ReadyPlanet.com


O เพลงซอ ที่ รอสี...O


.

วสันตดิลกฉันท์ ๑๔

O ศัพท์แสงแสดง-ทิ-ฐิ-วิ-กฤต
ระ-บุ-มิจฉะมากมาย
ลูบคลำพระธรร-มะ-อ-ภิ-ปราย-
ระ-บุ-คล้ายจะเคยเห็น

O กาลามะสู-ต-ระ-ประ-การ
พระ-ประ-ทานเสมอเป็น -
หลัดยึดประพฤติ-ท-ศะ-ประ-เด็น
ฤ-จะ-เร้นจะเลือนสูญ

O เขาว่า..เพาะสา-ว-กะ-ส-ภาพ
ประ-ลุ-คาบทวีคูณ
เหนี่ยวรั้งพลัง-ฐิ-ติ-วิ-ทูร
ก-ละ-กูณฑะมอดเชื้อ

O เกรงว่าจะหา-ย-นะ-พระ-ศาสน์
เพราะ-ประ-ภาษะคลุมเครือ
ลุ่มหลงพะวง-ภ-พะ-อะ-เคื้อ
อรร-ถะ-เพรื่อสิพร่ำเผย

O ไพศาลประการ-อ-ริ-ยะ-วาท
จะ-ป-ลาตะล่วงเลย
เกรงเขลาคละเคล้า-บ-ทะ-เฉลย
น-ยะ-เปรยจะปลอมปน

O ยากเย็นประเด็น-อ-ริ-ยะ-สัจจ์
ภ-วะ-วัฏฏะเวียนวน
เสกสรรคะคัน-ถะ-อ-นุ-สน-
ธิ-วิ-กลวิการเขียน

O กำจายสยายอุ-บั-ติ-จิต
ระ-บุ-ทิศะดุจเธียร
รอบกรรมะนำ-ภ-วะ-เสถียร
นิ-ระ-เปลี่ยนกระทั่งปลาย

O เห็นไกลกระไร-นั-ย-นะ-ทิพย์
กระ-แดะ-หยิบมุบรรยาย
เกรงว่าจะพา-ข-ยะ-ข-จาย
มรร-คะ-ปลายจะเปล่าเปลือง

O เหตุต้น .. เพาะผล-กรร-มะ-กระ-ทบ
ด-ละ-ภพะรองเรือง
สัมผัสกระหวัด-ร-สะ-เมลือง
ทะ-นุ-เนื่องเขษมสันต์

O การณ์เหตุและเจ-ต-นะ-ผ-จง
อุ-ป-สงคะร่วมกัน
ก่อกรรมะนำ-ทุ-ก-ระ-ทัณ-
ฑะ-ผ-ชันเผชิญชนม์

O กรรมเหตุและเด-ชะ-จะ-ส-ลาย
ก็-เพราะ-คลายระดับ..ตน..
รู้วัตรขจัด-อ-ดุ-ระ-ผล
ละ-ก-มละพ้นหมอง

O เพียงคุมผชุม-จิ-ตะ-ส-มา-
ธิ-ส-ภาวะตามตรอง
ใคร่ครวญชนวน-มุ-หะ-ละ-ออง
เฉพาะต้องจะตัดเตียน

O ติดหล่มเพราะสม-มุ-ติ-พิ-การ
วิ-ญ-ญาณะจำเนียร
สิ้นร่าง บ่ ร้าง-ภ-วะ-เสถียร
จะ-ผละ-เปลี่ยนและเวียนไป

O ดวงเดียวจะเหนี่ยว-อ-ม-ระ-ภาค
กระ-แหนะ-พากย์เพราะอำไพ
ลอยลิบกระพริบ-บ-ทะ-ไสว
ภ-พะ-ใหม่ตะบึงมอง

O แห่ตามเพราะพราห-ม-ณะ-ประ-สิทธิ์
นิ-ร-มิตะรับรอง
อวลอรรถเพาะปรั-ช-ญะ-ส-นอง
ผิ-วะ-ต้องก็เป็นตาย

O กาลล่วงก็ห่วง-ทิ-ฐิ-พิ-สุทธิ์
ธรร-มะ-พุทธจะเปล่าดาย
แผกผันเพาะคัน-ถะ-อ-ภิ-ปราย
อ-ธิ-บายะเบี่ยงเบน

O หลงมุขะยุค-อุ-ป-นิ-ษัท
พิ-เคราะห์-อรรถะโอนเอน
หลงรสประพจน์-อุ-ต-ริ-เถร
ด-ละ-เวระแฝงไว้

O แยบคายอุบาย-มุ-สะ-ประ-โยค
ระ-บุ-โลกะครรไล
พรางปมเพาะสม-มุ-ติ-พิ-สัย
ระ-บุ-ให้พิกลเห็น

O แปลกตอนสะท้อน-ร-หั-สะ-วา-
ก-ยะ-พาหะแผกเพ็ญ
ข้ามภพบ่จบ-ประ-ทุ-ษะ-เข็ญ
ต-ละ-"เป็น"เพราะกรรมปรุง

O เหตุนำเพราะคัม-ภิ-ระ-ก-ถา
อรร-ถะ-ราชะอำรุง
ภาษปวงพระร่วง-ลิ-ขิ-ตะ-ฟุ้ง
ก-ละ-รุ้งจรัสเหลือ

O ต้นเงื่อนเสมือน….วิ-สุ-ทธิ์-มรรค
เพราะ-ประ-จักษะจุนเจือ -
คลี่คลายสยาย-ภ-พะ-อะ-เคื้อ
ต-ละ-เหยื่อก็พร้อมยิน

O เหตุร้อน ณ ก่อน-ม-ร-ณะ-กาล
ฤ-จะ-ผ่านทลายภินท์
ย้อนสางมล้าง-ภ-วะ-อ-จิน-
ต-ยะ-สิ้นจะได้หรือ ?

O เมื่อเหตุเภท-ด-ละ-ประ-ภพ
ฤ-จะ-กลบซะด้วยมือ
รูปนาม ฤ ข้าม-ภ-พะ-กระ-พือ
ประ-ลุ-รื้ออดีตกรรม

O การณ์ใดกระไร-ด-ละ-เพราะเหตุ
บ-ริ-เฉทะเนื่องนำ -
ส่งผลทุรน-อ-ดุ-ระ-ล้ำ
ฤ-จะ-ห้ำประหัตหาย

O ความดับระงับ-ฤ-จะ-ประ-สบ
ผิ-วะ-ภพะวอดวาย
หนทางจะล้าง-ทุ-ระ-ส-ลาย
ฤ-จะ-หมายจะมองไหน ?

O เหตุ-ผล ณ บน-ระ-ยะ-ระ-หว่าง
ภ-พะ-ต่างจะอย่างไร ?
หรือเพียงจะเบี่ยง-ทิ-ฐิ-พิ-สัย
ระ-บุ-ไว้เพราะสับสน

O มืดมัวสลัว-รั-ฐะ-ไผท
ม-ติ-ไหนก็จำนน
แซ่ศัพท์สดับ-จิ-ตะ-ฉ-งน
เสนาะพ้นวิหคไพร !

O แม้นห้วงอรรณพนั้น - - - ไพศาล
ใช่กักทุกข์ทรมาน - - - หมดสิ้น
แต่อบายจดพรหมสถาน - - - ถ้วนหมู่
นับเนื่องเพียงกระผีกริ้น - - - รอด, พร้อม-นฤพาน !
วสันตดิลกฉันท์ ๑๔

O ศัพท์แสงแสดง-ทิ-ฐิ-วิ-กฤต
ระ-บุ-มิจฉะมากมาย
ลูบคลำพระธรร-มะ-อ-ภิ-ปราย-
ระ-บุ-คล้ายจะเคยเห็น

O กาลามะสู-ต-ระ-ประ-การ
พระ-ประ-ทานเสมอเป็น -
หลัดยึดประพฤติ-ท-ศะ-ประ-เด็น
ฤ-จะ-เร้นจะเลือนสูญ

O เขาว่า..เพาะสา-ว-กะ-ส-ภาพ
ประ-ลุ-คาบทวีคูณ
เหนี่ยวรั้งพลัง-ฐิ-ติ-วิ-ทูร
ก-ละ-กูณฑะมอดเชื้อ

O เกรงว่าจะหา-ย-นะ-พระ-ศาสน์
เพราะ-ประ-ภาษะคลุมเครือ
ลุ่มหลงพะวง-ภ-พะ-อะ-เคื้อ
อรร-ถะ-เพรื่อสิพร่ำเผย

O ไพศาลประการ-อ-ริ-ยะ-วาท
จะ-ป-ลาตะล่วงเลย
เกรงเขลาคละเคล้า-บ-ทะ-เฉลย
น-ยะ-เปรยจะปลอมปน

O ยากเย็นประเด็น-อ-ริ-ยะ-สัจจ์
ภ-วะ-วัฏฏะเวียนวน
เสกสรรคะคัน-ถะ-อ-นุ-สน-
ธิ-วิ-กลวิการเขียน

O กำจายสยายอุ-บั-ติ-จิต
ระ-บุ-ทิศะดุจเธียร
รอบกรรมะนำ-ภ-วะ-เสถียร
นิ-ระ-เปลี่ยนกระทั่งปลาย

O เห็นไกลกระไร-นั-ย-นะ-ทิพย์
กระ-แดะ-หยิบมุบรรยาย
เกรงว่าจะพา-ข-ยะ-ข-จาย
มรร-คะ-ปลายจะเปล่าเปลือง

O เหตุต้น .. เพาะผล-กรร-มะ-กระ-ทบ
ด-ละ-ภพะรองเรือง
สัมผัสกระหวัด-ร-สะ-เมลือง
ทะ-นุ-เนื่องเขษมสันต์

O การณ์เหตุและเจ-ต-นะ-ผ-จง
อุ-ป-สงคะร่วมกัน
ก่อกรรมะนำ-ทุ-ก-ระ-ทัณ-
ฑะ-ผ-ชันเผชิญชนม์

O กรรมเหตุและเด-ชะ-จะ-ส-ลาย
ก็-เพราะ-คลายระดับ..ตน..
รู้วัตรขจัด-อ-ดุ-ระ-ผล
ละ-ก-มละพ้นหมอง

O เพียงคุมผชุม-จิ-ตะ-ส-มา-
ธิ-ส-ภาวะตามตรอง
ใคร่ครวญชนวน-มุ-หะ-ละ-ออง
เฉพาะต้องจะตัดเตียน

O ติดหล่มเพราะสม-มุ-ติ-พิ-การ
วิ-ญ-ญาณะจำเนียร
สิ้นร่าง บ่ ร้าง-ภ-วะ-เสถียร
จะ-ผละ-เปลี่ยนและเวียนไป

O ดวงเดียวจะเหนี่ยว-อ-ม-ระ-ภาค
กระ-แหนะ-พากย์เพราะอำไพ
ลอยลิบกระพริบ-บ-ทะ-ไสว
ภ-พะ-ใหม่ตะบึงมอง

O แห่ตามเพราะพราห-ม-ณะ-ประ-สิทธิ์
นิ-ร-มิตะรับรอง
อวลอรรถเพาะปรั-ช-ญะ-ส-นอง
ผิ-วะ-ต้องก็เป็นตาย

O กาลล่วงก็ห่วง-ทิ-ฐิ-พิ-สุทธิ์
ธรร-มะ-พุทธจะเปล่าดาย
แผกผันเพาะคัน-ถะ-อ-ภิ-ปราย
อ-ธิ-บายะเบี่ยงเบน

O หลงมุขะยุค-อุ-ป-นิ-ษัท
พิ-เคราะห์-อรรถะโอนเอน
หลงรสประพจน์-อุ-ต-ริ-เถร
ด-ละ-เวระแฝงไว้

O แยบคายอุบาย-มุ-สะ-ประ-โยค
ระ-บุ-โลกะครรไล
พรางปมเพาะสม-มุ-ติ-พิ-สัย
ระ-บุ-ให้พิกลเห็น

O แปลกตอนสะท้อน-ร-หั-สะ-วา-
ก-ยะ-พาหะแผกเพ็ญ
ข้ามภพบ่จบ-ประ-ทุ-ษะ-เข็ญ
ต-ละ-"เป็น"เพราะกรรมปรุง

O เหตุนำเพราะคัม-ภิ-ระ-ก-ถา
อรร-ถะ-ราชะอำรุง
ภาษปวงพระร่วง-ลิ-ขิ-ตะ-ฟุ้ง
ก-ละ-รุ้งจรัสเหลือ

O ต้นเงื่อนเสมือน….วิ-สุ-ทธิ์-มรรค
เพราะ-ประ-จักษะจุนเจือ -
คลี่คลายสยาย-ภ-พะ-อะ-เคื้อ
ต-ละ-เหยื่อก็พร้อมยิน

O เหตุร้อน ณ ก่อน-ม-ร-ณะ-กาล
ฤ-จะ-ผ่านทลายภินท์
ย้อนสางมล้าง-ภ-วะ-อ-จิน-
ต-ยะ-สิ้นจะได้หรือ ?

O เมื่อเหตุเภท-ด-ละ-ประ-ภพ
ฤ-จะ-กลบซะด้วยมือ
รูปนาม ฤ ข้าม-ภ-พะ-กระ-พือ
ประ-ลุ-รื้ออดีตกรรม

O การณ์ใดกระไร-ด-ละ-เพราะเหตุ
บ-ริ-เฉทะเนื่องนำ -
ส่งผลทุรน-อ-ดุ-ระ-ล้ำ
ฤ-จะ-ห้ำประหัตหาย

O ความดับระงับ-ฤ-จะ-ประ-สบ
ผิ-วะ-ภพะวอดวาย
หนทางจะล้าง-ทุ-ระ-ส-ลาย
ฤ-จะ-หมายจะมองไหน ?

O เหตุ-ผล ณ บน-ระ-ยะ-ระ-หว่าง
ภ-พะ-ต่างจะอย่างไร ?
หรือเพียงจะเบี่ยง-ทิ-ฐิ-พิ-สัย
ระ-บุ-ไว้เพราะสับสน

O มืดมัวสลัว-รั-ฐะ-ไผท
ม-ติ-ไหนก็จำนน
แซ่ศัพท์สดับ-จิ-ตะ-ฉ-งน
เสนาะพ้นวิหคไพร !

O แม้นห้วงอรรณพนั้น - - - ไพศาล
ใช่กักทุกข์ทรมาน - - - หมดสิ้น
แต่อบายจดพรหมสถาน - - - ถ้วนหมู่
นับเนื่องเพียงกระผีกริ้น - - - รอด, พร้อม-นฤพาน !
 

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&month=09-2005&date=23&group=10&gblog=9



ผู้ตั้งกระทู้ สดายุ :: วันที่ลงประกาศ 2013-07-12 06:30:37


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2386136)

 

                            เบื้องหล้ง การอุบัติของพุทธศาสนา มีจุดประสงค์เพื่อการดับทุกข์ ของสัตว์โลกอย่างเดียว

หรือมีเหตุผลอื่นแอบแฝงด้วยหรือไม่ อันนี้ ไม่ทราบ เพราะไม่เคยศีกษาค้นคว้าถึงขนาดนั้น

                      แต่พอศาสนานี้ดำรงอยู่มาได้สักระยะหนึ่ง พุทธศาสนาจะถูกใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง

ของกษัตริย์ในการปกครองประชาชน จึงเริ่มมีเหตุผลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำรงอยู่ของ

ศาสนา ในเมืองไทยที่เห็นชัดเจน คือการแต่ง ไตรภูมิพระร่วง ในสมัยสุโขทัย  เพื่อให้ไพร่ฟ้ากลัวต่อการ

กระทำชั่ว ง่ายต่อการปกครอง สร้างความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง

                      ในการสังคายนาพระไตรปิฎกแต่ละครั้ง จะอยู่ในความอุปถัมภ์ของกษัตริย์ ซึ่งแน่นอนว่า

ความในพระไตรปิฏกจะต้องมีกุศโลบายทางการเมืองปนเปื้อนอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย เพื่อสนองตอบพระ

ราชประสงค์ของกษัตริย์ ในระยะเวลานั้นๆ

                       การแข่งขันกันระหว่างศาสนาต่างๆ ก็เป็นอีกผลหนื่งที่ทำให้พุทธวัจนะถูกบิดเบือน

โดยเฉพาะ ระหว่างพุทธกับพราหมณ์ ทั้งในยุคพระเวทย์ และยุคอุปนิษัท ซื่งแปลงโฉมมาเป็นอินดู

เคยได้ยินมาว่า แต่เดิม พระอินทร์ เป็นเทพสูงสุดของพราหมณ์  ต่อมามีการสร้างเรื่องให้พระอินทร์ลงมา

ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าพราหมณ์ด้อยกว่าพุทธ เพราะแม้แต่เทพสูงสุดยังต้องให้

พระพุทธเจ้าโปรด ต่อมาเมื่อถีงยุคอุปนิษัท ฮินดู จีงได้สร้างเทพสูงสุดขื้นมาใหม่ 3 องค์ ให้ยิ่งใหญ่กว่า

พระอินทร์ คือ พระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ รวมเรียกว่า ตรีมูรติ โดยให้พระนารายณ์มีหน้าที่

พิทักษ์โลก อวตารลงมาปราบมารในปางต่างๆ มีอยู่ปางหนื่งอวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า

พุทธาวตาร จืงถือเป็นการ เอาคืน ของศาสนาพราหมณ์ ที่แสดงให้เห็นว่าพุทธด้อยกว่าพราหมณ์ แม้

กระทั่งศาสดายังเป็นเพียงปางเดียวของหนื่งในสามแห่งองค์ตรีมูรติ และการแข่งขันนี่เองทำให้เกิดเรื่อง

ราวอภินิหารสารพัดตกค้างอยู่ในพระไตรปิฎก โดยเชื่อกันว่าหากให้พระพุทธเจ้าเป็นเพียงคนธรรมดาที่มีดี

เพียงพ้นทุกข์ การเผยแพร่ศาสนาจะขาดเรื่องเร้าใจ สู้ศาสนาพราหมณ์ไม่ได้

                      อีกเหตุผลหนื่งของเรื่องราวปนเปื้อน ในพุทธศาสนา เชื่อกันว่าพระสงฆ์ส่วนหนึ่งในยุคต้นๆ

เคยเป็นพราหมณ์มาก่อน เมื่อมานับถือศาสนาพุทธแล้วก็ยังละความเชื่อเดิมได้ไม่หมด และเป็นพระสงฆ์

ที่มีบทบาทในการเขียนอรรถกถา เช่น ผู้เขียนวิสุทธิมรรค คือพระพุทธโฆษาจารย์ (หรือไม่ ไม่แน่ใจ ใคร

แม่นช่วยบอกด้วย จะเป็นพระคุณ) ก็เคยป็นพราหมณ์มาก่อน เป็นต้น เรื่องราวเหนือธรรมชาติของ

พราหมณ์ จีงมาปะปนอยู่ในการอธิบายหลักธรรมในพระพุทธศาสนา  และสืบทอดเป็นวัฒนธรรมพุทธ

ผสมพราหมณ์มาจนถีงปัจจุบัน ดังนี้แล

               อย่างไรก็ตามหากศีกษาคำสอนของพราหมณ์ ก็ถือว่าว่าเป็นคำสอนที่ดีศาสนาหนี่ง แต่ต้อง

ศีกษาลงไปลีกในระดับปรัชญา ไม่ไปยีดติดอยู่กับบุคลาธิษฐานพวกอิทธิฤทธิของทวยเทพ แต่สูง

สุดของคำสอนจะต่างจากพุทธศาสนา เช่นพราหมณ์จะสอนเรื่องความมีของตัวตน คือปรมาตมัน

ในขณะที่พุทธสอนเรื่องความไม่มี คือ อนัตตา ส่วนในระดับศีลธรรมก็ถือเป็นคำสอนที่ดีเหมือนศาสนา

อี่นๆ

                แสดงทัศนะเล่นๆ เพื่อให้เข้ากับวิจิตรกวีของท่าน สดายุ ผิดถูกอย่างไร ท่านสดายุช่วยชี้แนะด้วยครับ       

                                                                                                                คารวะ

                                                                                                                นายเงา

 

 

                    

ผู้แสดงความคิดเห็น นายเงา วันที่ตอบ 2013-07-13 15:24:39


ความคิดเห็นที่ 2 (2386257)

สวัสดีครับนายเงา ..

ต้องนับว่าถูกคนจริงๆ .. น่าจะไปคุยในตรรกะวิภาษกับผมซะนานแล้ว..

เรื่องของ"พรหม" ผมเคยเขียนไว้สักพักมาแล้ว ว่าความหมายในพุทธวจนะนั้น คำว่า เทพ พรหม อาเนญชา อริยะ คืออย่างไร .. ตามลิงค์นี้ครับ .. http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&month=03-2013&date=25&group=164&gblog=36

เรื่องพุทธโฆษาจารย์ เป็นพราหมณ์มาก่อนจะมาบวชในพุทธศาสนา และเป็นผู้เขียน วิสุทธิมรรค ที่นายเงาพูดมานั้นถูกต้องแล้วครับ .. เป็นอย่างนั้น ท่านเป็นชาวอินเดีย แต่ไปมีชื่อเสียงในลังกา และมีอิทธิพลต่อพุทธเถรวาทแทบทั้งหมด .. จนท่านพุทธทาสขออาสาเอา"ไม้ซีกงัดไม้ซุง" เมื่อครั้งที่แสดงธรรมบรรยายในหัวข้อ "หลักปฏิบัติเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท" ตามลิงค์นี้ครับ .. http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sdayoo&month=08-01-2013&group=82&gblog=233

ส่วนจุดสูงสุดของปรัชญาพราหมณ์คือการบำเพ็ญพฤติจนพา "อาตมัน" เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ "บรมอาตมัน หรือ ปรมาตมัน" อันเป็นสิ่งสูงสุดยืนโรงของจักรวาล .. การบำเพ็ญพฤติเหล่านี้ย่อมมีแตกต่างแยกย่อยลงไปหลากหลายนิกาย หลากหลายวิธี ตั้งแต่การบูชาไฟของพวกชฎิล การทรมานกายในแนวทางของโยคี โยคะ ..

อาตมันคือตัวตน เป็นตัวที่วนเวียน เลื่อนไหล  ขณะที่ อนัตตาของพุทธ คือ ความไม่มีตัวตนและการหยุดหมุนเวียนเลื่อนไหล ดังนั้นแนวคิดของวิญญาณเวียนเกิดเวียนดับ จึงไม่สอดรับกับการหยุดหมุนเวียนเลื่อนไหลของพุทธ แต่กลับสอดรับกับการวนเวียนเลื่อนไหลของพราหมณ์ .. ภาวะที่กำลังสังขารไม่อาจนิ่งเฉยต่อการกระทบสัมผัสทางวิญญาณทั้ง 6 .. คือวงเวียนแห่งทุกข์

ประเด็นนี้เคยเขียนไว้เหมือนกัน ครับ .. http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&month=06-2012&date=29&group=164&gblog=27

ผู้แสดงความคิดเห็น สดายุ วันที่ตอบ 2013-07-13 23:05:38


ความคิดเห็นที่ 3 (2386504)

                           -มองผ่านๆ หลายคนเข้าใจว่า ท่านพุทธทาส ไม่ยอมรับพระพุทธโฆษาจารย์ ในลักษณะ

คอยหักล้าง สร้างความขุ่นเคืองให้ผู้ศึกษาพระอภิธรรมเป็นอย่างยิ่ง ความจริงในหนังสือ หรือคำพูดใน

หลายๆคราวของท่านพุทธทาส ท่านยอมรับนับถือความอัจฉริยะของพระพุทธโฆษาจารย์มาก เพียงแต่

ไม่เห็นด้วย ในเรื่องการอธิบายปฏิจจสมุปบาท และบางส่วนซี่งเป็นส่วนน้อยเท่านั้นเอง ส่วนใหญ่ยอมรับ

ว่าถูกต้อง ส่วนเรื่องที่ท่านพุทธทาสไม่เห็นด้วย ความจริงไม่ใช่เฉพาะท่านพุทธทาสเท่านั้น ยังมีปราชญ์

ทางพุทธศาสนาท่านอื่นๆ ก็ไม่เห็นด้วยในส่วนนี้ เพียงแต่การแสดงออกไม่บูมเหมือนท่านพุทธทาส ซึ่งมี

บุคลิกเป็นซุปตาร์ เลยกลายเป็นว่าผู้ศึกษาพระอภิธรรม ต่อต้านคำสอนสวนโมกข์ จริงๆแล้วเรื่องการ

ศีกษาพระธรรมไม่ใช่เรื่องจะมาต่อต้านกัน ผมเองยังคิดจะไปเรียนพระอภิธรรมเลย เพราะตอนนี้ยังไม่รู้

รายละเอียดว่ามันเป็นอย่างไร ติดว่าไม่ค่อยมีเวลา ยังต้องทำมาหากินครับ

                         - ผมคงไม่สามารถ ไป ตรรกวิภาษ กับท่านสดายุได้ เนื่องจากความรู้น้อย ไม่ได้ร่ำเรียน

มาทางศาสนาหรือปรัชญา ทักษะการใช้เหตุผลก็ยังไม่ดี  เอาเป็นว่าถ้าผมเข้าไปทักทายท่านสดายุ ตรง

ไหน เมื่อไหร่ คือการเข้าไปขอความรู้เท่านั้นเอง กรวด กับ เพชร อย่างไรก็แลกเปลี่ยนกันไม่ได้หรอกครับ

                        - เรื่องชื่อ นายเงา ไม่ได้มีนัยยะอะไรสูงส่งขนาดนั้น ผมตั้งขี้นมาตอนอารมณ์เศร้าๆ

มองเห็นเงาตัวเองทอดยาวกลางแดดหม่น ในยามตะวันใกล้ตกดิน มองแล้วเห็นภาพชีวิต

ของตนเองอยู่ในนั้น จึงนำมาตั้งเป็นนามแฝง เท่านั้นเอง ไม่ได้มุ่งหวังไปในทางวิมุติ หรือนิพพาน เพราะ

คงไปไม่ถึง และไม่ได้ต้องการด้วย ความปรารถนาในทางธรรมจะอยู่ในระดับ มีชีวิตอยู่อย่างไม่เบียด

เบียน แค่นี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะไปถีงหรือไม่ เพราะคนเราตรวจสอบตัวเองไม่ได้

                           -ถ้าท่านสดายุจะตอบบทสนทนานี้ ช่วยใช้ตัวอักษรขนาดของผมด้วยนะครับ อ่านแล้ว

จะรู้สีกสบายตากว่าครับ

                                                                                        คารวะ

                                                                                        นายเงา

                                                                                         

           

                    

ผู้แสดงความคิดเห็น นายเงา วันที่ตอบ 2013-07-14 13:56:51


ความคิดเห็นที่ 4 (2386999)

สวัสดีครับนายเงา

ครับ ท่านพุทธทาสพูดยกย่องว่า พระพุทธโฆษาจารย์อธิบายเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ไว้มากมาย และท่านก็เห็นด้วยถึง 95% แต่มีบางเรื่องเช่นปัจจยาการ หรือ ปฏิจจสมุปบาทนี้ รวมทั้งเรื่องโลกวิทู

เพียงแต่ว่า หลักธรรมปฏิจจสมุปบาทนี้ เสมือนเสาหลักแห่งพุทธศาสนา การอธิบายออกทะเลคร่อมภพคร่อมชาติแบบนั้น แถมแทรก"ปฏิสนธิวิญญาณ" ที่ไม่มีในพุทธวจนะเข้ามาด้วย มันแทบจะทำลายความน่าเชื่อถือทั้งหมดลงเสีย .. ด้วยเหตุที่ว่าสิ่งที่พระพุทธองค์ใช้ปัญญาญาณใคร่ครวญจนแทงทะลุในคือวิสาขะนั้นคือ ปฏิจจสมุปบาทนี้เอง ..

การอธิบายหลักการใหญ่แห่งพุทธ ให้กลายเป็นพราหมณ์ นอกจากไม่ใกล้เคียงแล้ว กลับเป็นด้านตรงข้ามกันเลยทีเดียว .. คืออธิบายแบบมีอัตตา ซึ่งทำลายหลัก อนัตตา อันเป็นหนึ่งในสามของไตรลักษณ์ลงโดยตรง ..

การออกตัวของท่านที่ว่า อธิบายตามที่โบราณาจารย์อธิบายมาก่อนแล้ว เราอาจยกประโยชน์ให้ท่านได้ว่าแค่ว่าตามๆกันมา แต่ทำให้น้ำหนักของความเป็นอรหันต์ที่คนยกย่องกันนั้น ยิ่งไม่มีความเป็นไปได้เลย เพราะหากไม่เข้าใจปัจจยาการ จิตนั้นๆย่อมไม่มีโอกาสวิมุติ

.............................

สัสสตทิฏฐิ - ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง; ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐ

ที่มา .. http://www.nkgen.com/ex3.htm#เจริญวิปัสสนา

..............................

คำสอนส่วนมากในสังคมไทยตอนนี้ออกไปในทาง สัสสตทิฏฐิ แทบทั้งสิ้น .. อย่างน่าแปลกใจว่า มหาเถรไม่เคยชี้ถูกชี้ผิดต่อสังคมให้เลิก ละ คำสอนผิดๆเสีย .. องค์กรที่มีแต่พระแก่ๆติดลาภยศมักจัดการเรื่องราวไม่ได้แบบนี้ อย่างน่าเสียดาย และอย่างน่าสงสัยว่าจะตั้งองค์กรอย่างมหาเถรขึ้นมาทำไม ? หรือเพียงเพื่อคอยรับใช้อาณาจักรในเรื่องประเพณี พิธีกรรม เท่านั้นกระมัง

สมัยพระเจ้าอโศก .. จับพระสึกเสียมากมาย โดยเฉพาะที่มีแนวคิดแบบ สัสสตทิฏฐิ หลังจากทำการสอบสวนซักถามแล้ว ก่อนทำสังคายนาครั้งที่ 3 และส่งพระสมณทูตออกเผยแผ่พุทธธรรมทั้ง 9 สาย และสุวรรณภูมิก็เลยได้อานิสงส์นี้จากสายที่ 8 พระโสณะ

หากทำในเมืองไทยตอนนี้ เกรงว่าจะเหลือพระไม่ถึง 20%

และหากไม่ทำ พุทธธรรมจะเรียวเล็กลงไปเรื่อยๆ จนจะเหลือพุทธแท้ไม่ถึง 20% แล้วนอกนั้นก็จะเป็นสัทธรรมปฏิรูปเสียทั้งสิ้น .. ไม่ว่าจะ  ..

ค่ายคลองหลวงเจดีย์หมื่นล้าน .. ค่ายมื้อเดียวเอี่ยวการเมือง .. ค่ายจารีตรับกิจเจิมหัวเครื่องบินการบินไทย (ทรงพัดยศ ศักดินา ราช เทพ ธรรม พรหม สมเด็จ) .. ค่ายมโนมยิทธิ(นิละหนุมาน) .. ค่ายพระเครื่องเขี้ยวขนงาสัตว์เดรัจฉาน .. และแนวกเฬวรากที่ถูกจับสึกเป็นระยะ แบบในรูป .. http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&month=12-2006&date=21&group=10&gblog=14

 

ไม่มีกรวดไม่มีเพชร ครับสำหรับจิตที่ฝักใฝ่เรื่องสัจจธรรม

ด้วยจิตคารวะ

สดายุ

ผู้แสดงความคิดเห็น สดายุ วันที่ตอบ 2013-07-15 22:11:20


ความคิดเห็นที่ 5 (2389164)

 

 

O แด่ .. อริยะภาวะ .. O

 

O แล้วดวงดาวอีกดวงก็ร่วงหล่น
ร่วงลงบน .. อนิจจังแห่งสังขาร
ให้ผู้คนจดจำเป็นตำนาน-
ผู้ล่มลาญวงวัฏฏ์ .. ล้างอัตตา

O อีกภาพการหล่นร่วง ..ใต้ดวงสูรย์
เพรียกโอดอื้นอาดูร .. เพียบพูนหน้า
ละภาพผ่านเลื่อนลั่นในสัญญา
ล้วนคุณค่าแนบในหัวใจชน

O สิ้นภพชาติ .. บรรดาเคยปรากฎ
เพียงกำสรดโศกปวง ..ค่อยร่วงหล่น-
ลงทับถมอาลัย .. ของใจคน-
ผู้ยังวนเวียนว่าย .. เมื่อปลายวัน

O ภาพรูปองค์บรรทมกลางร่มไม้-
พร้อมอาลัยอาดูรเพียบพูนขวัญ-
ผู้แวดล้อมโหยไห้กลางไพรวัลย์-
ก็ฉับพลัน .. วาบสู่ให้รู้คิด

O ว่า .. ย่อมคืออนิจจังแห่งสังขาร
ที่ล่มลาญดับล่วง .. พร้อมดวงจิต
ตามกฎเกณฑ์ท่วงทีของชีวิต
ด้วยเกินบิดเบือนเบี่ยง .. หรือเลี่ยงพ้น

O จึง .. ภาพธรรมในกาลเมื่อผ่านช่วง
คือภาพยามชีพปวง .. นั้นร่วงป่น
ภาพ .. ใบไม้ร่วงตกพลิ้ว .. วก-วน
ต่างฤๅภาพตัวตน .. เมื่อหล่นคว้าง ?

O ใบไม้หล่นคว้างปลิว .. พลิก .. พลิ้วรูป
ลมผ่านวูบ .. เรียวใบร่อนไปห่าง
กลางแวดล้อมเปล่าเปลี่ยว .. ในเที่ยวทาง
กลาดเกลื่อนใบไม้บาง .. ก็วางตน

O กลางรูปธรรมเงียบเหงา .. ความเปล่าเปลี่ยว-
ย่อมกรากเชี่ยวกำลัง .. ทุกครั้งหน
ใบไม้ร่วงทับถม .. สายลมบน-
ก็พาวนเวียนไหวอยู่ในยาม

O นั่น .. หล่นพลิ้วพลิกคว้าง .. อีกบางใบ
หล่นรูปให้น้อมนำสู่คำถาม
ที่ .. รอบกาลโหมรุก .. เข้าคุกคาม
ใครเล่าอาจหักห้าม .. ได้ตามใจ

O อีกแล้ว-อีกบางใบ .. ร่วงในที่
ด้วยท่วงทีเฉกกัน .. เช่นนั้นได้
อีกหนึ่ง-รอบ .. หล่นคว้าง .. ของบางใบ
ทุกหนึ่งนั้น .. เช่นในหัวใจเรา

O หล่นรูปร่วงแผ่ราบ .. ระนาบดิน
เพื่อยอกลิ่นสร้อยโศก .. สุมโลกเหงา
สิ้นสุดปลายเส้นทาง .. เพียงร่างเงา-
เหลืออยู่เฝ้าดินต่ำ .. เป็นธรรมดา

O หล่นร่วงแห่งดวงแก้ว .. ครั้งแล้ว-เล่า
จนความเปล่าเปลี่ยวห้อม .. เข้าล้อมหา
นานแค่ไหน-หล่นคว้าง .. อาจร้างลา
หรือ-กี่กาละจะพ้น .. การหล่นลง ?

O ชั่วเพียงสิ้นโบกบ่ม .. จากลมร่ำ
ก็ตอกย้ำ .. ลำดับ .. การรับส่ง
มองเห็นไหม .. ช่องว่างที่กลาง-วง
หรือมั่นคงก้านขั้ว .. ของตัว-ใบ ?

O ฤๅจะยังหล่นคว้าง .. ณ กลางหน
ที่ว่างจน .. ลับล่ม .. แรงลมไหว
ที่อาจหล่นร่วมวิถี .. จะมีใด
ก็เพียงใจ .. ว่าง-วนของตนเอง

O พญาโศกคร่ำครวญ .. เสียงหวนไห้
แทนอาลัยเศร้าสร้อยที่ค่อยเบ่ง-
บานภาวะสุมสั่ง .. กลางวังเวง
เพื่อฉุดเร่งอารมณ์ .. สู่ตรมตรอม

O ศัพท์เสียงความคร่ำครวญ .. ก็ล้วนแต่-
ตอบรับความผันแปร .. ที่แห่ห้อม
กลางสายลมโรยริน .. ผู้ยินยอม-
เข้าแวดล้อมอาดูร .. เพียบพูนแล้ว !

O แล้วอีกดาวแสงช่วงกลางห้วงหน-
ก็ร่วงหล่นลับล่มกลางลมแผ่ว
ตรึงวาท, วัตรผ่องใสอยู่ในแวว-
ตาคู่วามผ่องแผ้ว .. ทุกแววตา

O ร้างสิ้นโบสถ์เจดีย์ .. ในที่นั้น-
จักเสกสรรค์ปั้นแต่งสำแดงค่า
ยินแต่ถ้อย .. แห่งธรรมผู้สัมมา-
ประพฤติ .. ปฏิปทา .. ค้ำคาใจ

O แทนเชิงชั้นงามลออ .. ของช่อฟ้า
คือศรัทธาปวงชนค่อยล้นไหล-
ลงแวดล้อมกาลลา .. ด้วยอาลัย-
ครั้งสมัยรูปขันธ์ .. จักอันตรธาน

O ล้วนคือหลักแห่งธรรม .. ชี้นำทาง
ให้ยกย่างเหยียบก้าว .. อย่างห้าวหาญ
คือองค์ธรรมรั้งฉุด .. แต่พุทธกาล-
ฉุดวิญญาณตื่นรู้ .. น้อมสู่ธรรม !

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sdayoo&month=04-03-2011&group=41&gblog=21

ผู้แสดงความคิดเห็น สดายุ วันที่ตอบ 2013-07-19 19:24:10



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.