ReadyPlanet.com


อัยการ


 

ใน เวปไซต์ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org ได้บันทึกเกี่ยวกับเรื่อง อิลราชคำฉันท์ ไว้ความว่า

อิลราชคำฉันท์ เป็น วรรณคดี คำฉันท์ที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีความไพเราะ และนิยมใช้เป็นแบบอย่างในการแต่งคำฉันท์มาช้านาน แม้จะมีความยาวเพียง 329 บท ตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กเพียง 36 หน้ากระดาษเท่านั้น นับเป็นคำฉันท์อีกเรื่องหนึ่งที่นักศึกษาวรรณคดีเอ่ยถึงเสมอ ผู้ประพันธ์อิลราชคำฉันท์คือ พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) แต่งเมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ที่ หลวงสารประเสริฐ

ในสมัยรัชกาลที่ 6 นับว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยอีกยุคหนึ่ง ด้วยองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกวี ขณะเดียวกันการศึกษาในประเทศก็กว้างขวางมากขึ้น อีกทั้งยังมีนักเรียนไทยได้รับทุนการศึกษาไปเรียนในต่างประเทศ วงการวรรณกรรมจึงมีความคึกคักและเปลี่ยนไหวมากเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงว่า ธรรมเนียมการแต่งคำประพันธ์อันงดงามแบบเดิมนั้น กำลังจะเลือนหายไป เพราะผู้คนจำนวนมากมองว่าเก่าคร่ำครึ ล้าสมัย จึงทรงแนะนำให้หลวงสารประเสริฐ (ในเวลานั้น) ได้แต่งหนังสือตามธรรมเนียมดั้งเดิมไว้บ้าง เพื่อเพิ่มพูนและผดุงรักษาวรรณศิลป์อย่างเดิมเอาไว้

หลวงสารประเสริฐยังไม่ได้แต่งหนังสือตามรับสั่ง เพราะยังหาเรื่องไม่ได้ แต่ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "บ่อเกิดรามเกียรติ์" หลวงสารประเสริฐได้อ่าน นิทานเรื่องอิลราช ในอุตตรกัณฑ์แห่งรามายณะ ก็ชอบใจ และเอามาเป็นเนื้อหาที่จะแต่งหนังสือตามรับสั่งดังกล่าว

ในสมัยรัชกาลที่ 6 นับว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยอีกยุคหนึ่ง ด้วยองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกวี ขณะเดียวกันการศึกษาในประเทศก็กว้างขวางมากขึ้น อีกทั้งยังมีนักเรียนไทยได้รับทุนการศึกษาไปเรียนในต่างประเทศ วงการวรรณกรรมจึงมีความคึกคักและเปลี่ยนไหวมากเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงว่า ธรรมเนียมการแต่งคำประพันธ์อันงดงามแบบเดิมนั้น กำลังจะเลือนหายไป เพราะผู้คนจำนวนมากมองว่าเก่าคร่ำครึ ล้าสมัย จึงทรงแนะนำให้หลวงสารประเสริฐ (ในเวลานั้น) ได้แต่งหนังสือตามธรรมเนียมดั้งเดิมไว้บ้าง เพื่อเพิ่มพูนและผดุงรักษาวรรณศิลป์อย่างเดิมเอาไว้

หลวงสารประเสริฐยังไม่ได้แต่งหนังสือตามรับสั่ง เพราะยังหาเรื่องไม่ได้ แต่ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "บ่อเกิดรามเกียรติ์" หลวงสารประเสริฐได้อ่าน นิทานเรื่องอิลราช ในอุตตรกัณฑ์แห่งรามายณะ ก็ชอบใจ และเอามาเป็นเนื้อหาที่จะแต่งหนังสือตามรับสั่งดังกล่าว

เนื้อเรื่อง
ในนครพลหิกา มีกษัตริย์ครองนคร ทรงพระนามว่า ท้าวอิลราช เป็นกษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม วันหนึ่งในวสันตฤดู ทรงออกป่าล่าสัตว์พร้อมบริวาร จนถึงตำบลที่กำเนิดของพระขันทกุมาร ในเวลานั้น พระอิศวรกำลังล้อเล่นกับพระอุมา ชายา ทรงจำแลงกายเป็นสตรี และบันดาลให้ทุกสิ่งในนั้นเป็นสตรีทั้งหมด ครั้นเมื่อท้าวอิลราชและข้าราชบริพารผ่านเข้าไปในป่าดังกล่าว ก็กลายเป็นสตรีไปทั้งหมดครั้นเมื่อท้าวอิลราชกลายเป็นสตรี ก็ตกใจ ทูลขออภัยจากพระอิศวร พระอิศวรไม่ทรงยอม แต่พระอุมาเทวีประทานพรให้กึ่งหนึ่ง คือเป็นบุรุษและสตรีสลับกันไปเดือนละเพศ เมื่อเป็นบุรุษ ชื่อ อิราช เมื่อเป็นสตรี ชื่อนางอิลาเมื่อถึงเดือนที่เป็นสตรี นางอิลาและบริวารสตรีพากันไปเที่ยวเล่นในป่า และเผอิญพบกับพระพุธ ที่กำลังบำเพ็ญตบะในป่า นางอิลาได้อยู่เป็นชายาของพระพุธ จนครบเดือน เมื่อเป็นบุรุษ ก็ลืมความเป็นไปในภาคสตรีเพศ และเป็นเช่นนี้กระทั่งเก้าเดือน นางอิลาก็ให้ประสูติกุมารองค์หนึ่ง พระพุธให้นามว่า ปุรุรพเมื่อท้าวอิลราชคืนมาเป็นบุรุษ พระพุธเห็นใจ จึงประชุมมหาฤษีเพื่อหาทางแก้ไขคำสาปให้แก่ท้าวอิลราช ในที่สุดที่ประชุมตกลงทำพิธีอัศวเมธ ทำให้ท้าวอิลราชคืนมาเป็นเพศบุรุษอีกครั้ง

คำประพันธ์
อิลราชคำฉันท์ แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ประกอบด้วยฉันท์ชนิดต่างๆ 15 ชนิด เป็นกาพย์ 2 ชนิด คือ กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ฉันท์ในเรื่องนี้ ได้แก่ กมลฉันท์, โตฏกฉันท์, ภุชงคประยาตฉันท์, มาณวกฉันท์, มาลินีฉันท์, วสันตดิลกฉันท์, สัททุลวิกกีฬิตฉันท์, สัทธราฉันท์, สาลินีฉันท์, อินทรวิเชียรฉันท์, อินทวงศ์ฉันท์, อีทิสังฉันท์, อุปชาติฉันท์, อุปัฏฐิตาฉันท์ และ อุเปนทรวิเชียรฉันท์

ตัวอย่างคำประพันธ์

อินทวงศ์ฉันท์ 12


พรหมจรรย์กระเจิงล่ม.............ประลุพรหมพิภพลบน
พ่ายพักตร์สุภณทน...................บ มิไหวคระไลกระจาย
กรรมร้อนบห่อนกรุ่น...............เพราะพิรุณประโปรยประปราย
กองเพลิงเถกิงกราย...................ติณแห้งบแหนงบหนี
ผาณิตผิชิดมด..............................ฤจะอดบอาจจะมี
แม่เหล็กฤเหล็กดี........................อยยั่วก็พัวก็พัน
พื้นภพอำเภอภพ........................ก็ประสบเสมอสวรรค์
อยู่ชั่วนิรินดร์กัลป์.......................อวสานประมาณประเมิน
(อิลราชคำฉันท์)

พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ฉบับออนไลน์ http://rirs3.royin.go.th ให้คำจำกัดความของคำว่า อย ไว้ความว่า

อย, อยัส [อะยะ, อะยัด] น. เหล็ก. (ป. อย; ส. อยสฺ).

ส่วน
อัยการ [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ)
ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง
ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงาน
ของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและอำนาจหน้าที่ตาม
ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงานอัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า
กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดิน
เพื่ออำนวยความยุติธรรมรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพของประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ,
เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ
ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้,
โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตรหรือ ยกบัตร.

อย+อาการ=อาการแข็งดังเหล็ก

หลายท่านคงเคยได้ยินคนพูดกันว่า แข็งแค่ไหนเงินก็ง้างได้ นี่ล่ะครับที่มาของคำว่า อัยการ


http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao



ผู้ตั้งกระทู้ กวินทรากร :: วันที่ลงประกาศ 2007-10-09 21:56:11


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (937966)

ข้างกองไฟ

เสริมศักดิ์ เปลี่ยนภู่ ในนามปากกา เวทย์ ผู้ประพันธ์หนังสือกลอน "ข้างกองไฟ" ( สำนักพิมพ์พรศิวะ, กรุงเทพฯ.พิมพ์ครั้งแรก  ๒๕๔๗  ๑๑๖ หน้า) ได้พาดพิงคำว่า อัยการ ไว้ความว่า

(๖)
เมียทหารอาภัพทนนับขวด
เมียตำรวจนับแบ๊งค์แหล่งทรัพย์สิน
อัยการกร่อนกลายเป็นอัยกิน
คำหยามหมิ่นย่อมมีเหตุที่มา
สังคมคนปนปะคละดีชั่ว
นั่นแหละตัวต้นตอก่อปัญหา
เอาคนชั่วอุ้มชูอยู่ตำตา
ฉะนั้นปลาร่วมข้องต้องราคี

คำจ้วงจาบฉาบฉวยช่วยคนผิด
ลองยั้งคิดย้อนครวญถ้วนวิถี
อย่าเหมาหมายทนายความทรามสิ้นดี
เพียงแต่ที่สุนัขถ่ายฝอยรายเรียง
คำเรียกขานศาลอำเภอใช่เผลอพล่อย
ตุลาการกล่าวถ้อยละห้อยเสียง
ต้องให้ความยุติธรรมกลับลำเอียง
หลบหลักเลี่ยงสีข้างถูนอกลู่ทาง
เรื่องเลวร้ายเหล่านี้มีให้เห็น
ใครเล่าเป็นธุระคอยสะสาง
ล้วนแชเชือนเฉไฉไปพลางพลาง
ดีแต่สร้างภาพหรูหลอกผู้คน


ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-10-10 18:31:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.