ReadyPlanet.com


พันธมิตรา วิชาร้อยกรองไทย


น้องพลอย ม.บูรพา กำลังเรียนวิชาร้อยกรอง เลยวานให้ เฮียเต๋า (กวิน) แต่งโคลงกระทู้ เกี่ยวกะ พันธมิตรฯ ให้ ถามน้องเขาว่า อยากได้แบบ แนวคิดลบ หรือแนวคิดบวก  น้องเขาบอกว่า อยากได้แนวคิดลบบ้างเพราะแนวคิดบวก มีคนแต่งเยอะแล้ว ก็เลยแต่งให้น้องเขา 2 บท ใช้เวลาประมาณ 2 นาที พร้อมคำแปล กลัวโดนอาจารย์ซักแล้วจะตอบอาจารย์ไม่ได้ (เฮียเต๋าเป็นคนรักเด็ก)

โคลงกระทู้ พันธมิตรา


พัน
พัวมัวกู้ชาติ-           สยาม
รณิศติดไฟลาม          ระอุแท้
มิ ดับอัคคีความ-           เคืองเคียด
ตรา กฏกูไว้แก้-             ก่อเกื้ออัตตา
พัน ผูกปลูกโกรธแค้น-    ขุ่นกมล
เลาะเบาะแว้งจน         จริตบ้า
มิ ใช้ อเวร วน-              เวียนว่าย เวรเอย
ตรา บ่ บอดโพกผ้า        เก่งรั้นกฎหมาย       (ตาไม่บอด แต่เอาผ้ามาโพกหน้าโพกตา ทำให้มองไม่เห็นกฎหมาย)



ผู้ตั้งกระทู้ กวิน :: วันที่ลงประกาศ 2008-09-16 11:26:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1837554)


1.ตรงวรรคที่ว่า  "พันพัวมัวกู้ชาติ สยาม" ตำแหน่งตรงคำว่า กู้ชาติ ตามฉันทลักษณ์โคลง เอก  โท/โทเอก สามารถสลับที่ได้
2.ตรงวรรคที่ว่า "ณิศติดไฟลาม ระอุแท้" วรรคแรก และวรรคที่สองนี้ใช้คำเกินกว่าที่ฉันทลักษณ์โคลงกำหนด (วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 2 พยางค์+คำสร้อย 2 พยางค์) ซึ่งในโคลงต้นแบบใช้คำเกินคือวรรคแรกใช้ 6 พยางค์ วรรค์สอง ใช้ 3 พยางค์ ด้วยเหตุเพราะ คำว่า  ณิศ คำว่า ระ เป็นคำ ลหุ ถือว่า ณิศ  เมื่ออ่านเร็วๆ จะทำให้พยางค์ในการออกเสียง ลดลงเสมือนมีแค่ 2 พยางค์ เช่นเดียวกันกับวรรคหลัง คำว่า "ระอุแท้" (3 พยางค์) จริงๆ แล้วคำว่า ระอุ (เป็นคำ ลหุ ทั้งคู่) แต่เมื่ออ่านควบกับคำว่า "ระอุแท้" คำว่า อุ เสียงจะแผ่วเบากว่าคำว่า ระ
ดังนั้นเมื่ออ่านเร็วๆ จะทำให้พยางค์ในการออกเสียง ลดลงเสมือนมีแค่ 2 พยางค์
3. ท่อนที่ว่า "ขุ่นมล" หรือ "ริตบ้า" ก็เช่นเดียวกัน หลักการณ์เช่นเดียวกันกับข้อ 2
4.ธรณี+อิศ (เข้าลิลิต อิศ) เป็น ธรณิศ ความหมายก็ยังคงเหมือนเดิม แปลว่า
แผ่นดิน
5.วรรคที่ว่า "มิใช้อเวรวนเวียนว่ายเวรเอย" อเวร นี้มาจาก สพฺเพ  สตฺตา  อเวรา โหนฺตุ  ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด"
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-16 11:28:12


ความคิดเห็นที่ 2 (1837555)

6. "ธ เลาะ" ในที่นี้ คือ "ทะเลาะ" (คำพ้องเสียง/เพราะติด กล ว่าด้วยเรื่องโคลงกระทู้ จึงทำให้ต้องใช้ รูป "ธ เลาะ" แต่โดยบริบทในทางความหมายยึดหลักตามคำพ้องเสียงของคำว่า ทะเลาะ)
7. โคลงบทที่สองวรรค 4 สำนวนเดิมใช้ว่า "ตรา รางขังผู้กล้า เก่งรั้นกฎหมาย" แก้เป็น "ตรา บ่บอดโพกผ้า เก่งรั้นกฎหมาย" เหตุผลที่แก้เพราะคำว่า
ราง (เสียงสามัญ) แต่ฉันทลักษณ์ของโคลงวรรคนี้ กำหนดให้ใช้คำที่มีเสียง เอก จึง ต้องแก้ทั้งวรรค
8. การใช้คำว่า ตาราง=ตาราง และ ตาบ่บอด=ตาบ่บอด การแทรก กลางคำเช่นนี้ถือเป็นอักขรวิธีโบราณที่กวีโบราณนิยมใช้ ยกตัวอย่าง เช่น สนุก โบราณ เขียนว่า สนุก หรือดังที่นายผี แทรก เอาไว้ในคำว่า โซ่ ว่า โซร่ ใน บทกวีนิพนธ์ "(เรา)ชนะแล้วแม่จ๋า" ความว่า

คิดคิดยิ่งขื่นขม         ยิ่งระทมระทวยใน
ใจเจ็บยิ่งเจ็บใจ         ยิ่งเจ็บแค้นบ่แคลนคลอน
คิดแค้นความบีบคั้น   ที่อาธรรม์อนาทร
เคียดใจคือไฟฟอน    ขอฝากไว้แก่วันคืน
ไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้          ไม่พรุ่งนี้ก็มะรืน
จะล้างให้โหดหืน        นั้นเหี้ยนหายทุกแห่งหน
หน้านิ่วคิ้วขมวด         ให้เจ็บปวดไปทั้งตน
ร้อนไล้ดั่งไฟลน         ทะลึ่งลุกด้วยฤทธา
ชี้นิ้วระริกริก               เพียงผลุนพลิก พสุนธรา
เหม่มึงนี่หนอมา          ประมาทกรแก่พวกกู
จะเอาให้พลิกคว่ำ        คะมำหงายแลจงดู
จะเอาให้เหล่าสู          ลงซบดินลงแดยัน
เสียงศาปเสทื้อนไป     ทั้งหล้าโลกระรัวรัน
เสียงโซร่ที่สอดพัน-     ธนาการก็กร่างดัง
ดังรับทุกแห่งหน          ทั้งสากลที่เกรอะกรัง
เลือดกรรมกรทัง-         หมดบ่หมาดก็มีใจ
ปางนั้นแลน้องแก้ว-      กรรมกรผู้เกรียงไกร
เอ็นดูแก่น้องใน-          อ้อมอกแม่มาอาดูร
ทรุดนั่งลงเคียงน้อง      ตระกองกอดแก้วกำลูน
ร่ำร่ำพิลาปปูน-            จะปราศห้วงหัวใจจร

(อัศนี พลจันทร.รวมบทกวีนายผี : อัศนี พลจันทร.--พิมพ์ครั้งที่ 1.--กรุงเทพฯ : สามัญชน, 2541 หน้า 521)
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-16 11:29:52


ความคิดเห็นที่ 3 (1837568)

@20759 อาจารย์กวิน สงสัยอีกแล้ว  ธรณี+อิศ (เข้าลิลิต อิศ) เป็น ธรณิศ ความหมายก็ยังคงเหมือนเดิม แปลว่า แผ่นดิน  จากข้อความที่ยกมา คำว่่า เข้าลิลิต เป็นอย่างไร ?  สงสัยจึงลองไปค้นดู เจอแต่ คลิกที่นี้ ซึ่งแย้งจากที่อาจารย์เล่ามา

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-16 11:46:57


ความคิดเห็นที่ 4 (1837569)
นมัสการพระคุณเจ้า BM.chaiwut  @20766 ตามความที่พระอาจารย์ยกมานั้นคงจะหมายถึง ท่อนที่ว่า "ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต"  การร้อยสัมผัสระหว่าง โคลงกับร่าย (และยังรวมทั้งโคลงกับโคลง และร่ายกับร่าย) นี้เรียกว่าการเข้าลิลิต จึงทำให้เกิดคำถามอีกคำถามหนึ่งขึ้นมาว่า การร้อยสัมผัส อย่างไรจึงจะเรียกว่า การเข้าลิลิต  ยกตัวอย่าง การร้อยสัมผัส ระหว่าง ร่ายกับร่าย   ใน ลิลิตพระลอ (1) ซึ่งมีเนื้อความดังนี้ 
 
ร่าย (
๒๘)   เจ็บเผือเหลือแผ่นดิน นะพี่ หลากระบิลในแหล่งหล้า นะพี่ บอกแล้วจะไว้หน้าแห่งใด นะพี่ ความอายใครช่วยได้ นะพี่ อายแก่คนไสร้ท่านหัว(เราะ) นะพี่ แหนงตัวตายดีกว่า นะพี่ สองพี่อย่าถามเผือ นะพี่ เจ็บเผือเหลือแห่งพร้อง โอ้เอนดูรักน้อง อย่าซ้ำจำตาย หนึ่งรา ฯ

ร่าย (๒๙)   ข้าไหว้ถวายชีพิต เผือข้าชิดข้าเชื่อ เขือดังฤๅเหตุใด ธมิไว้ใจเท่าเผ้า สองแม่ ณ หัวเจ้า มิได้เอนดูเผือฤๅ ฯ 

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-16 11:47:56


ความคิดเห็นที่ 5 (1837570)
จะเห็นได้ว่า คำว่า ชีพิต/ชีวิต/ชีวิศ นี้มาจาก คำว่า ชีวี+ต/ชีวี+ศ การแผลงคำว่า ชีพ(ะ)/ชีว(ะ) เป็น ชีพิต(ะ)/ชีวิต(ะ) นี้ก็เพื่อส่งสัมผัสสระ ไปยังคำว่า ชิด นั่นเอง ด้วยเหตุนี้การแผลงคำในลักษณะดังนี้ จึงถือเป็น การร้อยสัมผัส/การส่งสัมผัส เข้าด้วยกัน ว่า การเข้าลิลิต ยกตัวอย่างเช่น กาย(ะ) แผลงเป็น กายา กายี กายิน  กายินทร์ กายิศ กาเยศ กาเยนทร์ กายางค์ เช่นนี้ เพื่อส่งสัมผัสไปยังคำต่อไป เรียกว่าการเข้าลิลิต ขอรับกระผมพระคุณเจ้า
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-16 11:49:29


ความคิดเห็นที่ 6 (1837571)

นมัสการพระคุณเจ้า BM.chaiwut @20792 พระคุณเจ้าสรุปได้แจ่มแจ้งจริงเจ้าข้ากระผมก็คิดเช่นนั้นขอรับ

กานท์กลอนสะท้อนซึ่ง   สิ่งจินต์
ดีชั่วตัวกวินทร์              ลิขิตไว้
ผู้รักอักษรศิลป์              เลือกรับ รสเอย
สารสลักจักให้-             โทษรู้ระงับเสีย

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-16 11:50:35


ความคิดเห็นที่ 7 (1837572)

@20774 อนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง สำหรับคำขยายความ (อีกครั้ง) ครั้งก่อนเรื่องโคลงที่มีคำเกิน พออาจารย์อธิบายก็นึกได้ว่าอาจารย์เคยบอกครั้งหนึ่งแล้วว่า โคลงเน้นตอนอ่านมิใช่เน้นภาษาเขียน ครั้งนี้ก็เรื่องสำนวนว่า เข้าลิลิต แต่ทั้งสองครั้งที่อาจารย์ขยายความมานั้น ไม่ค่อยเห็นด้วย จะแย้งก็เกรงจะออกนอกประเด็น (ไม่ว่ากันนะ ที่บอกตรงๆ ) ถ้าเปรียบเทียบอาจารย์เป็นกวี เคยอ่านพบทำนองว่า สิ่งที่กวีนำเสนอนั้นเหมือนน้ำนมผสมกับน้ำ ส่วนผู้อ่าน (หรือผู้ฟัง) เหมือนนกกระเรียนที่ดูดเอาเฉพาะน้ำนมเท่านั้น เจริญพร

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-16 11:52:02


ความคิดเห็นที่ 8 (2107725)

replica louis vuitton replica men bags However there are so many louis vuitton impression and complement any chanel bags louis vuitton man bags.

ผู้แสดงความคิดเห็น vuitton (carrie-at-aol-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 11:20:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.