ReadyPlanet.com


ข้อข้องใจเกี่ยวกับการประกวด


เคยได้ยินมาว่า

ในสมัยก่อนนั้นการแต่งโคลงสี่สุภาพไม่จำเป็นต้องส่งสัมผัสระหว่างบทใช่ไหมคะ

แต่สำหรับการประกวดร้อยกรองออนไลน์ต้องเป็นงานเขียนร้อยกรองตามฉันทลักษฅณ์ที่กำหนด

ดิฉันก็เลยคิดว่าถ้าตามฉันทลักษฅณ์กฅ็น่าจะมีสัมผัสระหว่างบทด้วย

แต่บังเอิญว่าเปิดไปอ่านบทร้อยกรองหัวข้อลมปากซึ่งตัดสิ้นไปแล้วพบว่าสำนวนที่20 (โคลง)ฅซึ่งได้รับรางวัลนั้นไม่มีสัมผัสระหว่างบท

สรุปว่าจำเป็นต้องมีสัมผัสระหว่างบทหรือเปล่าคะ  ดิฉันเริ่มไม่แน่ใจแล้ว

ช่วยขยายความให้หายข้องใจด้วยนะคะ  เผื่อว่าดิฉันจะแต่งส่งบ้างจะได้ไม่ต้องคำนึงถึงสัมผัสระหว่างบท  เพราะดิฉันคิดว่าจะส่งหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่เคยส่งเลย

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้สนใจคนหนึ่ง :: วันที่ลงประกาศ 2008-08-19 14:25:22


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1822221)
ว่าไปแล้ว ฉันทลักษณ์ "โคลงสี่สุภาพ" ไม่ได้กำหนดว่า ต้อง "ร้อยโคลง" ครับ ดังนั้น การร้อยโคลงหรือไม่ เป็นดุลยพินิจของผู้ส่งผลงานประกวด ซึ่งการร้อยโคลง ก็คือการแสดงฝีมือในการเขียนงาน โดยกรรมการสามารถใช้ดุลยพินิจ พิจารณาให้คะแนนตามความเหมาะสม ในส่วนของกลวิธีการประพันธ์ได้

อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ในการประกวด มีองค์ประกอบการพิจารณาหลายประการ ทั้งเรื่องของสาระที่นำเสนอ รูปแบบกลวิธีการประพันธ์ ความถูกต้องตามฉันทลักษณ์การประพันธ์ และ ฯลฯ ซึ่งจะมีคะแนนเป็นสัดส่วนตามลำดับ ในการพิจารณาของคณะกรรมการแต่ละท่าน ที่จะเห็นสมควรครับ

กรณีของ "โคลงสี่สุภาพ" เกณท์แน่นอนที่ถือเป็นฉันทลักษณ์ก็คือ การบังคับจำนวนคำ เอกเจ็ดโทสี่ และสามัญสี่ รวมไปถึงจำนวนบทที่กำหนดไว้ในการประกวด ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกรรมการแต่ละท่านครับ

อธิบายในภาพกว้าง ๆ นะครับ ส่วนแต่ละเวทีจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับเวทีนั้น ๆ และรสนิยมของกรรมการแต่ละเวทีครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ผ่านมา วันที่ตอบ 2008-08-19 15:33:24


ความคิดเห็นที่ 2 (1822291)

โคลงประกวดรางวัลรองชนะเลิศที่กล่าวถึงนะครับ

ผมว่าเค้าร้อยโคลงแบบกลอนนะครับ

คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ กับคำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่งบทใหม่

คิดว่าน่ะจะเป็นเซียนกลอนมาเขียนโคลง แล้วลืมว่าร้อยโคลงตรงไหน หรือไม่ก็ตั้งใจให้มันเป็นอย่างนั้นนะครับ แต่มือระดับรางวัล น่าจะตั้งใจมากกว่า แต่สรุปว่ามันก็เป็นโคลงที่มีความหมายดีจริงๆนะแหละ

ถ้าผมผิดก็ขออภัยด้วยครับคุณ ประสงค์ แต่ผมก็ชอบงานเขียนคุณจริงๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาญ พิริยะอนันตชัย วันที่ตอบ 2008-08-19 17:13:36


ความคิดเห็นที่ 3 (1822632)

ครูอาจารย์สอนมาว่า

หากจะสัมผัสระหว่างบท

ต้องให้พยางค์สุดท้ายของบทก่อนหน้า

สัมผัสกับคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ของวรรคต้นในบาทต่อไป

ดังตัวอย่าง..

เราก็เหมือนมอดม้วย  หมดสิ้นสกุลไทย

ไปสัมผัสกับคำที่ 1 ของวรรคต่อไปว่า..

ใครรานใครรุกด้าว  แดนไทย

การจะสัมผัสแต่ผิดตำแหน่งเช่นนี้

คงเป็น รสนิยม  ของคณะกรรมการเวทีนี้ค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผ่านไป วันที่ตอบ 2008-08-20 09:30:50


ความคิดเห็นที่ 4 (1822704)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน   ได้ให้ความหมายของร้อยกรองไว้ว่า   “สอดผูกให้ติดต่อกัน  ประดิษฐ์ทำ ร้อยและเย็บดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ ตรวจชำระให้ถูกต้อง  สังคายนา  แต่งหนังสือให้ดีมีความไพเราะ  ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามแบบแห่งฉันลักษณ์   พระยาอนุมานราชธน  ให้นิยามของคำว่าว่าร้อยกรองไว้ว่า “ร้อยกรอง” หมายถึง โคลง ฉันท์กาพย์  กลอน  ซึ่งมีถ้อยคำที่นำมาประกอบประพันธ์กัน  มีขนาดมาตราเสียงสูงต่ำ  หนักเบา และสั้นยาว  ตามแบบรูปที่กำหนดไว้

นอกจากนี้ยังมีคำอีกหลายคำที่นำมาใช้ในความหมายในทำนองเดียวกัน เช่น กวีนิพนธ์

บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน

1) ฉันลักษณ์หรือลักษณะบังคับ โดยทั่วไป มี 9 ชนิด ดังนี้
        1.1) คณะ หมายถึง การจัดหมวดหมู่ของคำประพันธ์ร้อยกรองทุกประเภท ว่าบทหนึ่งจะประกอบด้วย บท วรรค ตอน หรือคำอยางไร เช่น กาพย์ยานี 11 กำหนดคณะไว้ว่า 1 บท จะมี 2 บาท แต่ละบาทจะประกอบด้วย 2 วรรค วรรคแรกจะต้องมี 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ ดังนี้เป็นต้น
        1.2) สัมผัส หมายถึง ความคล้องจองตามกฎเกณฑ์ที่บังคับไว้ในคำประพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
                1.2.1) สัมผัสสระ คือ สระพ้องกันตามมาตราแม้เสียงวรรณยุกต์จะต่างกันก็ตาม เช่น ใคร-ไป-นัยน์-ใหม่-ใกล้ ,มา – บ้า  เป็นต้น
                1.2.2) สัมผัสอักษร คือ ใช้เสียงตัวอักษรพ้องกัน ไม่กำหนดเสียงสระ หรือเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ เช่น เขา-ขัน, คู-ค่ำ  ตาตี๋ตกต้นตาล เป็นต้น
                1.2.3) สัมผัสนอก คือ สัมผัสที่ส่งและรับสัมผัสกันนอกวรรคออกไป คือ ส่งจากคำสุดท้ายของวรรคหน้าไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคต่อ ๆ ไป สัมผัสนอกนี้เป็นสัมผัสบังคับในร้อยกรองทุกประเภทจะไม่มีไม่ได้ และกำหนดให้ใช้แต่ สัมผัสสระเท่านั้น
                1.2.4) สัมผัสใน คือ สัมผัสที่ส่งและรับภายในวรรคเดียวกัน ไม่เป็นสัมผัสบังคับ และจะใช้สัมผัสสระหรือพยัญชนะก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
        1.3) คำครุ คำลหุ คือ คำที่บังคับใช้ในการแต่งฉันท์ ซึ่งมีบังคับแจกแจงต่างกันออกไป โดยใช้เครื่องหมายเป็นเครื่องบอกคือ คำครุ ใช้เครื่องหมาย    แทน และคำลหุ ใช้เครื่องหมาย   ุ แทน
        1.4) คำเอก คำโท คือ คำที่บังคับใช้ในการแต่งโคลงและร่าย คำเอก ได้แก่ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใด ๆ ส่วนคำโท ได้แก่ คำหรือพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โท
        1.5) คำเป็น คำตาย คือ คำที่ใช้การแต่งโคลง ร่าย และร้อยกรอง ที่เป็นกลบท เช่น กลอนกลบทที่มีคำตายล้วน เป็นต้น คำเป็น ได้แก่ คำที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก.กา และคำที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว รวมทั้งคำที่ประกอบด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ส่วนคำตาย ได้แก่คำที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา (ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา) และตัวสะกดในแม่ กก กด กบ
        1.6) เสียงวรรณยุกต์ คือข้อกำหนดที่บังคับใช้ในการแต่งกลอนโดยถือเรื่องเสียงวรรณยุกต์ เป็นสำคัญ ได้แก่ เสียงสามัญ, เอก, โท, ตรี และ จัตวา เป็นต้น
        1.7) พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ว่าจะสั้นยาวอย่างไร จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม ในการแต่งร้อยกรองจะถือว่าพยางค์ก็คือคำนั่นเอง

          1.8) คำขึ้นต้นและคำลงท้าย คือ คำที่ใช้กล่าวขึ้นต้น หรือ คำที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท ท้ายบทซึ่งอาจจะใช้เป็นคำเดียว หลายคำ หรือวลีก็ได้ เช่น คำว่า "สักวา" "เมื่อนั้น, บัดนั้น" "คนเอ๋ยคนดี" หรือลงท้ายว่า "เอย" เป็นต้น
         1.9) คำสร้อย คือคำที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทเพื่อความไพเพราะ หรือเพื่อให้ครบจำนวนคำตามลักษณะบังคับ บางแห่งก็ใช้เป็นคำถามหรือใช้ย้ำความ คำสร้อยนี้มักจะใช้เฉพาะโคลงกับร่าย และมักจะเป็นคำเป็น เช่น พ่อ แม่ พี่ เทอญ นา ฤา แล ฮา แฮ เป็นต้น

      คำว่า "ร้อยโคลง" ไม่ได้ปรากฏอยู่ในองคืประกอบของฉันทลักษณ์เลย ได้สอบถามผู้ใหญ่ในวงการกวีนิพนธ์หลายคนได้รับคำตอบสรุปว่าการร้อยโคลงหรือไม่ได้ร้อยโคลงไม่ถือว่าผิดฉันทลักษณ์ยกเว้นถ้ากติกา กฎเกณฑ์การประกวดกำหนดไว้จึงจะถือว่าผิดหรือถูกต้องตามกติกาตรงนั้นไม่ได้ถือเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติโดยทั่วไป

ผู้แสดงความคิดเห็น สาธุชน วันที่ตอบ 2008-08-20 10:54:36


ความคิดเห็นที่ 5 (1822735)

ผมเข้าไปดูฉันทลักษณ์ของโคลงที่ให้ไว้ใน เว็บสมาคมนี้ ก็ไม่ได้กำหนดการร้อยโคลงไว้เช่นกัน

และ กติกาในการประกวดโคลงในร้อยกรองออนไลน์ครั้งนี้ ไม่ได้กำหนดการร้อยโคลงด้วย

 

จึงไม่น่าจะผิดถ้าไม่มีการร้อยโคลง

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาญ พิริยะอนันตชัย วันที่ตอบ 2008-08-20 11:34:09


ความคิดเห็นที่ 6 (1825781)

             

               ขอขอบคุณที่ท้วง                 ติงมา

พลั้งผิดเพราะแก่ชรา                           มากแล้ว

หลงลืมหลักภาษา                               กลอนกาพย์

ทำแต่งานร้อยแก้ว                               ห่างร้อยกรองกานต์

                เนิ่นนานมาเกือบห้า           สิบปี

ลองแต่งดูอีกที                                     ซื่อบื้อ

หลงตนว่ารู้ดี                                       จึงผิด

ถึงแก่แต่ไม่ดื้อ                                     กราบแล้วโปรดอภัย

                              ประสงค์  กลิ่นขจร

ผู้แสดงความคิดเห็น ประสงค์ กลิ่นขจร (เจ้าของสำนวนที่ 20) (psongkkj-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-08-25 14:56:51


ความคิดเห็นที่ 7 (1826043)

จากที่ได้อ่านผลงานของคุณประสงค์

ผมคิดว่าเนื้อหาดีมาก...ไม่มีข้อท้วงติงและการที่เจ้าของกระทู้ถามเช่นนั้นก็ไม่เห็นว่าเขาจะมีเจตนาประท้วงผลการตัดสินแต่อย่างใด

เพราะเขาถามข้อสงสัยเกี่ยวกับฉันทลักษณ์ซึ่งมันคลุมเครือเท่านั้นเนื่องจากบางเวทีก็ระบุให้ร้อยโคลง...บางเวทีก็ไม่ได้ระบุไว้

จึงเป็นข้อสงสัยว่าที่ถูกควรจะเป็นอย่างไร...ซึ่งผมก็สงสัยเช่นกัน

ฉะนั้นผมคิดว่าคุณประสงค์ไม่ผิดที่แต่งเช่นนั้นและเจ้าของกระทู้ก็ไม่ผิดที่สงสัยเช่นนั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น ผมคิดว่า... วันที่ตอบ 2008-08-25 22:00:55


ความคิดเห็นที่ 8 (1826122)

ขอให้กำลังใจคุณประสงค์ กลิ่นขจร และขอขอบคุณหลายความคิดเห็นที่แสดงทรรศนะต่างๆเข้ามาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คณะทำงาน วันที่ตอบ 2008-08-26 05:05:27


ความคิดเห็นที่ 9 (1959245)
jhgikuyur
ผู้แสดงความคิดเห็น 5y655775 วันที่ตอบ 2009-07-06 18:26:05


ความคิดเห็นที่ 10 (2107415)

beehive costume clip on hair extensions sticky tape to fix the wig over your wigs invention and represent a very practical hair extension wavy hair extensions.

ผู้แสดงความคิดเห็น nevaeh (emmar-at-live-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 10:15:36



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.