ReadyPlanet.com


"การศึกษาในระบบ"ของไทย เป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตย


"การศึกษาในระบบ"ของไทย เป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตย

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ



สื่อมวลชนกับมหาวิทยาลัย ล้วนถูกปลูกฝังความคิดครอบงำด้วย "การศึกษาในระบบ"ของไทยที่อยู่ภายใต้การกำกับอีกชั้นหนึ่งของ "วัฒนธรรม"ให้ฝังรากแน่นแฟ้นจนถ่ายถอนได้ยาก ดังอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ยกตัวอย่างว่า

"คนไทยเรียนรู้ความเชื่อมโยงทางสังคมภายใต้การยอมรับถึงความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์" (ชนชั้นกลาง ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 19-25 มิถุนายน 2552 หน้า 25)

แล้วย้ำอีกว่า "ความคิดครอบงำหลายอย่างที่ปลูกฝังในโรงเรียนนั้น เป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตยด้วยซ้ำ"

เพื่อพัฒนาการเมือง หมอประเวศ วะสี เสนอ(บัญญัติ) 10 ประเด็น (พิมพ์ในโพสต์ ทูเดย์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2552 วิเคราะห์ หน้า 2) แล้วแนะนำทำทางบรรเทาทุกข์ให้สื่อมวลชนกับมหาวิทยาลัย ดังนี้

การสื่อสารและสื่อมวลชนเข้มแข็ง การสื่อสารที่ดีและทั่วถึงจะทำให้ประชาธิปไตยเติบโตอย่างรวดเร็วั้

พระราชากับคหบดีแห่งชนบท (The king and the Squire) แปลโดย มาลิทัต พรหมทัตตเวที พิมพ์โดยศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 350 บาท

เนื่องในโอกาสครบ 100 ปี วชิราวุธวิทยาลัย ด้วยความระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อการศึกษาของชาติ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยปัจจุบัน จึงจัดพิมพ์หนังสือ "พระราชากับคหบดีแห่งชนบท" หนังสือประมวลพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีถึงนายคอลเชสเตอร์ วีมซ ผู้เคยเป็นพระอภิบาลในสมัยที่ทรงศึกษาอยู่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นภาษาอังกฤษในชื่อ "The king and the Squire" เป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงคุณค่าอย่างมากในด้านวรรณศิลป์และด้านประวัติศาสตร์

ทางด้านประวัติศาสตร์ ผู้อ่านจะได้รับรู้เหตุการณ์บางเรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงปลาย รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยเฉพาะเหตุผลลึกๆที่อยู่เบื้องหลังการที่ประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทั้งยังจะได้ทราบถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นพระปรีชาสามารถทางด้านการเมือง การปกครองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างดี


ควรมีระบบการสื่อสารที่ดีที่ทำให้ประชาชนรู้ความจริงโดยทั่วถึง มีจิตสำนึกั้ มีเหตุมีผลั้ มีส่วนร่วมั้

สื่อมวลชนที่เข้มแข็งเป็นเครื่องมือหยุดยั้งคอร์รัปชั่นที่ชะงัดที่สุด ขณะนี้สื่อมวลชนยังขาดระบบสนับสนุนั้ มหาวิทยาลัยทั้งหลายก็ยังเกือบไม่ได้สนับสนุนสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบเลย

อยากเห็นนักการเมืองมีคุณภาพต้องมีระบบสนับสนุนสื่อมวลชนที่แข็งแรงั้

มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยควรจะเป็นหัวรถจักรทางปัญญาของประเทศออกจากวิกฤต

ที่แล้วมามหาวิทยาลัยเป็นการศึกษาที่ลอยตัวจากปัญหาสังคม (Non-engaged education) เพราะเอาวิชาเป็นตัวตั้ง

มหาวิทยาลัยควรสร้างบัณฑิตที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเป็นบุคคลอุดมคติท่มีจิตสำนึกสาธารณะสูง มีความกล้าหาญ มีความสุจริต มีความรอบรู้ เป็นกำลังที่จะพัฒนาสังคมไปสู่ความถูกต้องดีงาม

มหาวิทยาลัยควรสังเคราะห์นโยบายสาธารณะและเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร เพื่อสนับสนุนบทบาทของสังคมในการพัฒนาการเมือง

การเมืองภาคพลมืองคงจะเข้มแข็งได้ยาก ถ้ามหาวิทยาลัยไม่สนับสนุนเชิงข้อมูลข่าวสารและประเด็นเชิงนโยบาย

ชุมชนท้องถิ่นจะเข้มแข็งโดยรวดเร็วถ้ามหาวิทยาลัยสนับสนุนเชิงวิชาการ โดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง เช่น หนึ่งมหาวิทยาลัยต่อหนึ่งจังหวัด

จะเห็นว่าทั้งสื่อมวลชนและมหาวิทยาลัย ต่างตกอยู่ในอำนาจครอบงำของ "การศึกษาในระบบ"ของไทยที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย ด้วยเหตุดังนั้นสื่อมวลชน และมหาวิทยาลัยจึงไม่ให้ความสำคัญต่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

โดยเฉพาะการสนับสนุนผลักดันให้ชุมชนท้องถิ่นแข็งแรง เริ่มด้วยการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อให้รู้ความเป็นมา และเพื่อให้เข้าใจภูมิประเทศถิ่นกำเนิดของตน ดูเหมือนสื่อมวลชนกับมหาวิทยาลัยไม่เหลียวมอง บางทีก็มองอย่างฉาบฉวยและผิวเผิน แล้วเมินไปทางวัฒนธรรมเมืองเรื่องเซเลบเสียมากกว่า

หมอประเวศบอกว่าที่แล้วมามหาวิทยาลัยเป็นการศึกษาที่ลอยตัวจากปัญหาสังคม เพราะเอาวิชาเป็นตัวตั้ง เลยไร้จิตสำนึกสาธารณะ แล้วเห็นทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งชอบธรรม ฯลฯ ส่งผลให้ครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยพวกหนึ่งมองผู้บำเพ็ญตนเพื่อคนอื่นว่าไร้สาระ เช่น มองผู้บำเพ็ญตนสนับสนุนแบ่งปันความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสู่ชุมชน เป็นคนไม่สมควรเป็นครูบาอาจารย์ เป็นต้น

ในทางที่ถูกแล้วคนอย่างนี้ต่างหากสมควรยกย่องเป็นครูบาอาจารย์ดีเด่นเป็นพิเศษ เพราะไม่ยอมเป็นพวกสิงสู่อยู่บนหอคอยงาช้างแล้วหวงก้างในรางหญ้า

หน้า 20



ผู้ตั้งกระทู้ ดอกหญ้าแซม :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-01 16:27:12


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1957524)

 

หนังสือน่าอ่าน

ผู้แสดงความคิดเห็น ท.ทูรย์ วันที่ตอบ 2009-07-01 18:28:01



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.