ReadyPlanet.com


น้ำหมักป้าเซ็ง


                “น้ำหมักป้าเซ็ง”

 

·  น้ำหมักป้าเซ็งเจ๋งจริงนะครับ
แต่ต้องปรับแก้วิธีหมักดีแน่
เลือกคัดกรองวัตถุดิบต้องดูแล
รสไม่แพ้ไวน์ชั้นเลิศสิบอกไห่

·  ผลไม้พืชผักมีประโยชน์
จะไปโทษป้าเซ็งคงไม่ใช่
วิทยาศาสตร์การอาหารเราก้าวไกล
แนะนำได้หมักให้ดีย่อมมีคุณ

·  การหมักดองของเชื้อจุลินทรีย์
ถูกวิธีมีประโยชน์โปรดอุดหนุน
ป้าเซ็งเขาเผยแพร่เป็นผลบุญ
อย่าเคืองฉุนป้ารู้น้อยวิชาการ

·  ไวน์ขวดแพงหมักบ่มเหมือนคล้ายกัน
แต่คัดสรรวัตถุดิบตรวจสอบผ่าน
หมักถูกหลักตามตำรามายาวนาน
โปรดสงสารป้าเซ็งแลเห็นจริง

·  เพราะเมืองไทยไม่ส่งเสริมภูมิปัญญา
เอาแต่ด่าก่อนศึกษากับทุกสิ่ง
นักวิชาการโง่เง่าเข้าติติง
ปากหานิ่งอวดรู้ดีแต่ไม่ทำ

·  ศึกษาแท้ย่อมรู้ซึ้งถึงคุณค่า
เราพึ่งยาพวกฝรั่งจนชีซ้ำ
อาหารเสริมเพิ่มบำรุงกินประจำ
เพียงเพราะคำโฆษณาน่าอับอาย

·  ผลไม้บ้านเรานั้นดีนักแท้
ควรเผยแพร่ความรู้อันหลากหลาย
อย่าหลงเชื่อยาฝรั่งจนงมงาย
แต่สุดท้ายด่าป้าเซ็งน่าเซ็งเอยฯ

 

ขอน้อมคารวะจากใจ

“ทรชนบ้านนอก”



ผู้ตั้งกระทู้ ทรชนบ้านนอก :: วันที่ลงประกาศ 2012-08-23 12:10:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2296000)

.

เห็นด้วยนะครับ เรื่องน้ำหมักของป้าเช็งนี่น่ะ ท่านที่เคยบวชเรียนอาจจะเคยทราบว่ามีการเอ่ยถึง "น้ำมูตรคูฎ" (สะกดไม่ค่อยจะถูกแฮะ) ในหลายๆ ที่ ท่านใดทราบช่วยเติมเต็มด้วยก็แล้วกัน

เท่าที่ทราบนั้น ป้าเช็งท่านน่าจะพลาดด้วยสองประการคือ

ประการแรก : ไม่ได้ดำเนินการให้ถูกหลักอนามัย (หรือเปล่าก็ยังไม่ทราบนะ) และไม่ได้ยื่นขอกับ อย.อย่างถูกต้องซะก่อน

ประการที่สอง : ป้าเช็งดันไปพูดถึง อย. แบบว่าแรงๆ ก็เลยอาจจะทำให้ถูกแจ้งข้อหา (ข้อหาหมั่นไส้หรือเปล่าก็ไม่รู้อีกเช่นกัน)

ประชาชนก็เลยไม่ได้ใช้ของดี แต่จำได้ว่าป้าเช็งแกเคยให้สูตรต่างๆ ไว้นะครับ

ส่วนคนที่เอาอะไรไปหยอดตานั้น ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า เอาสิ่งที่ควรใช้กับอย่างหนึ่งไปใช้กับอีกอย่างหนึ่งหรือเปล่า เข้าตำราที่พระพุทธองค์เคยกล่าวไว้ คนรู้ว่าไฟร้อน ก็ย่อมไม่ถูกไฟเผาทำร้ายเอา ส่วนคนที่ไม่รู้ว่าไฟร้อน ก็ย่อมจะต้องถูกไฟเผาทำร้ายเอาได้ (เปรียบเทียบได้ถูกกะเรื่องหรือเปล่าก็ไม่รู้อีกเหมือนกัน)

แต่ที่แน่ๆ ไม่เคยเห็นป้าเช็งบอกให้เที่ยวเอาน้ำหมักขยะมาหยอดตานะ น้ำหมักสำหรับหยอดตานั้นใช้กรรมวิธีต่างจากน้ำหมักจากขยะนะ ก็น่าจะเป็นเรื่องของการ "ฟังไม่ได้ศัพท์ แล้วรีบจับเอามากระเดียด" พอเกิดผลร้ายก็เลยเข้าทางของ อย. ด้วย (หรือเปล่าก็ไม่รู้อีกเช่นกัน)

เรื่องนี้เห็นด้วยกับ จขกท. เป็นอย่างยิ่งครับ

ส.พิณแก้ว

.

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ส.พิณแก้ว วันที่ตอบ 2012-08-23 21:32:07


ความคิดเห็นที่ 2 (2296004)

ตัวผมเองยังกินน้ำหมักตรีผลาอยู่เลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปุณณมี วันที่ตอบ 2012-08-23 21:53:34


ความคิดเห็นที่ 3 (2296130)

                "ผลไม้-น้ำหมัก"

 

     ย้อนเรื่องราววันเก่าเล่าให้ฟัง

ตอนเมื่อครั้งเป็นเด็กวัดอยู่บ้านป่า

หลวงพ่อท่านสอนตำหรับยาวิชา

ผลไม้มากคุณค่ามาหมักดอง

     ลูกสมอยอน้อยมะขามป้อม

ใส่ชะลอมล้างน้ำขัดผิวนวลผ่อง

คัดจัดวางเรียงไว้เป็นหมู่กอง

ต้มน้ำเกลือแล้วกรองปล่อยให้เย็น

     ใ่ส่สมอลูกยอมะขามป้อมลงไห

เติมน้ำเกลือใส่ลงไปไม่ยากเข็น

ผ้าขาวบางพับสามรอบด้วยจำเป็น

การปิดฝาต้องเน้นมัดรัดให้ดี

     ดองเก็บไว้หลายเดือนเพิ่มรสชาติ

รสเปรี้ยวฝาดขมบ้างใช่ไหมพี่

ทานตอนเย็นกับน้ำต้มตะไคร้นี้

อยู่หลายปีวัดบ้านป่าอีสานแดน

     ดองน้ำเกลือยังเหลือดองน้ำตาล

เพิ่มความหวานตัดรสฝาดอร่อยแสน

หมักหลายไหเก็บไว้ทานยามขาดแคลน

ค่ามากแม้นเป็นยาดีที่ต้องลอง

     พอเติบใหญ่เข้าศึกษาเรื่องอาหาร

วิชาการวิทยาศาสตร์ตอบสนอง

เรียนรู้ปฏิบัติจริงเรื่องหมักดอง

จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร

     คุณประโยชน์นั้นมากมายคณานับ

ถูกต้องครับแจ้งให้ทราบนี้ดีไหม

ผลไม้ที่เราเห็นทั่วเมืองไทย

มากเอ็นไซม์ก่อเกิดคุณต่อร่างกาย

     วิตามินรวมชนิดมากนักแท้

ช่วยซ่อมแก้การสึกหรอนะสหาย

เป็นยาดีแก้โรคภัยได้มากมาย

หามีร้ายหมักดองดีย่อมมีคุณ

 

    น้ำหมักผลไม้สูตรน้ำตาล

รับประทานเป็นยาได้ไม่เหม็นฉุน

ตั้งไฟร้อนฆ่าเชื้อเมื่อน้ำอุ่น

หอมละมุนเร่งฤทธิ์ยาดีนักแล

 

 

 

   ศึกษาไว้ทำให้เป็นเน้นวิธี

ได้ยาดีไว้บำรุงสุขยิ่งแท้

โรคภัยหายใครว่าร้ายอย่าได้แคร์

ปรับปรุงแก้สูตรป้าเซ็งเด้งดึ๋งเอยฯ

 

 

 

ขอน้อมคารวะจากใจ

"ทรชนบ้านนอก"

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรชนบ้านนอก วันที่ตอบ 2012-08-24 13:24:24


ความคิดเห็นที่ 4 (2296139)

สมุนไพรไทย

 

- สมอไทย

 

          ลักษณะ  :   เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15 - 25 ม. ลำต้นเปลาตรง เรือนยอด เป็นพุ่มกลม เปลือกนอก หนา สีน้ำตาลค่อนข้างดำ เปลือกใน สีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง 10 - 13 ซม. ยาว 18 - 28 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2 - 2.5 ซม. ใบอ่อน ขอบใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น เรียงเป็นระเบียบ ใบแก่หลังใบสีเขียวเข้ม มีขนสีขาวคลุม ท้องใบสีจางกว่า มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่ม เมื่อใบแก่ ขนทั้ง 2 ด้านจะหลุดร่วงหมดไป ดอกออกเป็นช่อ แต่ละช่อจะมีช่อแขนง 4 - 7 ช่อ ปลายช่อจะห้อยลงสู่พื้นดินหรือตั้งขึ้น ดอกบานเต็มาที่กว้างประมาณ 3 - 4 มม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมี ผล เป็นพวกผลสด รูปไข่กลับ รูปไข่ รูปกระสวย หรือรูปรักบี้ ยาว 3 - 4 ซม. กว้าง 2 - 3 ซม. ผิวเรียบมี 5 เหลี่ยมหรือพู จำนวนเมล็ด มี 1 เมล็ด มีเนื้อเยื่อหนาหุ้ม ผลแก่ สีเขียวอมเหลือง แต่เมื่อแห้งจะออกสีดำ

          ส่วนที่นำมาใช้ :  ดอก ลูกแก่ ลูกอ่อน เนื้อลูกสมอ และเปลือกต้น

          ชื่อวิทยาศาสตร์  : Terminalia chebula Retz.

          ชื่อวงศ์  :  COMBRETACEAE

          ชื่อท้องถิ่น  :  สมออัพยา มะนะ (ภาคเหนือ) ม่าแน่ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่

          สรรพคุณ  : ดอก  รสฝาด ต้มดื่มแก้บิด  ลูกแก่ รสฝาดเปรี้ยวขม แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้โลหิตในอุทร แก้น้ำดี ถ่ายอุจจาระ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้ลมป่วง แก้พิษร้อน ภายใน แก้ลมจุกเสียด ถ่ายพิษไข้ คุมธาตุ แก้ไอเจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ดีพลุ่ง แก้อาเจียน บำรุงร่างกาย แก้นอนสะดุ้งผวา ดองกับน้ำมูตรโค ดื่มแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ แก้อ่อนเพลีย บดเป็นผงโรยแผลเรื้อรัง   เนื้อลูกสมอ รสฝาดเปรี้ยว แก้บิด แก้ท้องผูก แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี แก้โรคท้องมส แก้ตับ ม้ามโต แก้อาเจียน แก้สะอึก แก้หืดไอ แก้ท้องร่วงเรื้อรัง   ลูกอ่อน รสเปรี้ยว ถ่ายอุจจาระ แก้โลหิตในท้อง แก้น้ำดี แก้เสมหะ   เปลือกต้น รสฝาดเมา ต้มดื่ม บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ


มะขามป้อม
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Phyllanthus emblica L.
ชื่อสามัญ : Emblic myrablan, Malacca tree
วงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่ออื่น : กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ส่วนที่ใช้ : น้ำจากผล ผลโตเต็มที่ ................................................... สรรพคุณ :

น้ำจากผล - แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

ผล - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ผลโตเต็มที่ จำนวนไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้


วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย

1.กินลูกสด กินมะขามป้อมสดวันละ 1 ลูกทุกวัน หรือเอามะขามป้อมมาล้างให้สะอาดผ่าเอาเม็ดออกใส่ครกตำให้ละเอียดเติมเกลือ เล็กน้อยนำน้ำผึ้งมาใส่ชุ่ม ๆ

2.กินมะขามป้อมแห้ง โดยเอามาแช่น้ำก่อนนอนครั้งละ 1 ถึง 2 ลูกต่อน้ำหนึ่งแก้ว ทิ้งไว้ตลอดคืนตื่นเช้ากินทั้งน้ำทั้งเนื้อตอนท้องว่าง

3.ปั้นเป็นเม็ดลูกกลอน เอาลูกมะขามป้อมมาสัก 100 ลูก พอสุกจึงแกะเอาเม็ดออก ตำให้ละเอียดตากแดดให้แห้ง ลูกกลอนผสมน้ำผึ้งปั้นลูกกลอนกินวันละ 2 ครั้ง ๆ ละ 3 เม็ด

4.ต้มกินต่างน้ำ ใช้มะขามป้อมสดหรือแห้ง ประมาณ 5-6 ลูก ต้มกับน้ำ 5 แก้วให้ เสร็จแล้วยกลงพอให้น้ำยาอุ่น ๆ กินต่างน้ำทั้งวัน

 

 

ลูกยอ (noni) และคุณสมบัติ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia

ชื่อภาษาอังกฤษ คือ great morinda, Indian mulberry, beach mulberry, Tahitian noni

ภาษาอื่น เช่น noni (จากฮาวาย) nono (ตาฮิติ) meng kudu (จากมาเลย์) nonu (ในภาษาของชาวทองก้า) และ ach (ในภาษาฮินดู)

ยอ เป็นไม่พุ่มหรือไม้ขนาดเล็กในตระกูล Rubiaceae เป็นไม้พื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีผู้นำไปแพร่พันธุ์จนกระจายไปทั่วอินเดีย และตามหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิค และหมู่เกาะอินดัสตะวันตก ต้นยอขึ้นได้ทั้งในป่าทึบหรือตามชายฝั่งทะเลที่เป็น โขดเขาหรือพื้นทราย ต้นโตเต็มที่เมื่ออายุครบ 18 เดือน และให้ผลซึ่งมีน้ำหนักรวมกันระหว่าง 4-8 กิโลกรัมต่อเดือน ตลอดทั้งปี ยอเป็นพืชทนทานต่อดินเค็ม สภาวะแห้งแล้ง และดินทุติยภูมิ ยอจึงพบแพร่หลายทั่วไป ต้นยออาจสูงถึง 9  เมตร ใบและผลยอมีลักษณะเด่นที่เป็นแล้วบอกได้โดยง่ายว่าเป็นยอ

ใบยอมีขนาดใหญ่ รูปใบธรรมดาและเส้นใบลึก ใบมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน

ยอออกดอกและผลตลอดปี ดอกของมันเล็กๆ มีสีขาว ผลยอเป็นผลรวม กลิ่นฉุนเมื่อสุก บางครั้งจึงมีผู้เรียกชื่อผลยอในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึง ลูกเนยแข็งหรือลูกอ้วก (cheese fruit หรือ vomit fruit) ผลยอคล้ายรูปไข่ และเหมือนมีตารอบผล ความยาวของผลอยู่ระหว่าง 4-7  เซนติเมตร เมื่อผลยังอ่อนมีสีเขียว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองไปจนเกือบขาวเมื่อสุก แม้ผลยอจะมีกลิ่นแรงและรสขม แต่ก็มีการบริโภคผลยอกันมาก ทั้งดิบ ๆ หรือปรุงแต่ง บางหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค กินผลยอเป็นอาหารหลัก ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และชาวพื้นเมืองออสเตรเลียกินผลยอดิบจิ้มเกลือ หรือปรุงกับผงกระหรี่ เมล็ดของยอคั่วรับประทานได้

การใช้ประโยชน์ยอ

1. การใช้ประโยชน์ยอแต่ดั้งเดิม

ต้นยอใช้ประโยชนได้ทั้งต้น ไม่ว่า ใบ ผล ลำต้น ดอก เมล็ด หรือราก แต่ดั้งเดิมมามีผู้นำยอไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

1.1 ใบยอ

(ก) ใบสด ใช้ห่อเนื้อและทำให้เนื้อมีรสยอ ใช้ทำอาหาร เช่น ห่อหมก ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงตัวหนอนไหม แก้แผลพุพอง รักษาอาการปวดศีรษะ หรือไข้

(ข) ใบทำยาพอก รักษาโรคมาลาเรีย แก้ไข้ แก้ปวด รักษาวัณโรค อาการเคล็ดยอก แผลถลอกลึกๆ อาการปวดในข้อ แก้ไข้ แก้พิษจากการถูกปลาหินต่อย แก้กระดูกแตก กล้ามเนื้อแพลง

(ค) น้ำสกัดใบยอ รักษาความดันโลหิตสูง เลือดออกที่เกิดจากกระดูกร้าว แก้ปวดท้อง เบาหวาน เบื้ออาหาร ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่องท้องบวม ไส้เลื่อน อาการขาดวิตามินเอ

1.2 ผลยอ

(ก) ไอระเหยจากลูกยอ ใช้รักษากุ้งยิง

(ข) ลูกยอดิบ ใช้รักษาอาการเจ็บ หรือแผลตกสะเก็ดรอบปากหรือข้างในปาก

(ค) ลูกยอสุก ใช้รับประทาน ลูกยอบดละเอียดใช้กลั้วคอแก้คอเจ็บ ลูกยอบดใช้ทาเท้าแก้เท้าแตก ใช้ทาผิวฆ่าเชื้อโรค หรือรับประทานเพื่อฆ่าพยาธิในร่างกาย รักษาบาดแผลและอาการบวม แก้ปากและเหงือกอักเสบ แก้ปวดฟัน กระตุ้นความอยากอาหารและสมอง ใช้ทำอาหารหมู

(ง) ผลทำยาพอก ใช้แก้หัวสิว ตุ่ม ฝีฝักบัว แก้วัณโรค อาการเคล็ด แผลถลอกลึก โรคปวดในข้อ

(จ) น้ำมัน น้ำมันสกัดจากลูกยอใช้แก้ปวดกระเพาะ

(ฉ) น้ำสกัดลูกยอ แก้ความดันโลหิตสูง

1.3 ลำต้น

(ก) เปลือกต้ม แก้โรคดีซ่าน

(ข) น้ำสกัดต้นยอ แก้โรคความดันโลหิตสูง

1.4 เมล็ดยอ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดยอใช้รักษาเหาและป้องกันแมลง

1.5 ดอกยอ ใช้รักษากุ้งยิง

1.6 รากยอ

(ก) นำมาใช้แกะสลัก

(ข) ทำรงควัตถุสีเหลือง

(ค) น้ำคั้นจากรากใช้แก้แผลที่อักเสบรุนแรง

1.7 ทุกส่วนของต้นยอ สามารถใช้ทำยาระบายท้อง

 

2. การใช้ประโยชน์ยอสมัยใหม่

ปัจจุบันมีการนำลูกยอมาใช้ในทางแพทย์ทางเลือก (complementary alternative medicine, CAM) กันอย่างแพร่หลายในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคติดสุราหรือยาเสพติด อาการแพ้ โรคข้ออักเสบ โรคหอบหืด โรคสมอง แผลพุพอง มะเร็ง โรคเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงหัวใจ อาการแพ้สารเคมี โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคเซลล์เจริญเติบโตนอกมดลูก (endometriosis) โรคเก๊า โรคความดันโลหิตสูง ภูมิคุ้มกันต่ำ อาการอักเสบต่างๆ อาการปวดบวม อาการอ่อนเพลียจากการนั่งเครื่องบินนานๆ โรคเส้นโลหิตตีบ อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ โปลิโอ โรคปวดในข้อ ไซนัส และใช้เป็นยารักษาสัตว์

 ฯลฯ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรชนบ้านนอก วันที่ตอบ 2012-08-24 13:57:16


ความคิดเห็นที่ 5 (2296153)

 

 

สมุนไพรอภัยภูเบศร
 
อภัยภูเบศรสาร .... สมานมิตร
ได้ใกล้ชิดทุกเดือนเตือนจิตมั่น
สิ่งรอบรู้มากคุณค่าสารพัน
ช่วยสร้างสรรค์ภูมิปัญญาน่าชื่นชม
สมุนไพร ใฝ่คิดค้นผลประเสริฐ
ย่อมบังเกิดผลิตภัณฑ์อันเหมาะสม
ราคาถูกแพร่หลายหมายนิยม
ดื่ม กิน ดม คุณภาพซาบซึ้งจินต์
ตำรับไทย แต่โบราณสานต่อเติม
ช่วยสร้างเสริมปัจจุบันมั่นถวิล
บรรจุภัณฑ์ขึ้นขื่อลือระบิล
เป็นศรีถิ่น ปราจีนฯ พาก้าวหน้าไกล
          สมุนไพรอภัยภูเบศร ... วิเศษหลาย
มวลหญิงชายต่างชื่นชมสมสมัย
จงยืนยงคู่ถิ่น แผ่นดินไทย
ดำรงใน คุณค่า น่าภาคภูมิ
                                         ราชาวดี
(คุณทรชนบ้านนอก ครับ
            นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพรดีมาก ขอร่วมด้วยครับ)
                                                      
ผู้แสดงความคิดเห็น ราช่าวดี วันที่ตอบ 2012-08-24 15:05:35


ความคิดเห็นที่ 6 (2296183)

            "สนับสนุนสมุนไพรไทย"

     สมุนไพรไทยเรานั้นมีหลากหลาย

อย่าเบื่อหน่ายลืมศึกษาสหายเอ๋ย

ตั้งแต่เด็กทานยาฝนจนคุ้นเคย

แต่พอใหญ่กลับเมินเฉยความสำคัญ

     ต้นตำรับยาไทยแผนโบราณ

ควรสืบสานเผยแพร่อย่าแปรผัน

สมุนไพรไทยแท้อุดหนุนกัน

ย่อมสุขสันต์มีเงินตรามาหมุนเวียน

     ธรรมชาติย่อมดีแน่กว่ายาไหน

อย่าเชื่อใครโฆษณาพาผิดเพี้ยน

ตามฝรั่งมังค่าจนน่าเอียน

ตำราเขียนยาเรานี้มีนมนาน

     ตึกอภัยภูเบศ ปราจีนบุรี

สถานที่อนุรักษ์และสืบสาน

สมุนไพรไทยก้าวหน้าวิชาการ

ร่วมประสานภูมิปัญญาพาก้าวไกล

ขอน้อมคารวะจากใจ

"ทรชนบ้านนอก"

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรชนบ้านนอก วันที่ตอบ 2012-08-24 16:31:21


ความคิดเห็นที่ 7 (2327213)


อยู่เมืองจีนค่ะ  

  แต่ทำน้้าป้าเชงไว้ทาน เป็นวุ้นแล้ว ดีใจมาก  ทานตามพ่อค่ะ  คอนเฟิม สูตรเขาดีจริงๆ อย่าว่า อย่าด่าป้าเขาเลยค่ะ ยายแก่แล้ว  โกหกไม่เป็นหรอก ท้ายของชีวิตของทุกคน ย่อมอยากทำดี บางที ท่าน ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ ท่านเลย เล็งเห็นคนที่อยู่ ว่าทานแล้วอาจจะ ฉะ หลาด ขึ้น มาบ้าง อิอิอิ ไม่ไปด่าคนอื่น สงสารท่านอะ แก่แล้ว  ไม่ใช่ญาติหรอก แต่ ท่านไม่ได้บีบคอ ให้ ใคร  ทำ เชื่อ ก็ทำ ไม่เชื่อ ก็อย่าทำ และอย่าว่าคนอื่น  แฟ กว่านะคะ    แต่ว่าทานแล้ว ตด ดี มา คร็าาาาา   

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เชื่อมั่นใน ความ คิด วันที่ตอบ 2013-01-14 21:13:59


ความคิดเห็นที่ 8 (2327216)

สวัสดีครับ พี่ พี่  ป้า ลุง ทั้งหมดครับ

ผมชื่อเฟ่  อายุ 8 ปี ครับ คือว่า ผมท้อง อืด ขี้ไม่ออก  ทานยาก็ไม่ดีขึ้น  แม่เลยบังคับให้ ทานน้ำของ ยาย เชง ที่เขาเรียกป้าเชงนะครับ  ผมขอเรียกยายละกัน  ยายครับ  ผมขี้ออก  แล้วครับ  ตด  ด้วย    สบายท้องมาก  ตอนนี้ถ้ามีอาการแบบนี้อีก  รับรอง ผมคิดถึงน้ำยายเชงแน่นอน  แต่มันเปรี้ยวมาก  แม่เลยผสมน้ำให้อ่อน ลง ก็ โอเครับ รู้สึก ดี    ขึ้น  ตอนนี้ผมอยู่เนเธอแลนด์ครับ  พ่อผม เป็นฝรั่ง แต่ ทานน้ำป้าด้วย พ่อบอกว่า   เยี่ยมยอด 

แถมยัง กรอกให้เพื่อนทานด้วยนะครับ  เขาก็ทานนะ ผมเห็นแล้ว ดีใจทานยาย จังครับ ที่ มีคนรัก มากกว่าคนชัง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็กไทยในเมืองนอกครับ วันที่ตอบ 2013-01-14 21:27:06


ความคิดเห็นที่ 9 (2414318)

แต่ก่อนเป็นโรคต่อมลูกหมาก ปัสสาวะติดขัด เป็นโรคเป็นแผลในลำไส้เล็กต่อกระเพาะอาหาร ( คุณหมอบอกเพราะไปหาหมอประจำ) โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดมีมาก (หมอให้ยามาทานแพ้ยาเป็นตุ่มคันไปทั้งตัวทานยาไม่ได้ ) และโรคเพิ่มมาเรื่อยๆ ต้องทานยาหลังอาหารรวันละเป็น ๑๐ เม็ด กินทุกๆวัน นั่งรอให้ไตพังจะได้ไปฟอกไตเหมือนชาวบ้านคนอื่นๆ เขาหรือต้องไปคลินิคคุณหมอทุกสัปดาห์เพื่อเอายามากินฯลฯ

       ปัจจุบันผมทานนำหมักที่หมักเองโดยได้วิธีหมักมาจากรายการทีวีซุบเปอร็เช็งของคุณยายเช็งและเวลาไปกรุงเทพฯก็แวะซื้อมหาบำบัดของคุณยายเช็งมาทาน หยอดเจียรไนเพชรทำให้ขับรถได้ไม่หยีตา ตอนกลางคืนเปิดไฟแล้วก็มองเห็นถนนไม่ชัดไม่รู้จะเกิดอุบัติเหตุเมื่อไหร่แต่เดียวนี้อาการเหล่านี้ไม่มี เหมือนตายแล้วเกิดไหม่ เลิกไปหาหมอ เลิกทานยาหมอแล้ว ทานน้ำหมักอย่างเดียว คนไหนที่ป่วยหลายโรคลองทานน้ำหมักดู อย่าเชื่อต้องลองเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาวน้ำหมัก วันที่ตอบ 2013-09-17 11:56:38


ความคิดเห็นที่ 10 (3889974)

 น้ำหมักป้าเซ็งสามารถรักษาอาการโรคอ่อนเพลียเรื้อรังได้มั้ยค่ะ @ สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ

ผู้แสดงความคิดเห็น ติดตี่ วันที่ตอบ 2015-11-01 15:12:41



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.