ReadyPlanet.com


แด่แก้ว พงษ์ประยูร


 

        “แม่..แม่..ผมทำได้แล้วแม่”
ลูกกล่าวแก่แม่มะลิ ทางโทรศัพท์
วันชนะได้เหรียญเงินเพื่อรอรับ
และขยับขึ้นชิงทอง ของมวยจีน
         แก้วของเราขกได้มันขยันชก
แต่ซิเหว่ยเอาแต่โยกหลบทั้งสิ้น
มันเก๋ากว่าลีลาซ่าเหลือกิน
เคยได้ยินว่ามันญาติกรรมการ
         กรรมการก็สุดบ้าถ้าวิเคราะห์
ชกเหนาะเหนาะอยู่ข้างเดียวเคี่ยวขยัน
กลับให้คะแนนคนหลบโยกหลบยัน
เท่ากับมันปล้นชัยชนะของเราไป
         เราคนดูขอถือว่าชนะของแก้ว
คือเหรียญทองแล้วนะแก้วว่าไหม
ทำดีที่สุดแล้วนะอย่าเสียใจ
คุณทำได้เราเห็นเป็นเช่นเหรียญทอง


ผู้ตั้งกระทู้ ประมุข :: วันที่ลงประกาศ 2012-08-12 13:59:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2293499)

ขออภัย.....

แก้วของเราชกได้มันขยันชก

แต่ซิหมิงเอาแต่โยกหลบทั้งสิ้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ประมุข วันที่ตอบ 2012-08-13 08:41:58


ความคิดเห็นที่ 2 (2293755)

              "ชนะใจคนทั้งโลก"

 

   ถึงพ่ายแพ้แต่ชนะใจทั้งชาติ
แก้วประกาศศึกศักดากล้าผยอง
อาจไม่ใช่ดังใจหวังคือเหรี
ยญทอง
เราสมปองร่วมยินดีปรีด
ากัน

    ทุกสายตาคนทั้งโลกโศกเศร้านัก
ต้องประจักษ์ว่าถูกปล้นจนแส
บสัน
ความพ่ายแพ้ชนะใจเป็นราง
วัล
แก้วเรานั้นคือผู้ชนะจริง

   ร่วมยินดีกับรางวัลอันทรงเก
ียรติ
งามละเมียดกับผลงานทุกด้านส
ิ่ง
ถึงแพ้พ่ายจากคะแนนที่อ้างอ
ิง
แก้วคือผู้ยิ่งใหญ่ของไทยเรา
 
 
 
ขอน้อมคารวะจากใจ
"ทรชนบ้านนอก"

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรชนบ้านนอก วันที่ตอบ 2012-08-14 12:55:59


ความคิดเห็นที่ 3 (2293797)

 

ชนะจริงชนะใจใสสะอาด
ขอประกาศแก้วชกสมศักดิ์ศรี
กรรมการคนไทยเราไม่มี
เขาย่ำยีปล้นชัยไปเฉยเลย

แต่ทั่วโลกก็เห็นเป็นประจักษ์
ต่างท้วงทักเซ็งแซ่อย่างเปิดเผย
ถึงไม่ได้เหรียญทองมาชื่นเชย
ก็เปรียบเปรยแชมป์ในใจไทยทุกคน...

ผู้แสดงความคิดเห็น ดอกไม้ ปานพาน วันที่ตอบ 2012-08-14 15:27:19


ความคิดเห็นที่ 4 (2294213)

 

  ขออภัยจริงๆครับ  กะทู้นี้ดีจริงๆ แต่ผมไม่แน่ใจชื่อกะทู้ที่ใช้คำว่า"แด่"  จะถูกต้องเหมาะสมหรือไม่  วอนผู้รู้ช่วยอธิบายครับ  ( มิได้มีเจตนาอื่นใดครับ)          

 

 

 

                  ด้วยความเคารพ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาต้อม วันที่ตอบ 2012-08-16 09:01:20


ความคิดเห็นที่ 5 (2294582)

 

กับ แก่ แต่ ต่อ (๓)

 

ได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า ใน พ.ศ.๒๔๑๑ สมัยรัชกาลที่ ๔ มีคำชนิดหนึ่งที่เรียกว่า คำต่อ ซึ่งได้แก่คำว่า กับ แก่ แต่ แด่ ต่อ แต่ในอีก 114 ปีต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้เปลี่ยนเรียกชื่อเสียใหม่ดังนี้คือ

กับ เป็นคำที่เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกันหรือเกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หายวับไปกับตา

แก่ บ. ใช้นำหน้านามฝ่ายรัก เช่น ให้เงินแก่เด็ก

แต่ บ. นำหน้านามบอกเวลาหรือบอกสถานที่ เช่น มาแต่เช้า มาแต่บ้าน แต่ไหนแต่ไรมา

แด่ บ. แก่ (ใช้ในที่เคารพ)

ต่อ เรียกสิ่งที่เชื่อมเข้าด้วยกัน เช่น คำต่อ (คือคำบุรพบทและคำสันธาน) ข้อต่อ บ.เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออำเภอ

ขอให้สังเกตว่าใน พ.ศ.๒๕๔๔ คืออีก ๑๙ ปีต่อมา เราอาจจะได้เห็นการใช้ภาษาที่แตกต่างออกไปจากที่ระบุไว้ในพจนานุกรมบ้างแล้ว เช่น

"เขาให้เงินเด็กไปแล้ว"

"เขาให้เงินกับเด็กไปแล้ว"

"เขายื่นคำร้องอำเภอแล้ว"

"เขายื่นคำร้องกับอำเภอแล้ว"

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผิดแผกออกไปจาก ตัวอย่างในพจนานุกรมนั้นมีอยู่ ๒ แบบคือ แบบแรก ไม่ใช้คำบุพบท ส่วนแบบหลังเปลี่ยนคำบุพบทจาก แก่ และ ต่อ ไปเป็น กับ

ความเปลี่ยนแปลงแบบแรกคือการกลับสู่ความเป็นไทย ดังที่ พระยาอุปกิตศิลปสาร เคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า

ประโยคคำพูดของไทยเป็นระเบียบภาษา แบบตะวันออก เช่น จีน เขมร ลาว เป็นต้น ครั้นต่อมาเราเรียนภาษาบาลี ซึ่งมีระเบียบไวยากรณ์อย่างภาคตะวันตก (คือชาวอินเดียตลอดจนฝรั่ง) ทำให้ภาษาไทยเราเอนมาทางบาลีมากเข้า เช่น ใช้บุพบท สันธาน มากขึ้นกว่าเก่า เป็นต้น ครั้นต่อมาเราตั้งรูปโครงสร้างไวยากรณ์ตามภาษาอังกฤษปนกับบาลีสันสกฤตดัง กล่าวมาแล้ว ดังนั้น รูปประโยคไวยากรณ์ที่ใช้อยู่จึงคล้ายคลึงกับอังกฤษ แต่ให้ผู้ศึกษาสังเกตไว้ว่าคล้ายคลึงกันเพียงรูปโครงเท่านั้น ส่วนระเบียบของภาษาอันแท้จริงนั้นต้องเป็นไปตามภาษาไทยเรา จะนำเอาภาษาอื่นมาใช้ไม่ได้ ขอให้ผู้ศึกษายึดไว้เป็นหลักต่อไป

(หลักภาษาไทย พระยาอุปกิตศิลปสาร ไทยวัฒนาพานิช ๒๕๓๓ หน้า ๒๙๘)

ส่วนความเปลี่ยนแปลงแบบที่สองนั้น หากพิจารณาดูอย่างเผินๆ อาจจะเห็นว่าเป็นการเลือกใช้คำใหม่ แต่หากพิจารณาดูให้ดีจะเห็นได้ว่าเป็นการกลับสู่ความเป็นไทยเช่นเดียวกับแบบ ที่หนึ่ง การใช้คำว่า กับ เป็นเพียงการแสดงความเกี่ยวข้องกันเท่านั้น ส่วน แก่ และ ต่อ มีลักษณะของไวยากรณ์บาลีสันสกฤต และอังกฤษที่ต้องระบุเครื่องหมายบอกความสัมพันธ์ของคำในประโยค ส่วนภาษาไทยใช้วิธีเรียงคำ ฉะนั้นจะใช้หรือไม่ใช้ก็มีค่าเท่ากัน

ส่วนคำว่า "ต่อหน้า" มีลักษณะที่ต่างจาก "ยื่นต่ออำเภอ" คำว่า "ต่อ" ที่อยู่หน้าคำว่า "อำเภอ" เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของคำในประโยคตามแบบภาษาบาลีสันสกฤตและอังกฤษ นั่นคือ "อำเภอ" เป็น "ฝ่ายรับ" แต่ "ต่อหน้า" เป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนขยายของคำกริยา เช่น "พูดกันต่อหน้า" "ทำกันต่อหน้า" ในประโยคทั้งสองนี้ "หน้า" มิได้เป็น "ฝ่ายรับ" เหมือนกับคำว่า "อำเภอ" แม้แต่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ เอง ก็ยังให้คำจำกัดความว่า

ต่อหน้า ว. ซึ่งหน้า, เฉพาะหน้า, ต่อหน้าต่อตา ก็ว่า

ส่วนคำว่า แต่ ที่เคยใช้นำหน้านามบอกสถานที่ก็เริ่มเปลี่ยนไป เพราะในขณะนี้เรามักจะใช้กันว่า "คุณมาจากไหนครับ" "มาจากนิวยอร์กค่ะ" ถ้าถามว่า "คุณมาแต่ไหน" คงฟังดูแปลก

สุดท้ายคือคำว่า แก่ กับ แด่ ซึ่งมีความหมายอันเดียวกัน เพียงแต่คำว่า แด่ ใช้สำหรับผู้ที่เราให้ความเคารพ เช่น "มอบดอกไม้แก่คุณ" "ถวายดอกไม้แด่พระภิกษุ"

แต่ทั้งคำว่า แก่ และ แด่ ในประโยคข้างต้นนี้อาจจะตัดทิ้งเสียก็ได้ กลายเป็น "มอบดอกไม้คุณ" "ถวายดอกไม้พระภิกษุ" หรือถ้าเกิดความรู้สึกว่า "ขาดๆ ห้วนๆ" ไปหน่อย บางคนก็เติมคำว่า "ให้" ลงไป กลายเป็น "มอบดอกไม้ให้คุณ" "ถวายดอกไม้ให้พระภิกษุ"

จำได้ว่า เคยใช้คำว่า แด่ เฉพาะตอนที่เซ็นมอบหนังสือให้อาจารย์ว่า "มอบแด่อาจารย์ที่เคารพ" เท่านั้น ไม่เคยใช้ในภาษาพูดธรรมดาๆ เลย

นี่คือความเปลี่ยนแปลงของการใช้คำว่า กับ แก่ แต่ แด่ ต่อ ในปัจจุบัน

เป็นความเปลี่ยนแปลง อันกลับสู่ความเป็นไทยนั่นเอง

ผู้เขียน รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน

ขอน้อมคารวะจากใจ

"ทรชนบ้านนอก"

ผู้แสดงความคิดเห็น ทรชนบ้านนอก วันที่ตอบ 2012-08-17 13:28:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.