ReadyPlanet.com


แถลงการณ์ตรวจสอบคณะกรรมการรางวัลซีไรต์ รอบคัดเลือก พ.ศ.๒๕๕๐


แถลงการณ์ตรวจสอบคณะกรรมการรางวัลซีไรต์ รอบคัดเลือก พ.ศ.๒๕๕๐

เนื่องจากการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) พ.ศ. ๒๕๕๐ ในรอบคัดเลือก ซึ่งมีรายนามคณะกรรมการประกอบด้วย นายอดุลย์ จันทรศักดิ์ เป็นประธานกรรมการ ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา นายพินิจ นิลรัตน์ นายพิเชฐ แสงทอง นายวชิระ ทองเข้ม ผศ.ดร.สายวรุณ น้อยนิมิตร และ รศ.อวยพร พานิช เป็นกรรมการ ได้คัดเลือกผลงานกวีนิพนธ์เข้ารอบสุดท้ายจำนวน ๘ เล่มคือ ๑. เก็บความเศร้าไว้ให้พ้นมือเด็กเด็ก ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ ๒. ที่ที่เรายืนอยู่ ของ อังคาร จันทาทิพย์ ๓. ปลายทางของเขาทั้งหลาย ของ กฤช เหลือลมัย ๔. แมงมุมมอง ของ พรชัย แสนยะมูล ๕. ฤดูมรสุมบนสรวงสวรรค์ ของ อุเทน มหามิตร ๖. ลงเรือมาเมื่อวาน ของ ศิริวร แก้วกาญจน์ ๗. โลกในดวงตาข้าพเจ้า ของ มนตรี ศรียงค์ ๘. หมู่บ้านในแสงเงา ของ โกสินทร์ ขาวงาม

แม้ผลงานบางเล่มที่เข้ารอบจะเป็นผลงานที่มีคุณภาพ แต่การคัดเลือกครั้งนี้ไม่ได้ประกอบขึ้นด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และใช้วิจารณญาณอย่างแท้จริง เนื่องจาก

๑. กรรมการไม่เข้าใจกวีนิพนธ์อย่างแท้จริง หรือมีอคติ

กรรมการบางคนหรืออาจจะทั้งหมดก็เป็นไปได้ ไม่เข้าใจกวีนิพนธ์อย่างแท้จริง หรือไม่เช่นนั้นก็มีอคติต่อผลงานบางประเภท ปรากฏตามคำแถลงของ นายพิเชฐ แสงทอง ในวันประกาศผลรอบคัดเลือก เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ว่า “งานหลายเล่มที่เข้ารอบ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยปลดกวีออกจากหอคอยขอบฟ้า และอัญเชิญลงมาจากหิ้ง เพราะจะสื่อให้เห็นว่า เราสามารถเขียนกวีได้โดยไม่จำเป็นต้องไปเกร็งไปกลัว หลายคนจะรู้สึกว่ากวีมันต้องเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ คนที่เขียนกวีต้องเป็นกวีมาตั้งแต่ชาติปางก่อน ก็เลยมีความเกร็งกลัวที่จะเสพที่จะสร้าง ถึงกับมีคำพูดว่าถ้ากวีเดินผ่านมา นักเขียนจะต้องลุกขึ้นและโค้งคำนับ วิธีคิดแบบนี้ยิ่งทำให้สังคมและคนทั่วไปถอยห่างจากวีมากขึ้น” (บทรายงานเรื่อง หลากมิติหลายมุมมองในซีไรต์ 2550 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐)

น่าเสียดายที่ นายพิเชฐ แสงทอง (หรืออีกนัยหนึ่งคือภาพรวมของกรรมการทั้งหมด) เข้าไม่ถึงคุณค่าที่แท้จริงของกวีนิพนธ์ จึงกล่าววาจาเชิงหยาบหยามต่อกวีนิพนธ์ที่เป็นแบบแผนหรือได้รับการยอมรับแล้วว่ามีคุณค่าอย่างสูง (อยู่บนหิ้ง, หอคอยขอบฟ้า) และหมิ่นแคลนต่อกวีที่ได้รับการเชิดชูมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทั้ง อังคาร กัลยาณพงศ์ (เจ้าของวาทะ “ผมเป็นกวีมาตั้งแต่ชาติปางก่อน”) รวมทั้งกวีก่อนเก่าที่มีคุณูปการอย่างสูงล้นต่อสังคมไทย

การยกคุณค่าของกวีนิพนธ์ให้แก่ “ความง่าย” หรือทุกคนสามารถเขียนได้อ่านได้เพียงประการเดียวนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องแต่อย่างใด เนื่องจากกวีนิพนธ์ย่อมมีทั้ง “ความง่าย” และ “ความยาก” อยู่ในตัวเสมอ องค์ประกอบอื่นต่างหากที่สมควรนำเข้ามาพิจารณา เช่น องค์ความรู้ จินตนาการ แรงสะเทือนใจ และความไพเราะ เป็นต้น การส่งเสริม “ความง่าย” เพียงอย่างเดียวโดยไม่ดูองค์ประกอบอื่น ย่อมนำมาซึ่งการทำลายกวีนิพนธ์ชนิด “ถอนราก” เลยทีเดียว ดังที่ นายพิเชฐ แสงทอง (หรืออีกนัยหนึ่งคือภาพรวมของกรรมการทั้งหมด) ต้องการ “ปลด” กวีนิพนธ์ออกจากหอคอยขอบฟ้า หรืออัญเชิญลงมาจากหิ้ง นั่นเอง โลกทัศน์เช่นนี้หากไม่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงต่อกวีนิพนธ์ ก็คงมาจากอคติต่อผลงานประเภท “บนหิ้ง” อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นนี้แล้วการคัดเลือกผลงานเข้ารอบรางวัลซีไรต์ในปีนี้จะบริสุทธิ์ ยุติธรรม และน่าเชื่อถือได้อย่างไร

ส่วนประเด็นที่ว่า ถ้ากวีเดินผ่านมา นักเขียนจะต้องลุกขึ้นโค้งคำนับนั้น แสดงให้เห็นว่า กวีเป็นผู้ทรงเกียรติ ทรงภูมิปัญญา และสามารถชี้ทิศทางที่ถูกต้องให้แก่สังคมได้ดุจเดียวกับนักปราชญ์ กวีอยู่ในสังคมใด สังคมนั้นย่อมภาคภูมิใจในความเป็น “อารยะ” ของตน เช่นนี้แล้วสังคมจะถอยห่างจากกวีหรือผลงานของกวีไปเพื่ออะไร วิธีคิดแบบที่ไม่ต้องการให้กวีได้รับการโค้งคำนับนั่นต่างหากที่จะทำให้สังคมถอยห่างจากกวีหรือผลงานของกวี เพราะหากเป็นเช่นนั้นกวีก็ไม่ใช่ผู้ทรงเกียรติ ทรงความรู้อีกต่อไป แต่คือคนธรรมดาหรือต่ำกว่าธรรมดาที่หาได้ง่าย ๆ เช่นเดียวกับหานักร้องในห้องคาราโอเกะ

ไม่น่าเชื่อว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เข้าไม่ถึงกวีนิพนธ์แถมยังมีทัศนะบิดเบี้ยวเช่นนี้ จะมีบทบาทในการคัดเลือกผลงานที่สะท้อนภูมิปัญญาของประเทศ

๒. กรรมการหลายคนผูกขาดอำนาจ

คณะกรรมการได้แก่ ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา นายพินิจ นิลรัตน์ และ นายพิเชฐ แสงทอง เป็นผู้ที่ผูกขาดอำนาจมาอย่างยาวนาน คัดเลือกหรือตัดสินผลงานทุกประเภท ทั้งกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น และนวนิยาย และร่วมกันเป็นกรรมการในรางวัลอื่น ๆ อีกหลากหลาย การผูกขาดอำนาจย่อมก่อให้เกิดการสั่งสมอิทธิพล การชี้นำทางความคิด และการใช้วิจารณญาณที่ซ้ำซาก ส่งผลให้การตัดสินไม่เป็นไปตามทิศทางที่ควรจะเป็น ดั่งคำแถลงของ ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา ในวันประกาศผลรอบคัดเลือก ว่า “ปีนี้น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า กลอนเปล่าหรือบทกวีไร้ฉันทลักษณ์ผ่านเข้ารอบมาหลายเล่ม เฉพาะที่เลือกเข้ามาอย่างน้อยจะมีอยู่สามเล่ม ทั้งผลักทั้งดันกันเข้ามา เพราะคิดว่าควรจะส่งเสริมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์เหมือนกัน...” (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เซ็คชั่นจุดประกายวรรณกรรม ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐)

การ “ทั้งผลักทั้งดันกันเข้ามา” นั้น แน่นอนว่า ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา คนเดียวย่อมกระทำไม่สำเร็จ ใครเล่าจะเป็นพวกที่ช่วยผลักช่วยดัน ถ้าไม่ใช่กลุ่มที่สั่งสมบารมีอยู่ด้วยกันในรางวัลต่าง ๆ หรือไม่เช่นนั้นก็แสดงว่าอิทธิพลของ ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา มีอยู่สูงในการระดมพลผลักดัน หรือเป็นหัวหน้ากลุ่มในระบบพวกมากลากไป นอกจากนี้การผลักดันภายใต้เหตุผลที่ต้องการส่งเสริมบทกวีไร้ฉันทลักษณ์ เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมเพียงพอหรือไม่ ในเมื่อรางวัลซีไรต์ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ว่าปีไหนจะต้องส่งเสริมบทกวีแบบไหน แต่เปิดกว้างให้แก่ผลงานทุกประเภทที่ดีพร้อมต่างหาก (ดูรายละเอียดกฎเกณฑ์ในการเลือกสรรเรื่องเข้าพิจารณารางวัลซีไรต์ ใน 25 ปีซีไรต์ โดย ทิน ละออ พ.ศ.2546 ไม่ระบุเลขหน้า) ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา รวมทั้งทีมงานที่ช่วยผลักช่วยดัน จึงเอาความเห็นของตนอยู่เหนือกฎเกณฑ์ของรางวัล ทั้งนี้ก็คงเนื่องจากแต่ละคนเป็นกรรมการมานานจนคิดว่าเป็นเจ้าของรางวัลก็เป็นได้ อีกประการหนึ่ง การผลักดันบทกวีไร้ฉันทลักษณ์ก็เท่ากับละเลยบทกวีฉันทลักษณ์ ทำไมไม่ผลักดันให้เท่า ๆ กันเพื่อความยุติธรรมแก่ผลงานทุกประเภท โดยพิจารณาที่เนื้อหาและการสร้างสรรค์ ไม่ใช่พิจารณาที่รูปแบบ

๓. คณะกรรมการไม่ได้รับการยอมรับอย่างแท้จริงในวงการวรรณกรรม

กรรมการหลายคนไม่เคยมีผลงานทางด้านการเขียนกวีนิพนธ์ การวิจารณ์กวีนิพนธ์ หรือการวิจัยกวี

นิพนธ์ ที่ได้รับการยอมรับทางสังคม หรือแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงด้านกวีนิพนธ์ แต่สามารถเข้ามาเป็นกรรมการได้เพราะมีตำแหน่งอยู่ในคณะกรรมการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ หรือมีสายสัมพันธ์โยงใยอยู่กับสมาคมทั้งสองนี้

ตัวอย่างเช่น นายพินิจ นิลรัตน์ เป็นกรรมการสมาคมนักเขียนฯ แต่ไม่เคยมีงานเขียนใด ๆ ที่ได้รับการยอมรับ นอกจากเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ลงในคอลัมน์ซุบซิบวรรณกรรมของหนังสือพิมพ์รายวันเท่านั้น แต่กลับได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการรางวัลซีไรต์มาหลายสมัย ตัดสินผลงานทุกประเภท ทั้งกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น และนวนิยาย รวมทั้งเป็นกรรมการในรางวัลอื่น ๆ อีกมาก ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากอิทธิพลของการเป็นกรรมการสมาคมนักเขียนฯ และเป็นคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์นั่นเอง นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมา นายพินิจ นิลรัตน์ ในฐานะกรรมการรอบคัดเลือกรางวัลซีไรต์ประเภทนวนิยาย ได้ออกมาคัดค้านการตัดสินของคณะกรรมการรอบตัดสิน ทั้ง ๆ ที่ผลงานที่ได้รับรางวัลนั้นตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกเข้าไป (แต่คงถกเถียงสู้กรรมการผู้อื่นไม่ได้) ชี้ให้เห็นว่าเป็นผู้ที่ถือความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ และขาดวุฒิภาวะที่ควรจะเป็น บุคคลที่ขาดทั้งความรู้ความเข้าใจและวุฒิภาวะเช่นนี้ สมควรเพียงใดต่อการเป็นกรรมการรางวัลซีไรต์

๔. มีการเล่นพรรคเล่นพวก

นายพินิจ นิลรัตน์ กับ นายพิเชฐ แสงทอง เป็นสมาชิกของ “กลุ่มหน้าราม” หรือกลุ่มนักเขียน-นักกิจกรรมที่เคยพำนักอยู่แถบหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก การเป็นกรรมการของบุคคลทั้งสองทำให้ผลงานของสมาชิกกลุ่มหน้ารามด้วยกันเข้ารอบมาถึง ๔ เล่ม คิดเป็น ๕๐% ของทั้งหมด

การเล่นพรรคเล่นพวกนี้นอกจากเป็นที่รับรู้กันทั่วไปแล้ว ยังเห็นได้จากข้อเขียนของคนวงในอย่าง Mr.QC ว่า “เพื่อนกันถ้าไม่เพ้อถึงกัน...มันจะนับเป็นเพื่อนได้อย่างไร...เพราะจากหนังสือกวีนิพนธ์ที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 76 เล่ม มีเพื่อนกวีของผมอย่าง ศิริวร แก้วกาญจน์ มีผลงานเข้ารอบถึง 2 เล่ม ขณะที่เพื่อนรุ่นน้องของผมอย่าง อังคาร จันทาทิพย์ และ พรชัย แสนยะมูล ก็เข้ารอบด้วยผลงานที่ไม่ธรรมดา ทุกคนที่เอ่ยนามมา พวกเรามักคุ้นกันดีกับรสชาติอาหารและเครื่องดองของเมาที่ร้านข้าวต้มคาราบาว หน้ารามฯ ในสมัยนั้น ส่วนคณะกรรมการตัดสินรางวัลรอบแรกมีทั้งหมด 8 คน...”

“มีท่านใดมาจากริมบาทวิถีหน้ารามฯ บ้าง...ผมไม่บอก อิ อิ อิ” (เขียนถึงเพื่อนกวีจากริมบาทวิถีหน้ารามฯ คอลัมน์ ธุรกิจบนกองกระดาษ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เซ็คชั่นจุดประกายวรรณกรรม ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐)

แม้ Mr.QC จะไม่บอกชื่อกรรมการ หรือเผยรายละเอียดอื่นใดให้มากกว่านี้ แต่ก็เห็นความไม่ชอบมาพากลได้ชัดเจน นายพินิจ นิลรัตน์ กับ นายพิเชฐ แสงทอง จะกล่าวอ้างความบริสุทธิ์ใจเพียงใดก็ฟังไม่ขึ้น เพราะถ้าหากมีความบริสุทธิ์ใจจริงก็ควรถอนตัวเสียตั้งแต่แรก เพื่อไม่ให้เป็นที่ครหาว่า นี่เป็นการเอื้อประโยชน์กันของมิตรสหายในหมู่น้ำเมา

สรุปความได้ว่า คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลซีไรต์ในปีนี้ เป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในกวีนิพนธ์อย่างแท้จริง มีอคติ ผูกขาดอำนาจ ไร้คุณภาพ และเล่นพรรคเล่นพวก คณะกรรมการเช่นนี้ (บางส่วนหรืออาจ

จะทั้งหมด) ย่อมทำลายกวีนิพนธ์มากกว่าสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ ทำลายรางวัลซีไรต์ มากกว่าเกื้อหนุนรางวัล ซีไรต์ และที่เหนืออื่นใดคือสร้างความมืดบอดทางปัญญาขึ้นมาครอบงำสังคมไทย

อย่างไรก็ตาม การออกแถลงการณ์ครั้งนี้มิได้มุ่งร้ายแก่คณะกรรมการคัดเลือกรางวัลซีไรต์ หรืออคติ หรือโกรธแค้นส่วนตัวแต่ประการใด เพียงแต่ต้องการตรวจสอบคุณสมบัติและพฤติกรรมในฐานะบุคคลสาธารณะที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาวรรณกรรมไทยเท่านั้น เราเชื่อว่ามีกรรมการบางท่านที่มีความยุติธรรม และมีความรู้ความสามารถ แต่ในเมื่อต้องมาตกระกำอยู่ในกลุ่มของผู้ที่ไม่ได้ใช้สติปัญญาและความเป็นธรรมอย่างแท้จริงแล้ว ก็ย่อมถูกตรวจสอบไปด้วยอย่างไม่อาจเป็นอื่น กระนั้นก็ตาม ผู้ที่มีธรรมอยู่ในใจ ย่อมได้รับความคุ้มครองโดยธรรมเสมอ

นอกจากนี้ แถลงการณ์นี้ก็มิได้มุ่งร้าย หรืออคติ หรือโกรธแค้นส่วนตัวแก่กวีผู้มีผลงานเข้ารอบเช่นกัน เพราะกวีย่อมสร้างสรรค์ผลงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ ความผิดใด ๆ ของกรรมการไม่ใช่ความผิดของกวีแม้แต่น้อย และหวังว่าทุกท่านคงเข้าใจเจตนาของแถลงการณ์ครั้งนี้ ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็คือการปกปักรักษาวงการกวี วงการวรรณกรรม และวงการเรียนรู้ด้านปัญญาของประเทศ มิให้มัวหมองหรือรวนเรไปนั่นเอง

จึงเรียนมายังประชาคมวรรณกรรมทุกท่าน ทั้งกวี นักเขียน นักวิจารณ์ นักวิชาการ นักอ่าน ผู้จัดพิมพ์ ผู้จัดจำหน่าย ตลอดจนสื่อมวลชน ผู้เห็นคุณค่าของวรรณกรรมและรักความบริสุทธิ์ยุติธรรม หากท่านเห็นด้วยกับแถลงการณ์นี้ แม้เพียงส่วนหนึ่งหรือทุกส่วนก็ตาม กรุณาร่วมลงชื่อพร้อมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในไปรษณียบัตร ส่งไปยัง ศูนย์ประสานงานประชาคมวรรณกรรมแห่งประเทศไทย ๑๗๔ หมู่ ๑ ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล ๙๑๐๐๐ หรือแจ้งทางโทรศัพท์ หมายเลข 081 - 6789344 (วรภ วรภา) 084 - 0516293 ( กานติ ณ ศรัทธา) 089 - 5892443 (วิสุทธิ์ ขาวเนียม) ภายในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ เพื่อรวบรวมรายชื่อและความคิดเห็นของทุกท่านเสนอไปยังประธานคณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) และร่วมกันกำหนดขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ในการตรวจสอบคณะกรรมการคัดเลือกรางวัลซีไรต์ หรือยื่นข้อเรียกร้องที่เป็นรูปธรรมต่อไป

 

ขอแสดงความนับถือ

ประชาคมวรรณกรรมแห่งประเทศไทย



ผู้ตั้งกระทู้ เก็บมาฝาก :: วันที่ลงประกาศ 2007-08-09 17:11:29


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (937582)
พูดได้ดี คิดได้ดี และทำได้ดี แต่..นำหนักจากปลายนิ้วที่จิ้มลงบนแป้นพิมพ์มีพลังมากกว่าความหมายแห่งรางวัลที่กล่าวถึงนี้เป็นไหน ๆ เด็ก ๆ เขาแย่งของเล่นกัน โปรดยืนดูด้วยความเอ็นดู กรรมการทั้งหลายทั้งปวงล้วนแต่ปุถุชน(คนที่ยังหนักหนาด้วยกิเลศ) เฮ้อ..แค่นี่ก็เหนื่อยแย่
             สวัสดี
                            
ผู้แสดงความคิดเห็น พิกกาจู้ วันที่ตอบ 2007-08-09 17:48:40


ความคิดเห็นที่ 2 (937583)

โอหนอ มนุษย์เอ๋ย มันคือความไม่ลงตัว ระหว่างผู้เขียน ผู้อ่าน กรรมการตัดสิน ลองเปลี่ยนระบบการตัดสินกวีนิพนธ์รางวัลซีไรท์ พัฒนารูปแบบใหม่ในการประเมินคุณค่างานกวีนิพนธ์ ใครมีแนวคิดอย่างไร ลองเสนอมาเพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการวินิจฉัยยกระดับการตัดสินงานกวีนิพนธ์

ผู้แสดงความคิดเห็น สาธุชน วันที่ตอบ 2007-08-09 23:05:52


ความคิดเห็นที่ 3 (937584)

ผมขอให้ลง  พรหมทัณฑ์กรรมกรซีไรต์ปีนี้และปีก่อนนี้ครับ 555

และร่วมลงชื่อด้วยคนครับ อย่างผมเป็นคนนอก ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพราะไม่มีหนังสือส่งประกวด กะเขา คงไม่มีใครมาว่าผมว่า องุ่นเปรี้ยว หรือ ขี้แพ้ชวนตี นะครับ อิๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-08-10 10:00:20


ความคิดเห็นที่ 4 (937585)
อยากลงชื่อด้วย ไม่ชอบขั้นตอนการคัดเลือก อยู่ดีดีก็เอาใครก็ไม่รู้มาคัดหนังสือกวีนิพนธ์ที่ดีออกหมด เบ็ดเสร็จคัดออกเกือบเจ็ดสิบเล่ม โอ้โฮ แล้วไง กรรมการใหญ่ไม่ได้เห็นภาพรวมทั้งหมดเลย ขั้นตอนของซีไรต์แปลกประหลาด คิดได้ไง
ผู้แสดงความคิดเห็น แววตา วันที่ตอบ 2007-08-12 16:50:09


ความคิดเห็นที่ 5 (937586)

อยากทราบเกณฑ์การพิจารณาตัดสินประกวดกวีนิพนธ์รางวัลซีไรท์ ใครทราบช่วยบอกที ปกติที่เห็นเขาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินผลงานกวีนิพนธ์ตามมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ก็คือ ฉันทลักษณ์ สำนวนโวหาร การใช้ถ้อยคำ การใช้ภาษา ความคิดสร้างสรรค์ ลีลาการนำเสนอ คุณค่าของกวีนิพนธ์ มีอะไรนอกเหนือไปจากนี้ขอท่านรู้ผู้ช่วยเสนอแนะด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น มองต่างมุม วันที่ตอบ 2007-08-13 07:48:14


ความคิดเห็นที่ 6 (937587)

อยากสนับสนุนให้แก้ไขขั้นตอนการคัดเลือก ต้องเลือกกรรมการที่ชำนาญเฉพาะด้านกวีนิพนธ์ ไม่มีใครเขาเอานักร้องไปตัดสินการประกวดดนตรีหรอก นี่ดันเอานักหนังสือพิมพ์ไปตัดสินงานกวีนิพนธ์ซึ่งเป็นวรรณศิลป์ของชาติ คัดงานดีๆออกไปกี่เล่ม ซีไรต์ช่วยรับผิดชอบด้วย

อย่าเลือกแต่งานที่อ่านง่าย สังคมไทยทุกวันนี้เป็นสังคมง่าย ๆ พูดตรงๆคือ สังคมชุ่ย ขาดความประณีตละเมียดละไม โดยเฉพาะผู้ใหญ่รุ่นใหม่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีเลย

ขอตำหนิที่ขั้นตอนการคัดเลือก และคุณภาพกรรมการ สองประเด็นหลัก เราไม่เข้าข้างใคร นี่พูดเรื่องหลักการล้วนนะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แป้ว วันที่ตอบ 2007-08-14 06:22:13


ความคิดเห็นที่ 7 (937588)
ปรับใหญ่ซะที ซีไรต์
ผู้แสดงความคิดเห็น ติน วันที่ตอบ 2007-08-14 06:24:15


ความคิดเห็นที่ 8 (937589)
รางวัลที่พูดถึงกัน เป็นกิจกรรมที่เอกชนเขาจัดขึ้น เป็นความพึงพอใจส่วนตัว ไม่อยากพูดก็ปิดปาก ไม่อยากฟังก็ปิดหู ไม่อยากดูก็ปิดตา เท่านี้เอง เท่านี้จริง ๆ
ผู้แสดงความคิดเห็น พิกกาจู้ วันที่ตอบ 2007-08-14 15:11:57


ความคิดเห็นที่ 9 (937590)

แล้วเมื่อใดองค์กรภาครัฐจึงจะเป็นตัวหลักในการคัดเลือก หรือประเมินค่ากวีนิพนธ์นระดับชาติอย่างรางวัลซีไรท์ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเช่น สำนักวรรณกรรมร่วมสมัย สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร สถาบันภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ ไหนมีบทบาทอะไรในเรื่องนี้นอกจากจัดประกวดแต่งคำประพันธ์ ประกวดหนังสือดีเด่น อภิปราย บรรยาย ปะชุมสัมมนา เคยหาข้อสรุปเกณฑ์การประเมินงานเขียนร้อยกรองบ้างหรือเปล่า จะได้มีกฎเกณฑ์กติกาที่มาตรฐาน ไม่ใช่ฟังตามกันมา ทำตามกันมา เหมือนเช่นปัจจุบัน

ผู้แสดงความคิดเห็น สาธุชน วันที่ตอบ 2007-08-14 19:30:51


ความคิดเห็นที่ 10 (937591)

แนะนำว่าตัดรางวัลซีเกมส์ประเภทกวีออกแล้วคัดเลือกประเภทการ์ตูนสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนจะดีกว่า ไม่ต้องคำนึงถึงตรรกต่าง ๆ ให้มาก เอาประเภทขายดีมีคนอ่านสาระนิดหน่อยผ่านเข้ารอบ ไม่ต้องตีความและไม่ต้องตั้งวงวิจารณ์ ส่วนใครจะได้เป็นที่หนึ่งก็ถือว่าเป็นรางวัลการทำงาน แต่ไม่ได้ทำงานเพื่อหวังรางวัล คิดว่าดีมั้ย

ผู้แสดงความคิดเห็น เทาแดง วันที่ตอบ 2007-08-14 20:59:42


ความคิดเห็นที่ 11 (1491213)
http://www.webwowgold.net
ผู้แสดงความคิดเห็น cyyinli วันที่ตอบ 2008-05-10 10:10:21


ความคิดเห็นที่ 12 (1993393)

But the majority aion kinah of non-toffees regard Robson as the best English player of the eighties. Captain aion power level Marvel was the archetypal box-to-box midfielder and played 90 times for his country despite a whole litany of injuries.

I had the pleasure aion powerleveling of watching him play a number of times cheap aion power leveling and what was impressive was his consistency. He never had a bad game and rarely had an average one.

ผู้แสดงความคิดเห็น yoyohh วันที่ตอบ 2009-10-10 13:40:37


ความคิดเห็นที่ 13 (2107554)

imitation lv handbags replica louis vuitton 2.5 inches long You can also carry louis vuitton this tote The interior satin chanel wallet louis vuitton fake men bag.

ผู้แสดงความคิดเห็น trava (amy-at-aol-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 11:04:07


ความคิดเห็นที่ 14 (2169137)

 โธ่เอ๊ย รางวัลนี้ไม่ศักดิ์สิทธิ์มานานมากแล้ว มีแต่อีเล่นพรรคเล่นพวก บอกได้คำเดียว ว่ากรรมการมีแต่ตุ๊ดหวง*** กับชะนีไม่มีหีอีดอก เคยโดนไล่ออกจาก มกท เพราะลำเอียงเกรดด้วยซ้ำ อีสายฝนอ่ะคร่ะ อีเหี้ย

ผู้แสดงความคิดเห็น uBC วันที่ตอบ 2011-04-13 23:46:57



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.