ReadyPlanet.com


เขียนคิ้วทาปาก ผู้รากมากดี


 เพื่อนของผู้เขียนชื่อ เล่นว่า นาย จ.   เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ มหาวิทยาลัยอุบีราชธานน (มหาวิทยาลัยที่กำลังมีข่าวอาจารย์ทำอนาจารลูกศิษย์) ผู้เขียนดันไปแซวนาย จ. ว่า

"งัยล่ะมึง ยังไม่โดนจับอีกหรือวะ คดีที่มึงทำอนาจารนักศึกษา"

นาย จ. ตอบว่า

"มึงอย่าล้อเล่นไป กูยิ่งเศร้าอยู่เพราะภรรยาอาจารย์ท่านนั้นเขาสอนร่วมกะกู  ลูกเขาเพิ่ง ป.2 ลูกเขาจะโดนเพื่อนถามมั้ย แล้วเด็กมันจะเสียใจมั้ย เลิกพูดเถอะเรื่องมันเศร้า"

จากการสนทนากันครั้งนั้นทำให้ผู้เขียนฉุกคิด ได้ว่า ผู้เขียนได้ทำการ พิพากษา อาจารย์ที่มีข่าวกระทำลวนลามลูกศิษย์ ท่านนั้น ไปเรียบร้อยแล้ว ว่ามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยลืมนึกถึงครอบครัวของอาจารย์ท่านนั้นว่าจะมีสภาพความรู้สึกเช่นใด เมื่อหัวหน้าครอบครัว ถูกสังคมพิพากษาว่ากระทำความผิด

ผู้เขียนนึกถึงคำคมที่ว่า  "ทำความดี 100 ครั้งมักจะไม่ค่อยมีคนสนใจที่จะจดจำ แต่หากเมื่อใดก็ตามที่เราทำผิด แม้เพียงสัก 1 ครั้ง จะไม่มีใครลืม (ทำความดีไม่มีคนจำ ทำระยำ หล่ะคนจำดี)

นาย จ. (เรียนเอกภาษาอังกฤษ) รุ่นพี่ซึ่งเป็นโยมอุปฐากท่าน .วชิรเมธี เคยจ้างวานให้นาย จ. สอนภาษาอังกฤษให้กับท่าน ว.วชิรเมธี   ต่อมานาย จ. ส่งประกวดกวีนิพนธ์ เรื่อง หมอนรองรถไฟฟ้า กับ  "Young Thai Artist Award 2004" ของ SCC  ได้รางวัลชมเชยและได้ตีพิมพ์รวมเล่มท่าน ว.วชิรเมธี  ได้กรุณาเขียน คำนิยม  ให้กับนาย จ. ด้วย  เล่าซะยาวแค่จะโยงเกี่ยวกับทฤษฎี Six Degrees of Separation


 



ผู้ตั้งกระทู้ กวิน :: วันที่ลงประกาศ 2008-07-13 22:30:05


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1800783)

สำหรับภาพวาดด้านล่างคือผลงานที่ผ่านเข้ารอบโครงการ "Young Thai Artist Award 2004" ของ SCC ชื่อภาพ "นางโชว์ 2" โดย นายชูศักดิ์ ศรีขวัญ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชื่อภาพ

ที่มาของรูป http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/A3296450/A3296450-14.jpg 

เมื่อดูภาพ "นางโชว์ 2" ซึ่งเป็นผลงานของคุณชูศักดิ์ ศรีขวัญ ทำให้ผู้เขียนนึกถึง โคลงกระทู้ "เขียนคิ้วทาปาก ผู้รากมากดี" ที่แต่งโดย คุณ อัศนี พลจันทร (นายผี) ที่ว่า


เขียน  รูปอสุระแสร้ง                 แสยะเหยอ
คิ้ว      ขมวดตาเผลอ               สติพลั้ง
ทา      สีสอดสีเออ                    ดูเอก จริงแม่
ปาก   ก็ป้ายแดง ดั้ง-                หักหู้หัวหยอง

เขียนหน้าเขียนตาเหมือน อสูร ยิ้มแสยะ เผยอปาก
คิ้ว อสูร ขมวดเขม้น ตาเถลือกถลน (ทำเหมือนคน เผลอไผ ไร้สติ พลั้ง (Punk) พลาด)
ทาปาก แดง สอดทา ลิปสติก (Lip Stick) ดู เหมือน (นาง) เอก จริงนะแม่คุณ
นอกจากทาปากแดง แล้ว ดั้งยังแฟบหัก หัวหู ดูหยิกหยอง (ทรงผม แอฟโฟร (afuro) ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา)

ผู้      เพียรประพฤตพ้น             เพรงสมัย 
ลาก  กระโปรงยาวไป                ป่าแก้ว
มาก  หมู่มิตรมีวัย-                    หนุ่มหนุ่ม
ดี     บ่ดี บ่แคล้ว-                      คลาดเคล้าคลอคลึง

ผู้(หญิง) สมัยนี้ มีความเพียรพยาม ที่จะแต่งตัว ให้ผิดไปจากสมัยก่อน
ลาก กระโปรงยาว  (ผ่าถึงสะโพก) ไป วัด/สวนสาธารณะ
เดินไปในหมู่ ผู้ชาย ที่มีวัยหนุ่มๆ
ลืมตระหนักว่า ดีงาม หรือ ไม่ดีงาม แต่ที่แน่ๆ แต่งหน้าทาปากแบบนี้ ใส่กระโปรงแบบนี้ หากไปเดินใน วัด หรือในสวนสาธารณะ ที่เปลี่ยวๆ  ก็ต้องโดน ลงแขก แน่ๆ (บ่แคล้วคลาด (ถูก)เคล้าคลอ และคลึง)

ตาสูสูส่ายแสร้ง                         แสนกล
ค้อนกระหลับกระเหลือกจน         จวบทะเล้น
สูเอยอิ่มตาตน                           เต็มอิ่ม
สูว่างตาสูเว้น                            ค่อยค้อนคราวหลัง


(แต่งตัวโป๊) ยั่วให้คนมอง ทำชำเลืองสอดส่ายสายตาให้ผู้ชาย ดูมีเลศกล ยิ่งนัก
แสร้งทำเป็นมองค้อน กระหลับกระเหลือก เหมือนคนทะเล้น 
เธอจ๋า (แต่งตัวโป๊) ยั่วให้คนมอง จนฉันมองจนอิ่มสายตา
เธอจ๋า (แต่งตัวโป๊) ว่างเปล่า ล่อนจ้อน แบบนี้จะโทษคนมองได้อย่างไร วันหลัง แต่งตัว ดีๆ แล้วค่อยมา มองค้อนคนมอง ดีกว่า

 

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-07-13 22:30:59


ความคิดเห็นที่ 2 (1800786)

อ่าน โคลงกระทู้ "เขียนคิ้วทาปาก ผู้รากมากดี" ที่แต่งโดย คุณ อัศนี พลจันทร (นายผี)  แล้วทำให้นึกถึง เพลงมองอะไร  ซึ่งขับร้องโดย ศรีสุดา รัชตะวรรณ ที่ว่า

มองอะไร คนอะไร  มองมองไปทำไมยิ้มมา เหม่อมองสองตา แปลกหนายังมาทำเปิ่น
ทำตะลึงมองละลาน มันรำคาญมองนานเหลือเกิน เมื่อมองฉันเมิน เก้อเขินสะเทิ้นเมินเก้อ
อย่ามองเกี้ยว อย่าจ้องแห่งเดียวนักซี เธอจ้องอย่างนี้ฉันอายเต็มที อุ้ยมองดีดีซิเธอ
เอ๊ะมองแล้วทำหลิ่ว เลิกคิ้วทำเหม่อ จ้องมองตาค้างนั่งเผลอ อ้าปากทำไมเออชะเง้อมองอะไร

ท่านผู้อ่านทราบหรือยังว่าคนมองเขามองอะไร? 

สำหรับโคลงท่อนที่ว่า "ลากกระโปรงยาวไป ป่าแก้ว" คำว่า ป่าแก้ว ในที่นี้อาจแปลว่า วัด ก็ได้ หรืออาจแปลว่า สวนสาธารณะ/พระราชอุทยาน ก็ได้ โดยเทียบกับ ตำนานศรีปราชญ์ ซึ่งรวบรวมเรียบเรียงโดย  พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้ อรรถาธิบาย ถึง ป่าแก้ว เอาไว้ความว่า

เมื่อครั้งที่ สมเด็จพระนารายณ์ ทรงเสด็จประพาส  ป่าแก้ว (พระตำหนักนารายณ์ราชนิเวศน์ พระยาเดโช ถูก ลิงอุจจาระ รดศีรษะบรรดาทหารเห็นเป็นเรื่องขบขันจนมิสามารถที่จะกลั้นเสียงหัวเราะเอาไว้ได้ สมเด็จพระนารายทรงบรรทมอยู่จึงตื่นขึ้น แล้วจึงตรัสถามบรรดาเหล่าเสนาอำมาตย์ แต่เหล่าบรรดาเหล่าเสนาอำมาตย์ ไม่มีใครกล้ากราบบังคมทูลเพราะกลัวจะไม่สบพระราชหฤทัย สมเด็จพระนารายณ์จึงเรียกมหาดเล็กมาถาม มหาดเล็กผู้นั้นทราบพระราชอัธยาศัย จึงกราบบังคมทูลด้วยคำคล้องจองว่า พะย่ะค่ะ ขอเดชะ วานระ ถ่ายอุจจาระ รดศีรษะ พระเดโช สมเด็จพระนารายณ์ ทรงพอพระทัยเป็นอย่างมาก จึงพระราชทาน ราชทินนาม ศรีปราชญ์ แก่ มหาดเล็กผู้นั้น ครั้นเมื่อ ศรีปราชญ์เดินทางกลับถึงยังพระนครศรีอยุธยา พระมหาราชเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในฐานะตัวประกันเชลยศึก ได้ตั้งคำถาม ถามศรีปราชญ์ในเชิงสัพยอก ไว้ความว่า

  •  

  • ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-07-13 22:35:26


    ความคิดเห็นที่ 3 (1800788)


    พระมหาราชเจ้าเชียงใหม่ ;  ศรีเอยพระเจ้าฮื่อ             ปางใด๋ 
    ศรีปราชญ์                      ;  ปางเมื่อพระเสด็จไป        
    ป่าแก้ว
    พระมหาราชเจ้าเชียงใหม่ ;  รังสีบ่สดใส                     สักหยาด
    ศรีปราชญ์                      ;  ดำแต่นอกในแผ้ว            ผ่องเนื้อนพคุณ


    พระมหาราชเจ้าเชียงใหม่ ;  ราชทินนามศรีปราชญ์นี้พระเจ้าแผ่นดินทรงฮื่อ(ทรงให้)ปางใด๋กัน 
    ศรีปราชญ์                      ;  ปางเมื่อทรงเสด็จประทับ ณ
    ป่าแก้ว (พระตำหนักนารายณ์ราชนิเวศน์) 
    พระมหาราชเจ้าเชียงใหม่ ;  ได้รับ ราชทินนามศรีปราชญ์แต่ไฉนจึงดูไม่มีสง่าราศรีสักหยาดหยด 
    ศรีปราชญ์                     
     ;  ถึงภายนอกจะดูไม่มีสง่าราศรีเพราะตัวดำแต่ภายในผ่องแผ้วไปด้วยทองนพคุณ

    (ทว่าในปัจจุบันนักวิชาการทางภาษาเชื่อว่า ศรีปราชญ์ไม่มีตัวตนจริงและไม่ได้แต่ง(โคลง) กำสรวลศรีปราชญ์  นะครับฮาๆเอิ๊กๆ)


    ด้วยเหตนี้ คำว่า ป่าแก้ว ในที่นี้ จึงแปลว่า วัด ก็ได้ หรืออาจแปลว่า สวนสาธารณะ/พระราชอุทยาน ก็ได้ โดยเทียบกับ

  • จินดามณี (แก้วสารพัดนึก)
  • จินดามณี (ชื่อแบบเรียนเล่มแรกของไทย)
  • คำว่า แก้ว โบราณใช้ประกอบคํานาม เพื่อให้มีหมายความว่า สิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว  ลูกแก้ว, แก้วตาดวงใจ
  • เช่น นกแก้ว  แปลว่า นกที่ฉลาดดีเยี่ยม (พูดภาษาคนได้)
  • ป่าแก้ว แปลว่า ป่าไม้อันมีค่ามาก ป่าไม้อันเป็นที่รัก ป่าไม้ที่ดีเยี่ยม (สวนสาธารณะ) ก็ได้
  • หรือ ป่าแก้ว แปลว่า วัด ก็ได้เพราะ บริเวณ วัด เป็น เขตอภัยทาน  ห้ามฆ่าสัตว์ ด้วยเหตุนี้ เขตวัด จึงถือว่าเป็นเขต ป่าแก้ว
  •  

    ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-07-13 22:36:50


    ความคิดเห็นที่ 4 (1800790)

    ตามทรรศนะของผู้เขียน เห็นว่า นายผี ย่อมเลือกใช้คำว่า ป่าแก้ว เพื่อให้แปลได้ทั้งสองความหมาย นั่นคือ หมายถึง วัด และสวนสาธารณะ   แต่หากผู้อ่าน จะตีความคำว่า ป่าแก้ว ให้หมายถึงวัดแล้วล่ะก็  ก็จะได้ความ ตามบริบทของโคลง ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นว่า

    การไปวัด นั้นก็เพื่อ ไปกระทำกิจวัตร อันมีจุดมุ่งหมายเพื่อความหลุดพุ้นจากห้วง สังสารวัฏ  ทว่าในสังคมปัจจุบัน  คนรุ่นใหม่ใช้วัดเป็นสถานที่พรอดรัก เช่นชวนกันไปเดินชมนกชมไม้ ชวนกันไปถ่ายรูป ซึ่งวัดนั้นมิใช่สถานที่พักผ่อนย่อนใจ หากแต่ วัด เป็นสถานที่ที่ ใช้กระทำ กิจวัตร อันมีจุดมุ่งหมายเพื่อความหลุดพุ้นจากห้วงสังสารวัฏ
    เพื่อชี้วัดความเป็นอริยบุคคล เพื่อความวัฒนาถาวรในโลกุตรธรรมซึ่งเป็นบรมสุข  ด้วยเหตุนี้ผู้ไปวัด พึงสำรวมกาย สำรวมวาจา และสำรวมใจ จึงจะถือว่า ได้ไปถึงวัดอย่างแท้จริง หากไปวัดโดยไม่ สำรวมกาย สำรวมวาจา และสำรวมใจ ก็ย่อมถือว่าท่านไปไม่ถึงวัด



    วกกลับมาในกรณีที่ อาจารย์ลวนลามลูกศิษย์ เมื่อผู้อ่านทั้งหลายทราบแล้วว่าการไปวัดนั้นก็เพื่อแสวงหาความสงบ ก็พึงทราบว่าการไปมหาวิทยาลัย นั้นก็เพื่อ การไปศึกษาหาความรู้  มิใช่การไปเพื่อพึงหวัง ล่อเสือ ล่อตระเข้  ด้วยการแต่งหน้าทาปาก ใส่เสื้อรัดติ้ว นุ่งกระโปรงสั้นเต่อ เพราะครูบาอาจารย์นั้นย่อมมิใช่ผู้กำจัดกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำได้ดังเช่นพระอรหันต์  และแม้แต่พระสงฆ์องคะเจ้าผู้มีอินทรีย์สังวร เมื่อถึงคราวที่ท่านจะต้องเทศนาโปรดญาติโยม พระคุณเจ้าทั้งหลายยังต้องใช้ ตาลปัตร  กำบังหน้า เวลาเทศน์  ก็ด้วยเพราะต้องการให้ผู้ฟัง ได้ฟังแต่ธรรมจากท่านเท่านั้น มิใช่มัวแต่มองหน้าหลงรูปกายของตัวท่าน และในทางกลับกันก็เพื่อป้องกันตัวท่านเองมิให้จักษุประสาท  รับรู้ปรุงแต่ง  สุขเวทนา ทุกขเวทนา อันจะเกิดจากภาพที่ได้พบได้เห็น เบื้องหน้า นั่นเอง

    หากกวีนิพนธ์ คือเครื่องสะท้อนสังคม  นายผีย่อมได้ใช้โคลงสี่สุภาพ เขียนคิ้วทาปาก ผู้รากมากดี   สะท้อนสังคมในยุคของนายผีได้อย่างสุขุมลุ่มลึก  สำหรับในยุคปัจจุบัน นักดนตรีวง Sead  (เสียด) ได้ใช้ เพลงแรดมหาลัย เป็นเครื่องสะท้อนสังคม แต่ทว่ายังขาดความสุขุมลุ่มลึก แต่ก็ทำให้เกิดข้อสะกิดใจ ว่าด้วยเรื่อง การแต่งกายได้มากโขทีเดียว (
    ผลงานของนักดนตรีวง Sead  (เสียด)   มีขายตามแผงเทปดีเจสยาม น้องท่าพระจันทร์) เนื่องจากเนื้อหาในเพลงไม่เหมาะสมกับผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โปรดแดรกเมาส์ (drag mouse)  เพื่ออ่านเนื้อหาของเพลงได้ที่นี่ --->

    ก็แต่งเนื้อ แต่งตัวออกไปเรียน นุ่งกระโปรงสั้น เสื้อรัดอก ออกไปเรียน ใครเห็นหลงใหล อยากลูบไล้ โคนขาจนถึงในร่มผ้าของเธอ แต่งเนื้อ แต่งตัว "แรด" กันจัง ขึ้นรถ ลงเรือ เดินนั่งจงระวัง มีคนแอบมอง มีคนจ้องมอง อยากได้เธอมาทำเมีย  ระวังกันไว้ สาว ๆ มหาลัย ไอวัวบ้าตัวใหญ่ ระวังไว้ซักหน่อย เดี๋วหอยเธอถูกทำร้าย แรดมหาลัย ได้โปรดฟังเอาไว้...นุ่งกระโปรงสั้นเกือบถึงโคนขา เสื้อนักศึกษาสั้นสุดโคนแขน สุดรัดตัวเธอ มองเธอหัวนม นั่นไง ! แล้วไง ! น่าเกลียดไหมเธอ ? แต่งหน้า แต่งตา หยั่งกะลิเก ใครเห็นเขามองไม่ดี๊ ของเธอไม่ดี มันไม่ดี ดูแล้วเหมือนโสเภณี !!!  มันพูดยาก พวกมันเกิดมาด้วยแรด ถึงอกถึงใจ จะพูดยังไงมันคงจะไม่ฟัง อย่าพูดมาก เดี๋ยวมันเฮงซวยนะจ๊ะ เจอดีซักวัน เจอโดนเข้าไป คบเพื่อนแรดมหาลัยแรดมหาลัย แรดมหาลั๊ย แรดมหาลัย แรดมหาลั๊ย แรดมหาลัย แรดมหาลัย...

    ...................................................................................................................................

     งานเขียนของ อาจารย์ จ. :


    ...................................................................................................................................

    ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-07-13 22:38:52


    ความคิดเห็นที่ 5 (1800792)

    บทความนี้อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม

    http://gotoknow.org/blog/kelvin/193836

    ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-07-13 22:45:03



    [1]


    แสดงความคิดเห็น
    ความคิดเห็น *
    ผู้แสดงความคิดเห็น  *
    อีเมล 
    ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



    Copyright © 2010 All Rights Reserved.