ReadyPlanet.com


เรื่องชวนคิดจากการประกวดพานแว่นฟ้า




ผู้ตั้งกระทู้ รักกลอน :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-04 09:10:31


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1970969)
บทความที่คุณ jingjok อ้างถึงน่าสนใจมากครับ ขออนุญาตคัดลอกฉบับเต็มมาให้อ่าน เผื่อคุณศิริวร จะได้มีโอกาสเข้ามาชี้แจง หรือร่วมพูดคุย... เมื่อปี พ.ศ. 2549 ศิริวร แก้วกาญจน์ ส่งเรื่องสั้น "กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด" และบทกวี "การปะทะของแสงและเงา" เข้า ประกวดรางวัลวรรณกรรมการเมือง "พานแว่นฟ้า" ปรากฏว่าเกิดกรณีตัดสิทธิผลงานที่ท่านประธานฯ เห็นว่าไม่เหมาะสม อาจสร้างความขัดแย้ง หรือชี้นำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และผลงานของศิริวร (ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาว่าสมควรจะได้รางวัล) ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เข้าข่ายถูกตัดสิทธิด้วย ต่อมา ศิริวร ได้ขยาย "กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด" ตีพิมพ์ในรูปแบบของนวนิยาย ปรากฏว่าด้วยความโดดเด่นของเนื้อหา และกลวิธีการเล่าแบบ "ให้ปากคำ" ของตัวละครมากมาย ทำให้นวนิยายเรื่องนี้เข้าตากรรมการคัดเลือกวรรณกรรมซีไรต์ จนกลายเป็นหนึ่งในสิบเล่มที่เข้ารอบในปี 2549 นี่เป็นบทพิสูจน์ว่า "กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด" มีดี และไม่ใช่แค่ดีธรรมดา แต่ดีชนิดติดอันดับเลยทีเดียว แต่ ศิริวร ยังไม่หยุดอยู่แค่นี้ ปีต่อมา เขาส่งบทกวีสองบท ได้แก่ "จดหมายของแม่" และ "เพลงละเมอของเด็กชายและเพลงกล่อมของแม่" เข้าประกวดรางวัลพานแว่นฟ้าอีกครั้ง ปรากฏว่าบทกวีทั้งสองได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ ตามลำดับ โดยคณะกรรมการไม่รู้เลยว่า บทกวีสองชิ้นนี้เป็นผลงานของคนคนเดียวกัน และเป็นของ ศิริวร แก้วกาญจน์ เพราะเขาใช้นามปากกาที่ต่างกันในการส่งเข้าประกวด ศิริวร เก็บเรื่องนี้เป็นความลับ เป็นความสะใจเฉพาะตัว ที่สามารถพิสูจน์ฝีมือให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ปัญหาก็คือ การส่งผลงานประเภทเดียวกันมากกว่า 1 ผลงาน เข้าประกวดรางวัลพานแว่นฟ้า เป็นการกระทำที่ผิดกติกาของการประกวด เขาจึงไม่อาจแสดงตัวในวันรับรางวัลได้ ความ ลับที่รู้เห็นเฉพาะในกลุ่มเพื่อนสนิท ถูกปิดเงียบมากว่า 2 ปี จนเมื่อปลายปีที่ผ่านมานี้เอง ศิริวร ได้พิมพ์รวมบทกวีชุดใหม่ชื่อ "ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง" โดยมีบทกวีที่ได้รับรางวัลทั้งสองชิ้นรวมอยู่ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น ท้ายของบทกวีดีเด่นที่เป็นปัญหา ยังมีการเขียนหมายเหตุพาดพิงถึงรางวัล "พานแว่นฟ้า" ไว้ด้วย ท้าย บท "จดหมายของแม่" เขาชี้แจงว่า "เนื่องจากเรื่องสั้น "กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด" และบทกวี "การปะทะของแสงและเงา" ถูกตัดสิทธิ์จนไม่ได้รับรางวัล "พานแว่นฟ้า" ในปี 2549 ผู้เขียนจึงจงใจพิสูจน์ "บางสิ่งบางอย่าง" กับรางวัลนี้อีกครั้งในปีถัดมา ด้วยการส่งผลงานชิ้นนี้เข้าประกวดในนาม "ปัณณ์ เลิศธนกุล" ซึ่งผลปรากฏว่าได้รับรางวัลชนะเลิศ" (หน้า 22) ส่วนท้ายบท "เพลงละเมอของเด็กชายและเพลงกล่อมของแม่" เขาเสริมทับไปอีกว่า "กรณีเดียวกับ "จดหมายของแม่" (หน้า 22) หากใช้นาม "อันวาร์ หะซัน" ซึ่งผลปรากฏว่าได้รับรางวัลรองชนะเลิศในปีเดียวกัน" (หน้า 53) สำหรับ ผม นี่ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ศิริวร จงใจพิสูจน์บางอย่าง และการจงใจนี้นำไปสู่การฝ่าฝืนกฎ แต่น่าแปลกที่กลับไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ ในแวดวงวรรณกรรมเลย กว่า 2 เดือนที่ "ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง" ตีพิมพ์ออกมา ไม่มีใครสักคนที่พูดถึงกรณีนี้ แม้แต่ในเว็บบอร์ดปากจัดทั้งหลายก็เงียบสงบ ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ออกมาสักแอะ แน่ละ สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือคุณค่าของงาน บทกวีสองชิ้นนี้สะท้อนความรู้สึกของผู้อยู่ ณ จุดเกิดเหตุ ของเหตุการณ์ความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้เป็นอย่างดี "จดหมายของแม่" เล่าผ่านตัวละครหญิงชรา ผู้ไม่ปรารถนาจะหลีกหนีไปจากแผ่นดินถิ่นเกิด "...จะให้แม่ลาร้างไปอย่างไร แม่ไม่ได้ก่อไฟ แม่ไม่ผิด เพียงเวทมนตร์ซาตาน โปรยหว่านพิษ เงาทุกเงาเบี้ยวบิด ผิดรูปรอย..." (หน้า 22) ส่วน "เพลงละเมอของเด็กชายและเพลงกล่อมของแม่" เด่นที่รูปแบบซึ่งเล่นล้อกับขนบการแต่งเพลงกล่อมเด็ก โดยเปลี่ยนให้เป็นเด็กกับแม่ผลัดกันร้องเพลงกล่อม เพื่อปลอบโยนกันและกัน หลังเหตุการณ์ร้ายที่ทำให้ลูกต้องสูญเสียพ่อ และภรรยาต้องสูญเสียสามี เนื้อหา ส่วนใหญ่ของ "ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง" เล่นกับความรู้สึกของผู้คนที่ต้องทุกข์ยากจากเหตุการณ์ความขัดแย้ง พร้อมทั้งตั้งคำถามต่อผู้ที่ลงมือเข่นฆ่าผู้อื่น ว่าจิตใจทำด้วยอะไร ถึงไม่รู้สึกรู้สากับความทุกข์โศกของผู้อื่น แม้เมื่อเทียบกับ "กรณีฆาตกรรมโต๊ะอิหม่ามสะตอปา การ์เด" มุมมองและน้ำเสียงที่มีต่อเหตุการณ์ในรวมบทกวีชุดนี้ จะดูไม่ค่อยสมมาตรสักเท่าไรนัก เพราะเอียงไปทางผู้เสียหายที่เป็นชาวพุทธด้านเดียว ไม่มีบทที่เขียนผ่านมุมมองและน้ำเสียงของชาวมุสลิมเลย หนำซ้ำ บางบทยังจงใจที่นำพระเจ้าของพวกเขามาเสียดสี ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นพระประสงค์ของพระองค์เช่นนั้นหรือ? อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเนื้อหาของรวมบทกวีชุดนี้จะพูดถึงอะไร ความจงใจนำบทกวีที่มีปัญหามารวมพิมพ์ไว้ด้วย ก็เป็นจุดที่ไม่อาจมองข้ามได้ โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า ศิริวร ไม่ได้นำงานสองชิ้นนี้มาตีพิมพ์ในผลงานรวมเล่ม เพียงเพราะเห็นคุณค่าของงานเพียงอย่างเดียว แต่ ศิริวร จงใจที่จะพิสูจน์ "บางสิ่งบางอย่าง" อีกครั้ง ด้วยการตบหน้าวงการวรรณกรรมไทยแรงๆ แล้วถามว่า รู้สึกอะไรหรือเปล่า? มีน้ำยาจะจัดการอะไรเขาไหม? การแสดงตัวให้จับของเขาในครั้งนี้ ไม่ว่าจะส่งผลอย่างไร ถือเป็นกรณีที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง ในมุมมองของผม นี่เป็นเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ ซึ่งแรงกว่าเนื้อหาอื่นใดในเล่ม หากมองในจุดนี้ ชื่อหนังสือ "ฉันอยากร้องเพลงสักเพลง" แฝงบางอย่างที่น่าตีความอยู่ไม่น้อย "ฉัน" คือใคร? เด็กน้อยที่อยากร้องเพลง ท่ามกลางเปลวไฟแห่งความรุนแรง อย่างที่ปรากฏในบทชื่อ "บทสนทนาทางโทรศัพท์ของเด็กหญิงฟาติมะ" หรือ "ฉัน" คือตัวผู้เขียนเอง ที่อยากร้องเพลงให้กับวงการวรรณกรรมไทย แวดวงของปัญญาชน ผู้รักความสงบเรียบร้อยและประนีประนอม จนไม่กล้าขยับทำอะไรทั้งสิ้น ถ้าเป็นอย่างหลัง ป่านนี้ ศิริวร คงได้ร้องเพลงสมใจอยากแล้ว [บทความคัดลอกจาก http://www.jjthai.net/articles/820 ไม่ปรากฎนามผู้เขียน] * ค้น google พบว่าน่าจะคัดลอกมาอีกทีจากบทความชื่อ "บทเพลงที่ไร้เสียงและการแสดงตัวของผู้ก่อการ" โดย โพสต์ทูเดย์ วันเสาร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ ขอออกความเห็นหน่อยนะครับ... ชอบคำว่า "เก่งแต่โกง" มันใช้ได้จริงๆ กับเรื่องนี้...สะท้อนครอบคลุมสุดๆ ตามที่พี่จิ้งจกว่า และ ด้วยกระทู้นี้ ผมคิดว่า คำเหยียดๆที่ คุณศิริวอน เคยกล่าวว่า ไร้สาระ ในเรื่องการพูดคุยกัน ณ ที่นี้ คงเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น คือ ได้สาระขึ้น อันดับ แรกต้องยอมรับว่าคุณ "ศิริวอน" เขาเก่งมากในด้านการเขียน จนแอบหลงรักเขาสุดๆในยุคหนึ่ง จำบทกวีเขาหลายบท กระทั่งถึงกับลอกเลียนเขียนตาม (แต่ไม่เก่งเหมือนเขา) ซึ่งก็ไม่ได้เรื่องแปลกอะไรประเทศเราคนเก่งเยอะจะตายไป อันที่จริงถ้าใครได้เปิดหนังสือฉันอยากร้องเพลงสักเพลง ก็มีคำตอบเรื่องกวีสองชิ้นนี้อยู่ แต่ เป็นที่น่าสังเกตว่า วรรณฤกษ์ ได้เขียนยอหนังสือเล่มนี้ในคอลัมน์ชานชาลานักเขียน ฉบับไหนจำไม่ได้ แต่ถ้าหาจะพบ... ว่าน่าอ่าน-ดี อะไรแบบนี้ ผมก็แอบไปอ่าน (แต่ไม่ได้ซื้อ) เป็น ที่น่าฉงนว่า วรรณฤกษ์ ก็คือหนึ่งในกรรมการตัดสิน ทำไมถึงทำหูไปนาตาไปใต้.. ทั้งๆ ที่เหตุการณ์กรณ๊เดียวกัน กับบทกวี ณ ที่ซึ่งขุนเขาทะลุเมฆ ผิดกติกานิดๆ หน่อยๆ กลับยกมือขึ้นมาประท้วงแบบเอาเป็นเอาตาย คล้ายประกาศว่า ผมคือผู้ผดุงความยุติธรรมในวงวรรณกรรม ประมาณนั้น *-* ก็ขอเข้ามาแสดงความคิดเห็น...อาจพาดพิงผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวง ก็ขออ้างด้วยความเคารพ ทั้งคุณวรรณฤกษ์ และพี่กานติ... แต่เมื่อเปิดโอกาสให้คิดเห็นก็ขอคิดเห็น ตามประสา ได้ แต่หวังว่า คุณศิริวอน ได้สำแดงศักดาการเขียนเป็นที่ประจักษ์แล้วอย่างไม่ต้องกังขา และได้ประกาศเกียรตินักเขียนศิลปธร ปฏิเสธเงินภาษีของประชาชน (รวมทั้งของผมด้วย เพราะถูกหัก ณ ที่จ่ายเวลาได้ค่าเรื่อง) รวบทั้งสองรางวัล แต่ถ้าเอา... คำปรามาสต่างๆ จะเป็นผลทันที สุดท้ายขอจบด้วยบทกวีของ คุณศิริวร แก้วกาญจน์ ที่ว่า เช้าบางเช้าแตกต่างจากบางเช้า กาแฟใหม่ในถ้วยเก่าเราชงใหม่ ข่าวบางข่าวบางเช้าเศร้าเกินไป ใจบางใจบางเช้าเศร้ากว่านั้น ........................... ธารา ศรีอนุรักษ์ (ธาร ธรรมโฆษณ์) ยิ้มเท่ห์ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ +++++++++++ปีที่น้องศิริวรส่งเรื่องสั้นกรณีฆาตกรรมฯ ไม่ใช่ปี 2549 แต่เป็น 2548 ครับ++++++++++++
ผู้แสดงความคิดเห็น พี่ชาย วันที่ตอบ 2009-08-04 10:57:15


ความคิดเห็นที่ 2 (1970971)
พานแว่นฟ้าเป็นการประกวดวรรณกรรมการเมืองที่สะท้อนการเมืองในการประกวดเองเลยล่ะครับ ตั้งแต่ปี 49 แล้ว อย่างที่คุณศิริวรทำก็ได้พิสูจน์อะไรหลายอย่าง เรื่องเก่งแต่โกง แล้วเป็นที่ยอมรับได้นั่นก็หัวข้อหนึ่ง กรรมการกับกฏ จะตัดสินให้ถูกก็ได้ ผิดก็ได้ นั่นก็อีกหัวข้อ เสียดายแทนผู้ได้รับรางวัลชมเชยปี 50 ที่น่าจะมีสักคนได้รองชนะเลิศหากคุณศิริวรส่งงานเข้าประกวดแค่สำนวนเดียว และก็ยังเป็นเรื่องท้าทายการทะลุกฏเกณฑ์(หรืออาจจะเป็นต่อมจริยธรรม) ของนักเขียนที่คิดจะส่งงานเข้าประกวดครั้งต่อๆไปด้วยนะครับ ถ้า คุณเขียนเรื่องสั้นแล้วยาวเกินสิบหน้า คุณจะตัดเนื้อหาบางตอนออกให้เหลือสิบหน้าพอดี หรือจะใช้วิธีย่อฟ้อนต์ลง หรือจะส่งไปทั้งๆที่เกินสิบหน้าอย่างนั้น หรือถ้าคุณแต่งบทกวีไว้สองสำนวน คิดไม่ตกว่าจะส่งอันไหน คุณจะตัดใจเลือกส่งอันใดอันหนึ่ง หรือส่งทั้งคู่นั่นแหละแต่ใช้ชื่อคนอื่นแทน น่าคิดครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น พี่ชายคัดลอกมาจากเว็บโน่นให้อ่านกันถนัด ๆ วันที่ตอบ 2009-08-04 11:00:22


ความคิดเห็นที่ 3 (1974276)
เรื่องน่าคิดคือ "โตเป็นผู้ใหญ่กันแล้วนะคะ"ไม่อายเด็กอย่างหนูบางหรือคะ ถึงหนูจะไม่เก่งแต่หนูก็ไม่โกงนะคะ และได้ตั้งปณิธานเอาไว้ว่าถึงใครจะเก่งล้นฟ้ามหาสมุทรขนาดไหน แต่ถ้าโกง..สำหระบหนูแล้ว ไม่นับถือว่าเป็นผู้ใหญ่ค่ะ ลองคิดดูนะคะ บ้านเมืองเราใกล้ล่มจมทุกวันนี้เพราะ "คนโกงชาติ ใช่หรือไม่?"
ผู้แสดงความคิดเห็น เด็กหญิงกุ๊บกิ๊บ (goobgib-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-08-16 08:29:12


ความคิดเห็นที่ 4 (1974307)

น่าเสียดาย
พุทธศาสนา มีคำว่า หิริ และโอตัปปะ
หิริ แปลว่า ความละอายที่จะทำชั่ว
โอตัปปะ แปลว่า ความเกรงกลัวที่จะทำผิด

เพียงเพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองเก่ง (ซึ่งก็ไม่มีใครว่าเขาไม่เก่ง) คนบางคนยอมคดโกง  เพื่อความสะใจของตัวเอง    ไม่คำนึงถึงว่าถูกต้องหรือไม่   ดีชั่วหรือไม่

เขาฉ้อฉลรางวัลที่สองไปจากบุคคลอื่น  ที่ควรมีสิทธิ์ได้รางวัล หากว่าศิริวรทำตามกติกา
เขาหลอกลวงกรรมการ ที่ให้เกียรติผู้เข้าประกวดว่าคงเคารพกติกา จึงไม่เฉลียวใจว่ามีการเล่นไม้นี้ขึ้นมา

ประเทศชาติเราเดือดร้อนอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะคนเก่งที่โกง   ไม่ได้เดือดร้อนจากคนไม่เก่งที่ซื่อสัตย์สุจริต

ขอประณามการกระทำไว้ ณ ที่นี้ด้วย  เชื่อว่ากรรมการคงผิดหวังกันมากกับกวีคนหนึ่งที่พวกเขาเชื่อว่า มีคุณค่าทางสังคม  เพราะตัวกวีคนนั้นได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่ามีค่าควรกับรางวัลหรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น ๗๗๗ วันที่ตอบ 2009-08-16 10:04:52


ความคิดเห็นที่ 5 (1977149)

เพียงชั่วความคิดหนึ่ง   คนเราผิดพลาดกันได้

เราว่าให้อภัยกันเถอะ  บรมครูกวีทั้งหลาย ท่านก็คงเข้าใจ

ไม่ว่าจะเป็น   กวีตำนานสยามอย่างอาจารย์เนาวรัตน์  ท่านนี้...เคารพมาก

ท่านอังคาร   หรือยอดกวีอีกหลายท่าน คงให้อภัย

ศิริวรก็ได้พิสูจน์ตัวเองแล้ว  วรรณฤกษ์เองก็ตัดสินตามเนื้องาน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เพ็ญพักร์ อิบรอยีห์ นินเราะห์ วันที่ตอบ 2009-08-25 08:16:56


ความคิดเห็นที่ 6 (1977508)

"รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย" คุณเพ็ญพักร์ อิบรอยีห์ นินเราะห์ นอกจากฝีมือกวีนิพนธ์ดีแล้วจิตใจยังงดงาม ขอคารวะ ต่อไปจะเจริญก้าวหน้าในวงวรรณกรรม

ผู้แสดงความคิดเห็น มิตรรักนักกลอน วันที่ตอบ 2009-08-26 05:33:54


ความคิดเห็นที่ 7 (1977515)

คนประเภทเดียวกันย่อมมีความเห็นสอดคล้องกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น ๗๗๗ วันที่ตอบ 2009-08-26 07:55:39


ความคิดเห็นที่ 8 (1977655)

อย่ามองโลกในแง่ร้าย ยิ้มให้โลกแล้วดลกจะยิ้มกับเรา เกรี้ยดกราดใส่โลก โลกจะตวาดกลับมา

ผู้แสดงความคิดเห็น 555 วันที่ตอบ 2009-08-26 16:20:02


ความคิดเห็นที่ 9 (1977658)

อย่ามองโลกในแง่ร้าย ยิ้มให้โลก แล้วโลกจะยิ้มกับเรา เกรี้ยวกราดใส่โลก โลกจะตวาดกลับมา

ผู้แสดงความคิดเห็น 555 วันที่ตอบ 2009-08-26 16:22:39


ความคิดเห็นที่ 10 (1978795)
จงทำดีอย่าให้เด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน
ผู้แสดงความคิดเห็น ทับทิม (uui-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-08-29 22:41:29


ความคิดเห็นที่ 11 (1986695)

คุณ   777    รู้สึกว่าจะเป็นคนอิจฉาตาร้อน   เห็นคนอื่นเก่งกว่าแล้วยอมรับไม่ได้

คืออยากรับรางวัลจนตัวสั่น  แต่ปัญญามันไม่ถึง

กรรมการเขาอยากให้นะ  แต่งานกระจอกความคิดตื้นและเชย

กรรมการจึงให้ไม่ลง   สงสารวะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ยอดคนยอดมนุษย์ วันที่ตอบ 2009-09-22 13:05:02


ความคิดเห็นที่ 12 (2107318)

human hair extentions human hair wiglets alopecia Synthetic prostheses are less wigs wigs including the standard cap hair extension pink hair extensions.

ผู้แสดงความคิดเห็น addie (eudora-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 09:17:45



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.