ReadyPlanet.com


เชิญเล่นโคลงกระทู้ สูง ขาว ขาว ตึง


สูง ยาว ขาว ตึง

สูง.....วัยใกล้เหยียบร้อย.........แล้วเอย
ยาว...แต่ตาชวนเชย............แว่นไว้
ขาว...โพลนเกศเขนย..........นั้นหงอก
ตึง....โสตยากยินได้.............แก่ทั้งตัวตน

โดยน้องหนุ่ม


สูง.....ศักดิ์สถิตฟ้า..............ฟากสวรรค์
ยาว...จะต่อไม้ อัน..............ต่ำต้อย
คราว..สอยซึ่งดวงจันทร์.......แจ่มโลก
ตรึง....ผูกด้วยรักร้อย..........ล่ามไว้ทะนุถนอม

โดยคุณเต๋า



ผู้ตั้งกระทู้ คุณเต๋า :: วันที่ลงประกาศ 2007-08-23 19:21:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (937690)
สูง....กว่า สิขเรศ นั้น............คือติณ
ยาว..กว่า ต้น บังดิน..............กิ่งไม้
ขาว..กว่า ถูกติฉิน.................แผกเผ่า กาเอย
ตึง..โสต ป่วยการณ์ให้........สดับซึ้งธรรมสาร
ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-08-24 18:50:43


ความคิดเห็นที่ 2 (937691)

โคลงของคุณหนุ่ม กับคุณเต๋า

ยอดไปเลย ความหมายดีจัง

อ่านแล้ว สูง ยาว ขาว ตึง 555+ สเปคชายในฝันเลย

กระต๊ากๆ ๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตะละแม่เอิงเอย วันที่ตอบ 2007-08-24 19:16:53


ความคิดเห็นที่ 3 (937692)
สูง.......ต่ำกำหนดชั้น...............ฉันทลักษณ์
ยาว.....แต่ผุทำหลัก.................บ่ได้
ขาว.....ขุ่นฝุ่นผงคลัก..............คว้าดื่ม..ได้ฤา
ตึง.......จัดหย่อนจัดใช้.............ดีดเพี้ยนพิณเสียง
ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-08-25 11:07:08


ความคิดเห็นที่ 4 (937693)

สวัสดีครับทุกท่าน

เห็นน่าสนใจเลยร่วมวงสนุกด้วยขอรับ

 

 

 

สูง...เทียมธรรมะนั้น.......คือธรรม

ยาว.เท่าชีพใช้กรรม........ตราบม้วย

ขาว.แรกเกิดแต้มดำ........ตอนแก่  ใยพ่อ

ตึง...เต่งก็หย่อนด้วย........บุหรี่เหล้าเผากาย

 

เว็บมาดเซ่อ...

 

พร้อมกันนี้เรามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วยน่าจะดี

ตามประสาคนชอบในโคลงเหมือนกัน

ขออนุญาตคุณ กวินทรากร นะครับ

 

สี่คำสุดท้ายถ้าจะให้ดี น่าจะปรับนิดหน่อยเพื่อให้ได้-

ความชัดเจนและเนียนขึ้นครับ

และถ้าไม่ยึดติดกับเสียงที่ลงท้ายด้วยจัตวานะครับ

ขอแก้เป็น

 

ตึง.......จัดหย่อนจัดใช้............."เทียบเพี้ยนเสียงพิณ"

 

ผมว่าเสียงก็ไพเราะดีนะครับ สัมผัสก็ยังอยู่เปลี่ยนคำเดียว

และสลับตำแหน่งเดียวเท่านั้น ถ้าโคลงผมมีให้เปลี่ยนไพเราะขึ้น

ท่านอื่นที่มาต่อก็ขอเชิญ แก้โคลงผมตามสบายนะครับ

เพราะมุมมองผมคนเดียวคงไม่ทั่วถึง

ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บมาดเซ่อ วันที่ตอบ 2007-08-25 11:52:57


ความคิดเห็นที่ 5 (937694)
สูง.......ต่ำต่างอยู่พื้น.....................เดียวกัน
ยาว....ยืดมิตรสัมพันธ์.................ผูกรั้ง
ขาว.....ดำผสมกัน........................ในโลกย์
ตึง.......หย่อนสายที่ตั้ง..................แต่งพริ้งเพลงพิณ
ผู้แสดงความคิดเห็น คุณเต๋า วันที่ตอบ 2007-08-25 12:07:45


ความคิดเห็นที่ 6 (937695)

ขอแก้โคลงข้างบน  เพราะใช้ กัน ซ้ำ 2 รอบ

สูง.......ต่ำต่างอยู่พื้น.....................เดียวกัน
ยาว....ยืดมิตรสัมพันธ์.................ผูกรั้ง
ขาว.....ดำผสมสันติ์.....................ในโลกย์
ตึง.......หย่อนสายที่ตั้ง..................แต่งพริ้งเพลงพิณ

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณเต๋า วันที่ตอบ 2007-08-25 12:14:03


ความคิดเห็นที่ 7 (937696)
สูง.......เรียก สัค ใช่เอิ้น.................นรกา
ยาว.....เรียก ยาว สั้น พา...............เรียกสั้น
ขาว.....เรียก ว่าขาว ครา..............ดำเรียก..ดำเอย
ตึง.......และหย่อน ไปนั้น.............เรียกเพลี้ยเพี้ยนเสียง
ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-08-25 12:41:14


ความคิดเห็นที่ 8 (937697)

ไขคำ


สัค, สัคคะ  น. สวรรค์. (ป.; ส. สฺวรฺค).
 
 เพลี้ย ๑  น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ มีปากชนิดเจาะ
 ดูดติดอยู่ที่หัวส่วนที่ใกล้กับอก หรือชนิดเขี่ยดูดติดอยู่ที่ปลายหัว
 ทําลายพืชต่าง ๆ ส่วนใหญ่ไม่มีปีก พวกที่มีปีกจะมีเนื้อปีกเหมือน
 กันตลอด โดยมากบางและอ่อน หรือเป็นแผ่นยาวและแคบมาก
 มีขนรายล้อม พวกที่อยู่ในวงศ์ Cicadellidae มีรูปร่างคล้ายจักจั่น 
 เรียก เพลี้ยจักจั่น, พวกที่อยู่ในวงศ์ Aphididae มีลําตัวบอบบาง
 และอ่อน เรียก เพลี้ยอ่อน, พวกที่อยู่ในวงศ์ Thripidae ทําลายพืช
 ทําให้เกิดอาการเหมือนไฟไหม้ เรียก เพลี้ยไฟ, พวกที่อยู่ในวงศ์ 
 Coccidae ที่สามารถผลิตสารสีขาวคล้ายแป้งออกมาหุ้มลําตัว 
 เรียก เพลี้ยแป้งและที่ผลิตสารสีนํ้าตาลออกมาหุ้มลําตัวคล้าย
 ฝาหอย เรียก เพลี้ยหอย.
 
 
เพลี้ย ๒  น. ชื่อเครื่องดีดฟังเสียงชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่คล้ายจ้องหน่อง 
 แต่จ้องหน่องใช้กระตุก ส่วนเพลี้ยใช้ดีด, เพี้ย ก็ว่า.

คำว่าเพลี้ย พบใน โคลงกำสรวล ความว่า

๑๐ สายาเข้าคว้าเหล้น.........หลายกล
เดอรดีดเพลี้ยเพลงพาล........รยกชู้
สายาอยู่ในถนน....................ถามข่าว รยมฤา
ยงงที่สาวน้อยรู้.....................รยกขวนน ฯ

อ่านเพิ่มที่ http://www.geocities.com/thailiterature/ks1.htm

สายา  (กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น สายาอยู่ในถนน 
 ถามข่าว รยมฤๅ. (กำสรวล).

ถอดความว่าได้

นางผู้มีโฉมงามเที่ยวคว้าแขนผู้อื่น (ผู้หญิงด้วยกัน) เพื่อถามข่าวสาร
เดินดีดพิณเปี๊ยะ ร้องเพลงวัยรุ่น (เพลงพาล) ที่นิยมในสมัยนั้นคร่ำครวญถึงชู้รัก
นางผู้มีโฉมงามเดินอยู่ในถนน ถามข่าวคราวของกู
ถามยังสาวน้อยผู้หนึ่งที่รู้ข่าวของกู นางได้เรียกน้องขวัญผู้นั้นเข้ามาถาม


๑๑ สายาบววบ่าวเกลี้ย  จักมา
สาวส่งงอย่ามาวนน สู่น้อง
สายากรรแสงคลา  สองสู่ กนนนา
สาวบ่าวอยู่ในห้อง  รยกคืนหาคืน ฯ

นางผู้มีโฉม จึ่งเกลี้ยกล่อม บ่าวไพร่ที่ชื่อ อีบัว ให้มาส่งข่าวถึงกู
สาวใช้ส่งข่าวว่า อย่ามาตอนกลางวัน (ให้ไปกลางคืน) เพื่อมาสมสู่กับน้อง
นางผู้มีโฉม ทรงกรรแสง เมื่อครากูกับนาง (เราทั้งสอง) สมสู่ ด้วยกัน
แต่อีบ่าวคนใช้ ซึ่งอยู่ในห้องอีกห้องหนึ่ง เรียกให้นายมันรีบกลับคืนไป

 

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-08-25 13:32:23


ความคิดเห็นที่ 9 (937698)

คิดกันได้ไงอ่ะ เก่งจัง เรายังคิดไม่ออกเลย

อยากแต่งกลอนเก่งๆ อย่างนี้บ้างจัง

สอนหน่อยได้ไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณากร วันที่ตอบ 2007-08-25 13:57:29


ความคิดเห็นที่ 10 (937699)

ไขคำ


สูง....กว่า สิขเรศ นั้น............คือติณ
ยาว..กว่า ต้น บังดิน..............กิ่งไม้
ขาว..กว่า ถูกติฉิน.................แผกเผ่า กาเอย
ตึง..โสต ป่วยการณ์ให้........สดับซึ้งธรรมสาร

สัญลักษณ์ที่ใช้

กรรมการรางวัลซีไรต์ ปี 2550 สูงส่งเหมือนสิขรเขา (สิขร+เข้า เอศ ลิลิต=สิขเรศ) ส่วนงานที่ไม่ได้ผ่านรอบแรก เปรียบเสมือน ติณชาติ (หย่อมหญ้า)
กรรมการรางวัลซีไรต์ ปี 2550  เหมือนต้นไม้  ส่วนงานที่ไม่ได้ผ่านรอบแรก เหมือนกิ่งไม้
กรรมการรางวัลซีไรต์ ปี 2550  เหมือนฝูงกา  ส่วนงานที่ไม่ได้ผ่านรอบแรก หมู่พญาหงส์
กรรมการรางวัลซีไรต์ ปี 2550 คือกลุ่มคนแก่ที่หูตึง  พาไปวัดก็ยากที่จะได้ ยินรสพระธรรม (เพราะฉะนั้นควรเข้าวัดตั้งแต่ตอน หนุ่มๆ สาวๆ )
หูตึง เป็นสัญลักษณ์ ที่สื่อว่า หูไม่สามารถได้ยินบทกวีอันไพเราะได้ และหมายถึง หู ตึงจนไม่ได้ยินเสียง ด่า หรือเสียงทักท้วงจากคนรอบข้าง

สูง.......ต่ำกำหนดชั้น...............ฉันทลักษณ์
ยาว.....แต่ผุทำหลัก.................บ่ได้
ขาว.....ขุ่นฝุ่นผงคลัก..............คว้าดื่ม..ลงฤา
ตึง.......จัดหย่อนจัดใช้.............ดีดเพี้ยนพิณเสียง

ความสูงแห่งกวีนิพนธ์ ก็เพราะฉันทลักษณ์ ยิ่งใช้ฉันทลักษณ์ที่ยากแต่ ง่ายกินใจ สัมผัสใจ (ไม่ใช่สัมผัมตามใจ) ย่อมนับเป็นสิ่งที่น่านับถือ มิใช่หรือ 
กรรมการรางวัลซีไรต์ ปี 2550  เหมือนไม้ใกล้ฝั่งที่ผุแล้ว ไม่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้  แม้กระทั่งเอาไปใช้ทำไม่หลักปักขี้เลน
ฉะนั้นงานกวีนิพนธ์ที่เข้ารอบ จึงเหมือน น้ำที่ขุ่นคลักปนไปด้วยผง ประชาชน จะคว้าเอามา เสพย์ (อุปโภค บริโภค) ได้ถนัดใจกระนั้นฤา
สายพิณที่ตั้งหย่อนเกินไป (ไร้ฉันทลักษณ์) หรือสายพิณที่ตั้งตึงเกิน (เคร่งฉันทลักษณ์ จนกลอนพาไป) ก็ทำให้กวีนิพนธ์ ขาดความไพเราะ
(กรรมการรางวัลซีไรต์ ปี 2550 ตั้งสายพิณ หย่อนเกินไป)


สูง.......เรียก สัค ใช่เอิ้น.................นรกา
ยาว.....เรียก ยาว สั้น พา...............เรียกสั้น
ขาว.....เรียก ว่าขาว ครา..............ดำเรียก..ดำเอย
ตึง.......และหย่อน ไปนั้น.............เรียกเพลี้ยเพี้ยนเสียง

กรรมการรางวัลซีไรต์ ปี 2550   เห็นสวรรค์ เป็นนรก กล่าวคือเห็นงานกวีนิพนธ์ที่ใช้ฉันทลักษณ์เยี่ยง
โบราณราชกวี ว่าเลว เห็นกลอนเปล่า ว่า ดี สำหรับข้าพเจ้าและคนอื่นๆ  เห็น

สรวงสวรรค์ ชั้นกวี รุจีรัตน์ ผ่องประภัสร์ พลอยหาว พราวเวหา
พริ้งไพเราะ เสนาะกรรณ วัณณนา สมสมญา แห่งสวรรค์ ชั้นกวี
  "สามกรุง"....น.ม.ส.

เห็นยาวก็รู้ว่ายาว เห็นสั้นก็รู้ว่าสั้น
เห็นขาวก็รู้ว่าขาว
เห็นดำก็รู้ว่าดำ
แต่กรรมการรางวัลซีไรต์ ปี 2550  กลับเห็นตรงกันข้ามกับความเป็นจริง

ฉะนั้น รางวัลกวีซีไรต์ปีนี้ เมื่อได้กรรมการผู้เลือกพิณเพลี้ยที่ตั้งสายหย่อน จนเสียงเพี้ยนเอามาใช้ขับกล่อมลำนำ ก็ย่อมจะไพเราะ
 และสมกับชื่อรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน

ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-08-25 19:30:46


ความคิดเห็นที่ 11 (937700)
สูง....เพราะใส่ส้นตึก........ใต้ตีน
ยาว..ซึ่งขนตาปีน.............ปรกคิ้ว
ขาว..หมวยลูกครึ่งจีน.......แจ่มพักตร์
ตึง....เต่งถันเหมือนหิ้ว......มะพร้าวสองผล
ผู้แสดงความคิดเห็น คุณเต๋า วันที่ตอบ 2007-08-26 18:10:50


ความคิดเห็นที่ 12 (937701)



สูง
....ดอยสุเทพได้.............ไปมา
ยาว...มรรคาไคลคลา........คลาดน้อง
ขาว...ดอกพุดบูชา..............พระธาตุ
ตึง.....ตะตึง กลองก้อง........กึกก้องกาหล
ผู้แสดงความคิดเห็น กวินทรากร วันที่ตอบ 2007-08-26 18:13:37


ความคิดเห็นที่ 13 (937702)
เวร.. เกิดเวรดับได้...........ด้วยตน
ทำ.. บาปบุญบ่งผล.........เที่ยงแท้
กรรม.. วิ่งว่ายเวียนวน......วังวัฏฏ์
ก่อ.. เกิดยากกู้แก้.............กรรมเอย

กาย .. เคยเสพสุขสร้าง......จากใด
พุทธ.. อยู่แห่งหนไหน.......นี่นั้น
ใจ .. นิมิตรจิตใจ................จินตะ
พุทธ ..เกิดห่อนกีดกั้น........ก่อสร้างสุขเสวย

เชย.. เอยเชยรักช้อน..........เชยชม
ชม.. มากยิ่งนิยม...............ติดไว้
ชอบ ..ยิ่งชอบยิ่งจม...........กิเลส
ช่าง.. เก่าช่างเบื่อไซร้........สิ่งแท้อนิจจัง
ผู้แสดงความคิดเห็น นักกลอนชั้นอะ วันที่ตอบ 2007-08-26 21:18:54


ความคิดเห็นที่ 14 (937703)

ปล. กวินทรากร เป็นน้องชายฝาแฝด ของผมเองครับ ชอบพูดจาโผงผางไปหน่อยอย่าถือสานะครับ

คุณเต๋า

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณเต๋า วันที่ตอบ 2007-08-27 09:58:39


ความคิดเห็นที่ 15 (937704)
ก็ดีแล้ว
ผู้แสดงความคิดเห็น พจนารถ๓๒๒ วันที่ตอบ 2007-08-27 19:21:01


ความคิดเห็นที่ 16 (937705)

ดีครับท่านพี่พจน์
เรียกพี่หมดเพราะผมรู้ตัวว่าอ่อนที่สุดในนี้ ฮิฮิ

ก็ดีแล้วเหรอครับ หรือว่าดีเรื่องอะไร
ยังอ่ะ อยากให้คนมาแก้ สี่คำสุดท้ายสักหน่อย มันไม่ค่อยเจ๋งเหมือนคนอื่นน่ะ อาการเต่งตึงหย่อนย้วย ไม่ได้มีแต่บุหรี่กะเหล้า อยากรวม อายุไข อบายมุข แหะๆ รวมทั้งกามคุณ(เกี่ยวรึเปล่าก็ไม่รู้น่ะนะ) หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้ตึงๆ หย่อนๆ ได้เข้าไปด้วย ของผมมันยังแคบน่ะ แต่จนปัญญาครับ เลยรอท่านอื่นแก้ให้ ฮ่าๆ ง่ายดี

ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บมาดเซ่อ วันที่ตอบ 2007-08-28 04:39:50


ความคิดเห็นที่ 17 (937706)

แรกๆ คิดว่าต้องสนุกแน่เลยเข้ามาตอบ เป็นดังหวังครับ
อย่าคิดมากนะครับหากผมพิมพ์เพี้ยน
ก้อ.. ภาษายังยืมเค้าใช้มาดัดแปลงอยู่เลย

มาลองดูโคลงเพี้ยน 2 บทกัน
จับใจนะผมว่า แต่มีคนว่าเพี้ยน

น้ำเน่าขังท่อข้าง..............ถนน
มันย่อมเป็นฝน................แห่งฟ้า
ถึงต่ำแต่หมายผล............เลอเลิศ
เพียรเปรื่องปราชญ์ไม่ช้า...ช่วยขึ้นมติสรวง

อีกโคลงอีกบท ขออนุญาตนิดหนึ่งนะครับคุณบัวระวงที่ให้เพลงนี้ผมมาซึ่งเค้าเป็นคนเล่นซอในเพลง ถ้าทำให้เกิดปัญหาแนะนำหรือตักเตือนได้ และจะลบออกให้ครับ เป็นบทใช้เวลาส่งศพของทางเหนือ เนื้ออาจจะไม่จับใจเท่าท่านอังคารแต่ลองฟังบทขับนะครับหวานมาก

คลิกฟังบทเพลงที่นี่...

ถอดคำข้างล่างครับ

ใจใสใครข้างฮ้อน...........ลาไกล
เชิญสู่เวียงแก้วใส...........สว่างหล้า
เมืองปิงมิ่งเมืองใจ...........ธรรม์จอด  บุญเนอ
ขอมิตรแก้วสหายข้า........อุ่นห้องใจหอม

ภาษาเหนือ
ไกล = ไก๋
ใจ = ใจ๋
ออกเสียงจัตวา

อาจจะแปลผิดถูกเพราะผมแกะจากเพลงเลย ไม่แปลให้นะครับ แต่ให้ฟังแค่ทำนองบทล่างนี้ และอ่านเนื้อความบทข้างบน มีความเหมือน ลองดูเอานะครับ แต่ไม่ได้เแปลว่าเหมือนกันทั้งหมดนะครับมันเป็นแค่รูปแบบหนึ่ง

ความคิดเห็นนิดหนึ่ง โคลงอยุธยาก็มีอิทธิพลมาจากทางเหนือ ซึ่งราชสำนักซึมซับแบบมา แต่ทางเหนือจะเอามาจากไหนอีกไม่รู้เหมือนกันนะครับ ตามประสาความรู้ งูๆ ปลาๆ ที่แอบพักลักจำทีจากพี่ๆ น้องๆ ครูอาจารย์ ที่แอบผูกพันธ์โดยที่เค้าไม่รู้ตัว (หมายถึงศิษย์นอกคอกนั่นล่ะครับ) แล้วมาคิดเองอีกเป็นตุเป็นตะ

ทุกสิ่งอย่างเป็นที่คนแต่งขึ้น ไม่ใช่ว่าความถูกต้องในรูปแบบ จะมากำหนดความงามของสองบทที่แตกต่างทางด้านเนื้อหา และเสียงของสองบทนี้ได้ เพราะในสองบทนี้แม้เอกโทจะไม่เพี้ยนตามตำรา แต่มีที่ผิดไปจากบทเรียนซึ่งมีการยึดติด แต่ก็ต้องย้อนไปดูอดีตอีกว่า เค้าก็ไม่ได้กำหนดรูปแบบตายตัว นับเอาเสียงว่า

อีกอย่างผมก็ยังชอบความขลังและความงามของข้อความบางประโยคที่ไม่มีสัมผัสอะไรเลย แต่ทำไมจำมาบัดนี้ และท่องได้ และเห็นว่ามันงาม "ยักษ์จะยิ้มเมื่อยามดอกไม้บาน" ซึ่งอาจารย์ท่านหนึ่งไม่ได้สอนภาษาไทย ไม่ได้สอนวรรณคดี ไม่เกี่ยวกับโคลงกลอนเลยแม้สักนิดเดียวแถมท่านบอกว่าเป็นบทกวีของต่างชาติด้วยซ้ำไป แปลได้เลือนๆ ลางๆ ว่า เวลาโกรธหรืออารมณ์เสียเมื่อยิ้มก็จะหาย ประมาณนี้ ไม่ได้จะทำลายฉันทลักษ์หรืออะไรเลย กลับชอบมากๆด้วยซ้ำไปในเรื่องโคลง แต่ก็ชอบและรับในสิ่งอื่นด้วยพร้อมกัน ขอรับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บมาดเซ่อ วันที่ตอบ 2007-08-28 04:48:56


ความคิดเห็นที่ 18 (937707)

 

     " ยักษ์จะยิ้มเมื่อยามดอกไม้บาน"  โอ้โฮ สัมผัสพราวออกอย่านี้พี่เว็บมาดเซ่อ ยังหาว่าไม่มีสสัมผัสอีกหรือ  พี่เว็บเซ่อคงจะลืมไปว่าสัมผัสนะมันมี ๒ ชนิด สัมผัสสระ  รู้ทั่วถึงกันดีแล้ว ส่วนอีกหนึ่ง คือสัมผัสพยัญชนะ (สัมผัสอักษร)เช่นซับทรวงสดใส  ปรกาศก้องเกียติไกร  ฟากฟ้าไฟฝัน  ดังนัน ยักษ์จะยิ้ม  ก็สัมผัสอักษรแล้ว คือ ยักษ์ กับ ยิ้ม ก็สัมผัสกันแล้ว ประโยคที่พี่ท่านว่ามานั้นสัมผัสไพเราะมากจะแยกให้ดู "ยักษ์จะยิ้ม  เมื่อยามดอกไม้บาน"จะเห็นได้ว่ายิ้ม กับ ยาม ได้สัมผัสอักษร กันอย่างไพเราะเพราะพริ้ง ท่านผู้แปลออกมานั้นมีความเป็นกวีสูงโดยเล่นสัมผัสอักษร ได้อย่างเหมาะเจาะไพเราะยิ่ง  หากสมุติว่าท่านจะแปลให้สัมผัสสระว่า"ดอกไม้บานคราใด  ยักษ์ยิ้มได้ครานั้น"ก็จะดูเป็นกวีน้อยไปจริงไหมพี่ท่านเว็บมาตรเซ่อ

ผู้แสดงความคิดเห็น เคราฒู่ วันที่ตอบ 2007-08-28 20:54:51


ความคิดเห็นที่ 19 (937708)

สวัสดีครับ

ท่านครูเฒ่า ผมคงจะผิดจริงๆนั่นแหละครับเพราะมันมีสัมผัสใน เมื่อแปลเป็นไทยครับ ขอบคุณที่มาแนะนำนะครับ มาเรียกกระผมพี่เดี๋ยวผมก็อายุสั้นหรอกครับนี่

อิอิ คงเซ่อตามชื่อน่ะ ขอรับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เว็บมาดเซ่อ วันที่ตอบ 2007-08-29 03:45:50


ความคิดเห็นที่ 20 (937709)
นิยามศัพท์ของคำว่า "สัมผัสนอก" และ "สัมผัสใน"คือ เสียงอักษร หรือ เสียงสระ สัมผัสกัน ในที่ซึ่งบังคับให้ต้องมี(สัมผัสนอก)หรือในที่ไม่บังคับให้ต้องมี(สัมผัสใน) สัมผัสนอกรู้ทั่วถึงกันดีแล้ว ขอกล่าวเพื่อความเข้าใจ สัมผัสในมีได้เฉพาะตำแห่งคำที่ สาม สี่ ห้า หก เจ็ด เท่านั้น เพียงแต่จะเป็นสัมผัสคู่ หรือ สัมผัสข้ามเท่านั้น คำที่เหลือไม่นับว่าเป็นคำสัมผัส ดังนั้น ยักษ์จะยิ้ม ก็ไม่ใช่สัมผัสอักษรแล้ว เพราะ ยักษ์ อยู่ตำแห่งคำที่หนึ่ง
ผู้แสดงความคิดเห็น พิกกาจู้ วันที่ตอบ 2007-09-04 05:03:24


ความคิดเห็นที่ 21 (937710)

    การสัมผัสอักษร หรือการเล่นคำล้อคำนั้นท่านบัญญัติไว้เพื่อความไพเราะเพราะพริ้ง ของกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย ลิลิต หรือร้อยแก้วก็ตาม  คำว่าสัมผ้สในนั้น ก็ต้องการให้คำประพันธ์ในวรรคนั้น ๆ ไพเราะยิ่งขึ้น การสัมอักษรจึงมิได้จำกัด ว่าต้องเป็น ๓-๔ ..๕-๗ หรือ ๖-๘ จะสัมผัสแทรกหรือสัมผัสเรียงคำก็ย่อมได้ หรือเล่นคำสัมผัสทั้งวรรคก็ได้ เช่น  "กรุงเก่าเกียรติก่องก้อง  เกริกไกร"คำคู่เช่น  "ที้วานว่ามาด้วยร้อนกมลทน"หรือ"ที่เภทภัยสารพัดกำจัดแคล้ว" คำเทียบคู่  ชิดกัน ๓ คำ เช่น "โอ้อกเอ๋ยวาดหวังจะวังเวง" หรือ "มาแปลงเปลี่ยนแปลกไปไม่เหมือนก่อน" คำเทียมรถ สัมผัสเรียงกัน ๔ คำ เช่น "ต้องตรึกตราตรอมจิตเพราะปิดความ" หรือ "โอ้อกเอ๋ยอาวรณ์ต้องจรจาก"

คำเทียบรถ  สัมผัสชิดเรียงกัน ๕ คำเช่น "พี่จำใจจำจากเจ้าพรากมา" หรือ "มาโรยร่วงแรมรศเรณูนวล"  ดังนี้แล

ลูกน้องกับเจ้านาย ๒ คนเข้าไปในงานเลี้ยงที่ใหญ่โตหรูหราและเต็มไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย ก่อนเข้างาน ไอ้เจ้าลูกน้องมันมันกระซิบกับเจ้านายของมันว่า  "นายครับ ขณะอยู่ในงาน ไม่ว่าจะด้วยเหตุอันใดก็ตาม ห้ามเจ้านายพูดหรือกล่าวสิ่งหนึ่งประการใดเป็นอันขาด" เจ้านายมันก็เชื่อ หลังเลิกงาน เจ้านายยังสงสัยคำของลูกน้องที่บอกไม่ให้พูดในงาน จึงกระซิบถามมันว่า"เป็นไฉนเอ็งจึงไม่ให้ข้าได้กล่าวอันใดเลยในงาน" ลูกน้องมันทำอึกอักเอ้อ..เจ้านายจึงกำชับว่า"พูดมาเถอะน่า" ไอ้ลูกน้องมันจึงหลุดปากออกมาว่า"เอ้อ..ถ้าเจ้านายพูดออกมาคนเขาจะรู้ว่า..เจ้านายโง่..ขอรับ"

ผู้แสดงความคิดเห็น เคราฒู่ วันที่ตอบ 2007-09-05 12:18:21


ความคิดเห็นที่ 22 (937711)
       พ่อครู กรุณาอธิบาย สัมผัสเลือน อีกสักหน่อยเถิด
       ถ้าอย่างไร ขอเชิญพ่อครู อ่าน เพชรแท้ทนต่อร้อน   รุมเผา ที่เด็ก ๆ เขาเขียนมาเป็นห่าใหญ่
ผู้แสดงความคิดเห็น พิกกาจู้ วันที่ตอบ 2007-09-05 15:15:59


ความคิดเห็นที่ 23 (937712)

     เรื่องสัมผัสเลือนนั้น ก็ไม่ค่อยจะเข้าใจนัก  เพราะเป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ บัญญัติกันขึ้นมา และยอมรับกันในวงการฉันทลักษณ์ บางส่วน เช่นสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย  หรือชมรมต่าง ที่เคร่งฉันทลักษณ์ ของคนรุ่นหลัง ก็นับว่าเป็นสิ่งดี  เหมาะสำหรับการใช้กับชนบางกลุ่มที่ยอมรับ หรือในหมู่ของการประกวดที่มีข้อกำหนดไว้ว่า ต้องไม่มีข้อบกพร่องที่เขากำหนดขึ้นมา เช่น สัมผัสเลือน สัมผัสซ้ำ ชิงสัมผัส  หรืออะไรก็ตาม  สำหรับผู้ที่ประสงค์จะเขียนเป็นบันทึก หรือเขียนเพื่อความรื่นเริงบันเทิงใจ ก็เยนให้ถูกสัมผ้สนอก ต่อบทให้ถูก ไม่ผิดเสียงท้ายวรรคเป็นอันใช้ได้  ข้าพเจ้าก็ว่าได้เท่านี้ เคยถามเรื่องสัมผัสเลือนกับลูกชาย  มันตอบเป็นกลอนว่า

   " ฉลาดขาดเฉลียวเดี๋ยวก็โง่

อภิโถ พุทโธ ทำโอหัง

เที่ยวเขียนกลอนสอนคนบ่นทัมมัง

ให้ระหวัง สังคัง จะรังควาน"

     แล้วมันก็บอกว่า"พ่อนี่หัวโบราณจริง ๆ"สัมผัสเลือน น่ะ เขามีเฉพาะสัมผัสสระ และเกิดขึ้นได้ในวรรคที่ ๒ และ ที่ ๔ เท่านั้น ดังตัวอย่างเห็นไหม  อภิโถ  คำนี้รับสัมผัส คำที่ ๓ ตามหลักของท่านสุนทรภู่ ส่วน สระโอ ในคำที่ สาม สี่ ห้า หก เจ็ด ไม่ต้องมี ถ้ามีเรียกสัมผัสเลือนทุกคำที่มี หรือถ้าจะสัมผัสใน คำที่ ห้า หรือ ที่ หกในกรณีมี เก้า คำ ในที่สัมผัสนอกเท่านั้น วรรคที่ ๔ ก็เช่นกัน  สังคัง  ตรงคัง และรัง ตรงรังควานก็เรียกสัมผัสเลือน  เหมือนจะถาม "เอ็งจะเอาคำที่ สาม หรือ ที่ ห้า หก หรือ เจ็ดสัมผัสกันแน่วะ" ไอ้เจ้าลูกชายของข้าเจ้ามันอธิบายเสร็จแล้วมันยังสำทับต่อว่า "จำให้ดีนะพ่อ สัมผัสเลือนน่ะมีได้เฉาะสัมผัสนอกในวรรคที่ สอง และ สี่ เท่านั้น  คนแก่นี่สอนยากจริง" ข้าพเจ้าไม่ตอบ แต่ก็ได้แต่นึกในใจว่า "ไอ้นี่มันน่า...เอ้อ..น่ากราบเสียจริง" ท่านผู้รู้กรุณษอย่าถามเรื่องสัมผัสซ้ำ หรือ ชิง สัมผัส อีกนะขอรับ  เพราะข้าพจ้าไม่อยากจะขยายขายขี้เท่อของตัวเอง  ถ้ากระไรให้ถาม ท่านมหาสุรารินทร์  ปราชญ์ ประจำสมาคมนักกลอนนั้นเถิด ส่วนข้าพเจ้าเป็นแค่  เฉพาะทาง เช่น ครูใบ้หวย  หรือครูมวยเท่านั้น   ส่วนโคลง "เพชรแท้ทนต่อร้อน  รุมเผา"ก็คงเป็บุคคลาธิษฐาน  ความหมายก็คงดั่งพระอรหันต์ ทนได้ต่อโลกธรรม ๘ ประการ หรือไม่ยินดียินร้ายต่อการจาบจ้วง ต่าง ๆ นานา นั่นเอง อันว่าซึ่งข้าพเจ้านั้นไม่ถนัด ต่อการเขียนคำประพันธ์  สักเท่าใดจึงมิบังอาจต่อกร หรือต่อกลอน จึงได้แต่อ่านและนิยมชมชอบในรสแห่งกวี ที่ทุกผู้ทุกนามเขียนมาเท่านั้น..หรือบางครั้งก็เกิดอยากแสดงทัศนะอันมีอยู่เพียงน้อยนิดเท่านั้นเอง ถ้าอันใด ไม่ประเทืองปัญญา และพาให้ระคายเคือง ต่อโสตประสาทจักษุ ของบัณฑิตทั้งปวง ก็ขอยกโทษให้ข้าพเจ้าเสียเถิด

ผู้แสดงความคิดเห็น เคราฒู่ วันที่ตอบ 2007-09-07 19:18:23


ความคิดเห็นที่ 24 (937713)

สูง..ลิบมีเด่น-ด้อย.......ดัดใจ

ยาว..แค่คืบขาดใย.......เยื่อเยื้อ

ขาว..ใช่ขุ่นแต่ใส.......บริสุทธิ์

ตึง..หย่อน-เต่ง-แห้ง-เรื้อ.......ลากไส้ราดิน

ผู้แสดงความคิดเห็น คมปากกา วันที่ตอบ 2007-09-08 13:36:38


ความคิดเห็นที่ 25 (937714)

สูง..ลิบมีเด่น-ด้อย.......ดัดใจ

ยาว..แค่คืบขาดใย.......เยื่อเยื้อ

ขาว..ใช่ขุ่นแต่ใส.......บริสุทธิ์

ตึง..หย่อน-เต่ง-แห้ง-เรื้อ.......ลากไส้ราดิน

ผู้แสดงความคิดเห็น คมปากกา วันที่ตอบ 2007-09-08 13:37:59


ความคิดเห็นที่ 26 (937716)

สูง...พุ่งทะยานฟ้า...เปนแท่ง

ยาว...เยี่ยงสาหร่ายดำ...ปลกพื้น

ขาว...พื้นธรณีภาค....ดั้งแป้ง

ตึง...ตาตรึงกายใจ...ใต้สมุทร

ผู้แสดงความคิดเห็น พลอยสยาม วันที่ตอบ 2008-01-19 10:56:00


ความคิดเห็นที่ 27 (2280141)

                        "อนิจจัง"


       สูง จิตใจมั่นตั้ง     ความดี นาพ่อ

ยาว บ่งบอกชีวี           เที่ยงแท้

ขาว กระจ่างฤดี           ธรรมส่อง เรานา

ตึง แต่งแลชะแง้           ปล่อยร้างสังขารฯ


ขอน้อมคาราวะจากใจ

"ทรชนบ้านนอก"

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรชนบ้านนอก วันที่ตอบ 2012-06-15 15:04:45



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.