ReadyPlanet.com


บะโช มะทสึโอะ : พ่อขุนรามคำแหง


หลายปีมานี้ กระแส กลอน ไฮกุ/ไฮคุ (Haiku) มาแรงและมีอิทธิพลต่อ กวีไทยใจง่าย (บางกลุ่ม) พอพูดถึง ไฮขุ กวี บางท่านอาจจะพอทราบที่มาบ้างแล้ว แต่วันนี้ กวินทรากร ขอเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน สักหน่อย ขอให้กวีช่วยสวน กันสักหน่อยนะครับ (/สวน [สะวะนะ] . การฟัง. (.; . ศฺรวณ). ฟังแล้วก็อย่าพึ่ง สรวล นะครับ อิๆ

 

สระน้ำ อันเก่าแก่

เจ้ากบตัวหนึ่งกระโดดลง

เสียงน้ำพลันดังจ๋อม

บะโช มะทสึโอะ (ฺBashoo Matsuo)

......นี่คือ โคลง ไฮขุ ที่มีชื่อเสียงที่สุดบทหนึ่งของญี่ปุ่น จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าไฮขุ เป็นโคลงที่มีขนาดสั้นมากโดยมีเพียง 17 พยางค์ ประกอบด้วย 3 วรรค

คือ วรรคละ 5, 7 และ 5 พยางค์ตามลำดับ บทกวีที่เรียกว่า ไฮไค-เร็งงะ (haikai-renga) เป็นที่แพร่หลายตอนปลายสมัยมุโระมะฉิ ( Muromachi ค.ศ.1338-1570 ) ช่วงต้นศตวรรษที่ 15 - 16 ส่วนแรกคือ 17 พยางค์ของ ไฮไค-เร็งงะ เรียกกันว่า ไฮไค ( haikai) ในสมัยเอะโดะ( ค.ศ. 1603 - 1868) บะโช มะทสึโอะ ( ค.ศ.1644 - 1694) เป็นผู้สร้างขึ้นมาในวงวรรณทัศน์ในรูป แบบบทกวี โดยมีท่วงทำนองศิลปะที่ขัดเกลาประณีตที่พรรณนาถึงความสอดคล้องประสานในฉากแห่งธรรมชาติและชีวิตมนุษย์ในสมัยเมจิ ( ค.ศ.1868 - 1912) ชิคิ มะซะโอะคะ ( Shiki Masaoka)ตั้งชื่อรูปแบบกวีนิพนธ์นี้ว่า ไฮขุ และมีการใช้ชื่อนี้นับตั้งแต่นั้นมา ใครๆ ก็สามารถแต่งโคลงไฮขุ ได้ค่อนข้างง่ายเนื่องจากรูปแบบคำประพันธ์สั้นๆ ใช้เพียง 17 พยางค์ซึ่งประกอบด้วยวรรคที่มี 7 พยางค์กับ 5 พยางค์ จังหวะ 5, 7 พยางค์ ฟังไพเราะให้ความรู้สึกที่ดีกับคนญี่ปุ่น ในปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นที่นิยมแต่ง ไฮขุ ถึง 10 ล้านคนและชาวต่างประเทศที่รักการแต่ง ไฮขุ ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ในป่าดงพงไพร

เราได้ยินเสียงแห่งความเงียบ
ของใบไม้มากมาย

inside the forest
a quiet sound
of the leaves

Takahito Suzuki 10yrs :Japanese
Shotoku Elementary School, Tokyo

 

บนเตา
เราได้ยินเสียง
กาน้ำร้องไห้

on a stove
a kettle
crying

Sanae Nakata 12yrs :Japanese

 

คืนหนึ่งในฤดูร้อน
ฉันผวาตื่นลุกขึ้นมา
เสียงยุงบินหวี่วี้....

summer night
woken up
buzzing mosquitos

Yu-ichiro Sano 13yrs :Japanese


คราวนี้พอ ไฮขุ แพร่ระบาดมาถึงไทย ก็เข้าทาง เลยครับ เพราะแต่งง่าย นี่นะ
แต่ใครจะคิดบ้างหรือๆไม่ว่า ไฮขุ นี่มาจากไทย ยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครับ
ไม่เชื่อลอง ฟังสำนวนสมัยพ่อขุนราม

พ่อกูชื่อ
ศรีอินทราทิตย์
แม่กูชื่อ
นางเสือง
พี่กูชื่อ
บานเมือง
ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน
ผู้ชายสาม
ผู้หญิงสอง
พี่เผือผู้อ้าย
ตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก

เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า

(สมัยนี้ออกเสียงสิบเก้าข้าว คล้ายๆ 19 ฝน 19 หนาว ทำนาข้าวมา 19 ครั้ง สมัยนี้พูดว่า 19 ขวบ กรณีการยืดหดของกระสวนเสียงกรณีนี้ คล้ายกับกรณีคนภาคกลาง ออกเสียงเรียกควายว่าควาย แต่คนอีสานจะออกเสียง ควายว่า ค่วย นั่นเอง )

ขุนสามชน
เจ้าเมืองฉอด
มาท่เมืองตาก
พ่อกูไปรบ
ขุนสามชนหัวซ้าย
ขุนสามชนขับมาหัวขวา
ขุนสามชนเกลื่อนเข้า
ไพร่ฟ้าหน้าใส
พ่อกู หนีญญ่ายพ่ายจะแจ
กูบ่หนี กูขี่ช้างเบิกพล
กูขับเข้าก่อนพ่อกู
กูต่อช้างด้วยขุนสามชน
ตนกูพุ่งช้างขุนสามชน
ตัวชื่อมาสเมืองแพ้
ขุนสามชนพ่ายหนี
พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู
ชื่อพระรามคำแหง
เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน


.. จันทร์จิรายุ รัชนี และ ไมเคิล วิกเคอรี ได้เปิดประเด็นไว้ตั้งแต่ ๑๐ กว่าปีที่แล้วว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหงอาจไม่ได้ทำในสมัยพ่อขุนรามฯ รศ. ดร. พิริยะ ไกรฤกษ์ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ศึกษาค้นคว้าวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ และเสนอว่าจารึกหลักที่ ๑ ไม่ได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหง แต่เพิ่งทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ นี่เอง นอกจากนี้นักวิชาการอีกหลายคน เช่น ไมเคิล ไรท์ สุจิตต์ วงษ์เทศ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ก็ให้ความเห็นไปในทิศทางที่ไม่เชื่อว่าจารึกหลักนี้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงเช่นกัน อีกฟากหนึ่ง จิราภรณ์ อรัณยะนาค ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์การอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ตรวจพิสูจน์หลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์เมื่อ พ.. ๒๕๓๒ โดยดูการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีของร่องรอยการขูดขีด พบว่าเป็นร่องรอยที่มีอายุอยู่ในสมัยกรุงสุโขทัยแน่นอน แต่จะเป็นรัชสมัยของกษัตริย์พระองค์ใดไม่สามารถระบุได้แน่ชัด ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ กรมศิลปากร ก็เป็นอีกคนที่ยืนยันว่า จารึกหลักนี้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงแน่นอน ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกอย่าง ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร ก็ออกมาชี้แจงโต้แย้งประเด็นที่เป็นพิรุธในทุกกรณีตลอด ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา

เอาล่ะครับตอนนี้ใครอยากแต่ง ไฮขุ กันบ้างแล้วครับ แต่เอ่อ....ถ้าสังเกตสังกา ดีๆจะเห็นว่า กลอนไฮขุ ที่ประเทศ ญี่ปุ่น เขาเอาไว้ให้เด็ก 10-13 ขวบ หัดแต่งกันล่ะครับ แต่จะพูดอย่างนั้นมันก็เป็นการดูแคลนกันเกินไป เพราะโบราณราชกวี ของญี่ปุ่นท่านมีความเลื่อมใสศรัทธาพุทธศาสนานิกายเซ็น กลอนไฮขุ จึงแฝง ไปด้วยปรัชญา แห่ง จิตเดิมแท้ อยู่มิใช่น้อย แต่ก็นั่นล่ะครับ สมัยนี้ใครจะไปสนใจเรื่องเซ็น กวีวัยรุ่น สมัยนี้ห่างวัด ห่างพระ บทกวีสมัยนี้จึงมีลักษณะมุ่งที่จะ สำรอกอารมณ์ สำเร็จความใคร่ใส่ตัวอักษร เพียงเท่านั้น เท่านั้นจริงๆ



ผู้ตั้งกระทู้ กวินทรากร :: วันที่ลงประกาศ 2007-07-26 21:31:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (937533)

อาจารย์มหาแสง แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากรก็เคยเขียนไวก่อนท่านจันทร์ ฯ(นายโต๊ะ ณ ท่าช้าง) และ อาจารญพิริยะ ครับ ตรงนี้ต้อง เอาหลังที่ที่พบหลังสุด ราวๆ 100 จนถึงหลักที่ 2 วัดศรีชุมมาเทียบ

1.สำนวน

2.ความสอดคล้อง

สิ่งเหล่านี้มาข้อเปรียบเทียบว่า ตั้งแต่หลักที่ 2 นั้นเขียนขึ้นต้นลำดับเรื่องอย่างไร เพราะหลักที่ 2 นั้นสามารถเชื่อมโยงหาทุกหลักได้เมื่อแปลออกมา ซึ่งเป็นการขึ้นศักรราช ไม่ใช่บันทึกส่วนตัวอย่างหลักที่ 1

ผู้แสดงความคิดเห็น มหา สุรารินทร์ วันที่ตอบ 2007-07-27 01:35:27


ความคิดเห็นที่ 2 (937534)
ใช่แล้วครับ ๆๆๆ
ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2007-07-27 09:31:27


ความคิดเห็นที่ 3 (2100373)
handbag designer bags for sale online retailers under the circumstance of the choice of replica handbags replica bags replica handbags you are to take selection as that louis vuitton ties replica gucci baby
ผู้แสดงความคิดเห็น replica watches วันที่ตอบ 2010-08-25 21:42:41


ความคิดเห็นที่ 4 (2107572)

lace frontal black hair wigs special occasion without having to wigs Specialty medical cranial hair black hair wigs remi hair.

ผู้แสดงความคิดเห็น walker (heritage-at-msn-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 11:05:33


ความคิดเห็นที่ 5 (2111430)
slippers size 6 slippers size 6 botas ugg botas ugg botas ugg botas ugg ugg sale ugg sale
ผู้แสดงความคิดเห็น tag heuer watch วันที่ตอบ 2010-09-22 01:24:00


ความคิดเห็นที่ 6 (2120987)
tiffanys tiffanys engagement ring diamond engagement ring diamond christian louboutin christian louboutin diamond rings diamond rings
ผู้แสดงความคิดเห็น dkny watch วันที่ตอบ 2010-10-20 21:18:58



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.