ReadyPlanet.com


พบกวีซีไรต์ 2550


พบกวีซีไรต์ 2550

   

ประมวลภาพถ่าย "งานเสวนา(ว่าที่)กวีซีไรต์ 2550"

ขอเปิดตัวด้วยป้ายจิ๋วๆ
สังเกตดีๆจะเห็นคุณ ชมัยพร แสงกระจ่าง อยู่ริมขวา
(นายกสมาคมนักเขียนคนปัจจุบันนี่เนอะ)

ตอนแรกรู้ข่าวจากประกาศหน้าลิฟต์ชั้นล่าง
ก็เลยเดินขึ้นไปหา ศูนย์วรรณคดีศึกษา ปรากฏเจ้าหน้าที่ภาคอื่นก็ไม่รู้ว่าศูนย์นี้อยู่ที่ไหน สุดท้ายโทรไปถามได้ความว่า นิสิตปกติก็เข้าร่วมฟังได้เอาเมื่อบ่ายนิดๆ ... โชคดีจังที่วันนั้นว่าง ...

 

 

ไม่ได้ตั้งใจถ่ายแก้วน้ำนะจ๊ะ
คนซ้าย : แมงมุมมอง ของ พรชัย แสนยะมูล
คนขวา : โลกในดวงตาข้าพเจ้า ของ มนตรี ศรียงค์
คนกลาง : ใคร??? อนาคตกวี???

 

 

ไม่ได้ตั้งใจถ่ายดอกไม้นะเออ
คนซ้าย : หมู่บ้านในแสงเงา ของ โกสินทร์ ขาวงาม
คนขวา : เก็บความเศร้าไว้ให้พ้นมือเด็กๆ และ ลงเรือมาเมื่อวาน ของ ศิริวร แก้วกาญจน์

 

 

... กวีเรียงตัว ...

 

 

คุณ โกสินทร์ ขาวงาม ... กวีศิลปินผู้เขียนเรื่องเกี่ยวกับ"แม่"
และ คุณ มนตรี ศรียงค์ ... กวีพ่อค้าก๋วยเตี๋ยวที่หาดใหญ่

 

  

คุณ ศิริวร แก้วกาญจน์
กวีไร้ฉันทลักษณ์ซึ่งทะลวงเข้ามาสู่สนามซีไรต์ได้ถึงสองเล่ม
ไปดูปีก่อนๆ ก็จะเห็นชื่อท่านนี้เข้ารอบด้วย
แต่ต้องขออภัยที่เจ้าของไดยังไม่ได้อ่าน เหอๆ

 

โดยรวมหัวข้อการเสวนา
จะเป็นไปในเรื่อง
การนำเสนองานเขียนของกวีแต่ละคน

ได้มีโอกาสฟังกวี
อ่านบทกวีของตนเอง

และประเด็นที่เน้นหนักคือ
การมีฉันทลักษณ์
และการไร้ฉันทลักษณ์

อันที่จริงทุกคนต่างตรงกัน
ว่าบทกวีไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในฉันทลักษณ์
เราทุกคน(ซึ่งอยู่ ณ ห้องเสวนา)
ต่างคิดว่ามันคือเปลือก คือเสื้อผ้าอาภรณ์
ชอบก็ใส่ ไม่ชอบก็ไม่จำเป็น
สำคัญคือใจความ..และการสื่อสาร

ทั้งที่เราคิดเช่นนั้น
แต่สภาพสังคมกลับไม่เป็นเช่นที่เราคิด
คุณ ศิริวร แก้วกาญจน์
ชี้ประเด็นให้เห็นว่า
ปัจจุบัน การประกวด ประชันบทกวี
ครอบคลุมอยู่แค่วงการของผู้เล่นฉันทลักษณ์
หรือแม้แต่การส่งบทกวีลงตีพิมพ์แก่สำนักพิมพ์ก็ตาม

ท้ายที่สุดเราก็ได้มติเป็นที่พอใจว่า
ฉันทลักษณ์ก็คือรูปแบบหนึ่ง
ไม่ใช่ทั้งหมดของบทกวี
และคุณ ชมัยพร แสงกระจ่าง
ก็ได้เก็บประเด็นด้านข้อจำกัดในการประกวด
ไปให้คณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า พิจารณา

แต่ในส่วนอื่นๆ เช่น การที่สำนักพิมพ์มักเลือกบทกวีมีฉันทลักษณ์ลงตีพิมพ์ ก็คงต้องค้นหาวิธียืนหยัดกันต่อไป สำหรับผู้ใฝ่ใจในการไร้ฉันทลักษณ์อย่างแท้จริง



ผู้ตั้งกระทู้ จาก http://vacant.diaryis.com :: วันที่ลงประกาศ 2007-08-24 20:21:34


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (937717)

ศิลปะ ไม่เคยกำหนดนิยาม...

ความอิสระที่ลงตัว ย่อมส่งผลความงดงามของตัวงานนั้นเอง

บทกวีไร้ฉันทลักษณ์นั้นเล่า เปรียบเหมือนงานศิลปะ...ความอิสระของคำ ย่อมฉายคุณค่าและความงามอย่างได้เฉกเช่นเดียวกัน

ขอให้กำลังใจ กวีไร้ฉันทลัษกณ์ เจ้าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น กันตาหลง วันที่ตอบ 2007-08-24 22:13:21


ความคิดเห็นที่ 2 (937718)

ศิลปะ กับ อนาจาร ต่างกันนิดเดียว จริงๆ  วะฮ่ะฮา

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณเต๋า วันที่ตอบ 2007-08-25 11:29:45


ความคิดเห็นที่ 3 (937719)
ต่างกันตรงไหนคะ ชี้แจงด้วนสิค่ะ ผู้น้อยด้อยปัญญา อยากทราบค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น กันตาหลง วันที่ตอบ 2007-08-28 01:59:11


ความคิดเห็นที่ 4 (937720)

ขอวิพากษ์คำว่า "กวีไร้ฉันทลักษณ์"  ฉันทลักษณ์เป็นกำหนด กฎเกณฑ์ หรือกติกา สำหรับการเขียนกวีนิพนธ์ ฉันทลักษณ์เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของกวีพนธ์ ไม่ใช่แก่นสารของกวีนิพนธ์ บรรดากลอนเปล่า กลอนเปลือย กลอนอิสระ ทั้งหลายก็ล้วนมีฉันทลักษณ์ เป็นรูปแบบเฉพาะของตนเอง เช่น การกำหนดคำ จังหวะ การจัดรูปคำ เสียง ความหมาย สำนวนโวหาร ลีลาอารมณ์ ฯลฯ ส่วนฉันทลักษณ์ในงานร้อยกรองประเภทต่างๆ ก็มีหลากหลาย แบ่งเป็นแบบเคร่งครัดตามแนวครู หรือไม่เคร่งครัด และประยุกต์ขึ้นมาใหม่ก็ได้ ในความเห็ส่วนตัวงานเขียนร้อยแก้ว ร้อยกรอง ต่างมีฉันทลักษณ์ของตนเองทั้งนั้น ส่วนท่านจะมีความคิดเห็นอย่างไรยินดีรับฟังด้วยเหตุผลของปัญญาธรรม และคาวรธรรม เพื่อสามัคคีธรรมในวงวรรณกรรมบ้านเรา

ผู้แสดงความคิดเห็น สาธุชน วันที่ตอบ 2007-08-28 08:52:43


ความคิดเห็นที่ 5 (937721)

ร้องกรอง ต่างกับร้อยแก้ว ตรงไหนครับท่านสาธุชน

ข้าน้อยโง่เขลานัก

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณเต๋า วันที่ตอบ 2007-08-28 12:32:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.