืนวันที่ 23 พ.ค.2503 หรือ เช้าตรู่วันที่ 24 พ.ค. หลังจากอดีตผู้นำระดับสูง จำนวน 7 คน ถูกจับกุมและถูกนำตัวไปคุมขังยังเรือนจำแห่งนั้นมา ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ค.2502 ทั้งหมดเป็นผู้แทนแนวลาวรักชาติที่ถูกจับกุมหลังจากที่เข้าร่วมในรัฐบาลผสมกับฝ่ายขวา ประกอบด้วยเจ้าสุพานุวง "เจ้าชายแดง" นายหนูฮัก พูมสะหวัน นายพูมี วงวิวิต นายพูน สีปะเสิด นายสีซะนะ สีสาน นายคำผาย บุปผา และ นายสีทน กมมะดำ ซึ่งได้ล่วงลับไปแล้วทั้งหมด  สองคนสุดท้ายที่ถึงแก่กรรมเมื่อไม่กี่ปีมานี้คือ นายคำผาย อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว กับ นายหนูฮัก อดีตประธานประเทศถึงแก่อนิจกรรมเดือน ต.ค.2551
   นอกจากนั้นยังมีฝ่ายทหารอีกจำนวน 9 นาย ที่ถูกส่งไปเข้าร่วมกับรัฐบาลผสมดังกล่าว ประกอบด้วย นายพลสิงกะโป นายมา ไขคำพิทูน นายหมื่น สมวิจิต นายเผ้า พิมพะจัน นายคำเพ็ด พมมะวัน มหาสมบูน หวังหน่อบุนทำ นายบัวสี จะเลินสุก นายภูเขา กับ นายมานะ   ตามประวัติศาสตร์ในช่วงปีดังกล่าว แนวลาวสร้างชาติโดยอดีตประธานไกสอน พมวิหาน ได้สั่งให้ฝ่ายต่างๆ ต้องนำบรรดาผู้นำออกจากที่คุมขังให้ได้ ก่อนจะถูกลาวฝ่ายขวาสั่งประการชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต...”
                                                                                (ข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤษภาคม 2553)

   เหตุการณ์เล็กๆ นี้ ประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน (แต่มักไม่สนใจบ้านใกล้มุ่งผูกมิตรอยู่แต่เรือนไกลเสียส่วนใหญ่) น่าจะลอบมองและหวนรำลึกศึกษา ‘เพื่อน’ เพื่อได้รับรู้ว่า ‘เพื่อน’ มีเรื่องอะไรในประเทศบ้าง นอกจากจ้องแต่จะยัดเยียดความเกลียดชังคลั่งชาตินิยมไร้สาระให้กับประชาชน
ถ้าหากประเทศไทยมีคนดีและเก่งอย่างท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ที่เป็น ‘มันสมอง’ ของการอภิวัฒน์ระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบประชาธิปไตยฯ คว่ำฟ้าพลิกแผ่นดิน ได้โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้ออย่างเปี่ยมอัจฉริยภาพ  เจ้าสุพานุวง หรือฉายา ‘เจ้าชายแดง’ ก็คือผู้คว่ำฟ้าพลิกแผ่นดินลาว ขอคืนอำนาจการปกครองจากเจ้ามหาชีวิตสีสว่างวัฒนา ในปี ค.ศ.1974 ให้แก่ประชาชนชาวลาวทุกคนอย่างไม่ต้องเสียเลือดเนื้อเช่นกัน  ซึ่งอาจถือได้ว่านี่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของสองประเทศในกลุ่มอุษาคเนย์ ที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร
ต่างตรงที่ว่า เจ้าสุพานุวง กลายเป็นเจ้าชายวีรบุรุษของชาวลาวมาตลอด โดยไม่ถูกคนชั่วใส่ร้ายป้ายสีให้เสื่อมพระเกียรติเลยแม้แต่น้อย มีอนุสาวรีย์ยิ่งใหญ่ให้ประชาชนกราบไหว้ชั่วลูกชั่วหลาน ทว่าท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ กว่าจะได้รับการยกย่องว่า
“ผู้พลิกประวัติศาสตร์ ประชาราษฎร์ให้โลกเลื่อง คือเสรีรองเรือง ระยับอยู่คู่ฟ้าดิน”   ต้องเผชิญกับมรสุมชั่วร้ายทางการเมือง ทั้งปฏิวัติรัฐประหาร  วันที่ 8  เดือน‘พฤษภาคม’ 2480  (หากใครเชื่อถือเรื่องโชคลาง ให้สังเกตว่า ระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญสยาม ถูกกลุ่มโจรปล้นแผ่นดินทำลายเป็นครั้งแรกในเดือนนี้) หรือแม้แต่โดนบรรพบุรุษของพรรคการเมืองดังพรรคหนึ่ง จ้างให้คนไปป่าวร้องใส่ร้ายกลางโรงหนังว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง(ร. แปด)  จนต้องหลบหนีไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศจนกระทั่งถึงวาระสุดท้าย
ถ้าจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ประเทศลาวในช่วงการเปลี่ยนแปลงให้แจ่มชัด ต้องศึกษาควบคู่ไปกับชีวประวัติของเจ้าสุพานุวง พระโอรสองค์สุดท้องของเจ้ามหาอุปราชบุนคงกับหม่อมคำอ้วน ผู้ซึ่งยอมสละยศถาบรรดาศักดิ์เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก้าวลงจากหอคอยงาช้างมาคลุกฝุ่นย่ำดินเสวยตำบักหุ่งร่วมต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนชาวลาว เมื่อทรงเห็นว่าการบริหารประเทศภายใต้หุ่นเชิดของชาติเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดินิยมอเมริกานั้น รังแต่จะถูกกดขี่ขูดรีดไม่มีวันได้ผุดได้เกิดจนชั่วลูกชั่วหลาน จึงได้ทรงก่อตั้งกองกำลังแนวลาวรักชาติ หรือแนวลาวอิสระ ขึ้นเพื่อรวบรวมประชาชนทุกหมู่เหล่าที่มีจิตใจรักชาติ ร่วมกันกอบกู้เอกราช อธิปไตยสมบูรณ์คืนกลับมา
แต่เส้นทางการกู้ชาตินั้นสาหัสสากรรจ์จนต้องเกือบเอาชีวิตเข้าแลก หลายครั้งที่เจ้าสุพานุวงถูกลอบทำร้ายและมุ่งทำร้ายจากฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ ‘ศึกท่าแขก’ ซึ่งเปิดฉากขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ.1956 เมื่อประเทศล่าอาณานิคมฝรั่งเศสได้สัประยุทธ์กับกองกำลังผสมลาว-เวียด จนกองกำลังดังกล่าวถอนร่น แล้วบุกเข้ายึดเมืองสะหวันนะเขต เคลื่อนกำลังจากทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เพื่อปิดล้อมเมืองท่าแขกซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนมฝั่งไทย ตอนนั้นเจ้าสุพานุวงเป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสมป้องกันเมืองท่าแขก 
“21 มีนาคม ย่ำรุ่ง 06.00 น. เครื่องบินตรวจการจากฐานเซโนบินโฉบต่ำเข้ามาบริเวณเมืองท่าแขก พร้อมทิ้งใบปลิวคำสั่งผู้บัญชาการทหารฝรั่งเศสให้ฝ่ายต่อต้านยอมจำนนเสียโดยดี  และมอบอาวุธยุทธภัณฑ์ให้กองทหารฝรั่งเศส....
   07.00 น. โดยไม่รอการตอบสนองคำสั่งที่เป็นคำขู่ในใบปลิว ทหารฝรั่งเศสเปิดฉากบุกโจมตีทันที ฝูงบินสปิตไฟร์ระลอกแรกทิ้งระเบิดลงบริเวณตลาดเช้าขณะชาวบ้านกำลังจับจ่ายข้าวของพร้อมทั้งยิงปืนกลใส่ผู้คนอย่างเมามัน...
   12.00 น. การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือด ฝรั่งเศสยังไม่สามารถตีหักเข้ายึดเมืองได้
   13.00 น. ฝรั่งเศสเสริมกำลังเข้ามาเพิ่มเติมจากกองบัญชาการสนามที่ตั้งอยู่เมืองมะหาไซ...   14.00 น. สถานการณ์เลวร้ายลงตามลำดับ....
   15.00 น. เจ้าสุพานุวงได้รับรายงานเพิ่มเติมว่าทั้งท่านสิงกะโปและท่านเหงียนแจ้ง สามารถตีฝ่าวงล้อมข้าศึกและลงเรือข้ามแม่โขงสู่ฝั่งไทยได้อย่างปลอดภัย
16.00 น. เมื่อไม่สามารถรักษาท่าแขกได้แล้ว เจ้าสุพานุวงตัดสินใจลงเรือยนต์ที่คอยรับอยู่ เรือยนต์ประเภทนี้เป็นเครื่องเผาหัวที่เคยมีใช้ในบ้านเรา...
 ....ฝูงบินสปิตไฟร์จำนวน 4 ลำก็ผงาดอยู่บนท้องฟ้า มันปักหัวโจมตีด้วยการใช้ปืนกลกราดยิงไปยังเรือของเจ้าสุพานุวง เครื่องยนต์ถูกทำลายดับสนิท เรือลอยเท้งเต้งกลายเป็นเป้านิ่งกลางลำน้ำโขง กระสุนปืนกลอากาศนัดหนึ่งถูกเข้าที่หน้าอกเบื้องซ้าย  โลหิตไหลนองและตัวท่านสลบไป เครื่องบินยังเข้าโจมตีระลอกแล้วระลอกเล่า ทหารพิทักษ์ต้องสละชีวิตโถมตัวเป็นเกราะทับร่างท่านไว้.....”
(จากหนังสือ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ลาว ผ่านชีวิตเจ้าสุพานุวง โดย ศุขปรีดา พนมยงค์ หน้า 82-84)

   บาดแผลจากคมกระสุนขนาด 20 ม.ม. ครั้งนั้นเป็นเหตุให้เจ้าสุพานุวงต้องพักฟื้นรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลในเมืองไทยหลายเดือนกว่าจะหายดี และดำเนินการต่อสู้ใหม่อีกครั้งด้วยหัวใจเด็ดเดี่ยว
   หลังจากเล่นเกมเก้าอี้ดนตรีอำนาจ โดยมีฝรั่งเศสและสหรัฐเปิดเพลงให้เล่นอยู่เบื้องหลัง ประเทศลาวก็ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมแห่งชาติขึ้น แต่รัฐบาลฝ่ายขวาซึ่งนำโดยท่านผุย ชนะนิกอน พยายามทุกวิถีทางกอปรกับมีสหรัฐเป็นพี่เบิ้มคอยหนุนหลัง จึงพยายามใช้เล่ห์เพทุบายต่างๆ เพื่อเบียดบังฝ่ายแนวลาวรักชาติที่นำโดยเจ้าสุพานุวง กับฝ่ายเป็นกลางมีเจ้าสุวันนะพูมมาเป็นผู้นำ ให้ตกขอบเวทีอำนาจไป  เห็นได้จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1959 รัฐบาลฝ่ายขวาของผุย ชนะนิกอน ได้รับสนับสนุนจากพวกขวาในสภาออกกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ จึงทำการจับกุมท่านสุพานุวง และสหายฝ่ายนำของแนวลาวรักชาติขังคุกโพนเค็ง
ในระหว่างถูกจองจำ รัฐบาลฝ่ายขวาได้ให้สารวัตรทหารทำการเฝ้าคุกโพนเค็งอย่างแข็งขัน แต่ในที่สุดสารวัตรทหารลูกหลานชาวไร่ชาวนาเหล่านี้นี่เอง ที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วยคณะของเจ้าสุพานุวง ‘โตนคุก’ ในเช้าตรู่ของวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ.1960
ด้วยหัวใจรักชาติรักแผ่นดิน รักในสันติสุข ปรารถนาให้ประชาชนลาวได้เป็นผู้ครอบครองประเทศอย่างแท้จริงของเจ้าสุพานุวง ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ที่เมืองเซโปนช่วงยุคแรกของการก่อตั้งแนวลาวอิสระว่า
“แผ่นดินของลาวคนลาวต้องเป็นเจ้าของ ฉะนั้นพวกเราทุกคนต้องสามัคคีกัน ร่วมแรงกันต่อสู้กู้ชาติอันแสนรักของพวกเราคืนมาให้ได้ ลาวกับเวียดนามมีความมุ่งมาดปรารถนาอันเดียวกันคือ ความเป็นเอกราชแห่งชาติ และสิทธิประชาธิปไตยที่แท้จริง มีศัตรูตัวเดียวกันคือ พวกล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสที่จะกลับมายึดครองประเทศของเราทั้งสองอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นประชาชนลาวกับประชาชนพี่น้องเวียดนามต้องสามัคคี
กันต่อสู้ เอกราชของลาวจงเจริญ ความสามัคคีลาว-เวียดนามจงเจริญ สันติภาพของโลกจงเจริญ”
(จากหนังสือ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ลาว ผ่านชีวิตเจ้าสุพานุวง โดย ศุขปรีดา พนมยงค์ หน้า 67-68)

เจ้าสุพานุวงและสหายฝ่ายนำเหล่านั้น เมื่อสามารถแหกคุกโพนเค็งโดยการช่วยเหลือของสารวัตรทหารของรัฐบาลฝ่ายขวา ก็ได้ร่วมกันต่อสู้เพื่ออภิวัฒน์ประชาชาติและเอกราชอีกครั้งหนึ่ง จนสามารถเข้ายึดครองเมืองหลวงขับไล่รัฐบาลหุ่นเชิดได้สำเร็จในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1975 สถาปนาประเทศลาวเป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” (สปป.ลาว)

   การได้เรียนรู้บทบาทชีวิตการต่อสู้ของเจ้าสุพานุวงแห่งแผ่นดินลาว และท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งสองคือ ‘นักอภิวัฒน์’ ที่กล้าเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปเพื่อประโยคสุขของมหาชนอย่างแท้จริง ดังคำกล่าวของเจ้าสุพานุวงที่ว่า
      “พูดแล้วต้องเฮ็ด เฮ็ดให้สุด ขุดให้ถึง
 ผิดถูกค่อยว่ากัน  สิ่งใดดีส่งเสริมมันขึ้น 
สิ่งใดไม่ดีต้องแก้ไข  ทั้งเฮ็ดทั้งเรียนคู่กันไป 
ความผิดไม่ใช่ความชั่ว  ความชั่วคือไม่เปลี่ยนแปลง”
(จากข้อความปกหลังหนังสือ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ลาว ผ่านชีวิตเจ้าสุพานุวง โดย ศุขปรีดา พนมยงค์ ).
…………………………………….

(เผยแพร่ครั้งแรกนิตยสาร Vote ปักษ์แรก-หลังเดือนกันยายน 2553)
 

แม้เหตุการณ์ พฤษภาวิปโยค ’53 จะผ่านมาหลายเดือนแล้ว ทว่าในความรู้สึกของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกคนคงมิอาจลบลืมไปได้ง่ายๆ บาดแผลซ้ำๆ ทางประวัติศาสตร์การเมืองอันนี้ได้บอกอะไรแก่เรา-ท่าน ผู้อยู่ในยุคที่คำว่า ‘ขอคืนพื้นที่’ เป็นคำอันตรายบ้าง
เดือนพฤษภาคม สำหรับเมืองไทยหากว่ากันตามจริงแล้ว เป็นเดือนแห่งรุ่งอรุณสำหรับเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนมากของประเทศนี้  เดือนแห่งการเพาะปลูก กระทั่งพิธีการฝ่ายหลวงยังถือเอาเดือนนี้จัดงานแรกนาขวัญ เสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ชาวไร่ชาวนาทั่วประเทศ  ยังไม่รวมไปถึงว่า เป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองเศวตฉัตร วันบรมราชาภิเษก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้  ...แต่แล้ว เดือนพฤษภาคม กลับเปลี่ยนกลายเป็นเดือนแห่งความเจ็บร้าวเพิ่มบาดแผลบนใบหน้าประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยซ้ำๆ ซากๆ (ไม่ต่างจากเดือนตุลาคม)
ยึดตามแผนที่โลกจากเมืองหลวงของไทย-กรุงเทพมหานคร ผินหน้าไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสิบสามนาฬิกา ณ ประเทศบ้านพี่เมืองน้องลาว  เดือนเดียวกันนี้เป็นเดือนแห่งการ ‘โตนคุกเพื่อเปลี่ยนประเทศ’ ของ เจ้าสุพานุวง อดีตผู้นำของแนวลาวรักชาติกับผู้นำอื่นๆ หลบหนีออกจากคุกโพนเค็งเมื่อ 50 ปีก่อน ทางการลาวจึงมีกิจกรรมที่น่าสนใจยิ่ง นั่นคือ มอบรถกระบะจำนวน 10 คันให้แก่อดีตสารวัตรทหารของรัฐบาลลาวฝ่ายขวาที่เคยช่วยเจ้าสุพานุวงและสหายในคราวนั้น โดยข่าวมีว่า
   “...นายบุนทอง จิตมะนี ได้มอบกุญแจรถกระบะฟอร์ดเรนเจอร์ แก่ พล.จ.คำแวว สีโคดจุนละมะนี นายทหารนอกราชการ ซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติ และเป็นอดีตสารวัตรทหารของรัฐบาลฝ่ายขวา 1 ใน 10 คนที่เคยช่วยนำ "เจ้าชายแดง" กับผู้นำอื่นๆ ออกจากคุกโพนเค็ง เมื่อ 50 ปีก่อน พรรคประชาชนปฏิวัติลาวได้มอบรถกระบะฟอร์ดจำนวน 10 คัน ให้กับอดีตทหารเหล่านั้น และ มี 5 คนที่เสียชีวิตไปแล้ว จึงมอบให้ภรรยาแทน  พิธีมอบจัดขึ้นวันที่  24 พ.ค. ที่สำนักงานศูนย์กลางพรรค โดยนายบุนทอง จิตมะนี หัวหน้าคณะกรรมการจัดตั้งศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นประธาน ทั้งนี้ เพื่อตอบแทนคุณงามความดี และผลงานอันล้ำเลิศของ บรรดาท่านที่ได้ประกอบส่วนในการเอาผู้นำออกจากคุกโพนเค็งอย่างมหัศจรรย์ แต่อดีต สห.เหล่านั้นได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว 5 คน จึงได้มอบรถกระบะให้แก่ภรรยาแทน สื่อของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวกล่าว 
   เหตุการณ์แหกคุกครั้งประวัติศาสตร์ดังกล่าว เกิดขึ้นเวลาหลังเที่ยงคืนวันที่ 23 พ.ค.2503 หรือ เช้าตรู่วันที่ 24 พ.ค. หลังจากอดีตผู้นำระดับสูง จำนวน 7 คน ถูกจับกุมและถูกนำตัวไปคุมขังยังเรือนจำแห่งนั้นมา ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ค.2502 ทั้งหมดเป็นผู้แทนแนวลาวรักชาติที่ถูกจับกุมหลังจากที่เข้าร่วมในรัฐบาลผสมกับฝ่ายขวา ประกอบด้วยเจ้าสุพานุวง "เจ้าชายแดง" นายหนูฮัก พูมสะหวัน นายพูมี วงวิวิต นายพูน สีปะเสิด นายสีซะนะ สีสาน นายคำผาย บุปผา และ นายสีทน กมมะดำ ซึ่งได้ล่วงลับไปแล้วทั้งหมด  สองคนสุดท้ายที่ถึงแก่กรรมเมื่อไม่กี่ปีมานี้คือ นายคำผาย อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว กับ นายหนูฮัก อดีตประธานประเทศถึงแก่อนิจกรรมเดือน ต.ค.2551
   นอกจากนั้นยังมีฝ่ายทหารอีกจำนวน 9 นาย ที่ถูกส่งไปเข้าร่วมกับรัฐบาลผสมดังกล่าว ประกอบด้วย นายพลสิงกะโป นายมา ไขคำพิทูน นายหมื่น สมวิจิต นายเผ้า พิมพะจัน นายคำเพ็ด พมมะวัน มหาสมบูน หวังหน่อบุนทำ นายบัวสี จะเลินสุก นายภูเขา กับ นายมานะ   ตามประวัติศาสตร์ในช่วงปีดังกล่าว แนวลาวสร้างชาติโดยอดีตประธานไกสอน พมวิหาน ได้สั่งให้ฝ่ายต่างๆ ต้องนำบรรดาผู้นำออกจากที่คุมขังให้ได้ ก่อนจะถูกลาวฝ่ายขวาสั่งประการชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต...”
                                                                                (ข้อมูลจาก ผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤษภาคม 2553)

   เหตุการณ์เล็กๆ นี้ ประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน (แต่มักไม่สนใจบ้านใกล้มุ่งผูกมิตรอยู่แต่เรือนไกลเสียส่วนใหญ่) น่าจะลอบมองและหวนรำลึกศึกษา ‘เพื่อน’ เพื่อได้รับรู้ว่า ‘เพื่อน’ มีเรื่องอะไรในประเทศบ้าง นอกจากจ้องแต่จะยัดเยียดความเกลียดชังคลั่งชาตินิยมไร้สาระให้กับประชาชน
ถ้าหากประเทศไทยมีคนดีและเก่งอย่างท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ที่เป็น ‘มันสมอง’ ของการอภิวัฒน์ระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบประชาธิปไตยฯ คว่ำฟ้าพลิกแผ่นดิน ได้โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้ออย่างเปี่ยมอัจฉริยภาพ  เจ้าสุพานุวง หรือฉายา ‘เจ้าชายแดง’ ก็คือผู้คว่ำฟ้าพลิกแผ่นดินลาว ขอคืนอำนาจการปกครองจากเจ้ามหาชีวิตสีสว่างวัฒนา ในปี ค.ศ.1974 ให้แก่ประชาชนชาวลาวทุกคนอย่างไม่ต้องเสียเลือดเนื้อเช่นกัน  ซึ่งอาจถือได้ว่านี่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของสองประเทศในกลุ่มอุษาคเนย์ ที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร
ต่างตรงที่ว่า เจ้าสุพานุวง กลายเป็นเจ้าชายวีรบุรุษของชาวลาวมาตลอด โดยไม่ถูกคนชั่วใส่ร้ายป้ายสีให้เสื่อมพระเกียรติเลยแม้แต่น้อย มีอนุสาวรีย์ยิ่งใหญ่ให้ประชาชนกราบไหว้ชั่วลูกชั่วหลาน ทว่าท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ กว่าจะได้รับการยกย่องว่า
“ผู้พลิกประวัติศาสตร์ ประชาราษฎร์ให้โลกเลื่อง คือเสรีรองเรือง ระยับอยู่คู่ฟ้าดิน”   ต้องเผชิญกับมรสุมชั่วร้ายทางการเมือง ทั้งปฏิวัติรัฐประหาร  วันที่ 8  เดือน‘พฤษภาคม’ 2480  (หากใครเชื่อถือเรื่องโชคลาง ให้สังเกตว่า ระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญสยาม ถูกกลุ่มโจรปล้นแผ่นดินทำลายเป็นครั้งแรกในเดือนนี้) หรือแม้แต่โดนบรรพบุรุษของพรรคการเมืองดังพรรคหนึ่ง จ้างให้คนไปป่าวร้องใส่ร้ายกลางโรงหนังว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง(ร. เจ๋ง”  จนต้องหลบหนีไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศจนกระทั่งถึงวาระสุดท้าย
ถ้าจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ประเทศลาวในช่วงการเปลี่ยนแปลงให้แจ่มชัด ต้องศึกษาควบคู่ไปกับชีวประวัติของเจ้าสุพานุวง พระโอรสองค์สุดท้องของเจ้ามหาอุปราชบุนคงกับหม่อมคำอ้วน ผู้ซึ่งยอมสละยศถาบรรดาศักดิ์เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก้าวลงจากหอคอยงาช้างมาคลุกฝุ่นย่ำดินเสวยตำบักหุ่งร่วมต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนชาวลาว เมื่อทรงเห็นว่าการบริหารประเทศภายใต้หุ่นเชิดของชาติเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดินิยมอเมริกานั้น รังแต่จะถูกกดขี่ขูดรีดไม่มีวันได้ผุดได้เกิดจนชั่วลูกชั่วหลาน จึงได้ทรงก่อตั้งกองกำลังแนวลาวรักชาติ หรือแนวลาวอิสระ ขึ้นเพื่อรวบรวมประชาชนทุกหมู่เหล่าที่มีจิตใจรักชาติ ร่วมกันกอบกู้เอกราช อธิปไตยสมบูรณ์คืนกลับมา
แต่เส้นทางการกู้ชาตินั้นสาหัสสากรรจ์จนต้องเกือบเอาชีวิตเข้าแลก หลายครั้งที่เจ้าสุพานุวงถูกลอบทำร้ายและมุ่งทำร้ายจากฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ ‘ศึกท่าแขก’ ซึ่งเปิดฉากขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ.1956 เมื่อประเทศล่าอาณานิคมฝรั่งเศสได้สัประยุทธ์กับกองกำลังผสมลาว-เวียด จนกองกำลังดังกล่าวถอนร่น แล้วบุกเข้ายึดเมืองสะหวันนะเขต เคลื่อนกำลังจากทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เพื่อปิดล้อมเมืองท่าแขกซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนมฝั่งไทย ตอนนั้นเจ้าสุพานุวงเป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสมป้องกันเมืองท่าแขก 
“21 มีนาคม ย่ำรุ่ง 06.00 น. เครื่องบินตรวจการจากฐานเซโนบินโฉบต่ำเข้ามาบริเวณเมืองท่าแขก พร้อมทิ้งใบปลิวคำสั่งผู้บัญชาการทหารฝรั่งเศสให้ฝ่ายต่อต้านยอมจำนนเสียโดยดี  และมอบอาวุธยุทธภัณฑ์ให้กองทหารฝรั่งเศส....
   07.00 น. โดยไม่รอการตอบสนองคำสั่งที่เป็นคำขู่ในใบปลิว ทหารฝรั่งเศสเปิดฉากบุกโจมตีทันที ฝูงบินสปิตไฟร์ระลอกแรกทิ้งระเบิดลงบริเวณตลาดเช้าขณะชาวบ้านกำลังจับจ่ายข้าวของพร้อมทั้งยิงปืนกลใส่ผู้คนอย่างเมามัน...
   12.00 น. การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือด ฝรั่งเศสยังไม่สามารถตีหักเข้ายึดเมืองได้
   13.00 น. ฝรั่งเศสเสริมกำลังเข้ามาเพิ่มเติมจากกองบัญชาการสนามที่ตั้งอยู่เมืองมะหาไซ...   14.00 น. สถานการณ์เลวร้ายลงตามลำดับ....
   15.00 น. เจ้าสุพานุวงได้รับรายงานเพิ่มเติมว่าทั้งท่านสิงกะโปและท่านเหงียนแจ้ง สามารถตีฝ่าวงล้อมข้าศึกและลงเรือข้ามแม่โขงสู่ฝั่งไทยได้อย่างปลอดภัย
16.00 น. เมื่อไม่สามารถรักษาท่าแขกได้แล้ว เจ้าสุพานุวงตัดสินใจลงเรือยนต์ที่คอยรับอยู่ เรือยนต์ประเภทนี้เป็นเครื่องเผาหัวที่เคยมีใช้ในบ้านเรา...
 ....ฝูงบินสปิตไฟร์จำนวน 4 ลำก็ผงาดอยู่บนท้องฟ้า มันปักหัวโจมตีด้วยการใช้ปืนกลกราดยิงไปยังเรือของเจ้าสุพานุวง เครื่องยนต์ถูกทำลายดับสนิท เรือลอยเท้งเต้งกลายเป็นเป้านิ่งกลางลำน้ำโขง กระสุนปืนกลอากาศนัดหนึ่งถูกเข้าที่หน้าอกเบื้องซ้าย  โลหิตไหลนองและตัวท่านสลบไป เครื่องบินยังเข้าโจมตีระลอกแล้วระลอกเล่า ทหารพิทักษ์ต้องสละชีวิตโถมตัวเป็นเกราะทับร่างท่านไว้.....”
(จากหนังสือ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ลาว ผ่านชีวิตเจ้าสุพานุวง โดย ศุขปรีดา พนมยงค์ หน้า 82-84)

   บาดแผลจากคมกระสุนขนาด 20 ม.ม. ครั้งนั้นเป็นเหตุให้เจ้าสุพานุวงต้องพักฟื้นรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลในเมืองไทยหลายเดือนกว่าจะหายดี และดำเนินการต่อสู้ใหม่อีกครั้งด้วยหัวใจเด็ดเดี่ยว
   หลังจากเล่นเกมเก้าอี้ดนตรีอำนาจ โดยมีฝรั่งเศสและสหรัฐเปิดเพลงให้เล่นอยู่เบื้องหลัง ประเทศลาวก็ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมแห่งชาติขึ้น แต่รัฐบาลฝ่ายขวาซึ่งนำโดยท่านผุย ชนะนิกอน พยายามทุกวิถีทางกอปรกับมีสหรัฐเป็นพี่เบิ้มคอยหนุนหลัง จึงพยายามใช้เล่ห์เพทุบายต่างๆ เพื่อเบียดบังฝ่ายแนวลาวรักชาติที่นำโดยเจ้าสุพานุวง กับฝ่ายเป็นกลางมีเจ้าสุวันนะพูมมาเป็นผู้นำ ให้ตกขอบเวทีอำนาจไป  เห็นได้จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1959 รัฐบาลฝ่ายขวาของผุย ชนะนิกอน ได้รับสนับสนุนจากพวกขวาในสภาออกกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ จึงทำการจับกุมท่านสุพานุวง และสหายฝ่ายนำของแนวลาวรักชาติขังคุกโพนเค็ง
ในระหว่างถูกจองจำ รัฐบาลฝ่ายขวาได้ให้สารวัตรทหารทำการเฝ้าคุกโพนเค็งอย่างแข็งขัน แต่ในที่สุดสารวัตรทหารลูกหลานชาวไร่ชาวนาเหล่านี้นี่เอง ที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วยคณะของเจ้าสุพานุวง ‘โตนคุก’ ในเช้าตรู่ของวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ.1960
ด้วยหัวใจรักชาติรักแผ่นดิน รักในสันติสุข ปรารถนาให้ประชาชนลาวได้เป็นผู้ครอบครองประเทศอย่างแท้จริงของเจ้าสุพานุวง ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ที่เมืองเซโปนช่วงยุคแรกของการก่อตั้งแนวลาวอิสระว่า
“แผ่นดินของลาวคนลาวต้องเป็นเจ้าของ ฉะนั้นพวกเราทุกคนต้องสามัคคีกัน ร่วมแรงกันต่อสู้กู้ชาติอันแสนรักของพวกเราคืนมาให้ได้ ลาวกับเวียดนามมีความมุ่งมาดปรารถนาอันเดียวกันคือ ความเป็นเอกราชแห่งชาติ และสิทธิประชาธิปไตยที่แท้จริง มีศัตรูตัวเดียวกันคือ พวกล่าเมืองขึ้นฝรั่งเศสที่จะกลับมายึดครองประเทศของเราทั้งสองอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นประชาชนลาวกับประชาชนพี่น้องเวียดนามต้องสามัคคี
กันต่อสู้ เอกราชของลาวจงเจริญ ความสามัคคีลาว-เวียดนามจงเจริญ สันติภาพของโลกจงเจริญ”
(จากหนังสือ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ลาว ผ่านชีวิตเจ้าสุพานุวง โดย ศุขปรีดา พนมยงค์ หน้า 67-68)

เจ้าสุพานุวงและสหายฝ่ายนำเหล่านั้น เมื่อสามารถแหกคุกโพนเค็งโดยการช่วยเหลือของสารวัตรทหารของรัฐบาลฝ่ายขวา ก็ได้ร่วมกันต่อสู้เพื่ออภิวัฒน์ประชาชาติและเอกราชอีกครั้งหนึ่ง จนสามารถเข้ายึดครองเมืองหลวงขับไล่รัฐบาลหุ่นเชิดได้สำเร็จในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1975 สถาปนาประเทศลาวเป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” (สปป.ลาว)

   การได้เรียนรู้บทบาทชีวิตการต่อสู้ของเจ้าสุพานุวงแห่งแผ่นดินลาว และท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งสองคือ ‘นักอภิวัฒน์’ ที่กล้าเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปเพื่อประโยคสุขของมหาชนอย่างแท้จริง ดังคำกล่าวของเจ้าสุพานุวงที่ว่า
      “พูดแล้วต้องเฮ็ด เฮ็ดให้สุด ขุดให้ถึง
 ผิดถูกค่อยว่ากัน  สิ่งใดดีส่งเสริมมันขึ้น 
สิ่งใดไม่ดีต้องแก้ไข  ทั้งเฮ็ดทั้งเรียนคู่กันไป 
ความผิดไม่ใช่ความชั่ว  ความชั่วคือไม่เปลี่ยนแปลง”
(จากข้อความปกหลังหนังสือ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ลาว ผ่านชีวิตเจ้าสุพานุวง โดย ศุขปรีดา พนมยงค์ ).
…………………………………….

(เผยแพร่ครั้งแรกนิตยสาร Vote ปักษ์แรก-หลังเดือนกันยายน 2553)
 



ผู้ตั้งกระทู้ พ่อไข่น้ย (thara_num-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-26 09:38:57


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.