ReadyPlanet.com


จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ แต่วัฒนธรรมสำคัญกว่าจินตนาการ


 
 นสพ.มติชน หน้า 34คอลัมน์ สยามประเทศไทยวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10821

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ แต่วัฒนธรรมสำคัญกว่าจินตนาการ




โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ




พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 17-28 ตุลาคม 2550 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันพุธที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา

"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" เป็นคำพูดของไอน์สไตน์ที่คนยกมาใช้งานทั่วโลก

แต่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ แย้งว่า วัฒนธรรมสำคัญกว่าจินตนาการ เพราะจะจินตนาการได้ต้องมีวัฒนธรรม ต้องได้รับการสั่งสมและผลักดันจากวัฒนธรรม

นายกรัฐมนตรีมีจินตนาการจากการสั่งสมและผลักดันทางวัฒนธรรมโดยไม่รู้ตัว ดังมีรายงานสรุปเมื่อไปปาฐกถาในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติอยู่ในไทยโพสต์ (หน้า 3 ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2550) จะขอยกมาให้อ่าน ดังนี้

"สมัยก่อนผมเรียนเรื่องไฟฟ้า เป็นวิชาที่มีเพื่อนๆ ตกกันมากที่สุด เพราะเขามัวแต่นั่งอ่านหนังสือ พอถึงคาบเรียน เวลาที่อาจารย์สั่งว่าไปเอาไฟมา ทุกคนต่างก็กลัว แต่สำหรับผมไฟฟ้าจับต้องไม่ได้ ถ้าจับไฟก็ดูด ผมจึงอ่านตำราพร้อมกับจินตนาการ ทำให้เป็นวิชาที่ผมทำได้ ผมคิดว่าการเรียนที่มีจินตนาการ ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เรามองไม่เห็น หากเราจินตนาการถูกต้องก็จะทำให้เรียนรู้ได้ดี"

"เพื่อนๆ ที่อ่านหนังสืออย่างเดียวสอบตกกันมากเพราะจินตนาการไม่ได้"

"ผมเห็นป้ายโฆษณาตามข้างทางด่วนเป็นมนุษย์ไซเบอร์ ซึ่งเขาก็บอกว่าเขาทำได้แต่เขาไม่มีจินตนาการ นั่นเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่ามนุษย์ไซเบอร์ทั้งหลาย และการอ่านก็สร้างจินตนาการ ดังนั้น การรู้หนังสือจึงเป็นการช่วยสร้างคนและสร้างชาติ ยังเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องและทันสมัย ซึ่งรัฐบาลพร้อมสนับสนุนเรื่องการอ่านให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และหากทำให้เป็นวาระแห่งชาติจะถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม"

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนท้องถิ่นตัวเอง เป็นวัฒนธรรมความรู้ง่ายๆแรกๆ อย่างหนึ่งที่จะผลักดันให้คนเรามีจินตนาการเยี่ยงนายกรัฐมนตรีที่เล่าไว้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยใหญ่หลวงให้มีปัญญาและมีฝีมือทำหน้าที่การงานต่อไป

ไฉนคนท้องถิ่น, องค์กรปกครองท้องถิ่น, จนถึงเขตพื้นที่การศึกษา ถึงดูถูกดูหมิ่นถิ่นแคลนประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนท้องถิ่นตัวเอง

ป.ส.ด. กันแล้วหรือ?

ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักถึงปัญหาข้างต้น เลยร่วมกับอาจารย์ทั้งหลายในสถาบันนี้ทำศูนย์วิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ขึ้นมาเพื่อแบ่งปันและเผยแพร่วิชาความรู้สู่สาธารณะให้ต่อเนื่องผ่าน "ตลาดวิชา" ให้คนเราเข้าใจและเข้าถึงวัฒนธรรม แล้วพัฒนาจินตนาการขึ้นประกอบสัมมาอาชีพอย่างมีจินตนาการ

คณะทำงานของโรงเรียนพนมอดุลวิทยา อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ส่งงานเบื้องต้นที่กำลังค้นคว้าแล้วจัดแสดงเป็นลักษณะมิวเซียมท้องถิ่นพนมสารคาม เพื่อประโยชน์ของนักเรียน, ชาวบ้าน, และครูอาจารย์ในอำเภอ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วขยายไปจังหวัดใกล้เคียง เช่น ปราจีนบุรี, ชลบุรี, นครนายก, สระแก้ว, ฯลฯ จึงขอเอาลงเผยแพร่ให้รู้กันในพื้นที่สุวรรณภูมิสังคมวัฒนธรรมข้างล่างนี้




ผู้ตั้งกระทู้ ผู้สื่ขาวบ้านไพร :: วันที่ลงประกาศ 2007-10-26 15:21:34


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.