ReadyPlanet.com


เชิดชูชมพู่หมัก


ท่านสมัครนักสมาน

คอยประสานร่วมประสม

มีสมุนมาสดมภ์

คอยประดับคับประดัง

 

เป็นประธานปกประเทศ

อย่าทุเรศดันทุรัง

ชาญฉลาดเชี่ยวฉมัง

จะนิยมชมนิยาม

 

เขาเชิดเขาชูชมพู่สมัคร

ตัวแทนท่านทักษณ์น่ารักจะถาม

หากเป็นนายกจมูกจะดาม

ให้งดให้งามขึ้นบ้างอย่างไร

 

อีกถ้อยวาจาภาษาที่พูด

อย่าปากเหมือนตูดเหม็นบูดเข้าไส้

ควรเปล่งวาจาภาษาดอกไม้

ให้ฟังชื่นใจทั่วไทยจะชม

 

ท่านสมัครใช้สมองตรองสมาน

หวังประสานพรรคประสบมาประสม

เล่านิยายให้นิยามน่านิยม

มุ่งระดมพรรคระดับนับระดา

 

อภิสิทธิ์คิดเซ็งฟังเพลงเศร้า

น่าอับเฉาเน่าอับโชคนั่งอิจฉา

คนอิสาณคลั่งทักษิณไม่สร่างซา

คนกรุงเทพบ้อท่าระอาท้อ

 

นายสมัครนักสมานผ่านสมัย

ปากตะไกรได้ตระหนักควักตะขอ

ได้สติมีสตางค์ช่างสะตอ

ทอดสมอปล่อยสมองตรองสบาย

 

พรรคเล็กเล็กลุกลนคนหลุกหลิก

กลัวจะพลิกนอนแผ่ต้องแพ้พ่าย

อยากเข้าร่วมวิ่งรอกต่างออกลาย

ไม่มีอายกลัวอดหมดสิทธิ์อิง

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ คมเย็น :: วันที่ลงประกาศ 2007-12-27 10:59:05


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (938393)
ทำสะบัดสะบิ้งเป็นผู้หญิงเลยนะครับ 555
ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-12-28 16:16:16


ความคิดเห็นที่ 2 (938394)

สวัสดีครับคุณกวินทรากร

เขียนแล้วรู้สึกมันดี

ผู้แสดงความคิดเห็น คมเย็น วันที่ตอบ 2007-12-28 20:02:14


ความคิดเห็นที่ 3 (938395)

กว่าอิฉันจะเก็ทว่าท่านคมเย็นหมายึงอะไร ก็คิดไปถึงว่า บ้านเราเอาชมพู่มาหมักเป็นเหล้าได้แล้วน่อ....

เง้อ

ผู้แสดงความคิดเห็น มะขามหวาน วันที่ตอบ 2007-12-28 21:42:37


ความคิดเห็นที่ 4 (938396)

ชมพู่ลูกนี้หมักกินแล้วอาจท้องเสียครับ

คุณมะขามหวาน

ผู้แสดงความคิดเห็น คมเย็น วันที่ตอบ 2007-12-29 09:38:18


ความคิดเห็นที่ 5 (938397)

กลัวจะพลิกนอนแผ่ต้องแพ้พ่าย

ถ้ามองในแง่ฉันทลักษณ์ กลอนวรรครับ ลงเสียงเอก จะผิดข้อห้ามของกลอนว่าด้วยเรื่อง ละลอกฉลอง
  ตำราว่าไว้ว่า

4. ละลอกทับ และละลอกฉลอง
ข้อห้ามในการแต่งกลอน เรียกว่าละลอกทับ และละลอกฉลอง
4.1 ละลอกทับ ถ้าคำเอก (โท) อยู่ในที่สุดของกลอนส่ง คือผิดฉันทลักษณ์
4.2 ละลอกฉลอง
-ถ้า คำเอก (โท) อยู่ในที่สุดของกลอนรับ คือผิดฉันทลักษณ์
-คำเอก (โท) อยู่ในที่สุดของกลอนรอง คือผิดฉันทลักษณ์


 แต่เดี๋ยวนี้ ใครจะไปสนใจเรื่อง ฉันทลักษณ์ สนใจแต่จะสร้าง (เอก)ลักษณ์ของฉัน เท่านั้นกระมัง ล้อเล่นนะครับ กลอนคุณ คมเย็นถือว่า แต่งได้ดี นะครับ



ถ้าแก้เป็น

กลัวจะพลิกนอนแผ่ต้องแพ้
หงาย

*หงายหลัง *หน้าหงาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ ได้ให้คำจำกัดความคำว่าหงายไว้ว่า

หงาย ก. พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หงายหน้า หงายมือ หงายไพ่, ตรงข้ามกับ
ควํ่า. ว. อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หน้าหงาย; เรียกคืนที่มี
ดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.



แพ้พ่าย/พ่ายแพ้ เกิดจากคำมูลสองคำ คือ แพ้+พ่าย

แพ้พ่าย โดยบริบท แล้วหมายถึง แพ้อย่างราบคาบ

แต่คำว่าพ่าย สมัยก่อน นี้ไม่ได้แปลว่าแพ้  ยกตัวอย่างเช่น

ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก
พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย
ขุนสามชนขับมาหัวขวา
ขุนสามชนเกลื่อนเข้า
ไพร่ฟ้าหน้าใส
พ่อกู หนีญญ่ายพ่ายจะแจ
กูบ่หนี กูขี่ช้างเบิกพล
กูขับเข้าก่อนพ่อกู
กูต่อช้างด้วยขุนสามชน
ตนกูพุ่งช้างขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ *

(จากหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ 1)

(แพ้ /แป๊ เป็นภาษาล้านนา หากคำว่าแพ้ อยู่ท้ายประโยค ต้องแปลว่า ชนะ ประโยคนี้ไม่ได้หมายความว่าช้างที่ชื่อมาสเมืองแพ้ แต่แปลว่า พ่อขุนรามคำแหงเองเอาชนะช้างชื่อมาสเมืองได้)

กรณีการใช้คำว่าแพ้ ในความหมายว่า ชนะ ยังมีให้เห็นในวงการศาสนาเช่น การแปลพระคาถาบาลี บทที่ว่า

ชยํ เวรํ ปสวติ
ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
อุปสนฺโต ชยปราชยํ ฯ

อรรถกถาจารย์ (ล้านนา) ได้ถอดความไว้ว่า

ผู้แพ้(แป๊)ย่อมก่อเวร
ผู้พ่าย(ป๊าย)ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ผู้ละความแพ้(แป๊)และความพ่าย(ป๊าย)เสีย
มีใจสงบระงับนั่นแหละเป็นสุข

*คำว่า "แพ้"/"แป๊" แปลว่า ชนะ "พ่าย"/"ป๊าย" แปลว่า ไม่ชนะ คำว่าแพ้ นี้เป็น ภาษาไทยโบราณ ซึ่งมีความหมายไม่ตรงกับที่ใช้ในปัจจุบัน )


แต่โดยสรุปแล้วจะใช้คำว่า แพ้พ่าย อย่างเดิมก็ไม่ถือว่าทำให้กลอนด้อย  วรรณลาวัลย์ เท่าใดนัก ตามความเห็นของผมนะครับ
ถือเป็น กวียานุโลม (Poetic License)   ก็ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-12-29 13:18:01


ความคิดเห็นที่ 6 (938398)

ขอบคุณคุณกวินทรากรมากครับ ได้ความรู้มากเลย

ผมยังตามอ่านกระทู้คุณกวินทรากรอยู่เรื่อยๆครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คมเย็น วันที่ตอบ 2007-12-30 08:07:33



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.