ReadyPlanet.com


สุวิชา โน ภวํ โหติ สุวิชาโน ปราภโว


สุวิชา โน ภวํ โหติ ทุวิชาโน ปราภโว : ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม
สุวิชา โน ภวํ โหติ สุวิชาโน ปราภโว : ผู้เจริญก็รู้ง่าย ผู้เสื่อมก็รู้ง่าย
โดย ศาสตราจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ (ราชบัณฑิต)

บัดนี้ปรากฏว่าคำบาลี ในพระไตรปิฎกฉบับ ทยฺยรฏฺฐสฺส สงฺคีติเตปิฏกํ คำว่า สุวิชา โน ภวํ โหติ ทุวิชาโน ปราภโว

ได้แก้ใหม่เป็น สุวิชา โน ภวํ โหติ สุวิชาโน ปราภโว และพระไตรปิฎกฉบับหลวง พิมพ์ครั้งที่ ๔ ก็ได้แปลว่า ผู้เจริญก็รู้ง่าย ผู้เสื่อมก็รู้ง่าย

คณะกรรมการชำระพระไตรปิฎกได้ตรวจทานกับพระไตรปิฎกภาษาบาลีของประเทศอื่นคือฉบับของศรีลังกา ฉบับของพม่า และฉบับของสมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) และตามแนวคำอธิบายของอรรถกถาแล้ว จึงได้แก้ไขคำบาลีที่ว่า ทุวิชาโน ปราภโว เป็น สุวิชาโน ปราภโว ทั้งนี้เพราะตามหลักไวยากรณ์แล้วคำว่า สุวิชาโน จะแปลว่าผู้รู้ดี และ ทุวิชาโน จะแปลว่า ผู้รู้ชั่ว
ไม่ได้
คำว่า สุวิชาโน จะต้องแปลว่า อันบุคคลรู้ได้ง่าย หรือ ความรู้ดี เท่านั้น
และ
คำว่า ทุวิชาโน จะต้องแปลว่า อันบุคคลรู้ได้โดยยาก หรือ ความรู้ชั่ว (ไม่มีความรู้)

ถ้าแปลคำว่า ทุวิชาโนว่า ผู้รู้ชั่ว หากไปพบคำบาลีลักษณะนี้เช่นในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรคว่า

ทุชฺชาโน สมโณ ทุชฺชาโน พรฺาหฺมโณ ก็ต้องแปลว่า ผู้รู้ชั่วเป็นสมณะ ผู้รู้ชั่วเป็นพราหมณ์ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะถ้าแปลอย่างนี้ปัญหาก็จะมีว่า แล้วผู้รู้ดีจะเป็นอะไรเล่า คำบาลีในที่นี้จะต้องแปลว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมร์ก็รู้ได้ยาก เพราะบุคคลที่ปลงผมแล้วห่มเหลือง อาจไม่ใช่พระ ไม่ใช่สมณะก็ได้ ดังที่มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน อยู่แทบทุกวัน ที่มีผู้ปลอมบวชเพื่อเลี้ยงชีพก็มี การที่จะรู้ว่าใครคือสมณะ หรือเป็นพราหม์ที่แท้นั้น ต้องอยู่ใกล้ชิดนานๆ ดังคำบาลีที่ว่า ทุชฺชาโน สมโณ ทุชฺชาโน พรฺาหฺมโณ สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์ก็รู้ได้ยาก นากจากนั้นคำในบาลีในอรรถกถา มัชฌิมนิกาย ที่ว่า เอวํ ทุชฺชานา อาวุโส อริยา แปลว่า อริยบุคคลทั้งหลายรู้ได้โดยยาก แต่ถ้าแปลคำว่า ทุชฺชาโน (เอกพจน์) ทุชฺชนา (พหูพจน์) ว่าผู้รู้ชั่ว ก็ต้องแปล บาลีนี้ว่า พระอริยบุคคลเป็นผู้รู้ชั่ว (ไม่มีความรู้) หรือผู้รู้ชั่ว (ไม่มีความรู้) เป็นพระอริยบุคคล หรือคำบาลีใน อรรถกถา อังคุตนิกาย ที่ว่า กุทฺธา นาม สุวิชานา โหติ ธรรมดาว่าคนที่โกรธแล้ว เป็นผู้ที่ใครๆก็รู้ได้โดยง่าย (คนโกรธมีอาการหน้าแดง คิ้วขวมด ตาแข็งกร้าว พอมองเห็นก็รู้ว่าโกรธนั่นเอง) ถ้าแปล สุวิชาโน (เอกพจน์) หรือ สุวิชานา (พหูพจน์) ว่า ผู้รู้ดี ข้อความในบาลีประโยคนี้ก็ต้องแปลว่า ผู้รู้ดีเป็นผู้มักโกรธ หรือ ผู้มักโกรธเป็นผู้รู้ดี ซึ่งเป็นการแปลที่ไม่ถูกต้อง

สรุป
สุวิชาโน ต้องแปลว่า อันบุคคลรู้ได้ง่าย ไม่ใช่แปลว่าผู้รู้ดี
ทุวิชาโน ต้องแปลว่า อันบุคคลรู้ได้โดยยาก ไม่ใช่แปลว่า ผู้รู้ชั่ว

การที่คระกรรมการผู้ตรวจทานพระไตรปิฏกได้แก้ไขคำบาลีที่ว่า ทุวิชาโน ปราภโว เป็น สุวิชาโน ปราภโว นั้นถูกต้อง แล้ว แม้ในพระไตรปิฎกของไทยเองก็ไม่ตรงกันคือ ฉบับทองทึบ จารึกอักษรขอมลงบนใบลาน ถอดเป็นไทยได้ว่า สุวิชาโน ภวํ โหติ สุวิชาโน ปราภโว แต่ฉบับล่องชาด (ทางสีแดง) ได้จารอักษรขอมถอดเป็นไทยว่า สุวิชาโน ภวํโหติ ทุวิชาโน ปราภโว แม้ของไทยเองก็ไม่ตรงกัน แต่เมื่อได้เทียบกับของฉบับศรีลังกา พม่า และของสมาคมบาลีปกรณ์ คณะกรรมการผู้ตรวจชำระสอบทานพระไตรปิฏกจึงได้แก้ไขคำบาลีเป็น สุวิชาโน ปราภโว และแก้ไขคำแปลเป็น ผู้เสื่อมก็รู้ง่าย



ผู้ตั้งกระทู้ กวินทรากร :: วันที่ลงประกาศ 2007-12-27 09:11:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (938391)
แก้คำผิดอ่านได้จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao
ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-12-27 09:23:53


ความคิดเห็นที่ 2 (938392)

ปราภวสุตตปาฐะ

 

                             สุวิชาโน     ภะวังโหติ,                    ทุวิชาโน     ปะราภะโว,

                             ธัมมะกาโม     ภะวังโหติ,               ธัมมะเทสสิ     ปะระภะโว.

                             อะสะตัง     ธัมมัง     โรเจติ                              ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                             ๒.   นิททาสีลี     สะภะสีลี                    อะนุฏฐาตา     จะ     โย     นะโร,

                             อะละโส     โกธะปัญญาโน                    ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                             ๓.   โย     มาตะรัง     ปิตะรัง     วา                    ชิณณะกัง     คะตะโยพพะนัง,

                             ปะหุสันโต     นะ     ภะระติ                               ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                             ๔.   โย     พ์ราห์มะณัง     สะมะณัง     วา              อัญญัง     วาปิ     วะณิพพะกัง,

                             มุสาวาเทนะ     วัญเจติ                                           ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                             ๕.   ปะหุตะวิตโต     ปุริโส                    สะหิรัญโญ     สะโภชะโน,

                             เอโก     ภุญชะติ     สาธูนิ                      ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                             ๖.   ชาติถัทโธ     ธะนะถัทโธ                    โคตตะถัทโธ     จะ     โย     นะโร,

                             สัญญาติมะติมัญเญติ                                ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                             ๗.   อิตถีธุตโต     สุราธุตโต                    อักขะธุตโต     จะ     โย     นะโร,

                             ลัทธัง     ลัทธัง     วินาเสติ                       ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                             ๘.   เสหิ     ทาเรหิ     อะสันตุฏโฐ                    เวสิยาสุ     ปะทุสสะติ,

                             ทุสสะติ     ปะระทาเรสุ                                    ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                             ๙.   อะตีตะโยพพะโน     โปโส                 อาเนติ     ติมพะรุตถะนึง,

                             ตัสสา     อิสสา     นะ     สุปปะติ             ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                             ๑๐.   อิตถิง     โสณฑิง     วิกิริณิง                    ปุริสัง     วาปิ     ตาทิสัง,

                             อิสสะริยัส์มิง     ฐะเปติ                                    ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                             ๑๑.   อัปปะโภโค     มะหาตัณ์โห              ขัตติเย     ชายะเต     กุเล,

                             โส     จะ     รัชชัง     ปัตถะยะติ                ตัง     ปะราภะวะโต     มุขัง.

                                     เอเต     ปะราภะเว     โลเก                ปัณฑิโต     สะมะเวกขิยะ,

                             อะริโย     ทัสสะนะสัมปันโน                    สะ     โลเก     ภะชะเต     สิวัง.

                                                                                              อิติดังนี้แล.

                              ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ,                                       ผู้รู้เป็นผู้เสื่อม,

                             ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ,                            ผู้เกลียดชังธรรมเป็นผู้เสื่อม.

                             ๑.     เขานั้นทำความรักในอสัตบุรุษ                     ไม่ทำความรักในสัตบุรุษ,             

                             เขาชอบในธรรมของอสัตบุรุษ                              ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                             ๒.   ผู้ใดเป็นผู้ชอบนอนหลับ          ชอบพูดคุย,     ไม่ขยัน     เกียจคร้านการงาน,

                             และเป็นคนมักโกรธ                        ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                             ๓.     ผู้ใดมีความสามารถอยู่                      ไม่เลี้ยงดูบิดามารดา,

                             ผู้ชราอันมีวัยหนุ่มผ่านไปแล้ว                   ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                             ๔.     ผู้ใดหลอกลวงสมณะพราหมณ์                หลอกแม้วณิพกคนขอทานอื่นใด,

                             ด้วยมุสาวาท                                                      ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                             ๕.     ผู้ใดมีทรัพย์มีเงิน                                      มีของเหลือกินเหลือใช้,

                             เขาบริโภคของที่ดี ๆ     นั้นแต่ผู้เดียว         ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                             ๖.      ผู้ใดหยิ่งเพราะชาติกำเนิด                 หยิ่งเพราะทรัพย์,      หยิ่งเพราะโคตร,

                             แล้วดูหมิ่นซึ่งญาติของตน                         ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                             ๗.     ผู้ใดเป็นนักเลงหญิง     นักเลงสุรา                    และนักเลงเล่นการพนัน,

                             เขาได้ทำลายทรัพย์ที่หามาได้     ให้พินาศฉิบหายไป

                             ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                             ๘.     ผู้ใดไม่พอใจรักใคร่ภรรยาตน,               กลับไปเที่ยวซุกซนกับหญิงแพศยา,

                             และลอบทำชู้กับภรรยาของผู้อื่น,                    ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                             ๙.      ชายแก่ผู้มีวัยหนุ่มผ่านไปแล้ว,              

                             ได้นำหญิงสาวน้อยมีถันเท่าลูกมะพลับมาเป็นภรรยา,

                             เขานอนไม่หลับเพราะความหึงหวง,     และห่วงอาลัยในหญิงนั้น,

                             ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                             ๑๐.    ชายใดตั้งหญิงนักเลงใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายมาเป็นแม่เรือน,

                             และหรือหญิงใดตั้งชายนักเลงใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายมาเป็นพ่อเรือน,

                             ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                             ๑๑.     ผู้ใดเกิดในตระกูลกษัตริย์                   มีโภคะน้อย,     แต่มีความอยากใหญ่

                             ปรารถนาราชสมบัติ,                                     ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม.

                                        ผู้เป็นบัณฑิตสมบูรณ์ด้วยทัสสนะอันประเสริฐ,

                             ได้เห็นเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลายเหล่านั้นชัดแล้ว,

                             ท่านย่อมเว้นสิ่งเหล่านี้เสีย,

                             (เมื่อเป็นเช่นนี้)     ท่านจึงพบและเสพแต่โลกซึ่งมีแต่ความเจริญ     (ฝ่ายเดียว).

                                                                                                   อิติ     ดังนี้แล.

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-12-30 15:46:56


ความคิดเห็นที่ 3 (1762325)
อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ
ผู้แสดงความคิดเห็น อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ วันที่ตอบ 2008-06-02 17:31:57


ความคิดเห็นที่ 4 (1962965)

+555555555555555555555555555

+55555555555555555555555555555

+555555555555555555

ผู้แสดงความคิดเห็น ฮิฮิ วันที่ตอบ 2009-07-15 13:23:34


ความคิดเห็นที่ 5 (2107202)

human hair weave black hair wigs Synthetic wigs have come a long way wigs tend to make people look older than blonde wig yaki lace wigs.

ผู้แสดงความคิดเห็น nautilus (josebt-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 08:24:44


ความคิดเห็นที่ 6 (2295668)

 gclub | genting club | holiday palace | royal1688

ผู้แสดงความคิดเห็น somo (somodok-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-08-22 11:31:39


ความคิดเห็นที่ 7 (4206437)

 ....

ผู้แสดงความคิดเห็น ....ฝ วันที่ตอบ 2017-08-16 13:57:15



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.