ReadyPlanet.com


ยามไร้เด็ด ดอกหญ้าแซมผม


 




คนเราล้วนมีความอยาก ด้วยกันทั้งนั้น เมื่ออยากแล้ว ไม่สมใจอยาก ก็เกิดทุกข์
หากเรารู้เท่าทันวาระจิตของเรา รู้จักข่มใจ มิให้ทะยานอยาก ไปตามกิเลส คงจะดีไม่น้อย พูดถึงเรื่อง ความอยากนี้ก็ทำให้นึกถึงวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ ฉากที่พระลอออกเดินทางไปหาพระเพื่อนพระแพง ถึงกลางป่า พระลอพูดกับพี่เลี้ยง มีความว่า


๒๔๕ เห็นบ้าน บ ดุจบ้าน เมืองเรา พี่เอย
เรือนโรงรุกรุยเขา รูปร้าย
บ เ็ห็นที่จักเอา สักหยาด เลยพี่
เห็นดั่งนี้สู้หม้าย อยู่แล้ฤๅแล ฯ

เห็นกระท่อมหลังนี้ ไม่สวยงามเหมือนที่บ้านเมือง (ของพระลอ)
รกรุงรัง อยู่ข้างภูเขา ที่ดูน่ากลัว
ไม่เหมาะที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้สักนิดเดียว (สักหยดหยาดเดียว)
เห็นสภาพกระท่อมแบบนี้ สู้ (ไม่อยู่/หม้ายอยู่)ซะเลย ฤาว่ากระไร แล


พี่เลี้ยง พูดกับพระลอ

๒๔๖ พระเอยอาบน้ำขุ่น เอาเย็น
ปลาผอกหมกเหม็นยาม อยากเคี้ยว
รุกรุยราคจำเปน ปางเมื่อ แคลนนา
อดอยู่เยียวดิ้วเดี้ยว อยู่ได้ฉันใด ฯ


พระลอเอ๋ย ยามเราร้อน น้ำถึงจะขุ่นไปสักนิด ก็ดับร้อนได้มิใช่หรือ
ปลา ร้า (ปลา ผะอก) ถึงแม้นจะเหม็น แต่ในเวลาที่เรา อด(อยาก) ยามเคี้ยวกิน ก็ทำให้บรรเทาความหิวได้ มิใช่หรือ
กระท่อมนี้ถึงแม้ จะรุกรุย รุงรัง ไปสักหน่อย ดูไร้ราคะราคา ก็จำเป็นต้องพักอาศัย เพราะเรามากลางป่า อันขาดแคลน นาท่านนา
อดทน อยู่เยียวว่า เพียงสักคืนเดียว จะอยู่ได้มั้ย พระลอ

นายแก้ว นายขวัญ สองพี่เลี้ยง พูดต่อไปว่า

๒๔๗ ยามไร้เด็ดดอกหญ้า แซมผม พระเอย
หอมบ่หอมทัดดม ดั่งบ้า
สุกกรมรำดวนชม เชยกลิ่น พระเอย
หอมกลิ่นเรียมโอ้อ้า กลิ่นแก้วติดใจ ฯ


(ยามอยู่ในเมืองมีดอกไม้สวยๆ หอมๆ ให้ชม มากมายในอุทยาน) แต่นี่ เราไม่ได้อยู่ในเมือง เป็นยามอดอยากยากไร้ นึกถึงพวงไม้หอม ก็ขอให้ ดมดอกหญ้าแทนไปก่อน
หอมหรือไม่ ก็แกล้งๆ จินตนาการ ว่าสวย ว่าหอมไปก่อน (ทำแบบบ้าๆ)
คิดซะว่าดอกหญ้านี้ เป็นดอก สุกรม ดอกลำดวน เรากำลังดมดอมดอกสุกรม ดอกลำดวนอยู่ ดูสิ
อ้า! หอมกลิ่นดอกไม้ของฉันจัง อันนี้คือดอกแก้ว กลิ่นดอกแก้ว นี้ช่างหอมติดใจจัง!



พี่เลี้ยง ได้สอนพระลอ ให้พอใจในปัจจุบันขณะ มิให้เรียกร้องหรือไขว่คว้าในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะการเรียกร้องและไขว่คว้าในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้นั้นทำให้ใจเราเป็นทุกข์
สิ่งที่พระลอประสบอยู่ในขณะนี้คือ โลภเจตสิก

โลภเจตสิก หรือ ตัณหา ความทะยานอยาก ความอยากได้ ความพอใจ เพลิดเพลิน ทำให้เกิดความประมาทในชีวิต

จำแนกได้ ๓ ประเภท
๑. กามตัณหา ความยินดี ชอบใจ พอใจ และ ความอยากได้ ใน อารมณ์ ทั้ง ๖ เพื่อสนอง กามคุณ สัมผัส ทั้ง ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส)


ตัณหา ๖ หมวด ประกอบด้วย


+ รูปตัณหา คือ อยากได้เห็นรูปที่อยากเห็น
+ สัททตัณหา คือ อยากได้ยินเสียงที่น่าฟัง
+ คันธตัณหา คือ อยากได้ดมกลิ่น ที่หอมหวน
+ รสตัณหา คือ อยากได้ลิ้มรส อันโอชะ
+ โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้ความรู้สึกทางกายสัมผัส
+ ธัมมตัณหา คือ อยากในสิ่งที่ใจนึกคิด อารมณ์พึงพอใจ
ตัณหาทั้ง ๖ นี้ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ แปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้เมื่อเบื่อหน่าย

๒. ภวตัณหา เมื่อได้มา ก็ ชอบ ติดใจใน รูปภพ อรูปภพ ญานสมบัติ กามคุณอารมณ์ สัสสตทิฏฐิ เช่น อยากเป็นใหญ่เป็นโต และอยากเป็นแบบนั้นตลอดไป (สัสสตทิฏฐิ)

๓. วิภวตัณหา ความอยากไม่เป็น ไม่อยากได้ เช่น ไม่อยากแก่ ไม่อยากจน อยากดับสูญ

ตัณหาเหมือนทำให้ชีวิตมีรสชาด แต่ความเป็นจริง ตัณหาสิ่งที่นำความทุกข์มาให้เรา ควรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้
จงเห็นตัณหาเหมือนเถาวัลย์ที่พันต้นไม้ แล้วที่สุดต้นไม้ก็จะตาย จงรีบตัดรากเถาวัลย์นี้ด้วยปัญญาเถิด

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao



ผู้ตั้งกระทู้ กวินทรากร :: วันที่ลงประกาศ 2007-12-02 14:32:09


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (938191)
ตัณหา ๖ หมวด ประกอบด้วย


+ รูปตัณหา คือ อยากได้เห็นรูปที่อยากเห็น
+ สัททตัณหา คือ อยากได้ยินเสียงที่น่าฟัง
+ คันธตัณหา คือ อยากได้ดมกลิ่น ที่หอมหวน
+ รสตัณหา คือ อยากได้ลิ้มรส อันโอชะ
+ โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้ความรู้สึกทางกายสัมผัส
+ ธัมมตัณหา คือ อยากในสิ่งที่ใจนึกคิด อารมณ์พึงพอใจ
ตัณหาทั้ง ๖ นี้ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ แปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้เมื่อเบื่อหน่าย

๒. ภวตัณหา เมื่อได้มา ก็ ชอบ ติดใจใน รูปภพ อรูปภพ ญานสมบัติ กามคุณอารมณ์ สัสสตทิฏฐิ เช่น อยากเป็นใหญ่เป็นโต และอยากเป็นแบบนั้นตลอดไป (สัสสตทิฏฐิ)

๓. วิภวตัณหา ความอยากไม่เป็น ไม่อยากได้ เช่น ไม่อยากแก่ ไม่อยากจน อยากดับสูญ

ตัณหาเหมือนทำให้ชีวิตมีรสชาด แต่ความเป็นจริง ตัณหาสิ่งที่นำความทุกข์มาให้เรา ควรเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้
จงเห็นตัณหาเหมือนเถาวัลย์ที่พันต้นไม้ แล้วที่สุดต้นไม้ก็จะตาย จงรีบตัดรากเถาวัลย์นี้ด้วยปัญญาเถิด

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-12-02 14:37:35


ความคิดเห็นที่ 2 (938192)
*ไม่อยากดับสูญ
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2007-12-02 14:42:06



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.