ReadyPlanet.com


ภาษาเป้นอาวุธของคนอวดอำนาจ


 
วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10726

ภาษาเป็นอาวุธ ของคนอวดอำนาจ


คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ




อำนาจใหม่จากตะวันตกเข้ามาแทนอำนาจเก่าจากอินเดีย ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายหรือเป็นข้าศึกเสมอไป เราควรมีภูมิคุ้มกันตัวเองอย่างแข็งแรงต่างหาก ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้องใส่ใจ แต่อย่าประณามหยามเหยียดเกลียดชังกัน

เสียงมีก่อนรูป ภาษาพูดมีก่อนภาษาเขียน สำเนียงมีก่อนอักษร ฉะนั้นเมื่อคนเราพูดคำว่า ไท จึงออกเสียงต่างกันตามท้องถิ่น บางพวกออกว่า ไต แต่เข้าใจตรงกันทุกเผ่าพันธุ์ว่าหมายถึง คน หรือ ชาว เพียงมีฐานะทางสังคมต่างไป เช่น ในคำเขมร (จารึกโบราณ) หมายถึง ข้าทาส (ซึ่งเป็นคน)

เมื่อคนพวกหนึ่งบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง (ละโว้-อโยธยา เป็นใครบ้างก็ไม่รู้) ดัดแปลงอักษรที่มีมาก่อน เช่น เขมร มาใช้งานแทนคำพูดของพวกของตัว แล้วเรียกภายหลังว่าอักษรไทย ก็เขียนคำว่า ไท ไม่มี ย ให้ตรงเสียงพูดของกลุ่มตน แต่มีอีกพวกหนึ่งออกเสียง ไต ตามความเคยชินของตัว แล้วเข้าใจความหมายเดียวกันทั้ง ไท และ ไต

คนลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ตอนล่าง) ที่ดัดแปลงอักษรไทยขึ้นมา เป็นพวกคุ้นเคยใกล้ชิดคำทางศาสนาบาลี-สันสกฤตจากอินเดีย ที่ยกย่องเป็นอักษรและภาษาศักดิ์สิทธิ์ มีฐานะสูงส่ง เลยพยายามสร้างรูปคำให้สูงส่งตามไปด้วย เช่น ที่เคยเขียน ไท ก็เอา ย (ของบาลี) มาต่อท้ายเป็นไทย เรียกวิธีจับบวช คือบังคับคำพื้นเมืองว่า ไท ให้บวชเป็นแขกว่า เทยฺย ในที่สุดคือไทยสืบจนบัดนี้

แต่คนท้องถิ่นทางเหนือๆ ขึ้นไปยังออกเสียงตามสำเนียงของพวกตนว่า ไต ตามที่ถ่ายทอดกันมาหลายพันปี เพราะไม่คุ้นไม่คลั่งบาลี

ภาษาถิ่นเองก็ไม่ได้อยู่คงที่ แต่เคลื่อนไหวซึมซับถ้อยคำสำเนียงจากที่อื่นด้วย ฉะนั้นสถาบันที่จะสืบทอดภาษาถิ่นก็ต้องยอมรับความจริงที่มีชีวิตเคลื่อนไหวด้วย ขณะเดียวกันราชการไม่ควรตำหนิติฉินคนพูดและเขียนภาษาภาคกลางไม่ชัด เพราะถ้าตำหนิก็เท่ากับดูถูกเหยียดหยามภาษาถิ่นสำเนียงถิ่นนั่นเอง แสดงว่าที่พากันฟูมฟายยกย่องภาษาถิ่นเป็นเพียงอาการดัดจริตชั่วคราวเพื่ออวดอำนาจทางภาษา

คนพูดภาษาถิ่นย่อมออกเสียงไม่ตรงภาษามาตรฐาน เช่น ภาษาไทยของราชการลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่เพิ่งจัดระบบให้เป็นทางการเมื่อเริ่มมีพจนานุกรม (ขึ้นอยู่กับจะเอา พ.ศ. ไหนเป็นครั้งแรก) แม้หนังสือราชการในรัชกาลที่ 4 ยังถกเถียงต่อว่ากัน เองว่าเขียนผิด ออกเสียงไม่ถูก เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรฐานของใคร? ที่ไหน?

คนกรุงเทพฯทุกวันนี้มีรากเหง้าต่างกันหลากหลายมาก บางพวกมาจากท้องถิ่น บางพวกมาจากต่างประเทศ ฉะนั้นย่อมออกเสียงต่างกันตามรากเหง้าของตน เช่น ผสมแขกมากก็ออกเสียง ร ชัดเจนเป็นระรัว ถ้าผสมลาวมากจะออกไม่ได้ ถึงออกได้ก็ไม่ดีเท่า เป็นต้น

บอกมาแล้วว่าคนมีอักษรไทยยุคแรกยกย่องใกล้ชิดบาลีจากแขกอินเดีย เลยจับคำไทยบวชเป็นบาลีแล้วบังคับให้เขียนคำว่า ไท เป็น ไทย แต่ทุกวันนี้ยกย่องใกล้ชิดฝรั่งจากทางตะวันตก เลยจับคำไทยเข้ารีตเป็นฝรั่งไปบ้างก็ไม่น่าจะต้องประณามกันสาดเสียเทเสีย เพราะทิศทางของอารยธรรมเปลี่ยนไปจากรับแขกอินเดียเป็นรับฝรั่งตะวันตก ซึ่งไม่เห็นต่างกันตรงไหน และไม่เห็นเสียหายอะไร คนที่มีสิทธิคิดว่าเสียหายคือแขกอินเดีย เพราะเสื่อมอำนาจทางภาษา แต่ไม่ใช่ไทย

ภาษาเป็นอาวุธอย่างหนึ่งของคนมีอำนาจเหนือคนอื่น จึงเป็นสิ่งแสดงออกทางเหยียดคนอื่นที่ไม่ใช่เชื้อเครือของชนชั้นตน ยังมีร่องรอยให้เห็นตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ.1500 ลงมา พวกลาวเดิม (ลุ่มน้ำโขง) ลงมาตั้งหลักแหล่งกับพวกมอญ-เขมร ลุ่มน้ำเจ้าพระยาบริเวณรัฐละโว้-อโยธยา-สุวรรณภูมิ แล้วรับอารยธรรมมอญ-เขมร รวมทั้งเจ๊ก-แขก เข้าไปเต็มตัว เลยเหยียดกำพืดลาว โดยเรียกชื่อใหม่ว่าไทยนี่ไง จากนั้นก็พากันเหยียดกำพืดของตัวเองว่าออกเสียงภาษาไทยไม่ชัด

หน้า 34


ผู้ตั้งกระทู้ ผู้สื่อข่าวบ้านไพร :: วันที่ลงประกาศ 2007-07-23 11:22:03


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2107868)

lv fake men bag chanel handbag.All About Louis Vuitton louis vuitton cheap but good looking handbags So gucci mens replica gucci wallets.

ผู้แสดงความคิดเห็น ergon (anita-at-aol-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 11:41:06



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.