![]() |
หน้าหลัก | ข้อมูลสมาคม | บทความ | บทร้อยกรอง | ข่าวสารประชาสัมพันธ์ | กิจกรรม | กระทู้ | หนังสือ | ร้อยกรองออนไลน์ |
สุขสันต์วันเกิด | |
นายสมัคร ถูกศาลฯ ตัดสินให้พ้นสภาพความเป็นนายกฯ ไปแล้ว แต่ นายสมัคร ก็อาจจะ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ใหม่ เพราะมติในสภา ตามที่หมอเลี๊ยบออกมาแสดงจุดยืน สมมติท่านอดีตนายกฯ สมัคร กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง แต่ยังต้องมาสู้คดี หมิ่นประมาทฯ ที่รออยู่ พร้อมทั้งจะต้องโดนพันธมิตรฯ ออกมาเคลื่อนไหวขับไล่อีกเป็นแน่แท้ พอนึกถึงอดีตนายกฯ สมัคร ก็ทำให้ผู้เขียนนึกถึง นโปเลียน (Napoléon Bonaparte) ผู้ซึ่งไต่เต้ามาจากนายทหารจนกระทั่งสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ แต่ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้สงคราม นโปเลียน ต้องไปลี้ภัยที่เกาะเอลบา ตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาฟองเตนโบล แต่แล้วนโปเลียน ก็หลบหนีออกจากห้องขังบนเกาะเอลบาได้ และขึ้นสู่ฝั่งบนแผ่นดินฝรั่งเศสใกล้ ๆ กับเมืองกานส์ เมื่อเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) แต่ความล้มเหลวก็เกิดขึ้นซ้ำรอย กองทัพของนโปเลียน พ่ายการรบกับอังกฤษและปรัสเซียที่สมรภูมิวอเตอร์ลู ในเบลเยียม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2358 (1) | |
ผู้ตั้งกระทู้ กวิน :: วันที่ลงประกาศ 2008-09-12 09:02:08 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (1835867) | |
โคลงบทนี้ ถอดความตาม คำอรรถาธิบายของ นายผีเอง ได้ความว่า การรีบร้อนข้ามท่อนไม้ที่ล้มอยู่นั้นก็ควรจะคุยโวได้อยู่ ส่วนคนที่ล้มอยู่นั้นจะไต่ข้ามไปอย่างอวดโตไม่ควร เพราะอาจจะเป็นดุจพระเจ้านโปเลียน (ที่กลับเข้ามามีอำนาจได้อีกไม่กี่วันก็ต้องไปเกาะเซนต์เฮเลนา) ความกลับคืน (ไปสู่สภาพเดิมอย่างรวดเร็ว) นั้น ใครเลยจะทัดทานเอาไว้ได้ ย่อมสุดแต่เวรกรรม อำนาจของประชาชน (ประชา+อธิปัตย์=ประชาธิปัตย์) ที่ล้มไปและย่อมจะได้กลับคืนมาใหม่ในไม่ช้า ก็เพราะประชาชนเป็นอย่างช้าง เวลาวิ่งมาก็ (ทำอำนาจ) ชูงวง เงยงา อย่างงดงาม ขยี้ความเลวทรามแหลกลาญไป ทำให้แผ่นดินกลายเป็นเรียบร้อยใหม่ (วิมล พลจันทร.รำฤกถึงนายผีจากป้าลม. กรุงเทพฯ : ทะเลหญ้า, 2533. หน้าที่ 30-31) แต่หากจะแปลความ ตามทรรศนะ/สำนวน ของผู้เขียน จะได้ความว่า เมื่อมี ต้นไม้ใหญ่ล้มขวางทางอยู่ นึกพิเรน กระโดดข้ามต้นไม้ใหญ่นั้น และในอันที่จริงอาจจะเดินหลีกไปทางอื่นได้ แต่ไม่ทำโดยเลือกที่จะกระโดดข้ามต้นไม้ใหญ่ที่ล้มอยู่นั้นเพื่อจะทดสอบกำลังขาของตน ไม่ก็เพื่อต้องการจะแสดงปาหี่ อวดชาวบ้าน เมื่อกระโดดข้ามพ้นต้นไม้ใหญ่ที่ล้มขวางทางอยู่ ได้แล้ว ค่อยคุยโวโอ้อวดต่อผู้อื่น ก็คงจะไม่มีใครว่า (เพราะรู้สึกเฉยๆ หรือไม่ก็รู้สึกหมั่นไส้อยู่ในใจ) แต่การรีบคุยโวโอ้อวดก่อนการกระโดดข้ามต้นไม้ใหญ่นั้นไม่สมควรเพราะถ้ากระโดดข้ามไม่พ้น ก็จะบังเกิดความขายหน้า นี้จึงเรียกว่า ไม้ล้มข้ามได้ (แล้วค่อยคุยโวโอ้อวด) แต่หากเห็น คนล้มอย่าข้าม เพราะในยามที่เราพบพานผู้ที่ ล้ม(เหลวในชีวิตอยู่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง) เราก็จงอย่าได้แสดงความคุยโวโอ้อวด ยกตนข่มท่าน หรือดูหมิ่นดูแคลน ว่าเขาผู้นั้นจะไม่สามารถหยัดยืนขึ้นมาใหม่ได้ (คนยาก คนจนในวันนี้ อาจจะเป็นมหาเศรษฐีของโลกในวันข้างหน้า คนเลวในวันนี้ อาจจะเป็นพระอรหันต์ในวันหน้า) อนึ่งนโปเลียนมหาราช ถูกขับไล่ล้มล้าง แต่ก็กลับมามีอำนาจได้อีกครั้งแต่แล้วก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น (ท่านอดีตนายกสมัคร และพี่สาวของชาญ ในนิยาย ก็คงเหมือนกับ นโปเลียนมหาราช ล่ะกระมัง) เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นไปตามอำนาจของวิบากกรรม ใครก็มิอาจจะห้ามได้ หากระบอบประชาธิปไตยล้มครืนลง ก็ไม่ควรสำคัญผิด (คุยโวโอ้อวด/ยกตนข่มท่าน) ว่า เป็นเพราะระบอบประชาธิปไตยไม่ดี อันว่าอำนาจของปวงชน (ประชาธิปไตย/ประชาธิปตย์) ถึงจะล้มครืนลง แต่ก็อาจจะกลับคืนขึ้นมามีอำนาจใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ดังเช่น นโปเลียนมหาราชที่กลับคืนมามีอำนาจได้อย่างรวดเร็ว (มาเร็วไปเร็ว เครมเร็ว) ด้วยเหตุนี้เอง ประชาธิปไตย (อำนาจของปวงชน) นั้นแม้นจะล้มแล้ว ล้มอีก แต่ทว่าประชาธิปไตย (อำนาจของปวงชน) นี้ มีพลังอำนาจ เหมือนดั่งช้าง (ตกมัน) ที่จะสามารถทำลายล้างสรรสิ่ง (ซึ่งเลวทรามต่ำช้า) ที่ขวางหน้าให้ราบคาบลงไปได้
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในชีวิตมนุษย์นี้ มีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เกิดเป็นมนุษย์ เมื่อมีสุขได้ ก็ต้องมีทุกข์ได้ เมื่อมีทุกข์ได้ ก็ต้องมีสุขได้ สลับสับเปลี่ยนไปมาอยู่ทุกเมื่อเชื่อยาม ความสุขและทุกข์ เป็นหนึ่งในโลกธรรมแปด นั่นคือได้ลาภคู่กับเสื่อมลาภ ได้ยศคู่กับเสื่อมยศ ได้รับการสรรเสริญ คู่กับการเสื่อมจากการสรรเสริญ (ถูกนินทา) ได้รับความสุข คู่กับเสื่อมจากความสุข โลกธรรมแปด นี้เป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ (อนิจจังคือไม่เที่ยง ทุกขัง คือความทนอยู่ได้ยาก/ความไม่เสถียร อนัตตา คือความไม่มีตัวตน) ในยามที่เป็นสุข ก็อย่าหลงลำพองว่า จะสุขเช่นนั้นได้ตลอดไป ในทางตรงกันข้าม ในยามที่เป็นทุกข์ ก็อย่าได้หมกมุ่นครุ่นคิดว่าความทุกข์จะเผาผลาญอยู่อย่างนั้นตราบชั่วชีวิต ขอเพียงแต่รู้จักรอคอยด้วยความอดทน และด้วยจิตใจอันเปี่ยมเต็มไปด้วยสติ ก็ย่อมที่จะฝ่าพ้นมรสุมแห่งชีวิตต่างๆ ได้ ย่อหน้านี้สรุปสั้นๆ ได้หกพยางค์คือ "ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน" สำนวนนี้ สุนทรภู่ได้ผูกเป็นคำกลอนเอาไว้ปรากฎอยู่ใน เสภาขุนช้างขุนแผน ความว่า
สำนวน ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน คงใช้ได้กับ โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) แต่ เอดิสัน ไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าตามที่คนทั่วไปเข้าใจแต่อย่างใด หลักการของหลอดไฟฟ้าถูกพัฒนามาก่อนหน้านี้โดยนักประดิษฐ์หลายท่าน เช่น จูเซ็ปป์ สวอน (Juseph Swan) หรือ ไฮน์ริช เกอเบิล (Heinrich Goebel) อย่างไรก็ตามเอดิสันได้คำนึงถึงการนำหลอดไฟฟ้าไปใช้งานจริงในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง โดยเอดิสันได้ทำให้อายุการใช้งานของหลอดไฟฟ้ายาวนานพอที่จะนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายในบ้านเรือนหรือร้านค้า นอกจากนั้นเอดิสันยังได้สร้างระบบผลิตและแจกจ่ายไฟฟ้าอีกด้วย (2)
เอดิสัน ผู้พัฒนาไส้หลอดไฟฟ้า ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานพอที่จะนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายในบ้านเรือน ต้องทำการทดลองหลายครั้งหลายหนด้วยความพากเพียรพยายาม ในที่สุด เอดิสัน ก็ทำสำเร็จ
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-12 09:03:14 |
ความคิดเห็นที่ 2 (1835869) | |
Kevin Carter ช่างภาพสารคดี ชาวแอฟริกาใต้ ผู้ถ่ายภาพ นกอีแร้งซึ่งกำลัง ยืน รอจะกินเด็กผู้หญิงชาวแอฟริกันผู้ซึ่งกำลังจะตาย ภาพดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The New York Times เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 1993 ต่อมาภาพถ่ายของ Carter ได้รับ รางวัลพูลิตเซอร์ ($10,000 cash award and a certificate) ในปี 1994 สองเดือนหลังจากที่ได้รับรางวัล เควิน คาร์เตอร์ ที่พึ่งจะมีอายุ 33 ปี ฆ่าตัวตายด้วยการดมก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ในรถปิกอัพที่จอดอยู่ริมแม่น้ำ เพราะเขารู้สึกเสียใจมากๆและทนไม่ได้ที่ต้องทรมานด้วยการเห็นภาพหลอน และเขายังถูกวิจารณ์ว่าวันนั้นเขาทำเพียงไล่นกแร้งไป แต่ไม่ช่วยพาเด็กหญิงคนนี้ไปส่งยังศูนย์ช่วยเหลือที่อยู่ห่างออกไป 1 กิโลเมตร ต่อมาเรื่องราวของ Kevin Carter ถูกนำมาทำเป็นหนังสั้น ชื่อเรื่อง The Death of Kevin Carter: Casualty of the Bang Bang Club ออกฉายเมื่อปี 2005 (เนื้อหาโดยอาจารย์ ดร.naree suwan ในบันทึก Full Moon @ 206731) | |
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-12 09:06:14 |
ความคิดเห็นที่ 3 (1835872) | |
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-12 09:07:40 |
ความคิดเห็นที่ 4 (1835873) | |
ความโศกาดูร ก็ดี ความทุกข์ยากก็ดี ความแร้นแค้นขื่นขมก็ดี ความล้มเหลว ผิดพลาดก็ดี หากเรานำมาหมั่นพิจารณาโดยแยบคาย อยู่เสมอๆ ก็จะเกิดปัญญา คนที่ทำผิดแล้วแก้ไขปรับปรุง ย่อมได้รับการให้อภัย ชนทั้งหลายย่อมสรรเสริญว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้ประเสริฐ ที่สำคัญก็คือต้องพิจารณาและกระทำการโดยมี สัมมาทิฐฐิ สัมมาอาชีวะ จึงจะได้รับผลเลิศจากการกระทำนั้นๆ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม 6 - หน้าที่ 10 อชิตมาณวกปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของท่านอชิตะ ท่านอชิตะทูลถามปัญหาต่อพระผู้มีพระภาคว่า โลกอันอะไรสิ หุ้มห่อไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูก่อนอชิตะ อันอวิชชาหุ้มห่อไว้ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนสุด เบื้องต้น ความไม่รู้ในส่วนสุดเบื้องปลาย ความไม่รู้ทั้งในส่วนสุดเบื้องต้น และส่วนสุดเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย อันอาศัยกันและกัน เกิดขึ้น คือความเป็นปัจจัยแห่งธรรมนี้ ชื่อว่า " อวิชา " ความไม่รู้ ความ ไม่เห็น ความไม่ถึงพร้อมเฉพาะ ความไม่ตามตรัสรู้ ความไม่ตรัสรู้พร้อม ความไม่แทงตลอด ความไม่ถึงพร้อม ความไม่ถึงรอบ ความไม่เห็นเสมอ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความรู้ได้ยาก ความเป็นคน เขลา ความไม่รู้ทั่วพร้อม ความหลงใหล ความมัวเมา อวิชชาเป็นโอฆะ อวิชชาเป็นโยคะ อวิชชาเป็นอนุสัย อวิชชาเป็นเครื่องกลุ้มรุม อวิชชา เป็นข่าย โมหะ อกุศลมูล ชื่อว่า " อวิชชา " ในอุเทศว่า อวิชฺชาย นิวุโต โลโก นี้เรียกว่า อวิชชา. โลกนรก โลกเดียรัจฉาน โลก เปตติวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลกกับทั้งเทวโลก นี้เรียกว่า โลก. โลกอัน อวิชชานี้ ปิดบัง ปกคลุม หุ้มห่อ ครอบไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.(3)
ลูกของสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ อยู่ในเปลือกไข่ ถือเป็นการเกิดครั้งที่หนึ่ง ลูกของสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ หากทำลายเปลือกไข่แตกได้ก็จะมีชีวิตใหม่ ถือเป็นการเกิดครั้งที่สอง ฉันใด
ทวิช, ทวิช- [ทะวิด, ทะวิชะ-] (แบบ) น. นก; พราหมณ์. (ป., ส. ทฺวิช ว่า ผู้เกิด 2 หน).
การเพ่งโทษโจษตนเองโดยแยบคาย ว่า สิ่งที่ตนทำผิดพลาดแล้วในอดีต แก้ไขไม่ได้ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง การมุ่งทำปัจจุบันขณะ ให้ดีที่สุด คือสิ่งที่จะกำหนดอนาคต ที่สำคัญก็คือ การไม่กลับไปกระทำผิดแบบเดิมซ้ำสอง ถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เห็นอริยสัจจ์คือ ความจริงอันประเสริฐสี่ ด้วยปัญญาอันชอบ คือเห็นความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์เสียได้ และหนทางมีองค์แปดอันประเสริฐ เครื่องถึงความระงับทุกข์ : เขมาเขมสรณทีปิกคาถา (5) เช่นนี้แล้ว ย่อมถือว่า บุคคลนั้น ได้กระเทาะจากเปลือกไข่แห่ง อวิชชา ถือกำเนิดเป็นครั้งที่สอง โดยมีอัตภาพเป็น พรามหณ์/พระ (ผู้ประเสริฐ) ด้วยประการฉะนี้ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-12 09:08:34 |
ความคิดเห็นที่ 5 (1835876) | |
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-12 09:13:21 |
ความคิดเห็นที่ 6 (1836358) | |
สวัสดี ค่ะ คุณ กวิน
อ่านแล้วก็ได้ ก็ได้ตาสว่างเพิ่มขี้นค่ะ ขอบคุณ ที่นำมาให้อ่าน
""""ไม่ว่าอะไร ก็ตามถ้าเติบโตไปเรื่อยๆ ในทีสุดมันจะใหญ่โตมหึมาและเป็นอันตราย การดับสลาย เป็นสิ่งจำป็นสำหรับการเกิดใหม่ ไม่มีสิ่งใด สามารถอยู่ได้ โดยไม่มีสิ่งอื่น""
จาก หนังสือ พลังจิตแห่งปัจจุบันขณะ เอกฮาร์ท โทลเลอร์ หน้า 214 | |
ผู้แสดงความคิดเห็น ภัทราจิตร วันที่ตอบ 2008-09-13 08:30:38 |
ความคิดเห็นที่ 7 (1837458) | |
ขอบคุณครับ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-16 08:39:47 |
[1] |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
Visitors : 826043 |