ReadyPlanet.com


ปลาทูเข้าโป๊ะ ผีตากผ้าอ้อม และ อุกกาฟ้าเหลือง



ภาพ :
อุทยานสวรรค์/หนองสมบุญ จังหวัดนครสวรรค์ ถ่ายด้วยกล้อง นิกร (Nikon D40x) : 3 เมษายน 2551

 







ผู้ตั้งกระทู้ กวิน :: วันที่ลงประกาศ 2008-09-12 09:23:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1835884)



ว่าด้วยสำนวน  ปลาทูเข้าโป๊ะ ผีตากผ้าอ้อม และ อุกกาฟ้าเหลือง หลังจากที่ผู้เขียนได้อ่าน บันทึก ชายผู้หลงรักมวลเมฆ » 052 : ชวนรู้จัก เมฆทรวงอก (Mammatus) โดยอาจารย์ บัญชา ธนบุญสมบัติ ทำให้ผู้เขียน นึกถึงกวีนิพนธ์ เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า ของ อัศนี พลจันทร (นายผี) ซึ่งได้สอดแทรกสำนวน ปลาทูเข้าโป๊ะ ผีตากผ้าอ้อม เข้าไว้ในคำประพันธ์ด้วย


กาพย์ยานี 11 ของนายผี ท่อนหนึ่ง ได้แต่งเอาไว้ว่า

"สองตาดั่งปลาทู    เข้าโป๊ะพรืดนภาดล"


ผู้เขียนพยามแปล กาพย์ยานี 11 วรรคนี้ แต่ก็ยังไม่ทราบความหมายของสารที่จะสื่อ อะไรหนอ  ตา เหมือนปลาทู มันก็ตาใสๆ น่ะสิ แต่ถ้าแปลว่าตาใสๆ มันก็จะขัดแย้งกับบริบทของ กาพย์ยานี 11  กระทั่งผู้เขียนได้อ่านบันทึก 052 : ชวนรู้จัก เมฆทรวงอก (Mammatus) โดยอาจารย์ บัญชา ธนบุญสมบัติ  หลังจากที่ได้อ่านคอมเมนท์ของอาจารย์บัญชา ซึ่งได้เอ่ยถึงสำนวน ปลาทูเข้าโป๊ะ  และ อุาฟ้าเหลือง


 

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-12 09:25:09


ความคิดเห็นที่ 2 (1835885)

ผู้เขียนจึงได้ ลองสอบถามอาจารย์ กูฯ (Gogle) ได้ความว่าสำนวน  ผีตากผ้าอ้อม ใช้เรียกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในยามที่ท้องฟ้าทางทิศตะวันตก (โดยมากหลังฝนตกใหม่ๆ) แสงตะวันตกดินจะสะท้อนกลับมาสว่างเป็นแสงสีแดงอมเหลือง คนโบราณเปรียบภาพที่เห็นนั้นเหมือนผ้าอ้อมที่ผีนำออกมาตาก จึงเรียกกันว่า ผีตากผ้าอ้อม (1

ส่วนสำนวน ปลาทูเข้าโป๊ะ นั้น จากการสอบถามอาจารย์ กูฯ (Gogle) พบว่ามีความหมายคล้ายคลึงกับสำนวน ผีตากผ้าอ้อม
  ผู้เขียน สันนิษฐานว่า สำนวน ปลาทูเข้าโป๊ะ  นี้มีที่มาจาก

1.การสังเกตพฤติกรรมของปลาทูที่มักจะว่ายเข้า
โป๊ะในยามโพล้เพล้ หรือ
2.บริเวณจับโป๊ปลาทูมีการจุดไต้ จนสว่างไสวกลางทะเล หรือ
3.เมื่อ ปลาทูเข้าโป๊ะ มากเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ในยามที่จะจับปลาทูขึ้นจากน้ำ ชาวประมงคงเลือกใช้เวลาในยามโพล้เพล้ (เช้า/เย็น)  เพราะเป็นเวลาที่แสงอาทิตย์ลดความร้อนแรง ดังนั้นชาวประมงผู้จับปลาทู จึงต้องจุดไต้จุดคบ ให้สว่างไสวในบริเวณโป๊ะ พฤติกรรมการจุดไต้จุดคบสีแดง อมส้มจนสว่างไสว กลางทะเลนี้ ชาวประมงจึงนำมาใช้เรียกท้องฟ้าในยามโพล้เพล้ว่า ช่วงเวลาปลาทูเข้าโป๊ะ เพราะท้องฟ้ามีสีแดงอมส้มเหมือนแสงไฟจากโป๊ะจับปลาทูนั่นเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:27:45


ความคิดเห็นที่ 3 (1835887)


รูป โป๊ะ จับปลาทู (
2)

โป๊ะ คือ เครื่องมือจับปลาพื้นบ้าน ซึ่ง เป็นเครื่องมือจับปลาประจำที่ (ไม่สามารถถือเคลื่อนย้ายไปมาได้  แต่สามารถนำไปประกอบหรือลงหลักใหม่ได้)  ประกอบด้วยส่วนของลูกขังที่มีลักษณะเป็นรูปทรงต่าง ๆ  มีส่วนปีกเป็นทางน้ำให้สัตว์น้ำเข้าสู่ลูกขัง  ชาวประมงพื้นบ้านนิยมใช้โป๊ะเป็นเครื่องมือจับปลามาช้านานในทะเล (
3)

เมื่อทราบที่มาของสำนวน ปลาทูเข้าโป๊ะ ผีตากผ้าอ้อม ผู้เขียนจึงลองวิเคราะห์กวีนิพนธ์ เราชนะแล้วแม่จ๋า ของอัศนี พลจันทร (นายผี) ท่อนที่ว่า

ดวงใจอันไกรเกรียง      เป็นแสนเสี่ยงอยู่รอรา
มือกำและน้ำตา           ก็ตกพรากอยู่พลั่งพรู
กัดฟันตัวสั่นเทิ้ม          เม็ดเหื่อเยิ้มอยู่ดาษดู
สองตาดั่งปลาทู-         เข้าโป๊ะ รืด นภาดล
หน้าซีดบ่มีสี-              โลหิตแล้ว และเหลืองกล-
ผีตากผ้าอ้อม สน-        ธยา ย้อมระยับแสง
สงสารเอยโอ้ดวงใจ      อันเกรียงไกรก็อ่อนแรง
ดุจดวงตะวันแดง          จะลับเลื่อนลงรอนรอน

(อัศนี พลจันทร.รวมบทกวีนายผี : อัศนี พลจันทร.--พิมพ์ครั้งที่ 1.--กรุงเทพฯ : สามัญชน, 2541 หน้า 522)

จากการวิเคราะห์ กวีนิพนธ์ เราชนะแล้วแม่จ๋า ของอัศนี พลจันทร (นายผี) พบว่า นายผีใช้การอุปมาอุปไมยว่านางเอก ร้องไห้ จนตาแดง อมสีส้ม ๆ เหมือน ท้องฟ้ายามโพล้เพล้ หรือที่คนโบราณทางภาคใต้เรียกว่า ปลาทูเข้าโป๊ะ  คนทางภาคกลางเรียกว่า ผีตากผ้าอ้อม (ท้องฟ้ามีสีแดงๆ อมส้ม) ผู้เขียน สันนิษฐานว่า สำนวน  ผีตากผ้าอ้อม  นี้มีที่มาจาก
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:29:27


ความคิดเห็นที่ 4 (1835888)


รูป โป๊ะ จับปลาทู (
2)

โป๊ะ คือ เครื่องมือจับปลาพื้นบ้าน ซึ่ง เป็นเครื่องมือจับปลาประจำที่ (ไม่สามารถถือเคลื่อนย้ายไปมาได้  แต่สามารถนำไปประกอบหรือลงหลักใหม่ได้)  ประกอบด้วยส่วนของลูกขังที่มีลักษณะเป็นรูปทรงต่าง ๆ  มีส่วนปีกเป็นทางน้ำให้สัตว์น้ำเข้าสู่ลูกขัง  ชาวประมงพื้นบ้านนิยมใช้โป๊ะเป็นเครื่องมือจับปลามาช้านานในทะเล (
3)

เมื่อทราบที่มาของสำนวน ปลาทูเข้าโป๊ะ ผีตากผ้าอ้อม ผู้เขียนจึงลองวิเคราะห์กวีนิพนธ์ เราชนะแล้วแม่จ๋า ของอัศนี พลจันทร (นายผี) ท่อนที่ว่า

ดวงใจอันไกรเกรียง      เป็นแสนเสี่ยงอยู่รอรา
มือกำและน้ำตา           ก็ตกพรากอยู่พลั่งพรู
กัดฟันตัวสั่นเทิ้ม          เม็ดเหื่อเยิ้มอยู่ดาษดู
สองตาดั่งปลาทู-         เข้าโป๊ะ รืด นภาดล
หน้าซีดบ่มีสี-              โลหิตแล้ว และเหลืองกล-
ผีตากผ้าอ้อม สน-        ธยา ย้อมระยับแสง
สงสารเอยโอ้ดวงใจ      อันเกรียงไกรก็อ่อนแรง
ดุจดวงตะวันแดง          จะลับเลื่อนลงรอนรอน

(อัศนี พลจันทร.รวมบทกวีนายผี : อัศนี พลจันทร.--พิมพ์ครั้งที่ 1.--กรุงเทพฯ : สามัญชน, 2541 หน้า 522)

จากการวิเคราะห์ กวีนิพนธ์ เราชนะแล้วแม่จ๋า ของอัศนี พลจันทร (นายผี) พบว่า นายผีใช้การอุปมาอุปไมยว่านางเอก ร้องไห้ จนตาแดง อมสีส้ม ๆ เหมือน ท้องฟ้ายามโพล้เพล้ หรือที่คนโบราณทางภาคใต้เรียกว่า ปลาทูเข้าโป๊ะ  คนทางภาคกลางเรียกว่า ผีตากผ้าอ้อม (ท้องฟ้ามีสีแดงๆ อมส้ม) ผู้เขียน สันนิษฐานว่า สำนวน  ผีตากผ้าอ้อม  นี้มีที่มาจาก
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:30:04


ความคิดเห็นที่ 5 (1835890)
 

1.ขอให้ท่านผู้อ่าน นึกถึงภาพ ขี้ หรืออุจาระ  ว่ามีสีอะไร ใช่แล้ว สีเหลือง ไม่ก็ สีส้ม ซึ่งในสมัยที่ผู้เขียนยังเป็นเด็ก เคยแกล้งน้องเมื่อเห็นน้องชายกำลัง รับประทาน ขนมแกงบวชฟักทอง ซึ่งมีสีเหลืองๆ ว่า กินขี้อยู่เหรอ  น้องชายถึงกับร้องไห้วิ่งไปฟ้องแม่ ดังนั้น ขี้ หรืออุจาระ  ในมโนสำนึกของคนไทยจึง มีสี เหลือง ไม่ก็สีส้ม สำนวนผี ตากผ้าอ้อม นี้ ผู้เขียนสันนิษฐานว่า คนโบราณใช้เรียก ผ้าอ้อมเด็ก ซึ่งเปื้อนอุจจาระเด็กอ่อนจนมีสี เหลืองๆ ส้มๆ แม้นว่าจะซักตากแล้วก็ตาม คงเป็นเพราะในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีผงซักฝอก จึงทำให้ผ้าอ้อมที่ซักตากนั้นเมื่อใช้บ่อยๆ เข้าก็จะมีสีเหลืองอมส้ม สีของผ้าอ้อมเด็กที่ตาก นี่เอง ถูกนำมาเป็นสำนวนในการใช้เรียกท้องฟ้า ในยามโพล้เพล้ซึ่งมีสีเหลืองอมส้มว่า เป็นท้องฟ้าในช่วงเวลาที่ ผี(มา)ตากผ้าอ้อม  ด้วยเพราะในสมัยโบราณวิทยาศาสตร์ยังไม่ก้าวหน้า คนโบราณจึงพยามอธิบายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติโดยอิงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ฟ้าร้อง เพราะเกิดจาก รามสูร ขว้างขวาญ ฟ้าแลบ เพราะเกิดจากนางเมขลา โยนลูกแก้ววิเศษเล่น


นอกจากนี้แล้วนายผียังได้เปรียบเทียบไว้อีกว่า ดวงใจของนางเอกในเรื่องกำลังจะดับสลาย เหมือน แสงดวงอาทิตย์กำลังจะดับในยามเย็น (เพราะน้องชายได้ด่วนมาตายจากไป) นายผีเลือกใช้สำนวน ปลาทูเข้าโป๊ะ  + ผีตากผ้าอ้อม เปรียบเปรยทำให้ผู้อ่าน มองเห็นภาพเลยของ นางเอกร้อง ผู้ซึ่งกำลังร้องไห้จนตาแดง อมส้ม  นั่นเอง

ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:31:58


ความคิดเห็นที่ 6 (1835894)

อนึ่ง พระเดชพระคุณ พระมหาชัยวุธ ฐานุตฺตโม ได้สอบถามผู้เขียน ถึงกวีนิพนธ์เราชนะแล้วแม่จ๋า ของอัศนี พลจันทร (นายผี)  ไว้ในอนุทิน BM.chaiwut @20235  ความว่า 

ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:37:45


ความคิดเห็นที่ 7 (1835895)
 @20227 อาจารย์กวิน "สงสารเอยโอ้ดวงใจ อันเกรียงไกรก็อ่อนแรง" สงสัยนิดหนึ่ง ทำไมวรรคนี้ จึงมี 6 คำ (วรรคหน้าห้าคำหมาย วรรคหลังหกยกแสดง) เจริญพร
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:38:35


ความคิดเห็นที่ 8 (1835897)

ผู้เขียนสันนิษฐานว่า คำว่า สงสาร/สังสาร/สํสาร ซึ่งปรากฎในกวีนิพนธ์นั้น มีรากศัพท์เดียวกัน แต่ทว่า คำว่า สงสาร และ สังสาร ถูกนำมาใช้ในสองความหมาย นั่นคือ

สงสาร ๑, สงสาร [สงสาน, สงสาระ] น. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด;
 โลก. (ป., ส. สํสาร). 
สงสาร ๒ [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น,
 รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึก
 สงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
(
4)

โดยความหมายในภาคภาษาไทย นิยมเขียนคำว่า สงสาร/สังสาร ในความหมาย ของ การเวียนว่ายตายเกิด หรือประกอบกับศัพท์อื่นแต่มีความหมายเหมือนเดิมเช่น วัฎฎสงสาร/วัฎฎสังสาร/สังสารวัฎ  และนิยมใช้คำว่า สงสาร ในเชิงความหมายแสดง ความรู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น

และถ้าผู้เขียนจำไม่ผิด เครื่องหมาย นิคหิต/นฤคหิต ที่ใช้ในการประกอบศัพท์คำว่า สํสาร นี้น่าจะออกเสียงได้ทั้ง  ญ ม ง ณ โดยขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ของ ปัจจัย (suffix)  ที่นำมาประกอบหลังคำศัพท์ (Root) และออกเสียงแผ่วเบา เช่น

สํจร=สัญจร
สํบูรณ=สมบูรณ์
สํขาร=สังขาร

ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:41:38


ความคิดเห็นที่ 9 (1835899)

สํฐาน=สัณฐาน

สงสาร ๑, สงสาร [สงสาน, สงสาระ] น. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด;
 โลก. (ป., ส. สํสาร). 
สงสาร ๒ [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น,
 รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึก
 สงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
(
4)



โดยความหมายในภาคภาษาไทย นิยมเขียนคำว่า สงสาร/สังสาร ในความหมาย ของ การเวียนว่ายตายเกิด หรือประกอบกับศัพท์อื่นแต่มีความหมายเหมือนเดิมเช่น วัฎฎสงสาร/วัฎฎสังสาร/สังสารวัฎ  และนิยมใช้คำว่า สงสาร ในเชิงความหมายแสดง ความรู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น

และถ้าผู้เขียนจำไม่ผิด เครื่องหมาย นิคหิต/นฤคหิต ที่ใช้ในการประกอบศัพท์คำว่า สํสาร นี้น่าจะออกเสียงได้ทั้ง  ญ ม ง ณ โดยขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ของ ปัจจัย (suffix)  ที่นำมาประกอบหลังคำศัพท์ (Root) และออกเสียงแผ่วเบา เช่น

สํจร=สัญจร
สํบูรณ=สมบูรณ์
สํขาร=สังขาร
สํฐาน=สัณฐาน

ลักษณะกาพย์ยานี ๑๑ ของนายผี นั้นเลียนแบบลีลามาจาก กาพย์ยานี ๑๑ใน สมุทรโฆษคำฉันท์  (สมัยอยุธยา)  อนึ่งกาพย์ยานี ๑๑ในสมุทรโฆษคำฉันท์ แฝงลีลาของ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อยู่ด้วย ซึ่งฉันท์ในสมัยอยุธยาแต่งโดยใช้เสียงเป็นเกณฑ์ (ใช้หูฟังเสียงหนักเบา)

สำหรับฉันทลักษณ์ของกาพย์ยานี ๑๑ นั้น กำหนดให้วรรคแรก มี ๕ พยางค์ วรรคหลังมี ๖ พยาง รวมทั้งสองวรรค์มีทั้งหมด ๑๑ พยางค์ จึงเรียกว่ากาพย์ยานี ๑๑ นี่คือในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัตินั้น การจะใช้คำให้ครบพยางค์ตรงตามฉันทลักษณ์นั้น เป็นเรื่องยากที่จะทำได้ยานี ๑๑ บทข้างบน ถือเป็น กรณีตัวอย่าง ว่าด้วยเรื่องของการใช้ คำ/พยางค์ เกินกว่ากำหนดทางฉันทลักษณ์
 

กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้ กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย และคำ กาวฺย หรือ กาพฺย มาจากคำ กวี กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต กวิ แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่น ได้อีก คำ กวิ หรือ กวี มาจากรากศัพท์เดิม คือ กุ (ธาตุ/prefix) แปลว่า เสียง ว่าทำให้เกิดเสียง ว่าร้อง ว่าร้องระงม ว่าคราง ว่าร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง

อันว่าคำประพันธ์ในสมัยโบราณ โคลงฉันท์กาพย์กลอน ประพันธ์ขึ้นก็เพื่อนำมาใช้ในการ ขับร้อง และเมื่อไม่สามารถประพันธ์ตรงตาม ฉันทลักษณ์ได้ เช่นมีคำเกิน ผู้ขับร้องก็จะมีวิธีที่การออกเสียงขับร้องโดยไม่ให้สูญเสียความไพเราะ วิธีการนี้ โบราณเรียกว่าร้องโดยใช้ ลูกเก็บ (the final movement of a Thai musical composition) การแต่งคำประพันธ์โดย ถือยึดถือเอา เนื้อหา สำคัญกว่า ความไพเราะ นี้โบราณเรียกว่า เป็น กวียานุโลม/กาพยานุมัติ (Poetic License) 


ส่วนเรื่องสำนวน อุกาฟ้าเหลือง นั้นสอบถามอาจารย์ กูฯ (Gogle) ได้ความว่า คนโบราณเชื่อกันว่า ถ้าท้องฟ้ากลายเป็นสีเหลืองเข้มออกแดงแบบที่เรียกว่าอุกาฟ้าเหลือง จะเกิดมหันตภัยทางธรรมชาติในเร็ววัน ชาวทะเลจะไม่มีวันยอมออกเรือเลย เพราะกลัวพายุใหญ่และมรสุม สัญญาณเตือนภัยโบราณนี้มีคำอธิบายเพิ่มเติมที่เป็นวิทยาศาสตร์บ้างไหม? หรือเป็นเพียงความเชื่อที่เล่าสืบต่อกันมา  สิ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า อุกาฟ้าเหลือง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดเมื่อมีพายุฝนฟ้าคะนอง ในเวลาอย่างนั้นท้องฟ้าจะมีเฆมชั้นต่ำมาก เมฆชั้นต่ำจะมีไอน้ำมาเกาะอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้เกิดความชื้นสูง เมื่อพระอาทิตย์ส่องแสงกระทบละอองไอน้ำเหล่านี้มาสู่ตาเรา ละอองน้ำจะหักเหแสงสีแดงสู่ระบบการมองเห็นของเรา ท้องฟ้าก็กลายเป็นสีแดงส้ม อุกาฟ้าเหลืองที่แท้จึง ไม่ใช่สีเหลือง แต่เป็นสีแดงส้มมากกว่า   ชาวเรือที่ใช้การสังเกตอุกาฟ้าเหลืองเป็นหลักในการออกเรือ โดยเฉพาะในเรื่องพายุ ก็ยังใช้ได้ โดยสังเกตว่าเกิดสภาพนี้ขึ้นในเวลาใด เกิดตอนเช้าหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ถ้าท้องฟ้ามีสีแดงส้มในเวลาเช้าหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้วก็จะไม่ออกเรือ เพราะเป็นสัญญาณเตือนว่าจะมีพายุและลมแรง แต่ถ้าท้องฟ้ามีสีส้มแดงในช่วงตอนโพล้เพล้หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน แสดงว่ารุ่งขึ้นอากาศจะดี  ความเชื่อที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายอย่างมีประโยชน์จริงๆ เราจึงนำมารวมไว้ในที่นี้ด้วยความเคารพเพียงเติมข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์เล็กน้อยเท่านั้นเอง (
5)

แต่จากการสังเกต ศัพท์ คำว่า อุกาฟ้าเหลือง ผู้เขียน สันนิษฐานว่าควรเขียนว่า อุาฟ้าเหลือง ด้วยเหตุเพราะ อุกกา [อุก] แปลว่า คบเพลิง. (ป.; ส. อุลฺกา). (
อ้างแล้ว) ที่มาของสำนวน อุาฟ้าเหลือง นี้ผู้เขียนสันนิษฐานว่า คนโบราณเมื่อมองเห็นท้องฟ้า เป็นสีแดงส้ม เหมือน แสงของคบเพลิง (อุกกา) จึงเรียกท้องฟ้าที่มีสีแดงส้มเหมือนคบเพลิงนี้ว่า อุกกาฟ้าเหลือง ด้วยประการฉะนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:43:54


ความคิดเห็นที่ 10 (1835900)

ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao

ปล.รบกวน webmaster ช่วยลบ ความคิดเห็นที่ 3 ที่โพสซ้ำด้วยนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:45:46


ความคิดเห็นที่ 11 (1835912)

ความคิดเห็นที่ 8 และ 9 โพสซ้ำกันในด้านเนื้อหาเพราะเวลาโพสต้องแยกโพส จึงทำให้โพสเนื้อหาซ้ำครับผู้ที่สนใจอ่านสามารถเข้าไปอ่านที่ bloggang . com หรือ gotoknow . net ได้เพราะจะทำการแก้ไขคำผิด ไว้ด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-12 10:09:47


ความคิดเห็นที่ 12 (2106555)

lv replica wallets for men lv handbags a pain to fit more items into and louis vuitton black purse or business briefcase louis vuitton handbags lv.

ผู้แสดงความคิดเห็น cindy (monza-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-10 18:20:33



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.