ReadyPlanet.com


เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ มังสา


ชื่อ: สุพิชญา
หัวเรื่อง: ช่วยหาชาดกที่สอดคล้องกับโคลงโลกนิติด้วยค่ะ

เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ  มังสา
นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา    ไป่อ้วน
สองสามสี่นายมา           กำกับ กันแฮ
บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน       บาทสิ้นเสือตาย๚ะ๛

คนโกงกินหนึ่งคน ผลงานของก็ย่อมไม่สมบูรณ์ และยิ่งมีคนโกงกินมากกิจการนั้นย่อมไม่สำเร็จ ตรงกับสำนวนคดในข้องอในกระดูกคือว่าหนูรู้ความหมายและสำนวนแล้วอ่ะค่ะ แต่ยังไม่ทราบชาดกเลย ช่วยหน่อยนะค่ะ งานส่ง 29 ตุลาแล้ว ขอบคุณค่ะ



น้อง สุพิชญา พี่กวินลองแปล โคลงโลกนิติบท ดังกล่าว ไว้ให้อีกทีนะ


คำแปล

-(ทหาร 4 คน มีหน้าที่เลี้ยงเสือ) เบิกเงิน 1 บาท (100 สตางค์) เพื่อซื้อเนื้อ (มังสา) ให้เสือกิน
-ทหารคนที่หนึ่ง โกงเงินไว้ 1 ส่วน (25 สตางค์) เสือ ไม่อ้วน เพราะกินไม่อิ่ม
-ทหารคนที่ 2 คนที่ 3 และคนที่ 4 เบียดบังทรัพย์สินของทางราชการร่วมด้วย (25 คูณ 3 =75 สตางค์)
-ทหาร 4 คนยักยอกเงินคนละ 25 สตางค์ เป็นเงินรวม 100 สตางค์ (ค่าอาหารเสือ) เสือ จึงอดตาย
(พอเสือตาย ความก็แตก ทหารสี่คน ก็คงโดนจับและคงถูกประหารให้ตายตกไปพร้อมกับเสือด้วย /ความโลภเป็นหนทางแห่งความฉิบหาย วายวอด)



Q: เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ เนื้อ (มังสา) เพื่อให้ เสือ (พยัคฆา) กินทำไม?

A: โคลงโลกนิติบทนี้สนับสนุน จดหมายเหตุลาลูแบร์ (Du Royaume de Siam) ซึ่งเป็นจดหมายเหตุพงศาวดารที่กล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (สมัยอยุธยา) พ.ศ. 2230 มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้บันทึกไว้ว่า

"หญิงคนเดียวมันทำชู้ด้วยชายคนหนึ่งก่อนแล้วหญิงนั้นมาทำชู้ด้วยชายคนหนึ่งเล่า ชู้ก่อนมันฟันแทงชู้หลังตายก็ดี ชู้หลังมันฟันแทงชู้ก่อนตาย ก็ดี ท่านว่าเป็นหญิงร้าย ให้ทวนมัน 30 ที แล้วให้โกนศีรษะหญิงนั้นเป็นตะแลงแกง ทัดดอกชะบา สองหูขึ้นขาหย่าง ประจาน 3 วัน  ในบางกรณีก็จะร้อยดอกชบาเป็นพวงมาลัยสวมคอหญิงชายที่ทำชู้ นั้นด้วย และยิ่งถ้าผู้หญิงที่เป็นราชบาทบริจาริกกาของพระมหากษัตริย์ ลอบมีชู้จะถูกให้ลอบสังวาสกับม้า และให้ประหารชีวิต หรือสั่งให้เสือขบ สำหรับกรณีทั่ว ๆ ไป สามีอาจขายภรรยาที่คบชู้ไปเป็นโสเภณี ส่วนชายชู้ซึ่งถือว่าเป็นจำเลยที่ทำผิดร่วมกันกลับได้รับโทษที่เบากว่าผู้หญิงที่กระทำผิด"
(1)

สรุป จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ ทำให้เราทราบว่า รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (สมัยอยุธยา) พ.ศ. 2230 (เป็นอย่างต่ำ) มีการเลี้ยงเสือ ไว้ลงโทษผู้ต้องหา



สำหรับชาดกที่สอดคล้องกับโคลงโลกนิติบทดังกล่าว พี่กวินคาดว่าน่าจะตรงกับ เวทัพพชาดก  : ชาดกเรื่องที่ ๘ ในอัตถกามวรรค หน้า 41-48 พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่มที่ 3 ภาคที่ 2 ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ 1 โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซุย) ที่ว่า


"ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพาราณสีมีพราหมณ์ผู้รู้มนต์คนหนึ่งชื่อเวทัพพะ สามารถร่ายมนต์เรียกฝนเงินฝนทองให้ตกลงมาได้ พราหมณ์มีลูกศิษย์อยู่คนหนึ่ง วันหนึ่งอาจารย์และลูกศิษย์ได้เดินทางไปทำธุระที่แคว้นเจตี พอไปถึงป่าในระหว่างทางถูกโจรจับเรียกค่าไถ่ ทำเนียมของโจรพวกนี้คือเมื่อจับผู้คนได้แล้ว ถ้าเป็นแม่กับลูกสาวจะปล่อยแม่ไป ถ้าเป็นพี่กับน้องจะปล่อยพี่ไป ถ้าเป็นอาจารย์กับลูกศิษย์ จะปล่อยลูกศิษย์ไป ลูกศิษย์ก่อนแต่จะออกเดินทางไป ได้กระซิบเตือนอาจารย์ว่า " อาจารย์ครับ ผมจะไปสักสองสามวันเท่านั้น อาจารย์อย่าได้หวั่นไปเลย และวันนี้จะมีฤกษ์ดี ท่านอย่าได้ไร้ความอดทน ร่ายมนต์ให้ฝนเงินฝนทองตกลงมาเป็นอันขาด เพราะพวกโจรจักฆ่าท่านเสีย " ฝ่ายพวกโจร พออาทิตย์ตกดินก็จับมัดพราหมณ์ให้นอนอยู่ ขณะนั้น พระจันทร์เต็มดวงก็โผล่ขึ้น พราหมณ์ เห็นเช่นนั้นก็คิดได้ว่า " ฤกษ์ที่จะทำให้ฝนเงินฝนทองตกลงมามีแล้ว เราจะมานอนทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนี้ทำไม ร่ายมนต์เรียกฝนเงินฝนทองตกลงมามอบทรัพย์ให้โจรแล้ว ให้พวกมันปล่อยเราไปจะดีกว่า " จึงเรียกโจรมาบอกให้ปล่อยตนแล้ว นั่งประกอบพิธีร่ายมนต์แหงนดูดาวเรียกฝนเงินฝนทองให้ตกลงมา พวกโจรพากันเก็บรวบรวมทรัพย์ใส่ห่อผ้าแบกหนีไป ฝ่ายพราหมณ์ก็เดินตามไปข้างหลัง ขณะนั้น ได้มีโจรอีกกลุ่มหนึ่งพากันจับโจรพวกที่หนึ่งไว้ โจรกลุ่มที่หนึ่งจึงบอกให้จับพราหมณ์ที่เดินตามหลังมา เพราะทรัพย์นี้พราหมณ์เป็นผู้เรียกมาให้ จะเอามากเท่าใดก็ได้ พวกโจรกลุ่มนั้นจึงปล่อยโจรกลุ่มที่หนึ่งไป จับพราหมณ์แล้วบังคับให้เรียกฝนเงินฝนทองตกลงมาให้ พอได้ยินพราหมณ์ตอบว่าไม่สามารถเรียกฝนเงินฝนทองได้อีก ปีหนึ่งสามารถเรียกได้ครั้งเดียวเท่านั้น ต้องรอจนถึงปีหน้า ด้วยความโกรธหัวหน้าโจรจึงฟันพราหมณ์ตายคาที่ แล้วรีบติดตามโจรกลุ่มที่หนึ่งไป ทำการชิงทรัพย์และฆ่าโจรกลุ่มที่หนึ่งตายหมดสิ้น ในระหว่างที่เก็บรวบรวมทรัพย์อยู่นั้นพวกโจรเกิดแตกคอกันเรื่องการแบ่งทรัพย์ จึงเกิดการต่อสู่กันเองจนในที่สุดเหลือโจรเพียง ๒ คนเท่านั้น โจรทั้ง ๒ คน ได้นำเอาทรัพย์ไปซ่อนไว้ในป่าใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ด้วยความหิวจึงให้โจรคนหนึ่งนั่งเฝ้าทรัพย์ไว้ อีกคนเข้าไปหาอาหารในหมู่บ้าน " ธรรมดาความโลภเป็นต้นเหตุแห่งความพินาศ " โจรที่นั่งเฝ้าทรัพย์ก็คิดด้วยความโลภว่า " ถ้ามีมัน ก็ต้องแบ่งทรัพย์เป็นสองส่วน พอมันมาถึง เราจะฆ่ามันด้วยการฟันครั้งเดียว " ฝ่ายโจรอีกคนก็คิดเช่นเดียวกัน พอได้อาหารแล้วก็รีบกินเสียก่อน ส่วนที่เหลือก็ใส่ยาพิษไว้ ถือเดินไปหาโจรที่เฝ้าทรัพย์ พอก้มลงวางอาหารเท่านั้นก็ถูกฟันตายคาที่ โจรนั้นได้นำศพเพื่อนไปทิ้งแล้วกลับมากินอาหาร ตนเองก็เสียชีวิตในที่นั้นนั่นเอง คนทั้งหมดได้ถึงความพินาศเพราะอาศัยทรัพย์นั้นด้วยประการฉะนี้ สองสามวันต่อมา ลูกศิษย์ได้ถือเอาทรัพย์กลับมาแล้วไม่พบอาจารย์ในที่นั้น เห็นแต่ทรัพย์กระจัดกระจายอยู่ จึงทราบเหตุการณ์ เดินผ่านไปเห็นอาจารย์นอนตายอยู่ และซากศพโจรอีกจำนวนหนึ่ง จึงกล่าวเป็นคาถาว่า " ผู้ใด ปรารถนาประโยชน์ โดยอุบายอันไม่แยบยล ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อน เหมือนโจรชาวแคว้นเจตะ ฆ่าพราหมณ์เวทัพพะเสียแล้ว ก็พลอยถึงความ พินาศทั้งหมด " นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ความโลภเป็นหนทางแห่งความฉิบหาย (วายวอด)" (2)



อ้างอิง

(1)  กวิน (นามแฝง) .ดอกทอง.บทความ (article). [cited  2008 October 14]. Available from: URL; http://gotoknow.org/blog/kelvin/168214

(2) เวทัพพชาดก เรื่อง อาจารย์ขมังเวทย์ - นิทานชาดก เล่ม 1 .ธรรมะไทย.[cited  2008 October 14]. Available from: URL; 
http://www.dhammathai.org/chadoknt/chadoknt118.php



ผู้ตั้งกระทู้ กวิน :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-14 01:29:41


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1849606)

ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao

ผู้แสดงความคิดเห็น กวิน วันที่ตอบ 2008-10-14 01:30:49


ความคิดเห็นที่ 2 (2107253)

replica louis vuitton handbags chanel bags offers the same casual versatility louis vuitton like Buckles buttons chains are louis vuitton handbag louis vuitton fake.

ผู้แสดงความคิดเห็น ration (emil-at-mail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-11 08:56:19


ความคิดเห็นที่ 3 (2130060)

เวร

ผู้แสดงความคิดเห็น 222 วันที่ตอบ 2010-11-20 10:36:08


ความคิดเห็นที่ 4 (2130061)

ผู้แสดงความคิดเห็น 2514 วันที่ตอบ 2010-11-20 10:36:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.