ReadyPlanet.com


ดนตรีไทย ในสังคมอำนาจควบคุมของ"รัฐ"


วันที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10769

ดนตรีไทย ในสังคมอำนาจควบคุมของ"รัฐ"


คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ




ปี่พาทย์เสภา วงษ์ศิษย์สุพจน์ โตสง่า โดย ขุนอิน โตสง่า ในงานเสียงของแผ่นดิน สุดยอดเสภา สยามประเทศไทย ที่ท้องพระโรง วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2550

เถรวาท เน้นให้ท่องจำเพื่อสวดปาฏิโมกข์ (เหมือนนกแก้วนกขุนทอง) แนวทางสืบทอดวิชาความรู้ก็ได้จากเถรวาทจนเป็นปรัชญาการศึกษาไทยทุกวันนี้ (ปากว่าเปลี่ยนแล้ว แต่วิธีปฏิบัติยังไม่เปลี่ยน) ส่งผลให้ดนตรีและนาฏศิลป์ไทยอยู่ในคอกคับแคบของอำนาจรัฐโดยไม่รู้ตัว ดังจดหมายของคุณอติภพที่เขียนมาบอกต่อไปนี้

ประกวด Young Thai Artist Award โดยเครือซิเมนต์ไทยปีนี้ของสาขาดนตรีแปลกออกไปกว่าทุกปีตรงที่กำหนดให้ผู้เข้าประกวดต้องสร้างงานผ่านวงดนตรีไทยเท่านั้น โดยมีหลักการคร่าวๆ ให้เป็นดนตรีแนวทดลอง (หรือ experimental music) เล่นสด และสามารถผสมวงได้อย่างหลากหลายไม่ต้องคิดถึงเรื่องขนบใดๆ ทั้งสิ้น จะมียกเว้นอยู่ก็แต่ห้ามใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าเท่านั้น

แต่หลังจากที่รอแล้วรอเล่า ผู้เข้าประกวดก็มีปรากฏให้เห็นให้ฟังอยู่เพียง 6 วงดนตรีเท่านั้น และปรากฏว่ามีบางวงต้องโดนตัดสิทธิเสียตั้งแต่แรกเริ่มเพราะทำผิดกติกา คือใช้การสังเคราะห์เสียงและมีการตัดต่อบทเพลงโดยใช้กลวิธีทางคอมพิวเตอร์ ทำให้เหลือวงดนตรีที่ผ่านเข้ามาจริงๆ เพียงสามวงเท่านั้น!

สิ่งนี้สะท้อนอะไรให้เราเห็น? มันไม่ได้กำลังบอกเราอยู่หรือ ว่าเรากำลังเผชิญกับกำแพงขนาดมหึมาที่ขวางกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนดนตรีไทย จากข้อมูลวงใน ทราบกันอยู่ว่าครูดนตรีไทยหลายท่านออกคำสั่งห้ามมิให้ลูกศิษย์ส่งเพลงเข้าประกวดในงานนี้ เพราะมันเป็นการสร้างงานนอกครู! นอกขนบ!

บางคนอาจมองปัญหาว่าเกิดจากการประกวดนี้เองแหละที่จับประเด็นล้าหลังไปหน่อย มันหมดสมัยแล้วกับการไปรักษาและจับยึดความเป็นไทย

นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดโดยสิ้นเชิง เพราะการตั้งโจทย์การประกวดที่คิดขึ้นมานี้มิได้เป็นความพยายามที่จะรักษาความเป็นไทยเลย และแท้ที่จริงแล้วกลับเป็นตรงกันข้าม คือมันพยายามที่จะทุบทำลายความเป็นไทยต่างหาก มันเป็นการรื้อสร้างความเป็นไทยแบบเดิมๆ เพื่อตั้งคำถามกับตัวตนของเราทุกคนว่าอะไรคือความเป็นไทย และเปิดเส้นทางใหม่ให้เราได้เรียนรู้และคิดค้นร่วมกันต่างหาก!

การที่บอกให้ใช้เครื่องดนตรีไทยทำงานทดลองมันก็บอกอยู่แล้วว่าให้ทำอะไรมาก็ได้ ที่มันไม่เหมือนเดิม! ที่มันไม่ใช่ขนบ! มันฉีกทำลายความเชื่อเก่าๆ ตั้งแต่แรก เหมือนกับโยนขวานให้นักเดินทางนั่นแหละ โยนให้เขาเฉยๆ เพื่อที่เขาจะได้มีโอกาสได้บุกป่าฝ่าดงที่มันรกชัฏนั้นได้ด้วยตัวเอง

แต่ผลปรากฏว่านักเดินทางส่วนมากกลับไม่เก็บขวานเล่มนั้นขึ้นมา บางคนเก็บขึ้นมาแต่ก็ไม่กล้าเข้าไปในป่า ก็พ่อแม่ครูบาเขายังไม่กล้าเข้าไป แล้วตัวเขาเองจะไปกล้าเข้าไปได้อย่างไรเล่า? เขาคงคิดอย่างนี้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดโดยสิ้นเชิง

ก็ ณ ตรงนี้ตรงที่เขายืนอยู่ตอนนี้น่ะ เมื่อก่อนมันมิใช่ป่าทึบหรอกหรือ? ทุกหนทุกแห่งเคยเป็นป่าทึบทั้งนั้นแหละ คนเราล้วนบุกเบิกก่อร่างสร้างตัวมาด้วยการบุกป่าฝ่าดงทั้งนั้น อาจจะไม่ใช่รุ่นพ่อรุ่นแม่เขาครูบาเขาหรอกที่บุกเบิกที่ดินผืนนี้ แต่ปู่หรือทวดเขาต่างหากที่บุกเบิกที่ดินผืนนี้มาก่อน และมันก็เป็นไปไม่ได้ที่เราจะอยู่ติดที่กันไปชั่วโลกดับ ชีวิตต้องเคลื่อนที่ ดนตรีต้องเคลื่อนไหว และใจของนักเดินทางต้องกล้าพอ!

มันเป็นเรื่องน่าตกใจที่กระทั่งแวดวงศิลปะยังมีสภาพเป็นสังคมแห่งการควบคุม การควบคุมที่ร้ายกาจที่สุดนั้นไม่ผิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในนวนิยายเรื่อง The Naked Lunch ของ William Burroughs หรือภาพยนตร์เรื่อง Brazil ของ Terry Gilliam มันเป็นสังคมที่สถาปนาอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือสมาชิก มันเป็นสังคมที่คนทุกคนยินยอมพร้อมใจกันหยุดนิ่งอยู่กับที่!

หรือว่าสำหรับบ้านนี้เมืองนี้แล้วสิ่งเหล่านี้มันเป็นเรื่องปกติ? อติภพ ภัทรเดชไพศาล

ขอให้ย้อนขึ้นไปอ่านย่อหน้าแรกอีกครั้ง แล้วจะทักท้วง-ถกเถียง หรือจะด่าทอก็ได้


หน้า 34


ผู้ตั้งกระทู้ ผู้สื่อข่าวบ่านไพร :: วันที่ลงประกาศ 2007-09-05 10:54:36


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (937847)

งั้นขอเถียงนะคะ

ขนบของเพลงคลาสสิคไม่ใช่แค่ชนิดของเครื่องดนตรีที่เอามาเล่นค่ะ แต่หัวใจคือทฤษฏีดนตรีที่เป็นระเบียบแบบแผนเฉพาะ ซึ่งแม้ว่าในกฏระเบียบนั้นมีข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวโน้ตและเสียงประสาน  ชนิดของเครื่องดนตรี ฯลฯ ที่ตายตัว แต่ผู้สร้างสรรค์ก็ยังมีอิสระภายในกรอบนั้น จะเห็นว่าเพลงคลาสสิคมีตั้งแต่ช้าถึงเร็ว สนุกถึงเศร้าโศก หลากหลายมาก

การมีกรอบ มีขนบนี่เองทำให้เพลงคลาสสิคเป็นดนตรีที่มีความดีเป็นอมตะอยู่ในตัว ฟังกันมาร้อยปีก็ยังเพราะ ถ้าจะพยายามทำความเข้าใจว่า ดียังไง ในทางวิทยาศาสตร์น่าจะสันนิษฐานได้ว่า เสียงและจังหวะ ฯลฯในรูปแบบของเพลงคลาสสิคนั้นถูกกันกับกับระบบประสาทการรับรู้ของสิ่งมีชีวิต ดังนั้น เมื่อเอาเพลงคลาสสิคไปเปิดให้ต้นไม้ฟังต้นไม้ก็ชอบ  เปิดให้คนท้องฟังลูกก็จะอารมณ์ดี ฉลาด ฯลฯ

มาถึงการประกวดดนตรี(อ้างว่าเป็นดนตรีไทยเพื่อค้นหาความเป็นไทยในเส้นทางใหม่)บ้าง เอาเครื่องดนตรีไทยมาตั้งแล้วให้เล่นอะไรก็ได้  ดิฉันว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นการเอาอุปกรณ์ของเครื่องดนตรีไทยมา แต่ไม่ได้เอาวิญญาณของดนตรีไทยมาด้วย อย่าเรียกว่าประกวดวงดนตรีไทยดีกว่า

ถ้าต้องการการเริ่มต้นตั้งแต่ 0 เลย เพื่อต้องการหาแนวทางและสร้างสรรค์ที่แท้จริง น่าจะเริ่มจากกะลา ไม่ใช่ซออู้ค่ะ

ใจจริงแล้วอยากเห็นการต่อยอดจากของเดิม(ที่ดีอยู่แล้ว)  ดนตรีไทย มีแนวดนตรีที่เหมาะกับเครื่องดนตรีแต่ละชนิดอยู่แล้ว เอาตรงนั้นมาใช้สร้างสรรค์ต่อเถอะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แมว วันที่ตอบ 2007-09-05 13:24:45


ความคิดเห็นที่ 2 (937848)

เห็นขุนอินทร์ แล้วนึกถึงนิทานเรื่อง หัวล้านนอกครู  แล้วนึกถึงกลอนของลุงคนหนึ่งท่านแต่งไว้ ความว่า


ก่อนเขตเถื่อนขีดแถวแล้วแผ้วถาง
เกิดเส้นทางเชื่อมทอดตลอดวิถี
คนด้นดั้นสำรวจดูจนรู้ดี
ใช่สุ่มชี้ชุ่ยชุ่ยเดินลุยชน

กี่รอยเท้ากรุยทางสร้างรอยทับ
เนิ่นนานนับแค่ไหนได้เป็นถนน
มิใช่ตรองแค่ตามความคิดตน
แล้วดิ้นรนเที่ยวเร่หาเสรี

เป็นวิวัฒนาการสานสืบทอด
ซึ่งอ้อมกอดกาลสมัยใคร่หลีกหนี
นวัตกรรมล้ำหน้าเผยท่าที
หวังเพียงมีลักษณ์ใหม่ให้ชวนมอง

เกิดจุดขายสำคัญคนพันธุ์ใหม่
คือขอให้ผิดแปลกแผกคนผอง
อย่ามีกรอบกีดกั้นวางครรลอง
ไม่จำต้องกำหนดรสนิยม

กับยุคที่ท้าถามความวิบาก
เพื่อหลุดจากพันธะโลกสะสม
ลิ้มเสรีเริงร่าตามอารมณ์
มิใช่จมในปลักความดักดาน

ใช่แน่หรือเสรีแห่งชีวิต
หรือเป็นเรื่องวิปริตจิตฟุ้งซ่าน
ไม้ทุกต้นก่อนโตอวดโอฬาร
ลืมต้องการรากแก้ว..ก็แล้วไป


ต้นไม้ รากแก้ว ถนน รอยเท้า เป็นสัญลักษณ์ ไม่ได้มีไว้ให้อ่านธรรมดา เมื่อถอดแล้ว คลีคลายปัญหาที่ขมวดไว้ข้างบน


แต่อยากเสริมเรื่องที่ "เถรวาท เน้นให้ท่องจำเพื่อสวดปาฏิโมกข์ (เหมือนนกแก้วนกขุนทอง)"

แล้วอยากถามท่าน สุจิตต์ว่า ท่านเคยท่องสูต่คูณ หรือไม่ คิดว่า คงต้องเคยท่องแน่ๆ เมื่อท่องแล้วก็จะจำได้ เมื่อจำได้แล้วเวลาคำนวน ก็เอามาเป็นพื้นฐาน ในการคิดเลขต่อไป

ปาติโมกข์ ก็เช่นกัน พระพุทธองค์ ท่านเผยแผ่ศาสนธรรมแบบมุขปาฐะ งดเว้น อักขระ ฉะนั้น การท่องจำ ปาติโมกข์ แบบมุขปาฐะก็น่าจะมีคุณความดีอะไรบางอย่าง มิใช่หรือ?

ลัทธิเถรวาท อาจารย์ วศิน อินทรสระ อรรถาธิบายว่า เหมือน ครูผู้สอน อยู่หน้า ส่วนลูกศิษย์เดินตามหลัง เพราะศิษย์นั้นยังโง่อยู่มากจึงต้องทำตามครูไปก่อน 

ส่วนมหายาน เหมือนครูผู้สอนอยู่ข้างหลัง ลูกศิษย์เดินอยู่ข้างหน้า เมื่อลูกศิษย์ เดินผิดทาง ครูก็จะคอยบอก

ทั้งลัทธิ มหายานและเถรวาท อุปมาเหมือนปีกของศาสนา ที่ช่วยให้พุทธศาสนาสูงส่งรุ่งเรือง มีคุณเสมอกัน หรือคุณ สุจิตต์ นับถือ ศาสนาอื่น แล้วมาดูหมิ่น ลัทธิเถรวาท อันนี้ก็อีกเรื่อง

ปัญหาของดนตรี หรือกวีนิพนธ์ ไม่ได้อยู่ที่ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปัญหาที่น่าเป็นห่วงกว่าก็คือ การสืบสานแบบผิดๆ เพราะขาดความเข้าใจอันถ่องแท้  ต่างหากล่ะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-09-05 19:09:34


ความคิดเห็นที่ 3 (937849)

ถอดได้แล้ว กลอนข้างบนสื่อความว่าจะเดินออกนอกเส้นทาง มีความรู้พร้อมแล้วหรือ หรือว่ามีแต่ขวาน อย่างเดียว จะทำทางใหม่แล้วพูดว่าทางเก่ามันคับแคบน่ะ ไม่ถนอมน้ำใจ+คิดถึงบุญคุณบรรพบุรุษที่แผ้วถางทางมาให้เดินบ้างหรือ

ผู้แสดงความคิดเห็น คุถเต๋า วันที่ตอบ 2007-09-05 20:01:39


ความคิดเห็นที่ 4 (1870896)

hl-[

-huoio

ljkl

iku

ผู้แสดงความคิดเห็น kpj วันที่ตอบ 2008-11-30 12:11:36


ความคิดเห็นที่ 5 (4083071)
??????????,Giuseppe Zanotti, ?????, ???, ????, ????,??,??,??,??,??????3,000??????????????????????????????????????? ?????????? ????? http://t6p4lvv.blog.shinobi.jp/
ผู้แสดงความคิดเห็น ?????????? ????? (yzfdzp-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-10-17 12:32:41


ความคิดเห็นที่ 6 (4083409)
??????(TISSOT)??????????????????????????????r???????????r??????????r??????,tissot ??r???????? ?????????????????????????????o???? ?????? ??r???????? ??r?????? http://yaplog.jp/w7447hx/
ผู้แสดงความคิดเห็น ?????? ??r???????? ??r?????? (skwlkhb-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-10-18 01:23:46


ความคิดเห็นที่ 7 (4083689)
VANS(?????,??????)?????????????????????VANS(?????,??????)???????`???`?? ????`??????????????????????????????????????`?????????N????????B???????????? ?????`???` ?????????? http://kkt165s.tuna.be/
ผู้แสดงความคิดเห็น ?????`???` ?????????? (hgubzjx-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-10-18 12:51:01



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.