ReadyPlanet.com


แม่น้ำโขง ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม


"พลตำรวจเอกเภา สารสิน ประธานมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย
เปิดงานสัมมนา "แม่น้ำโขง ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม"
The Mekong River: Its Diversities and Current of Changes
ณ โรงแรมนครพนมริเวอร์วิว 24 มกราคมนี้
 
ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราฯ และมหาวิทยาลัย (ใหม่เอี่ยม) นครพนม
ระดมนักวิชาการคับคั่ง อาทิ กนกวรรณ มะโนรมย์ เอกกมล สายจันทร์ เพียรพร ดีเทศก์ พิเชฐ สายพันธ์ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ จารุวรรณ ธรรมวัตร กัมปนาท ภักดีกุล ศรีประภา เพชรมีศรี อัครพงษ์ ค่ำคูณ ทรงยศ แววหงษ์ ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ สมฤทธิ์ ลือชัย สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ ภัทรธิรา ผลงาม อภินันท์ บัวหภักดี ธัญญาทิพย์ ศรีพนา สุริยา คิงหว่าน แสวง มาลาแซม ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต สุวิทย์ ธีรศาสวัต ธีรภาพ โลหิตกุล ดำเกิง โถทอง วิทยา สุจริตธนารักษ์"
 
ตบท้ายด้วยการลงภาคสนามข้ามน้ำโขง เข้าเวียดนามกลาง ทัศนศึกษา 4 แหล่งมรดกโลกของเวียดนาม คือ “อุทยานแห่งชาติฟองญา หมี่เซิน/อาณาจักรจามปา พระราชวังและสุสานเว้ เมืองเก่าฮอยอัน” 26-31 มกรา
 
สนใจติดต่อ 02-424-5768 หรือ 02-433-8713 คลิ๊ก http://textbooksproject.com/HOME.html


ผู้ตั้งกระทู้ ผู้สื่อข่าวบ้านไพร :: วันที่ลงประกาศ 2008-01-22 15:20:25


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (951867)

ความสำคัญของโรคไต และการป้องกันโรคไต : กวินทรากร พูลอำไพ

มนุษย์สมัยก่อนมีความรู้ในเรื่องของ วิชากายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) และวิชาสรีรวิทยา (Physiology)  หลักฐานสำคัญปรากฏอยู่  ณ ประเทศอินเดีย ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ได้ทรงแสดง ธรรมกถา ที่ชื่อ กายะคะตาสะติภาวะนาปาฐะ เพื่อที่จะให้พุทธสาวก ละความถือมั่นในกายตน กายะคะตาสะติภาวะนาปาฐะ ขึ้นต้นว่า  อะยัง โข เม กาโย กายของเรานี้แล อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา อะโธ เกสะมัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย  มีอยู่ในกายนี้  เกสา คือผมทั้งหลาย โลมา คือขนทั้งหลาย  นะขา คือเล็บทั้งหลาย  ทันตา คือฟันทั้งหลาย ตะโจ คือหนัง  มังสัง คือเนื้อ นะหารู คือเอ็นทั้งหลาย อัฏฐี คือกระดูกทั้งหลาย อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก  วักกัง ม้าม หะทะยัง หัวใจ ยะกะนัง ตับ  กิโลมะกัง พังผืด  ปิหะกัง ไต  ปัปผาสัง ปอด  อันตัง ไส้ใหญ่ อันตะคุณัง ไส้น้อย  อุทะริยัง อาหารใหม่ กะรีสัง อาหารเก่า  มัตถะเกมัตถะลุงกัง เยื่อในสมองศีรษะ  ปิตตัง น้ำดี  เสม๎หัง น้ำเสลด  ปุพโพ น้ำเหลือง  โลหิตัง น้ำเลือด  เสโท น้ำเหงื่อ เมโท น้ำมันข้น อัสสุ น้ำตา วะสา น้ำมันเหลว เขโฬ น้ำลาย  สิงฆาณิกา น้ำมูก  ละสิกา น้ำไขข้อ  มุตตัง น้ำมูตร เอวะมะยัง เม กาโย  กายของเรานี้อย่างนี้   อุทธัง ปาทะตะลา เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา  อะโธ เกสะมัตถะกา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป ตะจะปะริยันโต มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ  ปูโร นานัปปะการัสสะ อุสะจิโน เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ อย่างนี้แล.

จากบทสวด  กายะคะตาสะติภาวะนาปาฐะ  จึงอนุมาน (Deduction) ได้ว่า มนุษย์ในสมัยเมื่อประมาณ   2, 551 ปีก่อน มีความรู้ในเรื่องของ วิชากายวิภาคศาสตร์ และวิชาสรีรวิทยา  สามารถจำแนกแยกแยะอวัยวะภายใน อีกทั้งสามารถตั้งชื่ออวัยวะนั้นๆ ไว้อย่างเป็นอนุกรม (Series)   ยกตัวอย่างเช่น ไต (kidney) ในภาษาอินเดีย เรียกว่า  ปิหะกัง

ในปัจจุบันทางการแพทย์อรรถาธิบายถึง ไต ว่าเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดและขับออกพร้อมกับน้ำในรูปของปัสสาวะ ไตของมนุษย์อยู่ที่อยู่บริเวณด้านหลัง  ใต้ชายโครง  บริเวณบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาวประมาณ                  12 เซนติเมตร  ไตขวาอยู่ด้านใต้ติดกับตับ ไตซ้ายอยู่ใต้กะบังลมและอยู่ติดกับม้าม ข้างบนไตทั้งสองข้างมีต่อมหมวกไต (Adrenal gland) อยู่ เนื่องจากในช่องท้องมีตับอยู่ทำให้ร่างกายสองข้างไม่สมมาตรกัน ตำแหน่งของไตขวา จึงอยู่ต่ำกว่าไตซ้ายเล็กน้อย และไตซ้ายยังอยู่ค่อนมาทางกลางลำตัวมากกว่าไตขวาเล็กน้อยเช่นกัน ไตเป็นอวัยวะที่อยู่หลังเยื่อบุช่องท้อง (Retroperitoneal organ) อยู่ในระดับประมาณกระดูกสันหลังท่อนที่ T12 ถึง L3 บางส่วนของส่วนบนของไตถูกปกป้องโดยกระดูกซี่โครงคู่ที่ 11 และ 12 นอกจากนั้นแล้วไตทั้งลูกยังถูกห่อหุ้มด้วยชั้นไขมันสองชั้น (perirenal fat และ pararenal fat) ไต ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า “หน่วยไต” ( nephron ) หน่วยไตจะลดจำนวน  และเสื่อมสภาพตามอายุไข ในบางครั้งไตอาจมีความผิดปกติแต่กำเนิดทำให้มีไตเพียงหนึ่งข้าง หรือไม่มีเลยก็เป็นไปได้

ไตทำหน้าที่ กำจัดของเสีย   ดูดซึม  และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย  รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต   สร้างฮอร์โมน

โรคไต หมายถึง โรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า พยาธิสภาพ เกิดที่บริเวณไต ที่พบมาก ได้แก่

  • โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ

  • โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง

  • โรคไตอักเสบเนโฟรติก

  • โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.) 

  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

  • โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease) 

เหตุสงสัยว่าจะเป็นโรคไต พอจะสรุปได้ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ก็ได้

  • ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่

  • การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆ กัน เป็นข้อสันนิฐาน ที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต 

  • ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น

  • การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ 

  • การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ

  • การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต

  • การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย

  • อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณ หนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)

  • ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้

  • ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้ หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติ ไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีด หรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ

อย่างไรก็ตาม ควรต้องไปพบแพทย์ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้น ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ โรคไตบางอย่าง อาจแสดงอาการ เช่น บวม ปัสสาวะเป็นเลือด แต่โรคไตอักเสบหลายอย่าง ไม่แสดงอาการเลย เพราะฉะนั้น การตรวจร่างกายประจำปี จึงมีความสำคัญมาก

ในการตรวจหาโรคไตที่ไม่แสดงอาการ การรักษาที่ดีที่สุด คือ การผ่าตัดปลูกเปลี่ยนไต จากคนที่บริจาคไตให้ แต่การปลูกเปลี่ยนไตมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ มีผู้บริจาคไตน้อย มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังนับร้อยนับพันคน รอการบริจาคไตอยู่ ผู้ป่วยเหล่านี้จะอยู่ได้ด้วยการล้างไต ระหว่างที่รอการปลูกไต การล้างไตปัจจุบันมี 2 วิธี

  1. วิธีการล้างไตทางหน้าท้อง (CAPD : Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis) วิธีนี้ใช้สายยางฝังไว้ในช่องท้องอย่างถาวร และใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้อง เพื่อล้างเอาของเสียในเลือดออก ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำยาวันละ 4 - 5 ครั้ง ทุกวัน วิธีนี้มีข้อดีที่ทำเองที่บ้านได้ แต่มีข้อเสียที่อุบัติการ การติดเชื้อในช่องท้องสูงเมื่อทำไปนานๆ และมีการสูญเสียโปรตีน ออกมาทางน้ำยามากในแต่ละวัน อาจเกิดภาวะขาดอาหาร ถ้ารับประทานอาหารไม่เพียงพอ 

  2. การฟอกเลือด (Hemodialysis) โดยการดูดเลือดจากผู้ป่วยไปล้างเอาน้ำ และของเสียออก โดยใช้ไตเทียม (เครื่องฟอกเลือด) เลือดที่ล้างแล้ว จะไหลกลับเข้ามาในตัวผู้ป่วย วิธีนี้ใช้เวลาครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อที่จะให้ได้ผลดี ควรฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง  จะเลือกวิธีไหนดีขึ้นอยู่กับโรคของผู้ป่วย และความพอใจของผู้ป่วย แพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ ทั้งข้อดีและข้อเสียของทั้ง 2 วิธี และแนะนำวิธีที่เหมาะสมให้ แต่ผู้ป่วยและญาติเป็นผู้ตัดสินใจเลือกเอง ว่าจะล้างไตหรือไม่ แล้วเลือกล้างไตวิธีใด

 

ผู้แสดงความคิดเห็น .. วันที่ตอบ 2008-02-07 17:30:20


ความคิดเห็นที่ 2 (1395173)

บำรุงตับ ไต และถุงน้ำดี อาติโช๊ค พืชอาหาร

Artichoke (ATISO) อาร์ติโช๊ค 

 

อาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus) เป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ เฉพาะภูเขาสูงมากกว่า 1,500 เมตร เท่านั้น ปี 2513 นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป ได้ค้นพบสารไซนาริน ” มีคุณค่าทางอาหาร และยา นำมาบริโภคสด หรือปรุงอาหารได้ทุกส่วน หรือนำมาสกัดสารไซนาริน(Synarin) รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี”  ในยุคโบราณอาร์ติโช๊คเป็นอาหาร และยารักษาโรคของชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวโรมัน และเป็นเมนูอาหารที่สำคัญในทุกงานเลี้ยงของกรุงโรม นอกจากจะเป็นอาหารเสริม แล้วยังมีสรรพคุณทางยา ดังนี้

 

1. ช่วยบำรุง กระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ในการสกัดสารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมออกจากกระแสโลหิต สร้างน้ำดีและน้ำย่อย และเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสารอาหาร ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

 

2. กระตุ้น การสร้างน้ำดีของตับ ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดไขมัน (Chloresteral) ในเลือด ช่วยให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานดี ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน

 

3. เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ช่วยสร้างน้ำดีป้องกันถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้ระบบการย่อยอาหารดี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก

 

4. ช่วยป้องกันตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน  และโรคตับแข็ง (Cirrhosis)  ในประเทศบราซิล อาร์ติโช๊ค เป็นยาสมุนไพรพื้นฐาน ที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของตับ และโรคอื่นหลายโรค ได้อย่างกว้างขวาง เช่น โรคโลหิตจาง เบาหวาน ไข้ รักษาบาดแผล และเกาส์

 

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม

http://www.artichoke.igetweb.com/   หรือ   www.smethai.com/shop/gms

Tel:  081 627 1521,  02 888 9954  คุณวัลลภา

ผู้แสดงความคิดเห็น โรคไตป้องกันได้ วันที่ตอบ 2008-04-27 08:55:22


ความคิดเห็นที่ 3 (3903898)

เห็ดหลินจือมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรรักษาโรคไตได้ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ติดตี่ วันที่ตอบ 2015-11-23 22:33:18


ความคิดเห็นที่ 4 (4068548)

ขอบคุณข้อมูลผู้มีอาการโรคไต ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น หมอน้า วันที่ตอบ 2016-09-07 13:49:30



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.