![]() |
หน้าหลัก | ข้อมูลสมาคม | บทความ | บทร้อยกรอง | ข่าวสารประชาสัมพันธ์ | กิจกรรม | กระทู้ | หนังสือ | ร้อยกรองออนไลน์ |
ปลาทูเข้าโป๊ะ ผีตากผ้าอ้อม และ อุกกาฟ้าเหลือง | |
ผู้ตั้งกระทู้ กวิน :: วันที่ลงประกาศ 2008-09-12 09:23:13 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (1835884) | |
กาพย์ยานี 11 ของนายผี ท่อนหนึ่ง ได้แต่งเอาไว้ว่า
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-12 09:25:09 |
ความคิดเห็นที่ 2 (1835885) | |
ผู้เขียนจึงได้ ลองสอบถามอาจารย์ กูฯ (Gogle) ได้ความว่าสำนวน ผีตากผ้าอ้อม ใช้เรียกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในยามที่ท้องฟ้าทางทิศตะวันตก (โดยมากหลังฝนตกใหม่ๆ) แสงตะวันตกดินจะสะท้อนกลับมาสว่างเป็นแสงสีแดงอมเหลือง คนโบราณเปรียบภาพที่เห็นนั้นเหมือนผ้าอ้อมที่ผีนำออกมาตาก จึงเรียกกันว่า ผีตากผ้าอ้อม (1) | |
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:27:45 |
ความคิดเห็นที่ 3 (1835887) | |
![]() รูป โป๊ะ จับปลาทู (2) โป๊ะ คือ เครื่องมือจับปลาพื้นบ้าน ซึ่ง เป็นเครื่องมือจับปลาประจำที่ (ไม่สามารถถือเคลื่อนย้ายไปมาได้ แต่สามารถนำไปประกอบหรือลงหลักใหม่ได้) ประกอบด้วยส่วนของลูกขังที่มีลักษณะเป็นรูปทรงต่าง ๆ มีส่วนปีกเป็นทางน้ำให้สัตว์น้ำเข้าสู่ลูกขัง ชาวประมงพื้นบ้านนิยมใช้โป๊ะเป็นเครื่องมือจับปลามาช้านานในทะเล (3) เมื่อทราบที่มาของสำนวน ปลาทูเข้าโป๊ะ ผีตากผ้าอ้อม ผู้เขียนจึงลองวิเคราะห์กวีนิพนธ์ เราชนะแล้วแม่จ๋า ของอัศนี พลจันทร (นายผี) ท่อนที่ว่า ดวงใจอันไกรเกรียง เป็นแสนเสี่ยงอยู่รอรา มือกำและน้ำตา ก็ตกพรากอยู่พลั่งพรู กัดฟันตัวสั่นเทิ้ม เม็ดเหื่อเยิ้มอยู่ดาษดู สองตาดั่งปลาทู- เข้าโป๊ะ พรืด นภาดล หน้าซีดบ่มีสี- โลหิตแล้ว และเหลืองกล- ผีตากผ้าอ้อม สน- ธยา ย้อมระยับแสง สงสารเอยโอ้ดวงใจ อันเกรียงไกรก็อ่อนแรง ดุจดวงตะวันแดง จะลับเลื่อนลงรอนรอน (อัศนี พลจันทร.รวมบทกวีนายผี : อัศนี พลจันทร.--พิมพ์ครั้งที่ 1.--กรุงเทพฯ : สามัญชน, 2541 หน้า 522) จากการวิเคราะห์ กวีนิพนธ์ เราชนะแล้วแม่จ๋า ของอัศนี พลจันทร (นายผี) พบว่า นายผีใช้การอุปมาอุปไมยว่านางเอก ร้องไห้ จนตาแดง อมสีส้ม ๆ เหมือน ท้องฟ้ายามโพล้เพล้ หรือที่คนโบราณทางภาคใต้เรียกว่า ปลาทูเข้าโป๊ะ คนทางภาคกลางเรียกว่า ผีตากผ้าอ้อม (ท้องฟ้ามีสีแดงๆ อมส้ม) ผู้เขียน สันนิษฐานว่า สำนวน ผีตากผ้าอ้อม นี้มีที่มาจาก | |
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:29:27 |
ความคิดเห็นที่ 4 (1835888) | |
![]() รูป โป๊ะ จับปลาทู (2) โป๊ะ คือ เครื่องมือจับปลาพื้นบ้าน ซึ่ง เป็นเครื่องมือจับปลาประจำที่ (ไม่สามารถถือเคลื่อนย้ายไปมาได้ แต่สามารถนำไปประกอบหรือลงหลักใหม่ได้) ประกอบด้วยส่วนของลูกขังที่มีลักษณะเป็นรูปทรงต่าง ๆ มีส่วนปีกเป็นทางน้ำให้สัตว์น้ำเข้าสู่ลูกขัง ชาวประมงพื้นบ้านนิยมใช้โป๊ะเป็นเครื่องมือจับปลามาช้านานในทะเล (3) เมื่อทราบที่มาของสำนวน ปลาทูเข้าโป๊ะ ผีตากผ้าอ้อม ผู้เขียนจึงลองวิเคราะห์กวีนิพนธ์ เราชนะแล้วแม่จ๋า ของอัศนี พลจันทร (นายผี) ท่อนที่ว่า ดวงใจอันไกรเกรียง เป็นแสนเสี่ยงอยู่รอรา มือกำและน้ำตา ก็ตกพรากอยู่พลั่งพรู กัดฟันตัวสั่นเทิ้ม เม็ดเหื่อเยิ้มอยู่ดาษดู สองตาดั่งปลาทู- เข้าโป๊ะ พรืด นภาดล หน้าซีดบ่มีสี- โลหิตแล้ว และเหลืองกล- ผีตากผ้าอ้อม สน- ธยา ย้อมระยับแสง สงสารเอยโอ้ดวงใจ อันเกรียงไกรก็อ่อนแรง ดุจดวงตะวันแดง จะลับเลื่อนลงรอนรอน (อัศนี พลจันทร.รวมบทกวีนายผี : อัศนี พลจันทร.--พิมพ์ครั้งที่ 1.--กรุงเทพฯ : สามัญชน, 2541 หน้า 522) จากการวิเคราะห์ กวีนิพนธ์ เราชนะแล้วแม่จ๋า ของอัศนี พลจันทร (นายผี) พบว่า นายผีใช้การอุปมาอุปไมยว่านางเอก ร้องไห้ จนตาแดง อมสีส้ม ๆ เหมือน ท้องฟ้ายามโพล้เพล้ หรือที่คนโบราณทางภาคใต้เรียกว่า ปลาทูเข้าโป๊ะ คนทางภาคกลางเรียกว่า ผีตากผ้าอ้อม (ท้องฟ้ามีสีแดงๆ อมส้ม) ผู้เขียน สันนิษฐานว่า สำนวน ผีตากผ้าอ้อม นี้มีที่มาจาก | |
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:30:04 |
ความคิดเห็นที่ 5 (1835890) | |
1.ขอให้ท่านผู้อ่าน นึกถึงภาพ ขี้ หรืออุจาระ ว่ามีสีอะไร ใช่แล้ว สีเหลือง ไม่ก็ สีส้ม ซึ่งในสมัยที่ผู้เขียนยังเป็นเด็ก เคยแกล้งน้องเมื่อเห็นน้องชายกำลัง รับประทาน ขนมแกงบวชฟักทอง ซึ่งมีสีเหลืองๆ ว่า กินขี้อยู่เหรอ น้องชายถึงกับร้องไห้วิ่งไปฟ้องแม่ ดังนั้น ขี้ หรืออุจาระ ในมโนสำนึกของคนไทยจึง มีสี เหลือง ไม่ก็สีส้ม สำนวนผี ตากผ้าอ้อม นี้ ผู้เขียนสันนิษฐานว่า คนโบราณใช้เรียก ผ้าอ้อมเด็ก ซึ่งเปื้อนอุจจาระเด็กอ่อนจนมีสี เหลืองๆ ส้มๆ แม้นว่าจะซักตากแล้วก็ตาม คงเป็นเพราะในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีผงซักฝอก จึงทำให้ผ้าอ้อมที่ซักตากนั้นเมื่อใช้บ่อยๆ เข้าก็จะมีสีเหลืองอมส้ม สีของผ้าอ้อมเด็กที่ตาก นี่เอง ถูกนำมาเป็นสำนวนในการใช้เรียกท้องฟ้า ในยามโพล้เพล้ซึ่งมีสีเหลืองอมส้มว่า เป็นท้องฟ้าในช่วงเวลาที่ ผี(มา)ตากผ้าอ้อม ด้วยเพราะในสมัยโบราณวิทยาศาสตร์ยังไม่ก้าวหน้า คนโบราณจึงพยามอธิบายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติโดยอิงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ฟ้าร้อง เพราะเกิดจาก รามสูร ขว้างขวาญ ฟ้าแลบ เพราะเกิดจากนางเมขลา โยนลูกแก้ววิเศษเล่น
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:31:58 |
ความคิดเห็นที่ 6 (1835894) | |
อนึ่ง พระเดชพระคุณ พระมหาชัยวุธ ฐานุตฺตโม ได้สอบถามผู้เขียน ถึงกวีนิพนธ์เราชนะแล้วแม่จ๋า ของอัศนี พลจันทร (นายผี) ไว้ในอนุทิน BM.chaiwut | |
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:37:45 |
ความคิดเห็นที่ 7 (1835895) | |
![]() | |
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:38:35 |
ความคิดเห็นที่ 8 (1835897) | |
ผู้เขียนสันนิษฐานว่า คำว่า สงสาร/สังสาร/สํสาร ซึ่งปรากฎในกวีนิพนธ์นั้น มีรากศัพท์เดียวกัน แต่ทว่า คำว่า สงสาร และ สังสาร ถูกนำมาใช้ในสองความหมาย นั่นคือ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:41:38 |
ความคิดเห็นที่ 9 (1835899) | |
สํฐาน=สัณฐาน สงสาร ๑, สงสาร [สงสาน, สงสาระ] น. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด;
กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้ กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย และคำ กาวฺย หรือ กาพฺย มาจากคำ กวี กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต กวิ แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่น ได้อีก คำ กวิ หรือ กวี มาจากรากศัพท์เดิม คือ กุ (ธาตุ/prefix) แปลว่า เสียง ว่าทำให้เกิดเสียง ว่าร้อง ว่าร้องระงม ว่าคราง ว่าร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง | |
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:43:54 |
ความคิดเห็นที่ 10 (1835900) | |
ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao | |
ผู้แสดงความคิดเห็น kelvin วันที่ตอบ 2008-09-12 09:45:46 |
ความคิดเห็นที่ 11 (1835912) | |
ความคิดเห็นที่ 8 และ 9 โพสซ้ำกันในด้านเนื้อหาเพราะเวลาโพสต้องแยกโพส จึงทำให้โพสเนื้อหาซ้ำครับผู้ที่สนใจอ่านสามารถเข้าไปอ่านที่ bloggang . com หรือ gotoknow . net ได้เพราะจะทำการแก้ไขคำผิด ไว้ด้วย | |
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-09-12 10:09:47 |
ความคิดเห็นที่ 12 (2106555) | |
lv replica wallets for men lv handbags a pain to fit more items into and louis vuitton black purse or business briefcase louis vuitton handbags lv. | |
ผู้แสดงความคิดเห็น cindy (monza-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-10 18:20:33 |
[1] |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
Visitors : 826468 |