ReadyPlanet.com


โคลงตรีพิธพรรณ


 กุหลาบแท้ (โคลงตรีพิธพรรณ)

....กุหลาบสื่อรักไซร้.................ใช่ฤๅ
แปลงแต่งถือมรรคา..................เพื่อค้า
เมตตาสัตย์สุภาพคือ...................แกนแก่น
รักช่วยเหลือผองหล้า................กุหลาบแท้สยบสวรรค์

....พลันกลิ่นกรุ่นกุหลาบแท้........หอมขจาย
รู้รักสลายทุกข์รุม....................โลกหล้า
สันติสงบโปรยปราย.................ระรื่นชื่น
สวรรค์เคลื่อนเลื่อนจากฟ้า..........สิ่งสร้างสุขสันต์


*** ระวัง! อย่าสับสนกับ โคลงดั้นตรีพิธพรรณ ครับ
โคลงตรีพิธพรรณ เป็น โคลงสุภาพ เพียงเลื่อนสัมผัส
บาทสอง จาก คำที ๕ เป็น คำที่ ๓
และแต่งเพียง บทเดียว ได้ครับ



ผู้ตั้งกระทู้ share :: วันที่ลงประกาศ 2016-03-15 16:22:44


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3963066)

 โคลงสี่ดั้น ต่างจาก โคลงสี่สุภาพ ที่สำคัญคือ

๑) ต้องแต่งอย่างน้อย ๒ บท

๒) โคลงสี่ดั้น บังคับ เอก ๗ โท ๔ เหมือนโคลงสี่สุภาพ
ต่างที่ โท ในวรรคท้าย บาทที่ ๔ ย้ายมาอยู่ วรรคหน้า เกิด โทคู่
และเราอาจเพิ่มความไพเราะได้โดย สัมผัสสระ หรือ สัมผัสอักษร

๓) การมี โทคู่ ทำให้เกิดคล่องตัวในการ รับสัมผัส
โดยอาจรับที่ คำที่ ๔ หรือ คำที่ ๕ ก็ได้

โคลงดั้นตรีพิธพรรณ

....การเมืองจริงแน่แท้.............เรื่องคน
เข้าร่วมสร้างสังคม..................สุขแท้
เมตตารักผองชน.....................คือหลัก
หน้าที่เลิศแล้ ”พร้อม...............รับใช้”

....การเมืองใช่เข้าร่วม..............กอบโกย
ประโยชน์ได้แต่ตน...................พวกพ้อง
เงินทองเกียรติได้โดย..............สุจริต
ปวงเทพประชาซ้องร้อง............สดุดี

 

คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๕ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นวิวิธมาลี
คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๔ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๓ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นตรีพิธพรรณ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น share วันที่ตอบ 2016-03-15 16:30:57


ความคิดเห็นที่ 2 (3963851)

 โคลงดั้น วิวิธมาลี
รักจริง....ให้อภัย

....รักจริงจักเปี่ยมล้น..............ให้อภัย
ผิดจึ่งละจดจำ.......................มากน้อย
ชั่วใช่ปล่อยปะไป...................อาละวาด
คุมแนะ-ตะล่อมคล้อย-โน้ม.......สู่ธรรม

....ลงทัณฑ์โทษใช่แก้............ปัญหา
สอนสั่ง”ปันรัก”นำ..................ชั่วพ้น
“แบบอย่าง”ดุจดารา................กระจ่างจิต
พลาดผิดทุกข์ท้นแท้...............เมตตา

คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๕ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นวิวิธมาลี
คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๔ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
คำท้ายสุดของบทแรก ส่งสัมผัสไปที่ คำที่ ๓ บาทที่ ๒ ของบทถัดไป จะเรียก โคลงดั้นตรีพิธพรรณ

ผู้แสดงความคิดเห็น share วันที่ตอบ 2016-03-16 13:52:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.