ReadyPlanet.com


ขอเชิญร่วมงานสัมมนา จ้วง-ไทยรากเหง้าเดียวกัน


 

  งานสัมมนาเรื่อง จ้วง ไทย รากเหง้าเดียวกันวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2553 ณ โรงเรียนวัฒนธรรมและการศึกษาซีโน-ไท  เวลา  08.30  น.      เชิญลงทะเบียน/รับเอกสาร  เวลา  09.00  น.     ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานในพิธี เดินทางมาถึง เวลา  09.05  น.      พิธีเปิดงานสัมมนาเรื่อง จ้วง ไทย รากเหง้าเดียวกันเวลา  09.15  น.   พ่อชาญ  เนียมประดิษฐ์ ประธานบริหารโรงเรียนวัฒนธรรมและการศึกษาซีโน-ไท กล่าวรายงานเวลา  09.20  น.      ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานในพิธี กล่าวเปิดงานเวลา  09.35  น.      การปาฐกถา เรื่อง จ้วง ไทย รากเหง้าเดียวกัน  โดย ศ. ฟ่าน หง กุ้ย ผู้เชี่ยวชาญด้านชาติพันธุ์วิทยาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวลา  10.15  น.      พิธีเปิดผ้าแพรคลุมป้าย สำนักวิจัยวัฒนธรรมร่วมไทย จีนผู้มีเกียรติและผู้ร่วมงานเยี่ยมชมกิจกรรมวัฒนธรรมจีนและโรงเรียนวัฒนธรรมและการศึกษาซีโน-ไท

 

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมงาน 50ปี สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย

     “จ้วง”เป็นชื่อสมมุติเรียกเครือญาติพี่น้องที่พูดตระกูลภาษาไทย-ลาว มีประชากรมากกว่า 13 ล้านคน มณฑลกวางสี (ติดกับมณฑลกวางตุ้ง ตอนใต้ลุ่มน้ำแยงซี ในจีนแผ่นดินใหญ่)

   เมื่อไม่กี่วันมานี้ ทองแถม นาถจำนง(บรรณาธิการสยามรัฐรายวัน)ชักชวนพี่น้องจ้วงหนุ่มๆจากกวางสีเอาซีดีเพลงจ้วงให้ฟัง ตั้งชื่อชุดว่า พี่น้อง เขียนอักษรโรมันว่า BEIH NONGX มีข้อความโปรยเป็นภาษาไทยว่า พี่น้อง อัลบั้มชุดแรกของเพลงแนวสมัยใหม่ในภาษาจ้วง กับสารบัญ 15 เพลงที่ชาวจ้วงพิมพ์แทรกเป็นภาษาไทยไว้ดังนี้

    1.รู้บุญคุณปู่ล๊าวต่าว (ภาษาจ้วง)วงดนตรีหัวไว
    2.แองโถ้เรา[เด็กชาวจ้วงของเรา](ภาษาจ้วง-จีน)เวยเจี๋ย
    3. เพลงรักแห่งเต๋อเป่า(ภาษาจ้วง)วงดนตรีบ่าวโถ้
    4. ฝันเห็นเตาผิงไฟ(ภาษาจ้วง)คอง หลิง
    5. เมื่อไหร่จะเจอกันที่ใต้ไม้แค้วอีก(ภาษาจ้วง-จีน)เหลียว ลี่ ซา
    6. เส้นทางเก่าอ้อหมี่(ภาษาจ้วง)วงดนตรีบ่าวโถ้
    7. เมารัก(ภาษาจ้วง-จีน)วงดนตรีสานคน
    8. รักบ่อห่าน[รักน้ำพุห่าน]( ภาษาจ้วง-จีน)หวง เจี่ยง
    9. ดอกแก้ง[ดอกอาเซเลีย](ภาษาจ้วง)เวยเจี๋ย
    10. คิดถึง “คนจิ๋น”(ภาษาจ้วง)วงดนตรีบ่าวโถ้
    11. เหลียงซานป๋อเล่าเรื่องความรัก(ภาษาจ้วง)เวยเจี๋ย
    12. พี่น้องชวนกันดื่มเหล้า(ภาษาจ้วง)เหลียง ฉิง
    13. ต้นงิ้วคุ้มครองเรา(ภาษาจ้วง-จีน)เวยเจี๋ย
    14. ชั่วพริบตาเดียว(ภาษาจ้วง-จีน)วงดนตรีหัวไว
    15. น้ำใสผาเขียว แขกหลงใหล(ภาษาจ้วง) วงดนตรีดอกฟ้าน

    ผมเปิดฟังหมดแล้วทั้ง 15 เพลง ล้วนเป็นแนวสมัยใหม่ ถึงจะร้องเป็นภาษาจ้วงในตระกูลไทย-ลาว แต่ฟังไม่รู้เรื่องเลยสักคำ แถมสำเนียงยังไปทางจีนมากกว่าจนหลงคิดไปว่าทั้งหมดเป็นเพลงจีนร่วมสมัย

    ยังดีที่มีเสียงขับลำเป็นทำนองจ้วงพื้นเมืองดั้งเดิมแท้อยู่ด้วย ได้ยินแล้วขนลุกขนชัน ชวนให้คล้อยไปว่าลีลาเดียวกับช่างขับและหมอลำของชาติพันธุ์สองฝั่งโขงที่ส่งผลให้มีขับเสภา, ร้องลำนำ, ฯลฯ บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา

    เพลงดนตรีมีพลังสร้างปัญญาและจินตนาการ ชาติพันธุ์ผู้ให้กำเนิดอารยธรรมใหญ่ๆในโลกล้วนให้ความสำคัญเพลงดนตรีเป็นอันดับต้นๆ

    ผู้เชี่ยวชาญจีนวิทยาบอกว่านักปราชญ์จีนต้องเล่นดนตรีได้ไม่น้อยกว่า 1 เครื่องมือ แม้ขงเบ้งก็เล่นดนตรี(แต่ไม่ใช่ขิม) ส่วนนักปราชญ์ภารตวิทยาบอกว่าเทวดาอินเดียมีดนตรีเป็นอาวุธ ขณะเดียวกันก็ใช้เป็นเครื่องแสดงสติปัญญาด้วย เช่น พระสรัสวดีดีดพิณ เป็นต้น

    ดนตรีไทย แท้จริงแล้วคือดนตรีสุวรรณภูมิอุษาคเนย์ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันของชาติพันธุ์ต่างๆในภูมิภาคนี้ ดูจากชื่อเพลงไทยในดนตรีไทยนำหน้าด้วย ลาว, เขมร ,มอญ, พม่า, จีน, แขก(มลายู), ชวา, ฯลฯ เป็นพยานว่าไม่ใช่สมบัติของไทยพวกเดียว หากเป็นสมบัติวัฒนธรรมร่วมกัน แต่ครูดนตรีไทยในสถาบันการศึกษาไม่เข้าใจ เลยอธิบายเข้ารกเข้าพง แถมบางคนยกตนข่มท่านว่าดนตรีไทยไพเราะที่สุดในโลก—บ้าชิบเป๋ง

    แต่ถึงยังไงสังคมไทยก็“ล้าหลัง”ทางเพลงดนตรี เพราะไม่ใส่ใจไม่ว่าจะเรียกดนตรีไทยหรือดนตรีสากล(ออเคสตรา) ดูจากท้องถิ่นจำนวนมากมีงบก่อสร้างมหาศาล, มีงบดูงานพาหัวคะแนนเที่ยวเหลือเฟือ,ฯลฯ แต่ไม่มีให้เพลงดนตรีที่สร้างปัญญาและจินตนาการให้ผู้ใหญ่และเยาวชนคนในท้องถิ่นมีจิตอาสา


   

    ซีดีชุดพี่น้อง เพลงแนวสมัยใหม่ภาษาจ้วง(มณฑลกวางสีในจีน)


   

    เพลงดนตรี (Music Journal) ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีส่วนกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศเพลงดนตรีมีปัญญาสู่สังคมไทย

 

      บทความ สุจิตต์วงษ์เทศ  /สยามประเทศไทยมติชนรายวัน ฉบับวันที่ 23 ธค.52



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้สื่อข่าวบ้านไพร :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-30 15:20:42


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.