ReadyPlanet.com


บาป บุญ คุณ โทษวรรณกรรมเล่มน้อยเลฃ่ม3


บาป บุญ คุณ โทษ ตามภาษาไทยแล้ว คำ 4 ประโยคนี้เป็นคำที่มีคำแปลอยู่ในตัวของประโยคอยู่แล้ว เช่น บาป คำว่าบาปคือการสร้างกรรมและสร้างการกระทำที่ไม่ดีและก่อให้เกิดผลเสีย ที่เกิดจากกฎเกณฑ์ความดีงาม เช่นการทำผิดจากทำนอง ครองธรรม หรือการทำผิดทั้งภายใน และภายนอกของอิริยาบทการตั้งแบบที่ถือเป็นเกณฑ์หลักแห่งความดีในความเป็นจริงของสังคม จะเป็นการตั้งไว้ด้วยตัวแม่บทกฎหมายก็ดี หรือจะตราไว้ด้วยคุณค่าภายในจิตใจก็ดี ถ้าบุคคลใดทำผิดที่ว่าด้วยสิ่งที่มีตัวแปรแห่งความดีบิดเบือนไป หรือถ้าบุคคลใดที่ทำผิดด้วยคำแปล ที่ถูกตั้งวางไว้ด้วยกฎเหล่านี้ จึงถือว่าเป็นบาป หรือจะเป็นการว่าด้วยการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความทุกข์ใจทุกข์กายนั่น ย่อมถือได้ว่าเป็นบาปทั้งสิ้น บาป จึงถือไว้ว่าเป็นกฎที่ไม่ควรทำในความเป็นศาสนาพุทธ โดยยึดหลักหลักในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

บุญ คำว่าบุญ เป็นประโยคที่ถูกใช้เรียกด้วยความดีทุกประการ หรือการกระทำสิ่งดีๆให้มีปรากฎ ให้เห็นในอิริยาบทแห่งกฏเกณฑ์ในคำสั่งสอนขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้สั่งสอนให้คนทำความดี และละต่อบาป คำว่าบุญจึงเป็นคำที่ตรงกันข้ามกับคำว่าบาป บุญ จึงเป็นคำที่ถูกเลือกใช้ซึ่งในการกระทำดีของคน ในทุกๆวรรณะ ในภาษาไทย คำว่าบุญ อาจเป็นการถูกเรียกนำประโยคของผู้เป็นผู้นำ เช่นพระมหากษัตริย์ หรือชั้นเจ้านาย ผู้นำพาความดีของตนแสดงให้เห็นประจักษ์ เป็นผู้สั่งการ เป็นผู้มีบุญ หรือผู้ที่ออกคำสั่งชั้นสูงหรือพระราชโองการที่เป็นความดีและเป็นประโยชน์ต่อชั้นในมวลสารของความดีงามทั้งหลายต่อมนุษย์ สิ่งนี้เรียกแปลได้ว่าเป็น พระมหากรุณาธิคุณ หรือพระคุณ ในชั้นของความเป็นเจ้านายสั่งซ้องลงมาสู่ชั้นสามัญชนคนธรรมดา แต่ไม่ว่าจะด้วยในกรณีใดๆ พระมหากษัตริย์ย่อมต้องเป็นผู้ที่ถือในคำพูด บ่งบอกถึงความเป็นไทยพุทธตามแบบฉบับในการเป็นผู้นำประเทศทั้งในเรื่องของการสั่งสอน และในเรื่องของการประพฤติดีงามเปรียบได้ดัง การมีทั้งพระเดช และพระคุณในการปกครองบุคคลในทุกชนชั้นวรรณะนั่นย่อมถือเป็นผู้มีบุญญาธิการสูงส่ง บุญจึงถือเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งเยี่ยงยศ

คำว่าบุญ ที่มาจะแบ่งเป็น 3 ชั้นแห่งความดีงาม ถ้าเป็นชนชั้นสูงหรือชั้นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ จะถือได้ว่าคำๆนี้จะถูกเรียกขึ้นเป็นประโยค ที่มีการใช้ในชั้นของคนชั้นสูง คือคำว่าบุญญาธิการ หรือการมีบุญเกิดขึ้นในตำแหน่งของคนชั้นสูงนั่นเอง

คำว่าบุญ ในชนชั้นที่ 2 คือชั้นแห่งนักบุญ ผู้ถือศีล ในชั้นนี้เป็นชั้นที่ใช้คำนี้สนองตอบต่อบุคคลทั่วไป เป็นชั้นที่ยึดถือหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อใช้เป็นกฏเกณฑ์ตามเจตคติ ตามเจตนารมณ์ของพระองค์ ในความเป็นคนไทยศาสนาพุทธ และเพื่อสนองตอบความดีที่ตนเชื่อมั่นและเชื่อถือในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้องและมีหลักเกณฑ์ความดี และนำความดีมาเผยแผ่ตามหลักธรรมในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ให้สืบเนื่องต่อไปในความเป็นภาษาไทย และความเป็นพุทธามะกะที่ประเสริฐและดีงามในความประพฤติในทุกชนชั้น และทุกๆสังคม ตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง

คำว่าบุญ ในชนชั้นที่ 3 ชนชั้นที่3 คือชั้นสามัญชนหรือคนทั่วไปจะเป็นพุทธศาสนิกชนก็ดีหรือเป็นสามัญชนก็ดี จะใช้ประโยคคำว่าบุญนี้เปรียบได้กับความดี หรือการทำบุญเพื่อให้ตนได้รับผลบุญตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือมีความเชื่อถือว่าบุญเป็นสิ่งที่ประเสริฐ บุญเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ บุญเป็นสิ่งที่มีผลตามมาซึ่งความดี ทั้งความคิด และการกระทำ คำว่าบุญจึงเปรียบได้กับสิ่งที่ดี และความดีตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือมีบุญเพราะเกิดมาทำแต่สิ่งดีๆนั่นก็ถือว่าเป็นบุญกุศลที่ดีมากตามกฏเกณฑ์ที่ตั้งของคนในสังคมทั่วไป ที่มีเกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์ของสังคมไทย และตามหลักธรรมในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั่นก็ถือว่าเป็นบุญที่ดีงามได้เช่นกัน

 

 

คุณ คำว่าคุณ คำๆนี้แปลได้และมีที่มาจากการทำความดีหรือทำคุณประโยชน์ ในที่นี้คำว่าคุณ คือการทำความดีและมีคนกล่าวถึงในความดีนั้นๆ นั่นถือว่าเป็นการทำคุณ และเรียกใช้คำว่าคุณได้อย่างถูกต้อง คุณ อาจแปลไว้ในประโยคที่สุภาพ เรียกใช้แทนชื่อบุคคลที่มีคุณค่า และมีประโยชน์

หรือทำตนไว้เป็นประโยชน์ในหลักของเหตุผลต่างๆ คุณ คำประโยคนี้จึงเป็นคำที่มีความหมาย ซึ่งหมายถึงคนดี บุคคลที่ทำประโยชน์แต่สิ่งดีๆ หรือบุคคลที่มีคนนับหน้าถือตาและให้เกียรติในความเป็นคนดี จะเห็นได้ว่าการทำคุณประโยชน์ต่างๆแล้วมีคนเห็นและยกย่องนั่นถือเป็น คุณงามความดีที่มีค่ายิ่งเยี่ยงยศได้เช่นกันตามกฏเกณฑ์ของสังคมที่วางไว้ตามกฏทำนอง ครองธรรมของสังคมโดยรวมนั่นเอง

 

 

โทษ ประโยคที่เรียกใช้ในความหมายของคำว่า “โทษ” นี้ ที่มาจริงแล้วเป็นประโยคแห่งสิ่งที่ใช้ในการตอบสนองจากสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความดีที่มีหลากหลายคำว่า โทษ จะถูกใช้เรียกและเปรียบเปรยถึงกฏเกณฑ์ในการอยู่รวมกันในสังคม อาจถูกใช้ในการตัดสินในสิ่งที่ผิดจากทำนอง ครองธรรม และให้ทุกข์แก่สังคมอย่างมหันต์ จึงเป็นบ่อเกิดที่มาแห่งโทษ และโทษ อาจเป็นสิ่งที่ได้รับตอบแทนภายในสังคมที่ถูกตั้งกฏไว้ด้วยความดี โทษจึงเป็นสิ่งที่ผิด และเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกไม่ควร คำว่าโทษ จึงถือเป็นสิ่งที่ตอบสนอง เป็นกฏเกณฑ์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งวางขึ้น ในที่นี้อาจคิดเห็นได้ว่าเป็นโทษทัณฑ์ที่มีมาจากกฏเกณฑ์ในคำสั่งสอนของพระองค์ เช่น ถ้าผู้ใดตบตี และและทอบิดา มารดาผู้นั้นอาจตายไปจะต้องชดใช้กรรมให้เป็นผีเปตร มือเท้าเท่าใบลาน ปากเท่ารูเข็ม หรือถ้าผู้ใดผิดลูกผิดเมียชาวบ้านพอตายไปนั้นจะถูกลงโทษให้ไปปีนต้นงิ้วที่นรกภูมิ นั่นถือเป็นโทษและเป็นกฏ อาจเรียกกฏนี้ได้ว่ากฎแห่งกรรม หรือกฏที่ผิดอย่างมหันต์ในสังคมทุกๆสังคมเรา ตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

และ “โทษ” ที่ใช้กันทั่วไปในสังคมไทยในศาสนาพุทธ นั่นก็คือโทษทัณฑ์ ที่ถูกตั้งไว้ด้วยความผิดจากสิ่งดีงามในสังคม และเป็นอันตรายต่อผู้ที่ทำความดีไว้อย่างมหันต์ โทษจึงเป็นสิ่งที่ต้องมีในชั้นทุกๆสังคม เพื่อลงโทษคนที่ผิดต่อหลักของบ้านเมือง และผิดต่อหลักธรรมตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง ทั้งหมดนี้เองจึงเป็นคำประโยคถึงคำ ที่เรียกใช้ ที่ตั้งวาง ที่ชอบธรรม ที่ดำเนินการ จึงเป็นความหมายของ "บาป" "บุญ" "คุณ" "โทษ" นั่นเอง

บาป บุญ คุณ โทษ ภาษาไทย

ประโยควัฒนธรรมไซร้ ก่อเกิด

นิมิตรหมาย สุขสวัสดิ์ด้วย คำ”ฤ”

ตนไทยไชโยได้ ประเสริฐแท้ คำคน



ผู้ตั้งกระทู้ ฑีพัตรยศ สุดลาภา :: วันที่ลงประกาศ 2008-05-12 18:43:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2037983)

โฅด

 

โฅต

 

โฅต

 เหี้ย ย ย ย ย ย ย ย ย ย ย ย ย

ผู้แสดงความคิดเห็น หส่พีพพั วันที่ตอบ 2010-02-22 18:20:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.