ReadyPlanet.com


เฟมทวิต : ประวัติศาสตร์ของแนวคิดสตรีนิยม และปมขัดแย้งในสังคมไทย


  A woman with the label "feminist" on her

 

บริการ เสริมดั้ง ศัลยกรรมจมูก โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากเกาหลี โดย K Beauty Hospital ติดต่อเรา Line : @kbeautyhosp


แนวคิดสตรีนิยม (feminism) และกลุ่มผู้นิยมแนวคิดนี้ที่เรียกว่า "เฟมินิสต์" (feminist) กำลังเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนในหมู่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียของไทย

#เฟมทวิต เป็นแฮชแท็กที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทางโซเชียลมีเดีย โดยเป็นคำเรียกในเชิงเสียดสีที่หมายถึง กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ออกมารณรงค์เรื่องความเสมอภาคทางเพศระหว่างหญิงชาย และต่อต้านเรื่องการเหยียดเพศ ตลอดจนการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิง ผ่านการโพสต์ถ้อยคำในโลกออนไลน์ โดยที่ไม่ได้ลงมือทำอะไรอย่างแท้จริง แบบที่กลุ่ม "เฟมินิสต์" ตัวจริงเคลื่อนไหวรณรงค์อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง

บีบีซีไทยจะพาไปดูประวัติความเป็นมาของแนวคิดสตรีนิยม และความเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศนี้

กำเนิดแนวคิดสตรีนิยม

คำว่า "เฟมินิสม์" (feminism) หรือแนวคิดสตรีนิยม ได้รับการบัญญัติไว้โดยนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ชาร์ล ฟูรีเย ในปี ค.ศ.1837

ปัจจุบันสารานุกรมบริแทนนิกา ซึ่งเป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์มายาวนาน ได้นิยามความหมายของคำนี้ว่าเป็น "ความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง"

ขณะที่พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับอ็อกซ์ฟอร์ด ได้นิยามคำว่า "เฟมินิสต์" (feminist) ว่าเป็น "ผู้สนับสนุนสิทธิและความเสมอภาคของสตรี"

รีเบ็คก้า เวสต์ นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษผู้วิพากษ์วิจารณ์ความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศอย่างตรงไปตรงมา เคยเขียนเอาไว้ในปี 1913 ว่า "ดิฉันเองไม่เคยระบุได้อย่างชัดเจนว่า แนวคิดสตรีนิยม คืออะไร ดิฉันรู้เพียงว่าผู้คนเรียกดิฉันว่า "เฟมินิสต์" เวลาที่ดิฉันแสดงทัศนะที่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างตัวดิฉันกับพรมเช็ดเท้า"

A woman holds a sign in support of women

ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

ผู้รณรงค์เรื่องความเสมอภาคทางเพศชูแผ่นป้ายที่มีข้อความว่า "สิทธิมนุษยชนคือสิทธิสตรี"

พัฒนาการของแนวคิดสตรีนิยม

นาตาลี เฮนส์ นักเขียนและผู้ดำเนินรายการชาวอังกฤษได้เล่าถึงพัฒนาการของแนวคิดสตรีนิยมฉบับย่อไว้ในวิดีโอเรื่อง Feminism: What does it mean to be a feminist? ทางเว็บไซต์บีบีซีว่า นับตั้งแต่การถือกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 แนวคิดสตรีนิยมก็มีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งได้เป็นช่วงต่าง ๆ ดังนี้

คลื่นลูกแรก

เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 (ราวปี 1848-1920) เป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง และสิทธิในการถือครองทรัพย์สมบัติ

การเรียกร้องนี้นำโดยกลุ่มสตรีชนชั้นกลางผิวขาวในอังกฤษและสหรัฐฯ ซึ่งไม่พอใจที่ผู้หญิงต้องอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ชาย เช่น ต้องมีผู้ปกครองชายทำธุรกิจในนามของพวกตน เป็นต้น

นางมิลลิเซนต์ ฟอว์เซ็ตต์ ผู้ก่อตั้งขบวนการเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งของสตรี เธอเป็น "ซัฟฟราจิสต์" ที่เลือกเคลื่อนไหวอย่างสันติ

ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

ภาพขบวนการเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งของสตรี หรือที่ชาวอังกฤษรู้จักกันในชื่อว่า "ซัฟฟราเจ็ตต์" (Suffragette) ที่เกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีก่อน

คลื่นลูกที่สอง

เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 ถึง 1990 โดยก่อนหน้านี้นักเขียนหญิงชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ซิโมน เดอ โบวัวร์ ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง The Second Sex ในปี 1949 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อสตรีตลอดยุคสมัยต่าง ๆ

เดอ โบวัวร์ ชี้ว่า คนเราไม่ได้เป็นกุลสตรีมาโดยกำเนิด แต่ได้ถูกบ่มเพาะให้เป็นในภายหลัง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้หญิงที่ถูกบีบคั้นจากความคาดหวังและค่านิยมของสังคมว่าผู้หญิงควรสงบปากสงบคำและวางตัวให้เรียบร้อย

กลุ่มผู้วิพากษ์วิจารณ์เดอ โบวัวร์ และแนวคิดสตรีนิยม มักระบุว่า การแสดงความเกรี้ยวกราดไม่ใช่พฤติกรรมของกุลสตรี

ขบวนการเคลื่อนไหวของคลื่นลูกที่สอง มุ่งเน้นเรื่องการต่อสู้เพื่อยุติปัญหาการกีดกันและการกดขี่ทางเพศ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แนวคิดสตรีนิยมค่อย ๆ เปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้หญิงทั่วโลก ที่เคลื่อนไหวเรียกร้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทางสังคม เช่น การได้รับโอกาสที่เท่าเทียมทางการศึกษาและค่าตอบแทนในการทำงาน รวมทั้งการมีสิทธิในด้านการอนามัยเจริญพันธุ์ ตลอดจนการมีเสรีภาพในการคุมกำเนิดและการทำแท้ง

Activists of the Aurat (Woman) March shout slogans during a rally to mark International Women

ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

คำบรรยายภาพ,

แนวคิดสตรีนิยมค่อย ๆ เปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้หญิงทั่วโลก ที่เคลื่อนไหวเรียกร้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทางสังคม รวมทั้งต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิงในทุกรูปแบบ

ในปัจจุบันโซเชียลมีเดียได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการอภิปรายเรื่องสิทธิสตรี รวมทั้งใช้ในการรณรงค์ต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิงในทุกรูปแบบ และการขริบอวัยวะเพศหญิง (Female Genital Mutilation หรือ FGM) ที่ยังมีอยู่ในหลายวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่และยอมรับถึงคุณงามความดีที่ผู้หญิงเคยสร้างไว้ในอดีต

ช่วงปลายปี 2017 นิตยสารไทมส์ ได้ยกย่องผู้หญิงที่ออกมาเปิดโปงเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นกับพวกเธอให้เป็นบุคคลแห่งปี

ปรากฏการณ์ "เฟมทวิต" คืออะไร

เว็บไซต์ เฟมินิสต้า ที่นำเสนองานเขียนเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเฟมินิสต์ เรื่องเพศ ความเป็นเพศ และเพศวิถี เล่าถึงความเป็นมาของเรื่องนี้ว่าเป็น "กระแสเฟมินิสต์กับปฏิกิริยาโต้กลับของกลุ่มต่อต้าน"

เฟมินิสต้าอธิบายว่า ผู้ที่มักจะนำคำว่า "เฟมทวิต" มาใช้ หลายคนมาจากกลุ่มในเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า The sanctuary of เบียวชิบหาย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีผู้ชายเข้าร่วมจำนวนมาก โดยมีการโพสต์ข้อความที่เป็นมุกตลกเรื่องเพศ หรือโพสต์ที่มีเนื้อหาเหยียดเพศ บางข้อความเป็นการสนับสนุนความรุนแรงทางเพศ เช่น คลิปผู้ชายทำร้ายร่างกายผู้หญิง คลิปของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ถูกกลั่นแกล้ง โดยมีการเปิดให้คนในกลุ่มมาแสดงความเห็นในเชิงล้อเลียน ตีตรา เล่นมุกขำขัน โดยอ้างเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องเหล่านี้

"คำว่า เฟมทวิต ก็ถูกนำมาใช้ในลักษณะของการล้อเลียนผู้หญิงที่ลุกขึ้นมาพูดเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่ใช้ทวิตเตอร์เป็นที่ถกเถียงพูดคุยเรื่องเพศ" เฟมินิสต้าระบุ

 

อย่างไรก็ตาม เฟมินิสต้าชี้ว่า "ผู้หญิงที่ถูกเรียกว่า เฟมทวิต ได้ใช้คำนี้ในความหมายใหม่ โดยเรียกตัวเองว่า เฟมทวิต และยืนกรานในการใช้คำนี้ โดยมองว่าเฟมทวิตก็คือเฟมินิสต์ที่ขับเคลื่อนสังคมผ่านพื้นที่ออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ ดังนั้นคำว่า เฟมทวิต จึงพลิกกลับจากการถูกเรียกอย่างดูแคลน เป็นการภาคภูมิใจในการเป็นเฟมทวิต เห็นได้จากการที่ผู้ใช้บัญชีทวิตเตอร์หลายคน พร้อมใจกันต่อท้ายชื่อด้วยคำว่าเฟมทวิต เพื่อยืนกรานในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ"



ผู้ตั้งกระทู้ KBH :: วันที่ลงประกาศ 2024-04-02 09:25:40


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.