ReadyPlanet.com


อานามสยามยุทธ


[img]http://www.pantip.com/cafe/writer/topic/W5526132/W5526132-0.jpg[/img]



ลักษณะขุนศึก : โคลงดั้นวิวิธมาลี

อานามสยามยุทธนั้น..................ยาวนาน
องค์บดินทรเดชา........................ท่านใช้
ลวงเผาเหล่าญวนลาญ...............หลายอย่าง
คุมฆ่าญวนล้วนได้........................ดั่งจินต์

นายทัพไทยถ่อยท้อ.....................การทัพ
หัวเด็ดโดยบดินทร์......................เด็ดเหี้ยน
ไป่สู้ศึกอยู่ยับ................................โดยผ่าน
ใหญ่ศึกใจเหี้ยมเสี้ยน..................จึ่งสลาย

อาจทำอำนาจทั้ง............................ทศทิศ
ชี้ออกไป เป็น-ตาย .......................แต่ชี้
ชาวเมืองเลื่องลือฤทธิ์..................ทุกราษฎร
แลหนึ่งพระเจ้านี้..........................นับถือ

ขุนศึกสยามอย่างนี้........................ย่านไฉน
สิงหเสนีลือ....................................ร่วมเล้น
ใจเย็นเข่นศึกกษัย..........................สำเร็จ
เหี้ยมหากอยากเต้าเต้น..................ต่อยบร

ประพันธ์โดย อัศนี พลจันทร (นามปากกา :นายผี)

อ่านโคลงดั้นวิวิธมาลี ของนายผี แล้วจงตอบคำถามต่อไปนี้
- "อานามสยามยุทธ" คืออะไร?
- "อานามสยามยุทธนั้นยาวนาน" ยาวนานเพียงใด?
- ใครถูกเด็ดหัว ("หัวเด็ดโดยบดินทรฯ เด็ดเหี้ยน") ?
- ("แลหนึ่งพระเจ้านี้นับถือ") ใครนับถือใคร ?


เฉลย

หนังสืออานามสยามยุทธเมื่อพิมพ์แจ้งไว้หน้าปก ว่า เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ที่สมุหนายกในรัชกาลที่ 3 กรุงเทพฯ เป็นผู้เรียบเรียงไว้ 55 เล่ม สมุดไทยตัวรง ว่าด้วยรายงานราชการกองทัพไทย ไปทำศึกสงครามกันกับ ลาว เขมร ญวน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ กล่าวได้ว่าไทยสิ้นสุดการสงครามกับพม่าลงเนื่องจากอังกฤษแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปยึดครอ
งพม่า แต่ไทยก็ต้องหันไปเผชิญปัญหาการสงครามกับลาว กัมพูชา และเวียดนามโดยเริ่มตั้งแต่การปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ที่ฉวยโอกาสขณะที่ไทยเตรียมการระวังป้องกันพระนครจากการรุกรานของอังกฤษ ใน พ.ศ.2369 กองทัพหน้าของเวียงจันท์จู่โจมเข้ามาถึงสระบุรี ส่วนทัพหลวงของเจ้าอนุวงศ์เข้ายึดครองนครราชสีมา ส่วนทางด้านนครศรีธรรมราชรายงานว่าสามารถส่งทหารมาช่วยขัดตาทัพได้เพียงแค่ 2,000 คนเพราะมีกำลังเรืออังกฤษมาจอดอยู่ในน่านน้ำมลายู จำนวน ห้าลำ ไม่ทราบว่าจะไปที่ใด กรุงรัตนโกสินทร์จึงมีศึกที่จะต้องระวังทางด้านใต้อีกทางหนึ่ง กองทัพที่สอง สาม และสี่ ซึ่งเตรียมจะขึ้นไปทางปราจีนบุรี จำต้องถูกเรียกกลับให้ลงไปรักษาปากแม่น้ำเจ้าพระยา การสงครามกับเวียงจันทน์ต้องใช้เวลาถึงสามปี กว่าจะจับเจ้าอนุวงศ์ได้ และได้อาณาจักรลาวคืนมา

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ทศพร วงศรัตน์ (ราชบัณฑิต) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุการใน พระอภัยมณีคำกลอนของสุนทรภู่ที่ได้ประพันธ์ไว้นั้น ตรง กับเหตุการณ์จริง ห้วงเวลาที่ เจ้าอนุวงศ์กบฏเวียงจันทน์ ถูกจับขังกรงส่งมาถึงกรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2371 หลังจากที่ได้รับการแช่งด่าทรมานหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ประมาณ 7 วัน 8 วัน ก็ตาย (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ร.3) ในกรณีนี้วันพุธของสุนทรภู่เท่ากับได้เพิ่มความชัดเจนให้แก่ประวัติศาสตร์ไทย พระอภัยมณีคำกลอน ตอนที่ 26 หน้าที่ 415 อุศเรนตายแล้วผีไปเข้านางวาลี ความว่า

"ชักชะงาก รากเลือด เป็นลิ่มลิ่ม
ถึงปัจฉิม ชีวาตม์ ก็ขาดสาย
เป็นวันพุธ อุศเรน ถึงเวรตาย
ปีศาจร้าย ร้องก้อง ท้องพระโรง"

ย้อนไปเมื่อครั้งรัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯยังเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร และเจ้าพระยาบดินทรเดชา เป็นจมื่นเสมอใจราช วันหนึ่งมีการเสด็จพระราชดำเนินทางเรือวันนั้นเป็นฤดูหนาวหมอกลงจัดเรือของจมื่นเสมอ
ใจราชผ่านมาพลัดหลง และเฉียดเรือพระที่นั่งของกรมพระราชวังบวรฯ อันเป็นความผิดพระอัยการฐานตัดหน้าฉาน ต้องโทษจำขังอยู่ระยะหนึ่ง กรมหมื่นเจษฎาฯ ทรงเห็นหน่วยก้านของ จมื่นเสมอใจราช ว่าเป็นคนเข้มแข็งจะเป็นหลักของบ้านเมืองต่อไปได้ จึงขอพระราชทานอภัยโทษ ไม่นานจมื่นเสมอใจราช ได้เลื่อนเป็นพระยาเกษตรรักษา อยู่ในกรมนา พระยาเกษตรรักษา ออกไปทำนาหลวงอยู่พักหนึ่ง ก็ถึงคราวเคราะห์มีคนกล่าวโทษว่าล้อมรั้วทำค่ายคูประตูหอรบ ที่กองนาคล้ายจะส้องสุมกำลังพลเป็นกบฎ จึงต้องพระราชอาญาจำคุกอยู่นาน จนสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กรมหมื่นเจษฎาฯ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงโปรดให้พ้นโทษเข้ารับราชการใหม่เป็นพระยาราชสุภาวดี

เจ้าพระยาบดินทรเดชา เวลานั้นได้เป็นที่พระยาราชสุภาวดี แล้วแต่ยังไม่มีบ้านเรือนจะอยู่แน่นอน คราวนี้ลงอยู่ในแพลอย ซึ่งว่าที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดของสมัยโน้น เพราะธรรมดาชาวบ้านชาวช่อง แม้แต่ขุนนางบางท่านก็อยู่แพกันแทบทั้งนั้น ในภาพโบราณ จะเห็นแพจอดกันเป็นตับตามแม่น้ำลำคลอง พระยาพิไชยวารี (เจ้าสัวโต) เป็นข้าหลวงเดิม ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เช่นเดียวกัน จึงชักชวนให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) นำแพมาจอดปักหลักที่ท่าน้ำหน้าบ้าน พระยาพิไชยวารี ผู้นี้ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ได้เป็น เจ้าพระยานิกรบดินทร์ ต้นสกุล ‘กัลยาณมิตร’ http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?...nter&f=15&t=921

เมื่อเกิดศึกเวียงจันทน์ พระยาราชสุภาวดีได้เป็นแม่ทัพสู้รบกับข้าศึกอย่างเข้มแข็งมากในการประจันบานกันครั้ง
นั้น เจ้าราชวงศ์แม่ทัพลาวเอาหอกแทง ถูกท้องพระยาราชสุภาวดี พระยาราชสุภาวดีชักมีดหมอที่เหน็บไว้แทงสวนไปถูกที่ขา ทนายของท่านเอาปืนยิงถูกเจ้าราชวงศ์บาดเจ็บเล็กน้อย คนของเจ้าราชวงศ์พานายของตนถอนตัวออกไป พระยาราชสุภาวดีเอานิ้วแยงดูแผลว่าไม่ลึกนัก จึงเอารัดประคตพันรองเอวให้แน่นแล้วเรียกให้คนเอาแคร่ มาหามบัญชาการรบจนทหารลาวแตกพ่ายไป ความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 กับเจ้าพระยาบดินทรเดชา จัดว่าลึกซึ้งนัก ร.3 ทรงเรียกเจ้าพระยาบดินทรฯว่า พี่สิงห์ บางครั้งเมื่อเข้าเฝ้าในที่รโหฐานทรงโยนหมอนอิงให้กับเจ้าพระยาบดินทรฯ ท้าวข้อศอก เจ้าพระยาบดินทรฯ รับไว้แล้วก็วางไว้ข้างหน้าหาได้ใช้หมอนนั้นไม่ การกระทำเช่นที่ทรงทำนี้ ไพร่พล คนใดมีหรือจะไม่ตื้นตันด้วยความจงรัก (จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา, อำนาจอยู่หนใด ชีวประวัติเหมือนนวนิยายของนักปกครอง 7 ท่าน.--พิมพ์ครั้งที่ 1.--กรุงเทพฯ : พัฒนา, 2533.หน้า139-140)

ตลอดเวลาแห่งช่วงสงครามนี้ ญวนได้ให้การสนับสนุนลาวอย่างเต็มที่ไม่เพียงแต่ลาวเท่านั้นประเทศกัมพูชาซึ่งเคยขึ้
นอยู่กับไทยมาหลายร้อยปี ญวนก็ได้เข้ามาแทรกแซงโดยสนับสนุนราชบุตรีของเจ้าแผ่นดินกัมพูชาที่ทิวงคตให้เป็นกษั
ตริย์ และได้พยามทุกวิถีทางที่จะกลืนกัมพูชาให้เป็นของ ญวน จากศึกครั้งนี้ป็นต้นเหตุนำไปสู่การสงครามกับกัมพูชาและเวียดนาม และขยายต่อเป็นสงครามยืดเยื้อกับเวียดนาม ที่ใช้เวลายาวนานถึง 14 ปี (พ.ศ.2378 - 2392)

ใน พ.ศ.2376 เมืองไซง่อนก่อการจราจลโดยฝ่ายกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็น แม่ทัพบกยกกองทัพไปตีเขมรและหัวเมืองญวนลงไปถึงเมืองไซง่อนเพื่อช่วยฝ่ายกบฏ และให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่ทัพเรือไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล โดยไปสมทบกับกองทัพบกที่เมืองไซง่อน ในส่วนของกองทัพเรือต้องยกกำลังไปหลายครั้งเช่นเดียวกับการรบทางบก

ในสงครามกับญวนครั้งนี้ เจ้าพระยาบดินทรฯ ได้สั่งให้ตัดศีรษะนายขำ บุตรคนที่ 18 ของท่านในข้อหาขลาดกลัวต่ออริราชศัตรู อันเป็นการลงโทษอย่างรุนแรง เป็นมาตรการที่ให้ ไพร่พล เกิดความยำเกรงต่อกฎข้อบังคับและคำสั่ง จนเป็นกำลังไปสู่ชัยชนะได้

ในพ.ศ.2384 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพเรือยกกองทัพเรือ ไป ตีเมืองโจดก เรือรบไทยที่เดินทางไปร่วมรบในครั้งนี้มี เรือกำปั่นพุทธอำนาจ เทพโกสินทร์ ราชฤทธิ์ วิทยาคม อุดมเดช เรือค่าย เรือปักหลั่น และเรือมัจฉานุ ซึ่งใช้บรรทุกเสบียงอาหาร อย่างไรก็ดีการรบทางเรือครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากทหารไทยไม่ชำนาญภูมิประเท
ศ และเรือ ไทยมีสมรรถนะที่ด้อยกว่า เรือญวน (ดูรายละเอียดใน พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์, 2508) ทั้งในเรื่องของขนาดและประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องต่อเรือรบใหม่เป็นเรือป้อมอย่างญวน สามารถติดตั้งปืนใหญ่ได้หลายกระบอก ทั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็น แม่กอง อำนวยการต่อเรือป้อมแบบญวนไว้ใช้ในราชการ 80 ลำ ในที่สุดการรบระหว่างญวนกับไทยที่ยืดเยื้อมาถึง 14 ปี ก็ต้องยุติลงโดยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ยกเลิกการศึกครั้งนี้และมีการเจรจาสงบศึกใน พ.ศ.2390 เพราะ ทรงพิจารณาเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและกำลังคน เปรียบเหมือนว่ายน้ำท่ามกลางมหาสมุทรไม่เห็นเกาะเห็นฝั่ง (พันเอก หม่อมราชวงศ์ ศุภวัฒน์ เกษมศรี, 2531 : 291) โปรดอ่านเพิ่มเติมในเวปไซต์กองทัพเรือ http://www.navy.mi.th/navic/document/880804e.html

หนังสืออานามสยามยุทธฉบับสรุปของกรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุดเรื่องนี้ป็นการย่อเรื่องการสงครามระหว่างไทยกับลาว กัมพูชาและเวียดนาม ซึ่งเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพในทำสงคราม บันทึกหลักฐานไว้เป็นรายงานราชการกองทัพที่ปฏิบัติการในสงครามดังกล่าว ได้มีการจัดลำดับหัวข้อเรื่องใหม่ ใช้สำนวนภาษาตามสมัยปัจจุบัน เพื่อสะดวกแก่ผู้อ่านและเข้าใจง่ายขึ้นกว่าฉบับเต็ม เนื้อหาที่น่าสนใจของหนังสือ ได้แก่ วิธีการดำเนินการทางทหารของไทยในอดีตความเฉลียวฉลาดรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วนของผู้นำทางการทหาร นับตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์ เรื่อยลงไปจนถึงขุนนางแม่ทัพนายกองน้อยใหญ่ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการจัดทัพ การวางแผนการรบ การดำเนินกลยุทธ์ อุบายและเล่ห์กลการศึกการจัดการด้านกำลังพล ขวัญและกำลังใจของทหาร การส่งกำลังบำรุงการจัดการกับพลเมืองและดินแดนที่ยึดได้ ซึ่งยังคงทันสมัยและเป็นความรู้อันเป็นประโยชน์แก่วงการทหารไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่
างดี แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามานานถึงเกือบ 200 ปี. (กรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด. อานามสยามยุทธ ฉบับสรุปเรื่อง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด. 2542. 95 หน้า)

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao



ผู้ตั้งกระทู้ กวินทรากร :: วันที่ลงประกาศ 2007-06-20 11:10:10


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2070244)

แหม น่าจะมีกลอนเยอะๆนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น deer (deer_2552-at-windowslive-dot-com)วันที่ตอบ 2010-06-01 19:23:20


ความคิดเห็นที่ 2 (2107499)

cheap louis vuitton bags replica louis vuitton handbags expensive handbags that you find in louis vuitton Please rest assured that a real replica louis vuitton fake louis vuitton travel bags.

ผู้แสดงความคิดเห็น blanche (carrie-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 10:54:49



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.