ReadyPlanet.com


งานOTOP CITY 2007


การจัดงานเมืองแห่งภูมิปัญญา (OTOP CITY) ครั้งที่ 5 จัดขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ 14 ถึง วันที่ศุกร์ที่ 21 ธ.ค. 2550(รวม 8 วัน)ณ อาคารชาแลนเจอร์ 1-3และฮอลล์1-8 ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนทบุรี

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP)เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด เพิ่มโอกาส เพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้าน ผู้ประกอบการที่อยู่ในชนบททั่วประเทศ โดยการนำผลิตภัณฑ์มาจำหน่าย มีการสาธิตและเผยแพร่ภูมิปัญญาไทยที่มีศักยภาพในด้านต่างๆด้วย

ซึ่งความโดดเด่นในการจัดงานครั้งนี้ ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านทั่วประเทศ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของกรุงเทพมหานครจำนวน 3,214 บูธ ประกอบด้วย ประเภทอาหารจำนวน 920 บูธ ประเภทเครื่องดื่มจำนวน 130 บูธ ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายจำนวน 870 บูธ ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกจำนวน 1,104 บูธ ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารจำนวน 190 บูธ และบูธขายสินค้าของสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยอีกจำนวน 30 บูธ 

 

ภายในงานยังมีการ  -การจัดซุ้ม OTOP เฉลิมพระเกียรติ

                -การสาธิตกระบวนการผลิตสินค้าที่คัดสรรมาจากทั่วประเทศ มาแสดงให้เห็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นที่บ่งบอกความเป็นไทยอย่างละเอียดทุกขั้นตอน เช่น สาธิตขั้นตอนผลิตผ้าไหมมัดหมี่ จ.ขอนแก่น สาธิตการทำผลิตภัณฑ์จากย่านลิเภา จ.นครศรีธรรมราช สาธิตการทำลายเบญจรงค์ จ.สุพรรณบุรี สาธิตทำโคมไฟกระดาษสา จ.เชียงใหม่ เป็นต้น

-การแสดงผลการดำเนินงานหมู่บ้าน OTOP ดีเด่น (OTOP VILLAGE CHAMPION : OVC)ที่ยกเอาหมู่บ้านท่องเที่ยวมีความโดดเด่นสวยงาม สะท้อนภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านที่อิงรากเหง้าและภูมิปัญญาแต่ละภาคมาตั้งให้เห็นในกระบวนการทำงานด้านต่างๆ เช่น บ้านนายูง จ.เลย ที่ได้นำขั้นตอนการผลิตหัวผีตาโขนมาแสดง บ้านเขาชัยสน จ.พัทลุง สาธิตการแกะสลักหนังตะลุง บ้านหนองจิก จ.เพชรบุรี จำลองวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำ เป็นต้น

-กิจกรรม OTOP SELECT  โดยกระทรวงพาณิชย์ โดยมีกิจจกรรมซื้อขายจับคู่สู่สากล รองรับการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ(มีกำลังการผลิตที่เข้มแข็ง)

-และ OTOP NEXTที่เป็นการแสดงผลิตภัณฑ์ในแนวคิดต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบและแนวโน้มของผลิตภัณฑ์ในอนาคตประกอบด้วย OTOP Trend 2008 / OTOP Newcollection

 

-การจัดนิทรรศการ KBO(Knowledge- Based OTOP : KBO)และ CLINIC OTOP ซึ่งจะเห็นภาพการต่อยอดพัฒนาสินค้าโอทอปภูมิปัญญาไทยในการพัฒนาสินค้าในแง่มุมต่างๆ อาทิ การบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาด้านการผลิต การพัฒนาด้านการตลาด การพัฒนาทักษาและการบริหารจัดการกลุ่ม เป็นต้น

-การจำหน่ายอาหารเด่น (OTOP ชวนชิม) จาก 75 จังหวัดทั่วประเทศ

-การจำหน่ายสินค้า OTOPที่แสดงถึงเอกลักษณ์และวิถีชีวิตของชาวบ้านใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

-การเดินแฟชั่นจากชุดที่ตกแต่งด้วยสินค้าโอทอป ในรูปแบบการเดินแฟชั่น “รักษ์ผ้าไทย” โดยการนำผ้าไทยแต่ละภาคมา Mix&Match ให้ดูทันสมัย

-การจัดมัคคุเทศก์นำชมกิจกรรมในงาน โดยการรับสมัครนักศึกษามาอบรมทำความเข้าใจในการจัดงานและให้นักศึกษาแต่งชุดไทยๆสำหรับนำคณะผู้สนใจเดินเที่ยวชมในงาน

-กิจกรรมโลกหลากสีของเด็ก ที่เป็นการจัดโซนพื้นที่สวนสนุกสำหรับเด็กไว้เพื่อพักผ่อนและสนุกสนานกับเครื่องเล่นต่างๆมากมาย

-เวทีกลางมีการประกวดวงดนตรีลูกทุ่ง การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน 4 ภาค เช่นการแสดงหุ่นคน การแสดงมโนราห์ตัวอ่อน การแสดงดิเกฮูลู การแสดงจากนักร้องชื่อดัง อาทิ ไมค์ ภิรมย์พร บานเย็น รากแก่น อาภาพร นครสวรรค์ ทุกวันฯลฯ



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้สื่อข่าวบ้านไพร :: วันที่ลงประกาศ 2007-12-04 00:34:08


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (938197)
อยากให้ทางผู้ที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกสินค้าโดยเฉพาะพัฒนาชุมชนระดับอำเภอให้คัดเลือกสินค้าโดยเฉพาะotopชวนชิม ให้คัดสรรจากกลุ่มฯใหม่ๆบ้างในรายการที่อาหารเหมือนกันทำเหมือนกันแต่รสชาดอาจจะดีกว่ากันก็ได้ อยากให้ตั้งกฏเกณฑ์ใหม่ก่อนจะไปให้ผู้ที่ผลิตสินค้าในลักษณะของotopทำอาหารหรือประกอบอาหารสดๆมาให้ชิม โดยให้คณะกรรมการการตัดสินต้องมาจากอาทิอาจารย์คหกรรมจากโรงเรียนอาชีวะ ประชาชน นักเรียน ข้าราชการส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับทุกๆฝ่ายและสินค้าก็จะได้มาตรฐานทางจังหวัดก็จะมีชื่อเสียงมากขึ้นด้วยและบางทีสินค้าอาจจะไม่จำเจ อาจจะมีรูปแบบแปลกใหม่แต่ตัวผลิตภัณฑ์เป็นตัวเก่า จากผู้ที่อยากนำเสนอแบบไม่ซ้ำซาก
ผู้แสดงความคิดเห็น post วันที่ตอบ 2007-12-13 08:20:20


ความคิดเห็นที่ 2 (938198)
อยากให้ทางผู้ที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกสินค้าโดยเฉพาะพัฒนาชุมชนระดับอำเภอให้คัดเลือกสินค้าโดยเฉพาะotopชวนชิม ให้คัดสรรจากกลุ่มฯใหม่ๆบ้างในรายการที่อาหารเหมือนกันทำเหมือนกันแต่รสชาดอาจจะดีกว่ากันก็ได้ อยากให้ตั้งกฏเกณฑ์ใหม่ก่อนจะไปให้ผู้ที่ผลิตสินค้าในลักษณะของotopทำอาหารหรือประกอบอาหารสดๆมาให้ชิม โดยให้คณะกรรมการการตัดสินต้องมาจากอาทิอาจารย์คหกรรมจากโรงเรียนอาชีวะ ประชาชน นักเรียน ข้าราชการส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับทุกๆฝ่ายและสินค้าก็จะได้มาตรฐานทางจังหวัดก็จะมีชื่อเสียงมากขึ้นด้วยและบางทีสินค้าอาจจะไม่จำเจ อาจจะมีรูปแบบแปลกใหม่แต่ตัวผลิตภัณฑ์เป็นตัวเก่า จากผู้ที่อยากนำเสนอแบบไม่ซ้ำซาก
ผู้แสดงความคิดเห็น post วันที่ตอบ 2007-12-13 08:23:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.