ReadyPlanet.com


วรรณกรรมเล่มน้อย(เล่ม2)ที่ผมแต่งเอง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ครับ


เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นคำสอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสไว้ในความเป็นจริงของมนุษย์ ปุถุชน ทุกๆคน รวมไปถึงผู้ที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ ฐานันดรต่างๆ ผองชน ทุกชนชั้น วรรณะ ในทุกๆความเชื่อ และในศาสนาพุทธของไทยเรานั้น เชื่อได้ว่า การที่เราศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งท่านให้คำสั่งสอนกับชีวิตมนุษย์ ในศาสนาพุทธทุกๆชนชั้น ซึ่งเป็นคำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยโดยพระองค์เอง และทรงตรัสไว้ดีแล้ว จึงเห็นได้ว่า คำว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นคำที่ใช้กับการสื่อถึงคำสั่งสอนในวัฒจักรของการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในทุกชนชั้น วรรณะ และในทุกชนชั้นวรรณะควรรู้ซึ่งคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ทรงตรัสรู้ และคำสั่งสอนของพระองค์ในศาสนาพุทธนั้น เปรียบดั่งผู้มีบทบาทหน้าที่ บริหารครอบครัว ควรยึดถือในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำมาประยุกต์ใช้ ในการสั่งสอนบุตรหลานของตนให้เป็นคนดี และดำเนินรอยตามพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าศาสนาพุทธมีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางวัตถุ และจิตใจ เกี่ยวกับคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ในคำสอน และตรัสไว้ดีแล้ว และชาวไทยทุกๆคนที่นับถือศาสนาพุทธ ต่างปฏิบัติตาม ซึ่งศรัทธาและยึดถือมาตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่า คำสั่งสอนของท่านทำให้ชาวไทยในศาสนาพุทธ มีความรู้ และมีคามเจริญขึ้น และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่แบ่งออกได้ตามขั้นแห่งการปฏิบัติตามขั้นตอน ในการดำรงชีวิตที่ดี และเจริญมั่นคง ตามคำสั่งสอนของพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ให้แก่ชาวพุทธทั้งหลายทั้งปวง และในคำสั่งสอนของท่านอีกบทบทหนึ่ง คือการที่ได้ตรัสสั่งสอนถึงวัฒจักรแห่งการดำเนินชีวิต และการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในเรื่องของความเชื่อถือในคำสั่งสอนถึงบท บทที่ว่า “มนุษย์เรานั้นวัฒจักรที่แท้จริงก็คือ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการดับไป” ซึ่งทั้งหมดนี้จะเหลืออยู่ซึ่ง “รากฐานแห่งคุณงามความดี” “การกระทำ” “ชื่อเสียงแห่งความเป็นมาที่ดีงาม” และความศรัทธาที่ยังคงมีการยึดถือและปฏิบัติเรื่อยมาตามความเชื่อถือ ที่นำมาประยุกต์ใช้กับสถาบันครอบครัวเพื่อสื่อให้เห็นถึงความเจริญที่ควบคู่กับการปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

การเกิดขึ้น หมายถึง ชีวิตของมนุษย์ในทุกชนชั้นวรรณะ จะมีการเกิดขึ้นโดยยึดหลักในความเชื่อ จะเป็นศาสนาใดก็ดี แต่ในที่นี้คือ การเกิดขึ้น ในศาสนาพุทธ จะเห็นได้ว่าคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเรื่องของการเกิดขึ้น นั่นคือ รูปธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะทุกชีวิตย่อมมีการเกิดในรูปธรรมก่อน ซึ่งนั่นหมายถึง การกำหนดจิตขั้นแรกของมนุษย์ (นั่นก็แล้วแต่ว่า การบริหารในการดำเนินชีวิตของครอบครัวใด มีลักษณะนามธรรม ที่แตกต่างกัน) แต่ในขั้นรูปธรรมแล้ว ย่อมเกิดขึ้นเป็นชั้นแรกแห่งการดำเนินชีวิต ที่ต้องเป็นไป หรือก้าวไปสู่ การตั้งอยู่ในวิถีเวลาแห่งในอนาคตกาล ซึ่งนั่นอาจเป็นการก้าวเข้าสู่ “การตั้งอยู่”

การตั้งอยู่ การตั้งอยู่ในที่นี้คือ เป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นคำสั่งสอนให้รู้ถึง การกระทำต่างๆในชีวิต ที่ก่อให้เกิดคุณค่าและผลประโยชน์ของตนเอง และของสังคมในความเป็นจริง หรือการตั้งอยู่ในชั้นของสถาบันครอบครัว หรือในเรื่องของวิถีชีวิตโดยรวมของสังคมที่เป็นความจริง ( ในชั้นเกิดการรูปการ ) การตั้งอยู่จึงเป็นขั้นตอนที่ ๒ ตามวัฒจักรของการดำเนินชีวิตมนุษย์โดยความเป็นจริง อาจเป็นการดำเนินการต่างๆและการประพฤติต่างๆ ที่ชนชั้นทุกชนชั้นในสังคมมี แต่ การตั้งอยู่ควรถูกตั้งอยู่ด้วยหลักของเหตุผลของความดีงาม ผนึกกับความดี และการประพฤติตนที่ดีในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ชีวิตของตนได้สำเร็จ และได้เจริญก้าวหน้าและมีความสุขในชั้นแห่งการตั้งอยู่นี้ ซึ่งเป็นชั้นที่ ๒ แห่งการดำรงชีวิต และการตั้งอยู่ในที่นี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ในชนชั้นวรรณะย่อมเกิด ซึ่งเป็นผลพวงที่ได้รับมาจากคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ชีวิตในเยาว์วัย ถึง ความรู้ที่พ่อ แม่ ครูบา อาจารย์ มีให้ ย่อมก่อให้เกิดความดีงาม ซึ่งนั่นเป็นเพียงชั้นรูปธรรมและนามธรรมแห่งการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ตามหลักการของศาสนาพุทธ การตั้งอยู่ จึงเป็นสิ่งที่ขาดมิได้ในการดำรงชีวิตตนเอง ให้เกิดฐานะทางครอบครัว หรือทางสังคมที่มั่นคง จนกว่าระยะเวลาแห่งการตั้งอยู่เกิดความเปลี่ยนแปลงลงจนถึงชั้นที่ ๓ คือ “การดับไป” นั่นเอง

การดับไป การดับไปนั้น ถือเป็นสิ่งที่คนเราทุกคน ทุกชนชั้น ทุกวรรณะ ย่อมต้องเผชิญเจออย่างหลีกเลี่ยงเสียมิได้ การดับไปถือเป็นสิ่งสุดท้ายแห่งวัฒจักรการดำรงชีวิตมนุษย์ ถือเป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนต้องเจอ ไม่วายเว้นถึงแม้จะเป็นผู้ที่มีวรรณะสูง หรือผู้ที่ด้อยวรรณะ หรือพระมหากษัตริย์เองก็ตาม ก็ต้องเผชิญต่อการดับไปตามวัฒจักรที่ไม่มีใครที่หลีกเลี่ยงมันได้ การดับไปจึงเปรียบได้กับแสงเทียนที่สว่างไสวมานาน ตามอายุของการเวลา แล้ววันหนึ่งแสงเทียนนั้นดับลง จึงเปรียบได้ถึงแสงสว่างที่มืดลงตามไป นั่นถือเป็น ”เงื่อนไขของกาลเวลา” เปรียบเสมือนกับการกระทำที่เราเป็นผู้สร้างขึ้น โดยมีหลักและกฎเกณฑ์และผลพวงที่ดีงาม หรือการที่เป็นคนมีบารมีสูง สร้างความดีและชื่อเสียง ฐานะในชาติแห่งความดีงามนี้ไว้ ก็ย่อมอยู่ได้ด้วยการระลึกถึง หรือการกระทำที่ดีและมีคนเห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตา พอจากไปแล้วก็จะมีคนสรรเสริญในความดี และเล่าถึงในความดีที่บุคคลคนนั้นสร้างไว้ในชาติของตน และการดับไปจะคงอยู่ได้ด้วยผลดีถ้าบุคคลผู้นั้นก่อกรรมดีเอาไว้ในชาติของตนอย่างสมบูรณ์ การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การดับไป จึงถือเป็นวัฒจักรที่มิอาจที่จะหลีกเลี่ยงได้ และคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” นั่นถือเป็นหลักธรรมในคำสั่งสอน และเป็นสัจธรรมในการดำรงชีวิตของคนไทยมาช้านานและเป็นความเชื่อของคนไทยศาสนาพุทธ ที่ยึดถือกันมาแต่ในอดีต และเรื่องของกรรม หรือในเรื่องของกฎแห่งกรรม “กงเกวียนกรรมเกวียน” ก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องเชื่อถือกันตลอดไปชั่วกัลปาวสาร เพราะนั่นถือเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยแท้จริง รวมไปถึง การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการดับไป เพราะถือว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรมแห่งความเป็นจริงนั่นเอง

การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การดับไป

วัฒจักร สิ่งใดๆ ในโลกหล้า

หากเกิดแล้ว วิเศษล้น ในปรัชญา

ท่านเรียกว่า ผู้มีค่า ได้เป็นคน

หากเกิดแล้ว ไม่แล้ว มิสร้างชื่อ

ให้ระบือ กัมปนาท ทุกแห่งหน

ท่านเรียกว่า ไม่น่าคบ จะอับจน

มิรู้ตน ตามเกวียน ล้อเลียนคุณ

ยิ่งมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี นี่น่าคบ

เพราะว่าจบ เทินหัว ดูมีค่า

ท่านเปรียบเปรย ว่าชาติสูง สูงปัญญา

ได้นำพา ความเจริญ ในชั้นชน

แต่ผู้ใด ไร้เกียรติ ท่านว่าขลาด

มิฉลาด ไร้สู่ ดูขัดสน

หนักไม่เอา เบาไม่สู้ มิรู้ตน

ไม่ใช่คน ให้ท่านเรียก ท่านเพรียกแปล

 

ฑีพัตรยศ สุดลาภา teapatyost341455@hotmail.com



ผู้ตั้งกระทู้ ฑีพัตรยศ สุดลาภา :: วันที่ลงประกาศ 2008-04-30 12:18:54


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1427759)

 

         เป็นความเรียงที่ทำได้ดี น่าอ่านมาก ขออนุโมทนา สาธุ
       วัฏจักร = การหมุนเวียน(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป)

ผู้แสดงความคิดเห็น พิกกาจู้ วันที่ตอบ 2008-04-30 12:54:44


ความคิดเห็นที่ 2 (1434875)
แต่งได้ดีมีสาระทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองถ้อยคำภาษาเรียบง่ายน่าอ่านมาก
ผู้แสดงความคิดเห็น นักกลอน วันที่ตอบ 2008-05-01 07:04:27


ความคิดเห็นที่ 3 (1451092)

กลอนเพราะดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอ้ วันที่ตอบ 2008-05-02 20:28:23



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.