ReadyPlanet.com


ส.พลายน้อย ได้รับรางวัลนักเขียนอมตะ


ส.พลายน้อย หรือ สมบัติ พลายน้อย  นักเขียนชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เขียนเรื่องราว วรรณกรรม วรรณคดี และประวัติศาสตร์ไว้มากมายกว่า 100 เล่ม บทความมากมาย 4000 กว่าบทความ ตลอดระยะเวลา 60 ปี ในวงการน้ำหมึก ได้รับการคัดสรรค์ประกาศให้เป็น นักเขียนอมตะ คนที่ 4 ต่อจาก เสนีย์ เสาวพงศ์ หรือ ศักดิชัย บำรุงพงศ์,เปลว สีเงิน หรือ โรจน์ งามแม้น และ โกวิท เอนกชัย หรือ เขมานันทะ

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา ณ มูลนิธิอมตะ ถนนเพชรบุรี



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้สื่อข่าวบ้านไพร :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-08 17:12:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1847595)

เป็นอีกปีที่ได้ไม่ตรงกับคำว่า"วรรณกรรม"เพื่อส่งประกวดรางวัน"โนเบล"

ก็ยินดีครับเพราะผลงานท่านก็มีคุณภาพสมควรกับรางวัลต่าง ๆ เพียงแต่ยังไม่ตรงเป้าของรางวัลนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น คนอ่าน วันที่ตอบ 2008-10-08 21:38:46


ความคิดเห็นที่ 2 (1847696)

พอจะมีรายละเอียดของรางวัลนักเขียนอมตะบ้างหรือไม่ อยากทราบเกณฑ์การคัดเลือกและวัตถุประสงค์ของการให้รางวัลน่าสนใจมากครับ ผู้ใดมีข้อมูลขอมาแบ่งปันความรู้กันบ้าง ขอบคุณครับ และขอแสคงความยินดีกับ อาจารย์ ส.พลายน้อย ด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น แฟนนักกลอน วันที่ตอบ 2008-10-09 06:49:43


ความคิดเห็นที่ 3 (1848196)

หลักเกณฑ์ในการพิจารณารางวัล “นักเขียนอมตะ”
 ๑. เป็นนักเขียนสัญชาติไทย มีชีวิตอยู่ในวันที่ทำการเสนอชื่อ
 ๒. มีผลงานตีพิมพ์เป็นภาษาไทยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี 
 ๓. ผลงานเขียนดังกล่าวต้องมีคุณค่าสร้างสรรค์สังคมและมวลมนุษยชาติ

รางวัล “นักเขียนอมตะ” จึงถือเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศซึ่งเปี่ยมด้วยคุณค่าและ มาตรฐาน คงไว้ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ อิสระ และเชิดชูประวัติแห่งผู้อุทิศตนที่ทุ่มเทสร้าง ผลงาน

ผู้ได้รับรางวัล “นักเขียนอมตะ” จะได้รับเงินสนับสนุน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) พร้อมเหรียญทองคำแกะสลักรูป “นางอินทร์” ต้นตระกูลกรมดิษฐ์  และใบประกาศเกียรติคุณ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนผ่านทาง วันที่ตอบ 2008-10-09 23:56:24


ความคิดเห็นที่ 4 (1848235)

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลนกเขียนอมตะ รบกวนอีกครั้งเถอะครับ ขอประวัติส.พลายน้อย ด้วยขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น แฟนนักกลอน วันที่ตอบ 2008-10-10 08:18:51


ความคิดเห็นที่ 5 (1848420)

เอกสารประกอบการแถลงข่าวรางวัลแห่งเกียรติยศ

“นักเขียนอมตะ” ครั้งที่ ๔ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๑

วันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑

ณ มูลนิธิอมตะ อาคารกรมดิษฐ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่

แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

 

“ส. พลายน้อย” นักเขียนอมตะคนที่ ๔ ประจำปี ๒๕๕๑

 

รางวัลแห่งเกียรติยศ “นักเขียนอมตะ”

เป็นรางวัลที่มูลนิธิอมตะริเริ่มขึ้นจากแนว ความคิดของนายประภัสสร เสวิกุล

นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย (พ.ศ.๒๕๔)

นำเสนอต่อนายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ ซึ่งในขณะนั้น

ได้ทำงานร่วมกัน ในการจัดทำหนังสือชีวประวัติเชิงนวนิยาย “ผมจะเป็นคนดี”

ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อยกย่อง นักเขียนไทยที่มีความสามารถให้ปรากฏ

และเป็นกำลังใจแก่นักเขียนผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า

อันควรแก่การนำเสนอเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงสู่สังคมไทยและสากล

 

หลักเกณฑ์ในการพิจารณารางวัล “นักเขียนอมตะ”

๑. เป็นนักเขียนสัญชาติไทย มีชีวิตอยู่ในวันที่ทำการเสนอชื่อ

๒. มีผลงานตีพิมพ์เป็นภาษาไทยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี 

๓. ผลงานเขียนดังกล่าวต้องมีคุณค่าสร้างสรรค์สังคมและมวลมนุษยชาติ

 

รางวัล “นักเขียนอมตะ” จึงถือเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศซึ่งเปี่ยมด้วยคุณค่าและ มาตรฐาน

คงไว้ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ อิสระ และเชิดชูประวัติแห่งผู้อุทิศตนที่ทุ่มเทสร้าง ผลงาน

 

ผู้ได้รับรางวัล “นักเขียนอมตะ” จะได้รับเงินสนับสนุน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)

พร้อมเหรียญทองคำแกะสลักรูป “นางอินทร์” ต้นตระกูลกรมดิษฐ์  และใบประกาศเกียรติคุณ

               

มูลนิธิอมตะได้จัดตั้งคณะกรรมการคัดสรรเพื่อพิจารณามอบรางวัลให้แก่นักเขียน

เป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยมีประธานกรรมการในการคัดสรรคือ

ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต 

               

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ การพิจารณารางวัล “นักเขียนอมตะ” ดำเนินมาจนถึงปีที่ ๔  

โดยนักเขียนอมตะท่านแรกคือ นายศักดิชัย บำรุงพงศ์ หรือนามปากกา “เสนีย์ เสาวพงศ์”

ได้รับรางวัล “นักเขียนอมตะ” ประจำปี ๒๕๔๗

ต่อมาคือ นายโรจ งามแม้น หรือนามปากกา “เปลว สีเงิน”

ได้รับรางวัล “นักเขียนอมตะ” ประจำปี ๒๕๔๘

และท่านที่สามคือ อาจารย์โกวิท เอนกชัย หรือ “เขมานันทะ”

รางวัล “นักเขียนอมตะ” ประจำปี ๒๕๔๙-๕๐

               

ในปีนี้ มูลนิธิอมตะได้จัดตั้งคณะกรรมการคัดสรร

เพื่อพิจารณามอบรางวัล “นักเขียนอมตะ” ดังมีรายนามต่อไปนี้

ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต                         

ประธานกรรมการ

ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว                                     

กรรมการ

ศาสตราจารย์ ชวน เพชรแก้ว                                    

กรรมการ

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์                     

กรรมการ

อาจารย์วัฒนะ บุญจับ                                             

กรรมการ

นางธารา กนกมณี                                                 

กรรมการ

นายภิญโญ  ไตรสุริยธรรมา                                      

กรรมการและเลขานุการ

 

คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์พิจารณารางวัล “นักเขียนอมตะ”

ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๑

ให้แก่ นายสมบัติ พลายน้อย (ส. พลายน้อย)

 

มูลนิธิอมตะจะจัดให้มีพิธีมอบรางวัลแก่ “นักเขียนอมตะ” คนที่ ๔

ในวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๒  ณ ที่ทำการมูลนิธิอมตะ

โดยมี ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล

               

ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมในงานดังกล่าว ทั้งนี้มูลนิธิจะแจ้งกำหนดการโดยละเอียด

ให้ทราบต่อไป หรือติดตามได้ที่ http://www.amatafoundation.org/  

สอบถามถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ๐-๒๗๙๒-๐๐๐๑ หรือ ๐๘๖-๙๘๘๘๐๑๑

               

มูลนิธิอมตะขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกแขนงที่ร่วมกันเผยแพร่

ประชาสัมพันธ์ข่าวสารในโครงการ “นักเขียนอมตะ” ด้วยดีเสมอมา

 

ด้วยความขอบคุณ

มูลนิธิอมตะ

๗ ตุลาคม ๒๕๕๑

ผู้แสดงความคิดเห็น คนผ่านทาง วันที่ตอบ 2008-10-10 14:04:39


ความคิดเห็นที่ 6 (1848424)

ประวัตินักเขียนอมตะ คนที่ 4  ประจำปีพุทธศักราช 2551

นายสมบัติ พลายน้อย เกิดวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2472  

ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

ภรรยาชื่อ นางจงกล พลายน้อย มีบุตรชาย 1 คน

 

ประวัติการศึกษา

ชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดประดู่ทรงธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย

ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษประถม (พ.ป.)

 

ประวัติการทำงาน

รับราชการครั้งแรกเป็นเสมียนสรรพากรและเปลี่ยนอาชีพไปรับราชการครูเป็นเวลา 5 ปี

สนใจเขียนหนังสือมาตั้งแต่ครั้งเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยได้สมัครเรียน

วิชาการประพันธ์และการหนังสือพิมพ์ทางไปรษณีย์ ของอาจารย์ เปลื้อง  ณ นคร

นายสมบัติเริ่มเขียนสารคดีอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา ในขณะที่รับราชการครูอยู่นั้น

อาจารย์เปลื้องได้เชิญให้มาทำงานด้านวารสารของกระทรวงศึกษาธิการหลายฉบับ

มีผลงานเขียน ประเภทบทความ บทละคร สารคดี และเรื่องสั้นพิมพ์เผยแพร่ในวารสารต่างๆ

เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันได้จัดรายการวิทยุศึกษาไปพร้อม ๆ กันด้วย

 

พ.ศ. 2522 นายสมบัติได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานโสตทัศนูปกรณ์และเอกสารสิ่งพิมพ์

กองส่งเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

และเป็นบรรณาธิการวารสารวัฒนธรรมไทย

 

พ.ศ. 2528 ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ 2 ปี

ได้ลาออกจากราชการ เพื่อเขียนหนังสือแต่เพียงอย่างเดียว

 

นายสมบัติเป็นนักเขียนที่มีความสามารถเขียนหนังสือได้หลายประเภท

ปัจจุบันมีงานเขียนรวมเล่มแล้ว ประมาณ 100 เล่ม

ส่วนใหญ่เป็นงานเขียนประเภทสารคดี นิทานและปกิณกะอื่น ๆ ซึ่งจำแนกได้ดังนี้

 

งานเขียนประวัติบุคคลสำคัญ เช่น

1.    เจ้าพระยาวิชาเยนทร์

2.    พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดา

3.    พระเจ้าตากสินมหาราชแห่งชาติไทย

4.    เจ้าฟ้าจุฑามณี พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

5.    ชาวต่างประเทศในประวัติศาสร์ไทย

ฯลฯ

 

ประวัติศาสตร์และเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เช่น

1.    สารคดีน่ารู้สารพัดนึก

2.    เล่าเรื่องบางกอก

3.    ๑๐๐ รอยอดีต

4.    พระราชวัง

5.    เล่าเรื่องพม่ารามัญ

ฯลฯ

สารานุกรม เช่น

1.    สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย

2.    สารานุกรมวัฒนธรรมไทย

 

วรรณคดี ประวัติศาสตร์และความเชื่อ เช่น

1.    เทวนิยาย

2.    สัตวนิยาย

3.    พฤกษนิยาย

4.    อมนุษยนิยาย

5.    นิทานมหัศจรรย์

ฯลฯ

 

นิทาน เช่น

1.    นิทานไทย

2.    นิทานไทยแสนสำราญ

3.    นิทานวรรณคดี

4.    นิทานเพื่อนบ้าน

5.    นิทานมหัศจรรย์

ฯลฯ

 

เรื่องอื่น ๆ เป็นสารคดีเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น

1.    แลไปข้างหลัง

2.    เกิดในเรือ

3.    โลกแสตมป์

4.    สรรพสารคดี

5.    เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง

ฯลฯ

 

นอกจากนั้นยังมีผลงานเขียน ที่เป็นสารคดี เรื่องเขียนตามที่ได้รับการร้องขอ

จากองค์กรภาครัฐและเอกชนในโอกาสต่าง ๆ และได้เผยแพร่ในวารสารหลายฉบับ

เช่น ศิลปวัฒนธรรม, สารคดี, เมืองโบราณ, วัฒนธรรมไทย, ต่วย’ตูน,

ความรู้คือประทีป ฯลฯ ปรากฏผลงานออกมาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

 

เกียรติคุณที่ได้รับ

พ.ศ. 2517 หนังสือเรื่อง “พฤกษนิยาย”  ได้รับรางวัลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2532 หนังสือเรื่อง “ยาขอบ ชีวิตและงานของผู้แต่งอมตนิยายผู้ชนะสิบทิศ” ได้รับรางวัล

ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

พ.ศ. 2536 หนังสือเรื่อง “สัตว์หิมพานต์” ได้รับรางวัลของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพฯ

พ.ศ. 2535 หนังสือเรื่อง “อัญมณีนิยาย” ได้รับรางวัลในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

พ.ศ. 2538 หนังสือเรื่อง "เกิดในเรือ" ได้รับรางวัลในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ

พ.ศ. 2539  ได้รับประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ (สารคดี ) ประจำปีพ.ศ. 2539

พ.ศ. 2551  ได้รับประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

เป็นผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปีพ.ศ. 2551

พ.ศ.2551  รางวัล “นักเขียนอมตะ” คนที่ 4 ประจำปีพุทธศักราช 2551

 

ปัจจุบันนายสมบัติ พลายน้อย อายุ 79 ปี และยังคงสร้างสรรค์งานเขียนอย่างสม่ำเสมอ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนผ่านทาง วันที่ตอบ 2008-10-10 14:12:50


ความคิดเห็นที่ 7 (1848652)

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ทันเหตุการณ์ อาจารย์สมบัติ พลายน้อย หรือ ส.พลายน้อย มีผลงานเหมาะสมมาก อนาคตอาจได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์

ผู้แสดงความคิดเห็น คนกลอนรุ่นเก่า วันที่ตอบ 2008-10-11 07:13:28


ความคิดเห็นที่ 8 (2107251)

afro curls hair pieces information about the wigs wigs is often used in the fashion industry remy hair synthetic hair.

ผู้แสดงความคิดเห็น patri (fake-at-live-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 08:55:11



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.