ReadyPlanet.com


หลวงพระบาง – อุดมไชย – เดียนเบียนฟู – ฮานอย


                         โครงการอาณาบริเวณศึกษา-ภูมิภาคอุษาคเนย์

       สำหรับงานวิชาการของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

                               Unseen Laos and Vietnam:

                หลวงพระบาง – อุดมไชย – เดียนเบียนฟู – ฮานอย

  27 – 31 กรกฎาคม 2550  (5 วัน 4 คืน)

 วิทยากรท้องถิ่นลาวและเวียดนาม

วิทยากรเชลยศักดิ์ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ,  ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์,  สมฤทธิ์ ลือชัย

BKK-LPQ (QV)//LPQ-UDC(COACH)-UDC-DBF(QV)-//DBF-HAN(VN)//HAN-BKK(FD)

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2550      กรุงเทพฯ - หลวงพระบาง

 

 

 


12.15 น.                 คณะพร้อมกัน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ประตู 8 เคาร์เตอร์ R14-15 สายการบินลาว 

14.15 น.                 ออกเดินทางโดยสายการบินลาว QV 643 สู่หลวงพระบาง

16.05 น.                 เดินทางถึงหลวงพระบาง

                                นำท่านเที่ยวชมตัวเมืองหลวงพระบาง อดีตราชธานีของอาณาจักรล้านช้างเกือบ 200 ปีเดิมชื่อเดิมศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ปัจจุบันเป็น 1 ใน 17 แขวง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ทางตอนเหนือของประเทศนำเที่ยวชม วัดเชียงทอง ซึ่งเป็นวัดหลวงคู่เมืองหลวงพระบาง โดยพระเจ้าชัยเชษฐาธิราชได้โปรดให้สร้างขึ้น และได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์วัฒนาเป็นพิเศษ บริเวณที่ตั้งของวัดที่ตอนหัวโค้งของแผ่นดิน ที่แม่น้ำคานมาบรรจบกันกับแม่น้ำโขง เป็นศูนย์ศิลปกรรมล้านช้าง ความงามของวัดอยู่ที่ความสงบสง่าสะอาด มีการวางผังออกแบบ และบำรุงรักษาอย่างดีเยี่ยม ชม สิม หรือ โบสถ์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของศิลปะสกุลช่างล้านช้าง  จากนั้นนำท่านเข้านมัสการพระนอนที่ วัดวิชุน (อีกนามหนึ่งว่าวัดแตงโม) ชมพุทธเจดีย์ทรงแตงโมและชม วัดใหม่สุวันพูมา  วัดที่ประทับของพระสังฆราชซึ่งเป็นวัดที่มีอุโบสถที่สวยงาม 

18.00.                 เข้าพักที่ THE GRAND LUANG PRABANG หรือเทียบเท่า

18.30.                 รับประทานอาหารค่ำ ณ ห้องอาหารของโรงแรมฯ   /   อิสระพักผ่อนตามอัธยาศัย

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2550       หลวงพระบาง - อุดมไชย

 


06.00.                 นำท่านร่วมทำบุญ-ตักบาตรเช้า ซึ่งจะมีพระภิกษุออกมาบิณฑบาตรนับร้อยรูป เพื่อเป็น

ศิริมงคล นำท่านชมตลาดเช้าหลวงพระบาง ท่านจะได้เห็นวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองที่ยัง

คงสภาพเรียบง่ายแต่อุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ

07.00.                 รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรมฯ

08.00.                 เดินทางสู่ พระราชวังเก่า เจ้ามหาชีวิต (พิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง) ของลาว นมัสการหอ

พระบาง   พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบางซึ่งได้รับพระราชทานจากพระเจ้ากรุงกัมพูชา พ่อตาพระเจ้าฟ้างุ่มกษัตริย์ลาวในสมัยนั้น.

12.00 น.             รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านอาหาร

13.00 น.                 เดินทางโดยรถยนต์ไปอุดมไชย ชมบรรยากาศสองทิศทาง หมู่บ้านชาวเขาและชนเผ่า (ผจญภัย เส้นทางค่อนข้างขรุขระ และไม่สะดวกในการเดินทางนัก)  ก่อนถึงอุดมไชย 20 กม. แวะ

ชมหมู่บ้านชนเผ่าม้ง หมู่บ้านจงจา

17.00  น.                เดินทางถึงเมืองอุดมไชย นำท่านเข้าพัก SURINPHORN HOTEL หรือเทียบเท่า

19.00  น.                รับประทานอาหารค่ำ / อิสระพักผ่อนตามอัธยาศัย

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม 2550    อุดมไชย – เมืองขวา – ชายแดน – เดียนเบียนฟู

 

 

 

 


06.00 น.                 รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม

07.00 น.                 ออกเดินทางสู่ชายแดนเดียนเบียนฟู ระหว่างทางชมธรรมชาติสองข้างทาง ผ่านเมือง

ขวาสู่ชายแดนข้ามแม่น้ำอูด้วยแพขนานยนต์ สู่ชายแดน

12.00 น.                 รับประทานอาหารกลางวัน (อาหารกล่องบนรถ)

13.00 น.                 เดินทางถึงด่าน ฝั่งลาวเรียกว่าด่านสบพูน ฝั่งเวียดนามเรียกว่า ด่านเตตรัง เจ้าหน้าที่ของบริษัทให้การต้อนรับหลังจากนี้เดินทางต่อไปยังเดียนเบียนฟู

14.00 น.                 เดินทางถึงเดียนเบียนฟู          

นำท่านเที่ยวชม พิพิธภัณฑ์ ซึ่งจะมีการแสดงการสู้รบสมัยสงครามเดียนเบียนฟู

                                กับฝรั่งเศส และวิธีที่ชาวเวียดนาม/เวียดมินห์ สามารถรบชนะสงครามได้ หลังจากนั้นนำท่าน

ไปพบปะสังสรรค์กับหมู่บ้านคนไท (ไม่มี ย. ยักษ์) ซึ่งที่นี้สามารถใช้ภาษาไทในการสนทนาได้

                                 และร่วมเต้นรำ ดื่มสุราและอาหารแบบพื้นบ้านของคนไท

18.00 .                 รับประทานอาหารค่ำ ณ ร้านอาหาร

วันจันทร์ที่  30 กรกฎาคม 2550       เดียนเบียนฟู - ฮานอย

             เข้าพักที่ HILL LAM HOTEL หรือเทียบเท่า

07.00 น.                 รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม

08.00 น.                 นำท่านเที่ยวชม อนุสาวรีย์ผู้นำวีรบุรุษไทดำ ผู้ต่อสู้และผู้ต่อต้านฝรั่งเศส ชมหมู่บ้าน

                                และตลาดของไทดำ และชมสนามรบจริง ที่เคยเป็นสนามรบที่ถูกฝรั่งเศสทิ้ง

                                ระเบิดทำให้คนไทเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

12.00 น.                 รับประทานอาหารกลางวัน ณ ร้านอาหาร

บ่าย                        นำท่านสู่สนามบินเดียนเบียนฟู

15.00 น.            ออกเดินทางโดยสายการบินเวียดนาม แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ VN 495 สู่ฮานอย

16.00 น.                 เดินทางถึงสนามบินนอยไบ กรุงฮานอย จากนั้นนำท่านเข้าพัก HOA BINH HOTEL  หรือเทียบเท่า

ค่ำ                           รับประทานอาหารค่ำ ณ ภัตตาคาร แล้วนำท่านเข้าชมการแสดงหุ่นกระบอกน้ำ ซึ่งแสดงถึงเรื่องราววิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวเวียดนามและคติคำสอนที่แฝงอยู่ในการแสดง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และหาชมได้ที่นี่ที่เดียว

 

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2550       ฮานอย - กรุงเทพฯ

เช้า                          รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของโรงแรม

                                นำท่านสู่จัตุรัสบาดิ่งห์  ชม สุสานโฮจิมินห์  ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1973 และเสร็จในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งบรรจุศพอาบน้ำยาของอดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ซึ่งนอนอยู่บนแท่นในห้องเย็นไว้เป็นที่ระลึก นำท่านชมสถาปัตยกรรมการก่อสร้างแบบฝรั่งเศส ของ อดีตทำเนียบประธานาธิบดี ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ชม บ้านพักโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นบ้านไม้ยกพื้น ชมห้องทำงาน ห้องนอน และห้องต่าง ๆ ที่เรียบง่ายของอดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์    ชม เจดีย์เสาเดียว เจดีย์ไม้ที่งดงามที่ตั้งอยู่บนเสาต้นเดียวกลางสระบัว   ซึ่งในสมัยการปกครองของกษัตริย์ลีไทโตในปี 1049 มักสวดมนต์ที่เจดีย์แห่งนี้เพื่อขอพระโอรสจากพระเจ้า เมื่อได้โอรสแล้วจึงมีการสร้างเจดีย์เพิ่มเติมโดยสร้างเสาต้นเดียว เพื่อรองรับน้ำหนักของเจดีย์ตามที่ได้ทรงพระสุบินไว้ก่อนที่จะได้พระโอรส

 

 

11.00 .            นำท่านชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เวียดนาม

                                History museum (National Museum of Vietnamese History)

12.00 .                 รับประทานอาหารกลางวัน    ภัตตาคาร

13.00 .                 นำท่านเข้าชม พิพิธภัณฑ์การทหาร  ชมภาพต่างที่เกี่ยวกับการรบของเหล่าทหารหาญยามสงคราม เวียดนาม ชมอาวุธและกับดักและภูมิปัญญาของชาวเวียดกงที่คิด

                                ประดิษฐ์กับดักชนิดต่าง ๆ และอาวุธเคมี ที่ข้าศึกใช้กับชาวเวียดนาม

                                ชมทะเลสาบคืนดาบ ทะเลสาบที่มีทัศนียภาพที่สวยงามที่สุดใจกลางกรุงฮานอย จากนั้นมีเวลาให้ท่านเลือกซื้อสินค้านานาชนิด อาทิ เสื้อผ้า  กระเป๋า  รองเท้า  ของที่ระลึก  เครื่องเขียน

                                เป็นต้น  ในย่านถนน 36 สาย

                                นำท่านช้อปปิ้งตลาดเบียนถ่าน  แหล่งรวมสินค้าโอทอปนับแต่เสื้อผ้า เครื่องประดับ อาหารทะเลแห้ง ผลไม้ สำหรับท่านและคนที่ท่านรัก

18.00 น.                 รับประทานอาหารเย็น ณ ภัตตาคาร

                                สมควรแก่เวลาให้ท่านเตรียมตัวเดินทางสู่สนามบินนานาชาตินอยไบ

 21.30 น.                เดินทางกลับสู่กรุงเทพฯโดยสายการบินไทยแอร์เอเซีย เที่ยวบินที่  FD3707

 23.15 น.                กลับถึง กรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

อัตราค่าบริการ  

ผู้ใหญ่ท่านละ  29,000  บาท  (พักห้องละ 2 ท่าน)   อัตรานี้รวม ค่าทัศนศึกษา ที่พัก  อาหาร ค่าสถานที่เที่ยวชม

ตามที่ระบุในรายการ   ค่าไกด์ท้องถิ่น  ค่าธรรมเนียมด่านลาว–เวียดนาม  ภาษีสนามบิน และค่าประกันการเดินทาง

 

เอกสารการเดินทาง       

หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน 

 

การจองและชำระเงิน

            1. ชำระค่ามัดจำในวันจองพร้อมใบสมัคร ท่านละ 5,000 บาท  ที่เหลือชำระภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2550

สมัครก่อนมีสิทธิ์ก่อน  รับจำนวนจำกัด

            2. ชำระเงินสด/เช็ค/ฝากเข้าบัญชีออมทรัพย์ ในนาม มูลนิธิสัมมนาประจำปี  ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาพรานนก  เลขที่ 196-0-03953-9     หลังการโอนเงินกรุณาส่งสำเนามายังที่  โทรสาร 0-2433-8713

                3. การจองมีผลเมื่อชำระเงินมัดจำ

 

ติดต่อสอบถาม  และส่งเอกสารที่

คุณกิตสุนี  รุจิชานันทกุล

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

413/38  ถนนอรุณอมรินทร์  เขตบางกอกน้อย  กรุงเทพฯ  10700

โทร. 02-424-5768  , 02-433-8713 (โทรสาร)

E-mail : kitsunee_tai@yahoo.com

 

การเปลี่ยนแปลงรายการ

            การเดินทางอาจมีปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น ผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายการตามความจำเป็นและเหมาะสม แต่จะรักษาผลประโยชน์ของท่านตามสิทธิ์ที่มี และจะแจ้งให้ผู้เดินทางทราบก่อนทุกครั้ง

 

จัดโดย   บริษัท RBROTHERS TRAVEL AND EVENT LTD., PART.

                ใบอนุญาตเลขที่ 11/4264



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้สื่อข่าวบ้านไพร :: วันที่ลงประกาศ 2007-07-02 02:49:08


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (937372)
ไทย, กัมพูชา, และอุษาคเนย์ มีปัญหาประวัติศาสตร์แห่งชาติ

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

สุจิตต์ วงษ์เทศ



ก่อนประเทศน้อย-ใหญ่ในยุโรปจะรวมเป็นสหภาพยุโรป ต้องผ่านความขัดแย้งอย่างหนักด้วยเวลายาวนานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์แห่งชาติที่ต่างก็ยึดกุมความรักชาติของตนไว้อย่างเหนียวแน่น แต่แล้วต่างต้องยอมพร้อมใจผ่อนคลายอัตตาของแต่ละประเทศลง เพราะต่างก็ตระหนักดีว่า ถ้าไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนแล้ว ต่อไปจะไม่มีพลังมากพอต้านทานเศรษฐกิจ-การเมืองของอเมริกา, จีน และญี่ปุ่นในโลกาภิวัตน์ได้ เพราะต่างเป็นประเทศเล็กทั้งนั้น

อุษาคเนย์ หรือ South East Asia ก็เป็นประเทศเล็กๆ เยี่ยงยุโรป แต่พลังทางเศรษฐกิจ-การเมืองอ่อนด้อยกว่ายุโรปหลายเท่า ถ้ายังขัดแย้งแข่งดีทางเศรษฐกิจ-การเมือง ย่อมไม่มีอนาคต หรือมีก็ริบหรี่ไร้พลังแสงในตัวเอง

หนทางที่จะสมานฉันท์อย่างสันติวิธีในอุษาคเนย์ได้ แรกสุดต้องชำระประวัติศาสตร์แห่งชาติของตนให้หลุดพ้นจากวิธีคิดอย่างอาณานิคม แล้วร่วมมือกันสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์ภูมิภาคอุษาคเนย์ขึ้นตามพยานหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีที่มีจริง เป็นจริง ด้วยระบบความสัมพันธ์ทางการเมืองแบบเครือญาติพี่น้องผู้ใหญ่ผู้น้อยผ่านการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์

เมื่อปีที่แล้ว 2549 อาจารย์เตช บุนนาค ประธานคณะกรรมการสมาคมวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา พิมพ์พจนานุกรมคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย ออกมาเผยแพร่ในวงแคบๆ ครั้นปีนี้ พ.ศ.2550 พิมพ์พระราชพิธีสิบสองเดือน กรุงกัมพูชา (เป็นชุดมี 3 เล่ม) ออกมาเผยแพร่อีก ต้องยกย่องว่าเป็นงานสำคัญให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน เสียแต่ไม่มีคำนำเสนอ อธิบายเชื่อมโยงพิธีกรรมในระบบความเชื่อร่วมกันของราชสำนักกัมพูชา และไทยกับลาว จนถึงมอญและพม่า

ล่าสุดอ่านรายงานข่าวว่า คุณมัทนียา พงศ์สุวรรณ นิสิตปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ทำวิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น ได้เสนอสิ่งดีๆ หลายอย่าง แต่มีอย่างหนึ่งบอกว่าแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย-กัมพูชา มีแต่เรื่องสงคราม ควรลดเนื้อหาประวัติศาสตร์สงคราม แต่เพิ่มประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยใช้หลักฐานจริง ไม่บิดเบือน และไม่อคติต่อกัน (คมชัดลึก วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2550)

ประเด็นประวัติศาสตร์แห่งชาติของแต่ละประเทศในอุษาคเนย์ มีแต่กรณีวิวาทบางหมางแล้วรณรงค์สงครามตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นมรดกของวิธีคิดอย่างอาณานิคมที่ทุกประเทศรับมาใช้งานการเมืองปัจจุบัน มีนักคิด นักเขียน นักวิจารณ์จำนวนมากวิพากษ์วิจารณ์ให้แก้ไข แต่ไม่มีผู้บ้าอำนาจชาติใดใน SEA เริ่มแก้ มีแต่จ้องหยิบฉวยมาใช้งานเมื่อเกิดวิกฤตทางการเมืองของตน

เคยเขียนหลายครั้งหลายหนจนรำคาญตัวเองว่าอย่าเพิ่งไปยุ่งกับพงศาวดารที่แต่ละประเทศต่างมี "อัตตา" หาจุดลงตัวไม่ได้ เพราะไม่มีใครยอมใคร แต่ควรเริ่มยุคดึกดำบรรพ์ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ยังไม่มีชื่อชนชาติ ยังไม่มีประเทศ ยังไม่มีอักษร เช่น ยุคบ้านเชียง (อุดรธานี) จนถึงยุคฟูนัน-เจนละ (ลุ่มน้ำโขง) ฯลฯ ล้วนเป็นบรรพบุรุษร่วมกันของคนทุกประเทศในอุษาคเนย์ทุกวันนี้

ขอให้เริ่มนับ 1 พร้อมๆ กันก่อน แล้วค่อยๆ ทำความเช้าใจ 2-3-4-5 ฯลฯ จนถึงปัจจุบัน แม้จะมีสงครามบ้างก็ย่อมเข้าใจเหตุปัจจัยของสงครามร่วมกัน

หน้า 34

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้สื่อข่าวบ้านไพร วันที่ตอบ 2007-07-02 03:00:28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.