ReadyPlanet.com


ภาษาวิบัติ หรือ การพัฒนา [ขอความกรุณาด้วยค่ะ เป็นโครงงานค่ะ]


เนื่องจากการการใช้ภาษาแบบนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อเเสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยแต่อย่างไร เพียงแค่ต้องการที่จะเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ภาษาเท่านั้นค่ะ ดั้งนั้นถ้าหากเกิดความผิดพลาดหรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดใดๆก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

ภาษา "แชท" การพิมพ์โต้ตอบ สนทนากันทางอินเตอร์เน็ต โดยให้เกิดความสะดวดและรวดเร็ว โดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องตามหลักของภาษา เช่น

ใคร - คัย , ก็ - ก้อ , แล้ว - แร้ว , เธอ - เทอ ฯลฯ

_______________________________

ขอความกรุณาช่วยตอบคำถามเหล่านี้หน่อยนะคะ เพื่อเป็นข้อมูลในโครงงานของเราค่ะ

_______________________________

1. จริงไหมที่ว่า ภาษา "chat" ทำให้ภาษาไทยวิบัติ ขอเหตุผลด้วยค่ะ .....

2.เหตุที่นิยมใช้ภาษาแชท เพราะอะไร

3.ในชีวิตประจำวันที่ไม่ได้แชท หรือใช้โปรแกรม msn คุณใช้ภาษาแชทในพูดคุยกันหรือไม่

4.การแชทบ่อยๆเวลาพูดใช้ภาษาแชทบ้างไหม (เช่น ใช่หรือเปล่า - ใช่ป่ะ , อะไร - อาไย ฯลฯ)

5. คิดว่าภาษาเป็นเหมือนแฟชั่นหรือไม่ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย

6. ภาษาที่ใช้อยู่ทุกวันนี้มีการแปลงมาจากภาษาในอดีตบ้างหรือไม่ (เช่น ภาษาในบทละครโบราณ กับชีวิตปัจจุบัน จะมีความต่างกันมาก) คิดว่าการเปลี่ยนแปลงวิธีพูดเป็นการทำให้ภาษาวิบัติหรือไม่ และคิดว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ที่ในยุคสมัยนั้นจะมีภาษาวิบัติเหมือนในยุคปัจจุบัน

_____________________________________

กรุณาแจ้งอายุให้ด้วยนะคะ เอาตามความเป็นจริง ขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือด้วยค่ะ

-:- โครงงาน จังหวัดนนทบุรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ -:-



ผู้ตั้งกระทู้ pongpei :: วันที่ลงประกาศ 2007-08-28 22:35:38


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (937772)

๑.ถ้ากล่าวเฉพาะบริบทของ"ภาษาแชท"ผมไม่ถือว่าทำให้ภาษาไทยวิบัติ  เพราะ ถ้าผู้ที่ใช้ภาษาแชทมีความ"ตระหนัก"ในขอบเขตของการใช้ ไม่นำมาปะปน(ทำให้กลืน)ในการเขียน การสื่อสาร ภาษาไทยคงไม่"วิบัติ" แต่อาจเพิ่มเป็นแนวภาษาใหม่ๆที่นิยมใช้ในอินเตอร์เน็ต(อันเนื่องมาจากพิมพ์สะดวกหรืออะไรก็ตามแต่)

๒.เหตุที่นิยมใช้ เห็นจะเป็น ๒.๑.พิมพ์ได้สะดวก เช่น คำว่า "พิม" ที่ไม่ต้อง พิมพ์ พ และ การันต์ หรือคำว่า ความ (กด ๔ ครั้ง) เป็น ฟาม (กด ๓ ครั้ง)เป็นต้น ๒.๒ สื่ออารมณ์ของวัยรุ่นได้ชัดเจนและหลากหลายเช่น บูๆๆๆ แง๊วววว ง่า โว้ยยยย(ซึ่งต่างจากโว้ย เพราะอาจบ่งว่าตะโกน)๒.๓ ค่านิยม(ข้อนี้อันตราย)

๓.แทบไม่ได้ใช้

๔.แน่นอนว่า,ใช้

๕.ภาษาไม่เหมือนแฟชั่น ไม่ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย แต่ควรส่งเสริมให้มีการทำความเข้าใจขอบเขตระหว่างยุคสมัยมากกว่า ให้เหมือนน้ำและน้ำมัน ที่แยกจากกันชัด เช่น กูบำเรอแก่พ่อกูแม่กู ปัจจุบัน ก็ชัดเจนว่า นั่นเป็นภาษาในศิลาจารึกที่เราไม่ใช้ การปรับไม่ได้เกิดการตัวมนุษย์ แต่เกิดจากพลวัตในการใช้ภาษาที่รู้จักขอบเขตที่ดีนั่นเอง

๖.ทุกยุคย่อมมีภาษาวิบัติ เพราะ ภาษาเป็นเรื่องที่ดิ้นได้ โดยเฉพาะภาษาที่แสดงความรู้สึกได้ อย่างภาษาไทย ที่คำว่า หมา อาจแสดงอารมณ์ถึงสัตว์ อาจใช้ด่า อาจใช้แซว อาจใช้แสดงความเอ็นดู ทั้งนี้ขึ้นกับบริบท ดังนั้นเป็นไปได้ที่ทุกยุคจะมีภาษาวิบัติ (แต่อาจจะมีคนสมัยนี้กระมังที่ไปถือเป็นจริงเป็น(เกินไป)จังในการแก้ไขมันอย่างไม่ถูกวิธี)

อายุ๑๙

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Aberforth วันที่ตอบ 2007-08-28 23:08:20


ความคิดเห็นที่ 2 (937773)

1เราว่าก้อาจจามีส่วนน้าจ้า เพราะถ้าเราเขียนหรือเหงคนอื่นเขียนทุกวันก้อาจจาจำติดมาก้ได้อะงับ

2เพราะว่าเขียนง่ายดีจ้า แล้วก้คุยกัเพื่อนด้วยเลยไม่ต้องคำนึงว่าจาเขียนถูกหรือผิดอะงับ

3ไม่น้าจ้า

4ก้มีบ้างจ้าเวลาอารมดีงับ

5คิดว่าภาษาของเราก็ควรอนุรักไว้ตามแบบฉบับงับ

6ก้มีบ้างน้าจ้า  การเปลี่ยนแปลงวิธีพูดเป็นการทำให้ภาษาวิบัติงับแต่ก็ต้องดูถึงเหตุการที่เราใช้คำพูดว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมด้วยงับและคิดว่าสมัยนั้นก็อาจจามีบ้างน้าจ้าแต่อาจจามีน้อยอะงับ

ผู้แสดงความคิดเห็น bakery วันที่ตอบ 2007-08-28 23:21:56


ความคิดเห็นที่ 3 (937774)

๑.ถ้ากล่าวเฉพาะบริบทของ"ภาษาแชท"ผมไม่ถือว่าทำให้ภาษาไทยวิบัติ  เพราะ ถ้าผู้ที่ใช้ภาษาแชทมีความ"ตระหนัก"ในขอบเขตของการใช้ ไม่นำมาปะปน(ทำให้กลืน)ในการเขียน การสื่อสาร ภาษาไทยคงไม่"วิบัติ" แต่อาจเพิ่มเป็นแนวภาษาใหม่ๆที่นิยมใช้ในอินเตอร์เน็ต(อันเนื่องมาจากพิมพ์สะดวกหรืออะไรก็ตามแต่)

๒.เหตุที่นิยมใช้ เห็นจะเป็น ๒.๑.พิมพ์ได้สะดวก เช่น คำว่า "พิม" ที่ไม่ต้อง พิมพ์ พ และ การันต์ หรือคำว่า ความ (กด ๔ ครั้ง) เป็น ฟาม (กด ๓ ครั้ง)เป็นต้น ๒.๒ สื่ออารมณ์ของวัยรุ่นได้ชัดเจนและหลากหลายเช่น บูๆๆๆ แง๊วววว ง่า โว้ยยยย(ซึ่งต่างจากโว้ย เพราะอาจบ่งว่าตะโกน)๒.๓ ค่านิยม(ข้อนี้อันตราย)

๓.แทบไม่ได้ใช้

๔.แน่นอนว่า,ใช้

๕.ภาษาไม่เหมือนแฟชั่น ไม่ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย แต่ควรส่งเสริมให้มีการทำความเข้าใจขอบเขตระหว่างยุคสมัยมากกว่า ให้เหมือนน้ำและน้ำมัน ที่แยกจากกันชัด เช่น กูบำเรอแก่พ่อกูแม่กู ปัจจุบัน ก็ชัดเจนว่า นั่นเป็นภาษาในศิลาจารึกที่เราไม่ใช้ การปรับไม่ได้เกิดการตัวมนุษย์ แต่เกิดจากพลวัตในการใช้ภาษาที่รู้จักขอบเขตที่ดีนั่นเอง

๖.ทุกยุคย่อมมีภาษาวิบัติ เพราะ ภาษาเป็นเรื่องที่ดิ้นได้ โดยเฉพาะภาษาที่แสดงความรู้สึกได้ อย่างภาษาไทย ที่คำว่า หมา อาจแสดงอารมณ์ถึงสัตว์ อาจใช้ด่า อาจใช้แซว อาจใช้แสดงความเอ็นดู ทั้งนี้ขึ้นกับบริบท ดังนั้นเป็นไปได้ที่ทุกยุคจะมีภาษาวิบัติ (แต่อาจจะมีคนสมัยนี้กระมังที่ไปถือเป็นจริงเป็น(เกินไป)จังในการแก้ไขมันอย่างไม่ถูกวิธี)

อายุ๑๙

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Aberforth วันที่ตอบ 2007-08-28 23:40:13


ความคิดเห็นที่ 4 (937775)

นิยามศัพท์ คำว่า

1.วิบัติ
2.วิวัฒน์ (การพัฒนา
)

 ให้รู้ก่อนว่าคืออะไร จากนั้น ตั้งสมมุติฐานจาก นิยามศัพท์ที่ได้ จากนั้นหาข้อมูลมาสนับสนุนสมมุติฐาน ที่ตั้งไว้นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-08-29 10:54:06


ความคิดเห็นที่ 5 (937776)

ภาษาไทยของคนไทยสมัยปลายอยุธยาหรือแม้แต่ต้นรัตนโกสินทร์จะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ดูเหมือนเป็นที่ตกลงกันในหมู่ผู้สร้างละครทีวีแล้วว่า จะต้องพูดเสียงเหมือนอ่านหนังสือ

ทำให้เกิดสัญลักษณ์ของเสียงภาษาไทย “โบราณ” ขึ้น ในละครทีวี ใครเป็นนักดูละครทีวีฟังปั้บก็รู้ทีเดียวว่าเป็นภาษาไทยพีเรียด

ผมออกจะนับถือภูมิปัญญาของผู้สร้างละครทีวีตรงนี้ เพราะคนไทยสมัยอยุธยาจะพูดภาษาไทยอย่างไรก็ไม่สำคัญแก่ผู้ชมละครเพียงแต่ผู้ชมต้องรู้สึกว่ากำลังฟังภาษาพูดแบบอยุธยาอยู่ต่างหากที่สำคัญกว่า

สำเนียงภาษาอย่างที่ว่านี้เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ตกลงกันในหมู่ผู้สร้างละครและผู้ชมละครว่า  นี่แหละคือภาษาไทยอยุธยาหรือต้นกรุงเทพฯ

ขึ้นชื่อว่า ละคร อะไร ๆ ก็เป็นสัญลักษณ์ทั้งนั้น การสร้างสัญลักษณ์ให้คนยอมรับจึงมีความสำคัญ

อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้ผู้ชมยอมรับอย่างง่ายๆ ว่าคนไทยโบราณต้องพูดภาษาไทยตามอักขรวิธีเป๊ะนี่สะท้อนความนับถือมาตรฐานที่ตัวอักษรและโรงเรียนสร้างเอาไว้ให้อย่างมาก จึงคิดว่าใครที่พูดเสียงตรงตามตัวหนังสือเป๊ะแล้วละก็คงพูด “ถูก” หมด และคนโบราณก็ควรพูดได้ “ถูก” เพราะภาษาไทยเพิ่งมา “เสื่อม” สมัยของเรานี้เอง

แต่ที่จริงแล้วคนปลายอยุธยาพูดภาษาไทยอย่างไรยังไม่มีใครทราบแน่ โดยเฉพาะเสียงวรรณยุกต์จะเป็นอย่างไรยิ่งยากที่จะรู้มากขึ้นไปใหญ่

นักวิชาการบางท่านเสนอความเห็นว่า คนอยุธยาน่าจะพูดอะไรเหน่อๆ ไปทางสุพรรณฯ เพราะภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพฯ ที่เราถือเป็นสำเนียงมาตรฐานนั้น น่าจะเป็นภาษาไทยสำเนียงจีน

เนื่องจากมีจีนในกรุงเทพฯ เยอะ และจีนมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมในสมัยต้นกรุงเทพฯ มากกว่าที่เคยยอมรับกันมา

เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ก็ยกไว้ก่อน แต่ผมเห็นว่าภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพฯ นั้น ไม่ได้เฉพาะกรุงเทพฯ แต่ขยายไปตามลำน้ำเจ้าพระยาจากปากน้ำไปจนถึงปากน้ำโพ อันเป็นทางหลวงใหญ่ที่สุดของการคมนานคมในภาคกลาง

คนแถวนี้ไม่ได้พูดออก “เหน่อ” แบบสุพรรณฯ หรือเมืองเพชร จะแปร่งจะแปรไปจากกรุงเทพฯ บ้างก็น้อยมาก จนเห็นได้ชัดว่าเป็นสำเนียงเดียวกัน

ภาษาไทยถิ่นกลุ่มนี้น่าจะมีวรรณยุกต์อยู่เพียง ๕ เสียง จึงทำให้พัฒนาอักขรวิธีสำหรับวรรณยุกต์ ๕ เสียงขึ้นมา ไม่ใช่ ๖ เสียงอย่างสุพรรณฯ หรือ ๘ เสียงอย่างสงขลา

และตรงกันข้ามกับความเข้าใจที่ว่าคนโบราณน่าจะพูดภาษาไทยตามเสียงที่ปรากฏในอักขรวิธีเป๊ะ ผมเข้าใจตรงกันข้ามว่า คนโบราณน่าจะพูดภาษาไทยด้วยเสียงของภาษาพูดที่ไม่ตรงกับอักขรวิธีเอาเลย ก็เหมือนภาษาพูดของคนไทยปัจจุบันนี้นั่นแหละ

ก่อนหน้าที่เราจะตกลงพร้อมใจกันว่า ควรเขียนภาษาไทยที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูดอย่างไรนั้น ในยุคแรกๆ ของการพิมพ์นิยายไทย บางสำนักยังถือว่าถ้าอยู่ในเครื่องหมายคำพูดแล้ว ต้องเขียนเสียงจริงที่คนไทยใช้ในเวลาพูดกัน

เหตุดังนั้น จึงมีอักขรวิธีสองชุดเอาไว้เขียนนอกเครื่องหมายคำพูดชุดหนึ่ง และในเครื่องหมายคำพูดอีกชุดหนึ่ง

เช่น ในเครื่องหมายคำพูดไม่มีตัวกล้ำ, ไม่มีตัว ร.รักษา,เสียงวรรณยุกต์ของคำไม่คงที่ แล้วแต่ตำแหน่งในประโยค เป็นต้น

หนังสือนิยายเหล่านี้เป็นพยานว่าคนรุ่นปู่รุ่นทวดของเราไม่ได้พูดภาไทยสำเนียงไม่ต่างไปจากจนบ้านนอกในดินแดนแถบริมฝั่งเจ้าพระยาในสมัยหลังไปสักเท่าไร

คนบ้านนอกที่ผมหมายถึงคงไม่ใช่คนบ้านนอกในปัจจุบันแต่เป็นคนบ้านนอกสมัยที่ผมเป็นเด็กบ้านนอกสมัยที่ผมเป็นเด็กซึ่งไม่ค่อยได้อิทธิพลจากโรงเรียน หรือถึงได้ก็น้อยมาก เพราะเรียนจบแค่ชั้นประถม เป็นต้น

เท่าที่ผมจำภาษไทยของคนเหล่านี้ได้กลับเป็นตรงกันข้ามกับที่ละครทีวีใช้เป็นสัญลักษณ์ของสำเนียงโบราณเลยทีเดียว

นั่นก็คือ เสียงวรรณยุกต์ของเขาไม่ชัดเจนอย่างภาษาไทยในปัจจุบัน เช่น จัตวาก็ไม่สูงเท่ากับจัตวาปัจจุบัน, เสียงโทก็ไม่โทจ๋า อย่างปัจจุบัน เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น ในบางคำบางประโยค เสียงวรรณยุกต์ของเขายังมีเกินหนึ่งเสียงอีกด้วย เช่น “จะไปไหม” คำ ไหม ที่พูดในบางกรณีกลายเป็นสองเสียงวรรณยุกต์ คือมีโทนำก่อนจะถึงจัตวาอะไรทำนองนั้น

ผมจึงคิดว่า เสียงวรรณยุกต์ที่เราคุ้นหูในปัจจุบันนี้นั้น เป็นผลผลิตของโรงเรียน หรือของแบบเรียนเร็วก็อาจเป็นได้ ตรงที่ได้ผันวรรณยุกต์ออกเป็นห้าเสียงที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แล้วเอาคำทั้งหลายในภาษาไทยยัดลงไปใน ๕ เสียงนี้อย่างตายตัว

ภาษาไทยของคนรุ่นผมจึงมีเสียงวรรณยุกต์ชัดเหมือนที่ครูสอนให้ผันเป๊ะ ไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคนแก่ตามบ้านนอกที่ผมเคยได้ยิน เพราะภาษาไทยของท่านเหล่านั้นมีเสียงวรรณยุกต์ที่ไม่ชัดเด๊ะเท่าไร

ผมอยากจะเดาด้วยว่า เสียงเอกเสียงโทในอักขรวิธีไทยนั้นคนสุพรรณบุรีโบราณ หรือคนเพชรบุรีโบราณไม่รู้สึกเลยว่าจะต้องออกเสียงแตกต่างไปจากที่ตัวออกเสียงอยู่ขณะนั้น ที่มีรูปเป็นเสียงโทก็สามารถออกเสียงได้หลายอย่างตามแต่สำเนียงในท้องถิ่น

 คนสุพรรณฯ คนเพชรฯ มารู้สึกว่าตัวพูดเหน่อก็ต่อเมื่อการศึกษาแบบโรงเรียนแพร่หลายแล้วต่างหาก เพราะโรงเรียนไปวางมาตรฐานที่ตายตัวของภาษาขึ้น อักขรวิธีไทยกลายเป็นอักขรวิธีสำหรับรอบรับภาษาถิ่นแคบๆ (ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่อาจไม่มีอยู่จริง แต่เป็นภาษาของหนังสืออันเป็นมาตรฐานในจินตนาการ)

ตั้งแต่นั้นมา ก็มีคนพูด “เหน่อ” เกิดขึ้นในเมืองไทย

ผมได้ยินคนเหนือ, คนใต้ และคนอีสานบ่นเสมอว่า เดี๋ยวนี้ภาษาถิ่นของตนถูกภาษากรุงเทพฯ ทำให้เพี้ยนไปเป็นอันมากเสียแล้ว โดยเฉพาะรุ่นเด็กๆ แทบจะพูดภาษากรุงเทพฯ ด้วยสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้น

ผมก็เห็นใจความห่วงใยของคนท้องถิ่น แต่ที่จริงแล้ว แม้แต่ภาษากรุงเทพฯ เองก็ถูกเปลี่ยนไปด้วยมาตรฐานที่มากับโรงเรียนไม่น้อยเหมือนกัน

เหตุดังนั้น แทนที่จะเพ่งเล็งไปยังอิทธิพลกรุงเทพฯ เราน่าจะหันมาทบทวน “มาตรฐาน” ทุกชนิด ทุกชนิดในระบบโรงเรียนของเรากันใหม่ดีกว่า เพื่อที่ว่าโรงเรียนจะได้สร้าง “มาตรฐาน” ที่มีความยืดหยุ่นแก่คนต่างถิ่นและต่างเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคม

ในขณะเดียวกันก็เป็นมาตรฐานที่ให้เสรีภาพมากขึ้น กล่าวคือ ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการบังคับ แต่เกิดขึ้นเพราะเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง

จากบทความดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าอำนาจทางภาษาที่มีความหลากหลายนั้นยังเป็นข้อจำกัดอยู่เฉพาะสังคมกรุงเทพฯเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะเรื่องการใช้ภาษาที่เรียกว่า ภาษาไทย และภาษาท้องถิ่นดังเดิม

หนังสือ คำมีคม ว่าด้วย ภาษ วัฒนธรรม และอำนาจ สำนักศิลปวัฒนธรรม พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ในหัวข้อ ภาไทยของส้มฉุน

แค่นี้พอจะช่วยกันได้บ้างนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มห สุรารินทร์ วันที่ตอบ 2007-08-30 00:20:19


ความคิดเห็นที่ 6 (937777)

เมื่อเช้าดูข่าวช่อง 3 รายการคุณสรยุทธ ข่าวว่าภาคอีสานตอนนี้เริ่มตื่นตัวรณรงค์ให้เด็กนักเรียนพูดภาอีสาน ในโรงเรียนเพราะเด็กนักเรียนในอำเภอเมือง
 ไม่ยอมพูดภาษาอีสานแต่หันมาพูดภาษากลาง สรพนามที่เคยใช้ ข้อย ก็เป็นมาเป็น ผม ดิฉันแทน ซึ่งน่าเป็นห่วงว่า อีกหน่อย ภาษาถิ่น
 ไม่เฉพาะภาษาอีสาน ก็จะถูกกลืนไปหายไปจนสิ้น นี่ละครับที่เข้าเรียก พลวัตทางภาษา

เรื่องการวิวัฒน์และวิบัติ ของภาษา จิตร ภูมิศักดิ์ อรรถาธิบายไว้ในหนังสือ ภาษาและนิรุกติศาสตร์ (หน้าปกเป็นรูป จิตร ภูมิศักดิ์ ยืนอยู่หน้า
ปราสาทนครวัดที่เขมร) สำนักพิมพ์ผู้ตีพิมพ์ ได้นำบทวิวาทะระหว่างหลวงบุณยมาณพ หรือชิต บุรทัต นามสกุลเดิม ชวางกูร) ในนามปากกา
 "แสงทอง"  กับจิตร ภูมิศักดิ์ ในนามปากกาบุคแมน, มูฟวี่แมน (มูวี่แมน)

จิตร ภูมิศักดิ์ มีแนวคิดที่ว่า ภาษาเป็นของมหาชน ย่อมมีการเปลี่ยนผันได้ตามกาลเวลา
ส่วนหลวงบุณยมาณพ มีแนวคิดที่ตรงข้ามกับจิตร คือเป็นแนว อนุรักษ์นิยม (conservative) เสียดายผมไม่มีหนังสืออยู่ในมือ
แต่แนะนำให้น้องไปหามาอ่านประกอบการเขียนโครงงาน เพราะวิวาทะทั้งของปราชญ์ทั้งสองท่านน่าสนใจมากและคิดว่าที่หอสมุดแห่งชาติน่าจะมี

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-08-30 10:48:23


ความคิดเห็นที่ 7 (937778)

ขอบคุณมากค่ะ เป็นข้อมูลที่ดีมากเลย ขออณุญาตนำไปใช้กับโครงงานนะคะ

เนื่องจากว่าเป็นโครงงานของตัวเอง จึงไม่ขอแสดงความคิดเห็นเองนะคะ

ขอบคุณ Aberforth, bakery, มห สุรารินทร์, กวินทรากร ที่ทำให้โครงงานของเราสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ

* ถ้ามีท่านใดจะแสดงความคิดเห็นอีกจะเป็นพระคุณมากๆค่ะ >/|<

ผู้แสดงความคิดเห็น pongpei วันที่ตอบ 2007-08-30 17:51:56


ความคิดเห็นที่ 8 (937779)

ภาษาไทยของคนไทยสมัยปลายอยุธยาหรือแม้แต่ต้นรัตนโกสินทร์จะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ดูเหมือนเป็นที่ตกลงกันในหมู่ผู้สร้างละครทีวีแล้วว่า จะต้องพูดเสียงเหมือนอ่านหนังสือ

ทำให้เกิดสัญลักษณ์ของเสียงภาษาไทย “โบราณ” ขึ้น ในละครทีวี ใครเป็นนักดูละครทีวีฟังปั้บก็รู้ทีเดียวว่าเป็นภาษาไทยพีเรียด

ผมออกจะนับถือภูมิปัญญาของผู้สร้างละครทีวีตรงนี้ เพราะคนไทยสมัยอยุธยาจะพูดภาษาไทยอย่างไรก็ไม่สำคัญแก่ผู้ชมละครเพียงแต่ผู้ชมต้องรู้สึกว่ากำลังฟังภาษาพูดแบบอยุธยาอยู่ต่างหากที่สำคัญกว่า

สำเนียงภาษาอย่างที่ว่านี้เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ตกลงกันในหมู่ผู้สร้างละครและผู้ชมละครว่า  นี่แหละคือภาษาไทยอยุธยาหรือต้นกรุงเทพฯ

ขึ้นชื่อว่า ละคร อะไร ๆ ก็เป็นสัญลักษณ์ทั้งนั้น การสร้างสัญลักษณ์ให้คนยอมรับจึงมีความสำคัญ

อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้ผู้ชมยอมรับอย่างง่ายๆ ว่าคนไทยโบราณต้องพูดภาษาไทยตามอักขรวิธีเป๊ะนี่สะท้อนความนับถือมาตรฐานที่ตัวอักษรและโรงเรียนสร้างเอาไว้ให้อย่างมาก จึงคิดว่าใครที่พูดเสียงตรงตามตัวหนังสือเป๊ะแล้วละก็คงพูด “ถูก” หมด และคนโบราณก็ควรพูดได้ “ถูก” เพราะภาษาไทยเพิ่งมา “เสื่อม” สมัยของเรานี้เอง

แต่ที่จริงแล้วคนปลายอยุธยาพูดภาษาไทยอย่างไรยังไม่มีใครทราบแน่ โดยเฉพาะเสียงวรรณยุกต์จะเป็นอย่างไรยิ่งยากที่จะรู้มากขึ้นไปใหญ่

นักวิชาการบางท่านเสนอความเห็นว่า คนอยุธยาน่าจะพูดอะไรเหน่อๆ ไปทางสุพรรณฯ เพราะภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพฯ ที่เราถือเป็นสำเนียงมาตรฐานนั้น น่าจะเป็นภาษาไทยสำเนียงจีน

เนื่องจากมีจีนในกรุงเทพฯ เยอะ และจีนมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมในสมัยต้นกรุงเทพฯ มากกว่าที่เคยยอมรับกันมา

เรื่องนี้จะจริงหรือไม่ก็ยกไว้ก่อน แต่ผมเห็นว่าภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพฯ นั้น ไม่ได้เฉพาะกรุงเทพฯ แต่ขยายไปตามลำน้ำเจ้าพระยาจากปากน้ำไปจนถึงปากน้ำโพ อันเป็นทางหลวงใหญ่ที่สุดของการคมนานคมในภาคกลาง

คนแถวนี้ไม่ได้พูดออก “เหน่อ” แบบสุพรรณฯ หรือเมืองเพชร จะแปร่งจะแปรไปจากกรุงเทพฯ บ้างก็น้อยมาก จนเห็นได้ชัดว่าเป็นสำเนียงเดียวกัน

ภาษาไทยถิ่นกลุ่มนี้น่าจะมีวรรณยุกต์อยู่เพียง ๕ เสียง จึงทำให้พัฒนาอักขรวิธีสำหรับวรรณยุกต์ ๕ เสียงขึ้นมา ไม่ใช่ ๖ เสียงอย่างสุพรรณฯ หรือ ๘ เสียงอย่างสงขลา

และตรงกันข้ามกับความเข้าใจที่ว่าคนโบราณน่าจะพูดภาษาไทยตามเสียงที่ปรากฏในอักขรวิธีเป๊ะ ผมเข้าใจตรงกันข้ามว่า คนโบราณน่าจะพูดภาษาไทยด้วยเสียงของภาษาพูดที่ไม่ตรงกับอักขรวิธีเอาเลย ก็เหมือนภาษาพูดของคนไทยปัจจุบันนี้นั่นแหละ

ก่อนหน้าที่เราจะตกลงพร้อมใจกันว่า ควรเขียนภาษาไทยที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูดอย่างไรนั้น ในยุคแรกๆ ของการพิมพ์นิยายไทย บางสำนักยังถือว่าถ้าอยู่ในเครื่องหมายคำพูดแล้ว ต้องเขียนเสียงจริงที่คนไทยใช้ในเวลาพูดกัน

เหตุดังนั้น จึงมีอักขรวิธีสองชุดเอาไว้เขียนนอกเครื่องหมายคำพูดชุดหนึ่ง และในเครื่องหมายคำพูดอีกชุดหนึ่ง

เช่น ในเครื่องหมายคำพูดไม่มีตัวกล้ำ, ไม่มีตัว ร.รักษา,เสียงวรรณยุกต์ของคำไม่คงที่ แล้วแต่ตำแหน่งในประโยค เป็นต้น

หนังสือนิยายเหล่านี้เป็นพยานว่าคนรุ่นปู่รุ่นทวดของเราไม่ได้พูดภาไทยสำเนียงไม่ต่างไปจากจนบ้านนอกในดินแดนแถบริมฝั่งเจ้าพระยาในสมัยหลังไปสักเท่าไร

คนบ้านนอกที่ผมหมายถึงคงไม่ใช่คนบ้านนอกในปัจจุบันแต่เป็นคนบ้านนอกสมัยที่ผมเป็นเด็กบ้านนอกสมัยที่ผมเป็นเด็กซึ่งไม่ค่อยได้อิทธิพลจากโรงเรียน หรือถึงได้ก็น้อยมาก เพราะเรียนจบแค่ชั้นประถม เป็นต้น

เท่าที่ผมจำภาษไทยของคนเหล่านี้ได้กลับเป็นตรงกันข้ามกับที่ละครทีวีใช้เป็นสัญลักษณ์ของสำเนียงโบราณเลยทีเดียว

นั่นก็คือ เสียงวรรณยุกต์ของเขาไม่ชัดเจนอย่างภาษาไทยในปัจจุบัน เช่น จัตวาก็ไม่สูงเท่ากับจัตวาปัจจุบัน, เสียงโทก็ไม่โทจ๋า อย่างปัจจุบัน เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น ในบางคำบางประโยค เสียงวรรณยุกต์ของเขายังมีเกินหนึ่งเสียงอีกด้วย เช่น “จะไปไหม” คำ ไหม ที่พูดในบางกรณีกลายเป็นสองเสียงวรรณยุกต์ คือมีโทนำก่อนจะถึงจัตวาอะไรทำนองนั้น

ผมจึงคิดว่า เสียงวรรณยุกต์ที่เราคุ้นหูในปัจจุบันนี้นั้น เป็นผลผลิตของโรงเรียน หรือของแบบเรียนเร็วก็อาจเป็นได้ ตรงที่ได้ผันวรรณยุกต์ออกเป็นห้าเสียงที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แล้วเอาคำทั้งหลายในภาษาไทยยัดลงไปใน ๕ เสียงนี้อย่างตายตัว

ภาษาไทยของคนรุ่นผมจึงมีเสียงวรรณยุกต์ชัดเหมือนที่ครูสอนให้ผันเป๊ะ ไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคนแก่ตามบ้านนอกที่ผมเคยได้ยิน เพราะภาษาไทยของท่านเหล่านั้นมีเสียงวรรณยุกต์ที่ไม่ชัดเด๊ะเท่าไร

ผมอยากจะเดาด้วยว่า เสียงเอกเสียงโทในอักขรวิธีไทยนั้นคนสุพรรณบุรีโบราณ หรือคนเพชรบุรีโบราณไม่รู้สึกเลยว่าจะต้องออกเสียงแตกต่างไปจากที่ตัวออกเสียงอยู่ขณะนั้น ที่มีรูปเป็นเสียงโทก็สามารถออกเสียงได้หลายอย่างตามแต่สำเนียงในท้องถิ่น

 คนสุพรรณฯ คนเพชรฯ มารู้สึกว่าตัวพูดเหน่อก็ต่อเมื่อการศึกษาแบบโรงเรียนแพร่หลายแล้วต่างหาก เพราะโรงเรียนไปวางมาตรฐานที่ตายตัวของภาษาขึ้น อักขรวิธีไทยกลายเป็นอักขรวิธีสำหรับรอบรับภาษาถิ่นแคบๆ (ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่อาจไม่มีอยู่จริง แต่เป็นภาษาของหนังสืออันเป็นมาตรฐานในจินตนาการ)

ตั้งแต่นั้นมา ก็มีคนพูด “เหน่อ” เกิดขึ้นในเมืองไทย

ผมได้ยินคนเหนือ, คนใต้ และคนอีสานบ่นเสมอว่า เดี๋ยวนี้ภาษาถิ่นของตนถูกภาษากรุงเทพฯ ทำให้เพี้ยนไปเป็นอันมากเสียแล้ว โดยเฉพาะรุ่นเด็กๆ แทบจะพูดภาษากรุงเทพฯ ด้วยสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้น

ผมก็เห็นใจความห่วงใยของคนท้องถิ่น แต่ที่จริงแล้ว แม้แต่ภาษากรุงเทพฯ เองก็ถูกเปลี่ยนไปด้วยมาตรฐานที่มากับโรงเรียนไม่น้อยเหมือนกัน

เหตุดังนั้น แทนที่จะเพ่งเล็งไปยังอิทธิพลกรุงเทพฯ เราน่าจะหันมาทบทวน “มาตรฐาน” ทุกชนิด ทุกชนิดในระบบโรงเรียนของเรากันใหม่ดีกว่า เพื่อที่ว่าโรงเรียนจะได้สร้าง “มาตรฐาน” ที่มีความยืดหยุ่นแก่คนต่างถิ่นและต่างเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคม

ในขณะเดียวกันก็เป็นมาตรฐานที่ให้เสรีภาพมากขึ้น กล่าวคือ ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการบังคับ แต่เกิดขึ้นเพราะเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง

จากบทความดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าอำนาจทางภาษาที่มีความหลากหลายนั้นยังเป็นข้อจำกัดอยู่เฉพาะสังคมกรุงเทพฯเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะเรื่องการใช้ภาษาที่เรียกว่า ภาษาไทย และภาษาท้องถิ่นดังเดิม

หนังสือ คำมีคม ว่าด้วย ภาษ วัฒนธรรม และอำนาจ สำนักศิลปวัฒนธรรม พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ในหัวข้อ ภาไทยของส้มฉุน

แค่นี้พอจะช่วยกันได้บ้างนะครับ


ผู้แสดงความคิดเห็น คน วันที่ตอบ 2008-01-03 21:13:54


ความคิดเห็นที่ 9 (1955697)

เนื่องจากปัจจุบันคนรุ่นใหม่ มักไม่พูดออกเสียงโท เช่น

วันที่   ออกเสียงเป็น  วันที้

กรุงเทพฯ   -   กรุงเท้พ

ห้า   -   ฮ้า

เก้า   -  เก๊า

ไม่ได้   - ไม้ด๊าย

ไม่รู้เรื่อง - ไม้รู้เรื้อง

ฯ ล ฯ

และที่น่าเป็นห่วงก็คือ ผู้ทำหน้าที่ สื่อ ครู นักการเมือง

ดารา  ต่างก็พูดวิบัติกันถึง 90 %

ที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งก็คือ พระราชดำรัสของพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านทรงดำรัสภาษาไทย

อย่างเป็นต้นฉบับ (original) อย่างแท้จริง

ล่าสุดทรงดำรัสในงาน ทรงรับรางวัลเหรียญข้าวทองคำ

ตอนหนึ่งทรงดำรัสว่า “แต่ว่ามาอย่างนี้ ก็ถือว่าเป็นการ

รับประกันว่า เรากินข้าวไทยและจะกินข้าวไทยต่อไป”

อีกตอนหนึ่งทรงดำรัสว่า “ขอให้ท่านช่วยกันทำให้ เราสามารถ

เชื่อว่า การได้กินข้าวไทยนี้ ทำให้คนไทยมีความภูมิใจในความ

เป็นไทยได้”

จากวลีดังกล่าวถ้าให้ผู้ประกาศข่าว (โดยเฉพาะหญิง) อ่านจะ

ได้สำเนียงแบบนี้ครับ “แต่ว้ามาอย่างนี้ ก๊อถือว้าเป็นการ

รับประกันว้า เรากินค้าวไทยและจะกินค้าวไทยต่อไป”

หรืออีกประโยคดังนี้ ว่า “ขอใฮ้ท้านช้วยกันทำใฮ้ เราสาม้ารถ

เชื้อว้า การได๊กินค้าวไทยนี้ ทำใฮ้คนไทยมีความภูมิใจในความ

เป็นไทยได๊”

นอกนั้นผมว่าเหลือคนไทยน้อยเหลือเกิน มีอยู่บ้าง

ซึ่งน่ายกย่อง เช่นคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ

คุณสาย กังกเวคิน สว. และพลเอกเตียบัน แห่งกัมพูชา

ถ้าปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป

อีก 30 ปี ภาษาไทย ไม่มีเสียงโท

แล้วเราจะแก้หลักไวยากรณ์กันอย่างไร

ประมุข งามละเมียด

ผู้แสดงความคิดเห็น ประมุข งามละเมียด (phumjaithai-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-06-26 20:33:10


ความคิดเห็นที่ 10 (2023268)

ภาษาไทยเราทําไมต้องเปลี่ยนเเปลงด้วยเเทนที่จะพูดตั้งเเต่สมัยต้นตำรับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Nitiphon Pheongkrathok (kuklho_pladuk-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-01-09 21:13:49


ความคิดเห็นที่ 11 (2107568)

wigs african american hair weaves bidding the highest amount And wigs best selling brands are half wigs zury wigs.

ผู้แสดงความคิดเห็น baig (ethan-at-mail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 11:05:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.