ReadyPlanet.com


น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยวยูงตาม


 

 

โคลงโลกนิติ

น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว           ยูงตาม
ทรายเหลือบหางยูงงาม    ว่าหญ้า
ตาทรายยิ่งนิลวาม           พรายเพริศ
ลิงว่าหว้าหวังหว้า            หว่าดิ้นโดดตาม





แม่น้ำคดเคี้ยว นกยูงบินอยู่บนฟ้าหลงคิดว่าแม่น้ำเป็น "งูเงี้ยว(เขี้ยวขอ)" ก็เลยบินลงไปจะจิกกิน (นกยูงกินงูเป็นอาหาร) นกยูงจึงจมน้ำตาย

กวางทราย เห็นหางนกยูง สีเขียวๆ ก็นึกว่าเป็น ยอดหญ้า กวางทรายอยากกินหญ้าจึงกระโดดลงแม่น้ำ (หมายจะไปกินหางนกยูงที่เขียวๆ เหมือนยอดหญ้า) กวางจึงจมน้ำตาย

ขณะที่กวางทรายใกล้จะจมน้ำตาย มีอาการตาเหลือก ดวงตาของกวางทรายมีสีนิลเหมือนลูกหว้า

ลิงเห็นดวงตาของกวางทราย ก็หลงนึกว่าเป็น ลูกหว้า ลิงจึงกระโดด ลงไปในแม่น้ำ จึงจมน้ำตายตกไปตามๆ กัน


โคลงบทนี้สอนสอนอะไร


นกยูง บินอยู่บนฟ้าอันสูง มีสายตาที่ยาวไกล ทว่าเมื่อใดก็ตามที่นกยูงถูกถูกกิเลสคือความอยาก (อยากกินงู) เข้าครอบงำ สุดท้ายก็ต้องพบกับความพินาศ สายตาอันยาวไกลและปีกที่ทำให้บินสูงนั้น ก็กลับนำพานกยูงมุ่งไปสู่แม่น้ำสายมรณะ มนุษย์ปุถุชนเช่นเราๆ ท่านๆ แม้นสำคัญตนว่า ตนมีความรู้ที่สูงส่ง มีสายตาที่ยาวไกล (Bird"s Eye View) แต่ถ้าปล่อยให้กิเลสฝ่ายต่ำเข้าครอบงำ เสียแล้ว ความรู้ที่สูงส่ง และสายตาที่ยาวไกลนั้นก็อาจนำพาไปสู่ความพินาศ ได้เช่นเดียวกัน กับ นกยูง


กวาง เป็นสัตว์ที่มี ความระแวงระวังภัย มีความว่องไว ปราดเปรียว มีสมรรถนะสามารถกระโดดไปข้างหน้าได้ไกลๆ ทว่าเมื่อใดก็ตามที่กวางถูกกิเลสคือความอยาก (อยากกินหญ้า) เข้าครอบงำ สุดท้ายก็ต้องพบกับความพินาศ สมรรถนะคือความสามารถในการกระโดดได้ไกลๆ นั้น กลับพากวางกระโดดลงสู่แม่น้ำสายมรณะ มนุษย์ปุถุชนเช่นเราๆ ท่านๆ แม้นสำคัญตนว่า มีความรู้ (Knowledge) และมีสมรรถนะ (Competency) แต่ถ้าหากปล่อยให้กิเลสฝ่ายต่ำเข้าครอบงำ เสียแล้ว ความรู้ และสมรรถนะ ที่มีนั้นก็อาจนำพาไปสู่ความพินาศ ได้เช่นเดียวกันกับกวาง



ลิง เป็นสัตว์ที่ เฉลียวฉลาด มักทักษะในการปีนต้นไม้ เวลามีภัยลิงก็มักจะหนีขึ้นต้นไม้ ศัตรูที่น่ากลัวของลิง ก็คงจะเป็น สัตว์จำงูเหลือม ทว่าเมื่อใดก็ตามที่ลิงถูกกิเลสคือความอยาก (อยากกินลูกหว้า) เข้าครอบงำ ทักษะในการปีนต้นไม้ นั้นก็กลับพาลิงไปสู่ปลายกิ่งไม้ ริมแม่น้ำแม่น้ำสายมรณะสุดท้ายลิงก็ต้องพบกับความพินาศตกลงสู่แม่น้ำสายมรณะนั้นมนุษย์ปุถุชนเช่นเราๆ ท่านๆ แม้นสำคัญตนว่า มีมีทักษะ (Skill) ในด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายๆด้านก็ดี แต่ถ้าหากปล่อยให้กิเลสฝ่ายต่ำเข้าครอบงำ เสียแล้ว ทักษะ (Skill) ที่มีนั้นก็อาจนำพาไปสู่ความพินาศ ได้เช่นเดียวกันกับลิง


ในหนังสือเรื่อง พระเถระผู้มีวาทะบริบูรณ์ อาจารย์ ตูลย์ อตุโล (พระราชวุฒาจารย์) ซึ่งเรียบเรียงโดบ สายธาร ศรัทธาธรรม หน้า 170-173 ได้กล่าวถึงเรื่อง ปัญจทวาราวัชชนจิต ไว้ความว่า

ปัญจทวาราวัชชนจิต นี้คือกิริยาจิตที่แฝงอยู่กับทวารทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมก ลิ้น กาย เป็นกิริยาที่ทำหน้าที่ประจำรูปกายอาศัยอยู่ตามทวารทั้ง 5 เป็นทางที่ติดต่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสิ่งภายนอก หรืออารมณ์ภายนอก เป็นกิริยาจิตที่มีอยู่อย่างนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น ห้ามไม่ได้บังคับไม่ให้เป็นไปไม่ได้ แต่อาจเป็นพาหะให้เกิดทุกข์ และที่ตื่นเต้นใจก็คือ ให้กิริยาจิตเหล่านี้เป็นไปโดยประการที่ทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้ก็ได้

อันนี้แหละน่าสนใจน่าสำเหนียกศึกษามากที่สุด ว่าทำอย่างไรเมื่อตาเห็นรูปแล้วรู้ว่าสวยว่างาม หรือน่ารังเกียจอย่างไร และก็หยุดเพียงเท่านั้น เมื่อหูได้ยินเสียงรู้ว่า ไพเราะ หรือรำคาญอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านั้น เมื่อลิ้นได้ลิ้มรสรู้ว่าอร่อย หรือไม่อร่อย เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านั้น เมื่อจมูกได้กลิ่นหอม หรือเหม็นอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านั้น เมื่อกายสัมผัสโผฏฐัพพะ รู้ว่าอ่อนแข็งอย่างไร แล้วก็หยุดเพียงเท่านั้น

ครั้นเมื่อศึกษาถึงขั้นนี้แล้ว ก็จะปรากฎเหตุอันน่าอัศจรรย์ที่เรียกว่า หัสสิตุปปาทะ คือกิริยาที่จิตยิ้มขึ้นมาเองโดยไม่มีต้นสายปลายเหตุ หาสาเหตุไม่ได้ อัน หัสสิตุปปาทะ หรือกิริยาที่จิตยิ้มขึ้นเองนี้ ย่อมไม่ปรากฎมีในสามัญชนโดยทั่วไป ดังนั้นนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายควรกระทำไว้ในใจ ในอันที่จะสำเหนียกศึกษาทำความกระจ่างแจ้งใน อเหตุกจิต อันนี้เพื่อเป็นบรรทัดในการปฏิบัติต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า เมื่อปฏิบัติไปถึงลำดับนี้แล้ว จิตจะยิ้มขึ้นมาเอง ไม่มีการกระทำ ไม่มีการบังคับให้เกิดขึ้น ย่อมเป็นไปเองโดยไม่รู้ตัว

อนึ่งเมื่อปฏิบัติตามหลัก จิตเห็นจิต อันมีการ หยุดคิด หยุดนึก เป็นลักษณะ ถ้าใช้ปัญญาอันิย่งสอดส่องสำรวจตรวจตาดูทวารทั้ง 5 เหล่านี้ เพื่อจะหาวิธีป้องกันการที่จิตจะแล่นไปหาเรื่องใส่ตัวในภายนอก ก็จะเห็นและเข้าใจได้ว่าเป็นธรรมดาอยู่เองที่คนเราจำเป็นต้องใช้ทวารทั้ง 5 นั้นกระทำการอันสัมพันธ์กับภายนอก

เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้นก็จะได้อุบายอันแยบคายว่าในขณะที่เกิดสัมพันธภาพกับภายนอก จิตก็ควรกำหนดให้อยู่ในจิต เมื่อเห็นก็กำหนดให้รู้เท่าทันว่าเห็น แต่ไม่ถึงกับต้องรำพึงรำพันออกมาว่า เห็นแล้วนะ เห็นแล้วหนอ อะไรดอกเพราะขณะจิตหนึ่งๆ นั้น มันไม่กินเวลาอะไร เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็ไม่ต้องไปรำพึงรำพันเป็นการปรุงแต่งเพิ่มอีก

ในการกำหนดให้รู้เท่าทันนั้น อย่าได้ถูกลวงด้วยสัญญาแห่งภาษาคนภาษาโลก ดังเช่นการรู้เท่าทันคนที่จะมาหลอกเราเป็นต้น การรู้เท่าทันอารมณ์ในภาษาธรรมนั้น หมายความว่า ความรู้จะต้องทันๆ กัน กับการรับอารมณ์ของทวารทั้ง 5 เช่น จะต้องมีสติรู้อยู่อย่างเต็มสมบูรณ์ มีความรู้ตัวพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องรู้อะไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกข์อันอาศัยปัจจัยคือการเห็นเป็นต้นนั้นย่อมไม่เกิด และเราก็จะมองอะไรอย่างอิสระเสรี โดยที่รูปหรือสิ่งที่เรามองเห็น ไม่อาจมีอิทธิพลอันใดเหนือเราเลยแม้แต่น้อย

ปัญจทวาราวัชชนจิต หรือ กิริยาจิต ที่แล่นอยู่ตามทวารทั้ง 5 ย่อมสัมพันธ์กับมโนทวาร ในมโนทวารนั้นมี มโนทวาราวัชชจิต อันเป็นจิตที่แฝงอยู่ มีหน้าที่คิดนึกต่างๆ สนองตอบอารมณ์ที่มากระทบเป็นธรรมดา ดังนั้นในทางปฏิบัติ จะให้หยุดคิด หยุดนึกทุกกรณีไปไม่ได้ แต่ก็ด้วยอาศัยอุบายวิธีการดังกล่าวแล้วนี้แหละ เมื่อจิตตริตรองนึกคิดอันใดออกมา เมื่อรู้ความรู้พร้อมทันๆ กันกับการรับอารมณ์ดังนี้แล้ว ปัญญาที่รู้เท่าเอาทันย่อมตัดวัฏจักรให้ขาดออกจากกัน ไม่อาจเกิดสืบเนื่องหมุนเวียนต่อไปได้ กล่าวคือ การก่อรูปก่อร่างต่อไปของจิต ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นและความไม่ยึดมั่นถือมั่นก็มีอยู่เองโดยไม่ต้องมีอาการลวงๆ ว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรเลย ความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้นก็เป็นเพียงแต่ชื่อ นำมาใช้เรียกขานกันให้รู้เรื่องเมื่อวัฎฎะ มันขาดไปเท่านั้น

โดยนัยนี้จึงน่าศึกษาให้เข้าใจในอันที่จะกำหนดรู้อย่างไรจึงจะถูกต้อง เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกอย่างไรก็ให้หยุดอย่างนั้น อย่าไปทะเลาะวิวาทโต้แย้ง อย่าไปเอออวยเห็นดีเห็นงาม ให้จิตได้มีโอกาสก่อรูปก่อร่างเป็นตุเป็นตะเป็นเรื่องยืดยาวต่อไป อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อ พอกันเพียงรู้อามรณ์เท่านี้ หยุดกันเพียงเท่านี้

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao



ผู้ตั้งกระทู้ กวิน :: วันที่ลงประกาศ 2008-03-16 18:42:48


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (998518)

 

ขอบคุณ  คุณกวินมากค่ะ ที่นำสิ่งดี ๆ มาให้อ่าน

โคลงโลกนิติบทนี้   สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่ทั้งครูผู้สอนและลูกศิษย์ผู้เรียนมานักต่อนักแล้วค่ะ

การอธิบายความโดยโยงกิเลสเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น  แถมยังมีปัญจทวาราวัชชนจิต  อ่านแล้วได้ประโยชน์ดีค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ดอกไผ่ วันที่ตอบ 2008-03-17 21:47:28


ความคิดเห็นที่ 2 (998913)

เพิ่มเติมครับ ฌพสบทความนี้ในเวป www.gotoknoe.net ดร.อุทัยได้ช่วยอรรถาธิบายโคลงบทนี้ไว้ด้วยนะครับ

ดร.อุทัย เอกสะพัง รองหัวหน้าภารกิจด้านการจัดการศึกษา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ อรรถาธิบาย โคลงโลกนิติบทนี้ไว้ความว่า


ยูง...ผู้ปฏิบัติธรรมสูงแต่หลงกลกามคุณ
ทราย..ผู้มีปัญญา..แต่ไร้แวว..
ลิง...ผู้มีสติ...แต่มีชั่วขณะ...
ทั้งหมดเลยตกอยู่ในวังวนวัฏฏะ...

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-03-18 08:41:14


ความคิดเห็นที่ 3 (998924)

แก้ไขลิงค์ครับ การวิเคราะห์โคลงบทนี้ มีสาเหตุมาจาก อาจารย์พรรณา ได้นำมาโคลงบทนี้มาโพสเพื่อ ตั้งคำถามถึงผลชื่อไม้ชนิดหนึ่ง ครับ ผมอ่านดูก็เลยลองคิดตามว่าโคลงบทนี้พยามที่จะสื่ออะไร ครับผม http://gotoknow.org/blog/kelvin/171136 
 

ดีใจมากครับถ้าจะเป็นประโยชน์เอาไปสอนนักเรียนได้

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-03-18 08:49:11


ความคิดเห็นที่ 4 (1089419)

 โคลงบทนี้ ปีนี้ ออกเป็นข้อสอบๆ เข้า เตรียมอุดม  น้องคนหนึ่งโทรมาบอก...

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-03-24 16:50:25


ความคิดเห็นที่ 5 (1762402)
ทำงานพอดีขอบคุณค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น เหรียญร้อยศพ วันที่ตอบ 2008-06-02 19:32:01


ความคิดเห็นที่ 6 (1950963)

 ขอบพระคุณครับ

 

ผมขออนุญาตเห็นต่าง   เล็กน้อยครับ     พยายามไม่ใช้จินตนาการของตนเองแทรกลงไป อันจะเป็นการตีความเกินตัวบท

จึงขออนุญาตมีความเห็นตามภาษาโดยแท้  ว่าโคลงโลกนิติบทนี้ มีความหมายสั้นๆ  ว่า "ไปกันใหญ่"

..............

น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว  ยูงตาม.....     นกยูงเห็นสายน้ำก็เข้าใจผิดว่าเป็นงู จึงตามจิกกิน

ทรายเหลือบหางยูงงาม  ว่าหญ้า... ทราย(กวางขนาดเล็กชนิดหนึ่ง) ไม่ทันพิจารณา เห็นเขียวๆ ก็นึกว่าหญ้า  พาลเข้าใจผิด จึงตามหวังจะได้กิน

ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ... ไม่ต้องแปล  เพราะดวงตาเนื้อทรายเป็นสีดำขลับ

ลิงว่าหว้าหวังหว้า หว่าดิ้น โดดตาม ... เมื่อลิงเห็นลูกตาของเนื้อทราย ก็กระโดดตาม หวังจะกินเป็นอาหาร เลยวิ่งตามกันเป็นพรวน เพราะยูงดันเห็นว่าสายน้ำเป็นงู

 

คล้ายๆ กับกระต่ายตื่นตูมนี่แหละ    แต่ "ไปกันใหญ่" กว่าเยอะ

.....

ภาษาเขียนว่า "โดดตาม... มิใช่ โดดตาย"

จึงไม่น่าจะหมายถึงว่าจะตายตกไปตามกันเพราะไม่ได้พิจารณา

น่าจะมีความหมายเพียง การไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ ทำให้เรื่อง "ไปกันใหญ่"  แบบเดียวกับเรื่องการเมืองไทยนี่แหละครับ

เข้าใจผิดหนักขึ้นเรื่อยๆ..

การจมน้ำตายตกตามกัน...   จึงน่าจะเป็นการตีความเกินตัวบท อันเป็นการใช้ความเห็นส่วนตัวเพิ่มไปจากอรรถรสแห่งกวี   ด้วยประการฉนี้ครับ

แล้วยังมีผู้ตีความไปกันใหญ่   เลยไม่รู้ใครทรายใครลิง...

ส่วนผมเอง   รอยหยักแห่งสติปัญญาน้อย   จึงได้รับรู้เพียงตื้นๆ จึงเข้าใจแบบตื้นๆ ครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ขุนอทึกฯ (coffeecartel-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-06-15 19:40:19


ความคิดเห็นที่ 7 (2067076)

ไม่ใช่ออกข้อสอบเข้าเตรียมอุดมอย่างเดียว......ยังเป็นข้อสอบวัดความรู้ครูภาษาไทยด้วย...และเป็นหนังสือเรียนอยู่ในระดับชั้น ม ๑

ผู้แสดงความคิดเห็น ครู ม ๑ วันที่ตอบ 2010-05-22 20:24:30


ความคิดเห็นที่ 8 (2102634)

ที่แปลว่าตายตามกันนั้นถูกต้องแล้วค่ะ เพราะ ใช้คำว่า "ดิ้น" ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในกวีนิพนธ์ ความหมายเป็นที่เข้าใจทั่วกัน ว่า แปลว่าตาย ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ดอกไม้เมืองหนาว วันที่ตอบ 2010-08-31 15:21:34


ความคิดเห็นที่ 9 (2107242)

remy clip in extensions costume hair wigs untangle any knots Soak the wig for a wigs appear to be growing! long hair wigs custom lace wigs.

ผู้แสดงความคิดเห็น may (naut-at-mail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 08:49:16


ความคิดเห็นที่ 10 (2290827)

 ขอบคุณมากๆค่ะ หนูหาในหนังสื้อไม่เจอเลย ^^

ผู้แสดงความคิดเห็น เฟิร์น วันที่ตอบ 2012-07-31 20:00:46


ความคิดเห็นที่ 11 (2290828)

โคลงบทนี้สอนให้รู้ว่าโดยรวมไหมค่ะ แบสรุปมีหรือป่าวค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เฟิร์น วันที่ตอบ 2012-07-31 20:03:22


ความคิดเห็นที่ 12 (2393034)

 ( n _ n ) ดีจัง เณื้อหาฅบท้วน ดี๊ดี

ผู้แสดงความคิดเห็น ยืน ยัง เซ วันที่ตอบ 2013-07-28 17:16:42


ความคิดเห็นที่ 13 (3844139)

 มีสำนวณ สุภาษิต อะไร ที่ตรงไหมครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น กาย กิตติภพ (kit2546_-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2015-07-20 20:25:24


ความคิดเห็นที่ 14 (4089202)

 อยากให้บอกคำสอนด้วยค่ะเพราะต้องการคำสอนค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น www.thaipoet.net วันที่ตอบ 2016-11-04 09:11:47


ความคิดเห็นที่ 15 (4321298)

 โง่วะไม่มีสุภาศิต

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ***หมา วันที่ตอบ 2019-07-31 12:10:21


ความคิดเห็นที่ 16 (4321299)

 โง่วะไม่มีสุภาศิต

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ***หมา วันที่ตอบ 2019-07-31 12:10:51


ความคิดเห็นที่ 17 (4436712)

 :D

ผู้แสดงความคิดเห็น Y วันที่ตอบ 2021-07-21 11:09:29



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.