ReadyPlanet.com
dot dot
รู้สึก นึก คิด เขียน article

รู้สึก นึก คิด เขียน
โชคชัย  บัณฑิต’

 ทัศนะเกี่ยวกับการเขียนบทกวีที่นำมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ไม่น่าจะต่างจากที่เคยรับรู้กันมาก่อน เพียงแต่พยายามจะทำให้เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน เพราะเอาเข้าจริงวิธีการนำเสนอเนื้อหาของบทกวีมีความเป็นศิลปะมากกว่าความเป็นศาสตร์ที่มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวเหมือนสูตรเคมี ในที่นี้จะขอผูกเป็นคำคล้องจองเกี่ยวกับการเขียนบทกวีเพื่อให้จำง่าย ดังนี้  เขียนให้ตรงรู้สึก  นึกอีกภาพขึ้นเปรียบ  เรียบเรียงคมความคิด  ประดิษฐ์ถ้อยคำกวี

เขียนให้ตรงรู้สึก
 งานศิลปะทุกแขนงล้วนเป็นงานที่ใช้สื่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้สร้างไปยังผู้เสพรับ ถ้าเราเคยเขียนบันทึก อนุทิน หรือเขียนอะไรเล่นตามใจอยากเขียน สังเกตไหมว่าคำเหล่านั้นใช้แทนความคิด ความรู้สึกของเราได้ดีในระดับหนึ่ง
 การเขียนบทกวีก็เช่นกัน เพียงแต่มีกรอบบังคับ มีคำจำกัด เราจึงต้องคิดหรือรู้สึกให้เป็นคำที่สั้น กระชับ แต่มีความหมายมาก มิฉะนั้นก็ต้องลดทอนภาษาที่เราคิดแบบที่จะเขียนบันทึกประจำวัน ให้เหลือคำสำคัญที่จะบรรจุลงแต่ละวรรคให้ได้  ตรงนี้ต้องใช้เวลาฝึกหัดบ่อย ๆ ขอเพียงอย่าเพิ่งเอางานเขียนชิ้นแรก ๆ ของเราไปเปรียบเทียบกับงานเขียนของผู้ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เพราะอย่าลืมว่าผู้ประสบความสำเร็จทั้งหลายต่างก็ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งเหมือนเรามาก่อนเช่นกัน
 คราวนี้ลองเปรียบการเขียนบทกวีกับการร้องเพลงดูบ้าง จะพบว่าเพื่อให้ได้อารมณ์หรือบรรยากาศของเพลง ลองสังเกตดู ถ้าขณะร้องเพลงแล้วเรานึกภาพทุกภาพไปตามเนื้อเพลง รู้สึกไปตามความหมายของเนื้อร้อง เพลงที่เราร้องออกมามักได้อารมณ์ของบทเพลงนั้นสมความมุ่งหมายของผู้แต่ง กลับกันบ้าง เมื่อเราเห็นภาพกระทบใจ เกิดความรู้สึกอะไรบ้าง ให้หา “คำ” มาสื่อ มาถ่ายทอดภาพนั้น อารมณ์นั้น ให้ตรงใจของเราที่สุด ถ้าฝึกหัดจนทำได้ละเอียดลึกซึ้งพอ จะพบว่าผู้อ่านสามารถสัมผัสได้ถึงอารมณ์เดียวกันกับผู้เขียนผู้ใช้ภาษาถ่ายทอดออกมาได้ตรงกับความรู้สึก แม้ผู้เขียนเองก็ตาม เมื่อกลับมาอ่านทบทวนอีกครั้งก็จะสัมผัสได้ถึงภาพนั้น อารมณ์นั้นอย่างชัดเจน
 ลองดูผลงานชิ้นนี้ของ ไพวรินทร์  ขาวงาม ที่ตัดทอนมาจากบทกวีขนาดยาวชื่อ ดวงใจจึงจำนรรจ์ ในรวมบทกวี ฤดีกาล
  โลกนี้มีพื้นที่มากมายนัก  แต่มีที่ที่รู้จักไม่กี่ที่
  มีผู้คนมากมายเท่าโลกมี  แต่มีคนรู้จักดีไม่กี่คน
     (ดวงใจจึงจำนรรจ์. ฤดีกาล. 2532,หน้า 140)
 จะเห็นว่าเป็นผลงานที่กระทบใจ กระทบความรู้สึกได้อย่างง่ายงาม แม้จะอุดมไปด้วยคำที่มีสระ “อี” จนเข้าข่ายชิงสัมผัสถ้าถือเคร่งตามกฎเกณฑ์ทางฉันทลักษณ์ แต่กลับ “สัมผัสใจ” ได้อย่างเต็ม ๆ
 คราวนี้ลองพิจารณาด้วยตนเอง ว่าร่ายที่ยกมาจาก ลิลิตพระลอ ข้างล่างนี้ มีวรรคใดที่กระทบใจ ให้จินตภาพที่แจ่มชัดในใจเราบ้าง
เชิญปู่หมอขึ้นขี่  ขับช้างปรี่ปรึงตาม  ทั้งสามไประร่าย  บ่ายหน้าสู่เขาเขียว  เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า ฝ่าแฝกแขมแกมเลา ดงประเดาประดู่ หมู่ไม้ยางไม้ยูง ตะเคียนสูงสุดหมอก  พะยอมดอกมุ่งเมฆ  อเนกไม้หลายพรรณ  มีวัลย์เวียนเกี้ยวกิ่ง  ไม้แมกมิ่งใบระบัด  ลมพานพัดระลอก ดอกดวงพวงเผล็ดช่อ  กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน ตระการกลิ่นหอมหื่น  ชื่นซรุกลูกเหลืองล้วน  ใบอ่อนลำต้นอ้วน  กิ่งก้านแกมงาม

นึกอีกภาพขึ้นเปรียบ
 บางครั้งการแทนค่า “นามธรรม” ด้วย “รูปธรรม” ในลักษณะการใช้ “โวหารกวี” กลับขยายอารมณ์ความรู้สึกได้คมชัดมากกว่าการกล่าวถึงนามธรรมอย่างเลื่อนลอย เช่น รักนะ รักมากจังเลย รักจนบรรยายไม่หมด ถ้าเสียเธอไปฉันคงเสียใจจนสุดจะบรรยาย อะไรทำนองนี้
 ลองพูดใหม่เป็น “ถามว่ารักแค่ไหน  นับเม็ดทรายทั้งทะเลก็รู้
   ลมหายใจที่มีอยู่  คือความคิดถึงจากฉัน
   ถาม จะเจ็บแค่ไหน  หากเธอไปรักใครสักวัน
   ก็ลองนับดูสายฝนนั่น  นั่นคือน้ำตาจากใจ...”
    (เพลง นึกเสียว่าสงสาร ผลงานประพันธ์ของ วสุ  ห้าวหาญ)
 ฟังแล้วมีชั้นเชิงกวีมากกว่าการกล่าวลอย ๆ อย่างย่อหน้าก่อนหน้านี้ไหม หรือเพลงเก่ากว่านี้อย่างเพลง เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง ของ  พยงค์ มุกดา ตรงท่อนแยกที่กล่าวเปรียบเทียบความผิดหวังไว้อย่างคมคายว่า
   “แม้ความเจ็บปวดเป็นเหมือนกรวดทราย
   ถมทิ้งลงไปแม่โขงทั้งสายคงกลายเขินตื้น
   ถ้าความเจ็บช้ำเป็นน้ำก็นองท่วมพื้น
   รสชาติบาดแผลขมขื่นแม่โขงช่วยกลืนให้ไกลแสนไกล”
 ได้บรรยากาศของอารมณ์โศกเศร้าอย่างที่ปรากฏใน ลิลิตพระลอ เจือมาจาง ๆ คล้ายกับโคลงบทที่พูดถึงความเศร้าโศกเสียใจของทวยราษฎร์จากความตายของพระลอ พระเพื่อน พระแพง และบรรดาพระพี่เลี้ยงของตัวละครทั้งสองฝ่าย ที่กวีให้ภาพเปรียบเทียบไว้ว่า
    เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้ ทุกเรือน
   อกแผ่นดินดูเหมือน จักคว่ำ
   บ เห็นตะวันเดือน ดาวมืด มัวนา
   แลแห่งใดเห็นน้ำ  ย่อมน้ำตาคน
 หรืออารมณ์เสียใจที่ยิ่งใหญ่สะเทือนใจจักรวาลของ ศรีปราชญ์ ในกำสรวลศรีปราชญ์ ที่ว่า
    เรียมร่ำน้ำเนตรท่วม  ถึงพรหม
   พาหมู่สัตว์จ่อมจม  ชีพม้วย
   เขาพระสุเมรุเปื่อยเป็นตม ทบท่าว ลงนา
   หากอักนิษฐ์พรหมช่วย  พี่ไว้จึ่งคง
 เป็นโวหารกวีที่ยิ่งใหญ่งดงามสมแก่การกล่าวอ้างเป็นอย่างยิ่ง คราวนี้ลองปลุกจินตนาการที่หลับใหลไปพร้อมกับเยาว์วัยของเราขึ้นมาเทียบเคียงกับ รูป รส กลิ่น เสียง ที่มาสัมผัสเร้าความรู้สึกของเราแล้วเปรียบเทียบออกมาเป็นกวีโวหารดูบ้าง (เช่น อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์ บุคคลวัต ฯลฯ) บางทีเราอาจร่ำรวยอารมณ์กวี ไม่ต่างจากบทกวี เศรษฐี ของ อังคาร  กัลยาณพงศ์ ชิ้นนี้ก็ได้
    ดึกนี้เศรษฐีตื่นแล้ว  สำรวจแก้วมณีในสวรรค์
  ล้วนสมบัติฉันทั้งนั้น  ชื่อแจ่มจันทร์และดวงดาว
    จ้างเทพยดาปรุงอากาศ  บริสุทธิ์สะอาดไว้กลางหาว
  เจียระไนน้ำค้างที่พร่างพราว ป่าวให้ทานบุญสุนทรีย์
    ปลูกมิ่งไม้ไว้หลายภูผา  สั่งฟ้าอุ้มฝนจนเต็มที่
  ไว้รดอุทยานแรมปี  ให้เขียวขจีทั้งไพรวัน
    เลี้ยงโประดกนกหกป่า  ขังขอบฟ้าหิมวาอาถรรพณ์
  ปันผลไม้เป็นของขวัญ  รางวัลกันทุกฤดูไป
    แล้วร้องปลุกอุษาเทวี  เช้านี้หลับสนิทหรือไฉน
  แสงเงินทองธนาคารชัย  แม่เบิกใช้หมดแล้ว ฤ ยังมี
    ฝากบอกพระสุริยาด้วย  ช่วยเร่งอุทัยไขแสงสี
  จ้างใหม่สัญญากว่าโกฏิปี เบิกเงินที่บรมพรหมินทร์
    ฉันเบื่อสมบัติพัสถาน  อำลาอวสานชีวิตสิ้น
  ป่าวร้องทุกเม็ดทรายดิน  รุมกินซากผีนี้เถอะเทอญ

 ความสำคัญของโวหารกวียังได้รับการยกย่องจาก อริสโตเติล โดยสรรเสริญอุปลักษณ์(metaphor : การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่ง “เป็น” อีกสิ่งหนึ่ง)ไว้ว่า “เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่สุด”สำหรับกวี (พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม : ภาพพจน์ โวหาร และกลการประพันธ์. 2539,หน้า 138)
 แต่ต้องไม่ลืมทัศนะของ นายผี (ในนามปากกา ประไพ วิเศษธานี) ที่เห็นว่า “...กาพย์กลอนที่ต้องการความเด่นชัดเท่า ๆ กับความลึกซึ้งยิ่งต้องอาศัยการพูดด้วยภาพ คืออุปมามากขึ้นอีกหลายเท่า แต่การพูดด้วยภาพหรือการสร้างอุปมานี้ก็จะต้องมีความแน่นอนของมัน มิใช่ว่าจะเอาอะไรมาพูดเรื่อยเปื่อยไปได้เสียทั้งหมด บางคนมัวแต่อุปมาเสียจนไม่รู้ว่า สิ่งที่ตัวอยากพูดถึงนั้นคืออะไร ลืมไปเสียแล้ว...” (ประไพ วิเศษธานี. เคล็ดกลอนเคล็ดแห่งอหังการ. 2529, หน้า 71)

เรียบเรียงคมความคิด
 บทกวีที่ดีนอกจากจะมีความคมคายของคารมกวีหรือสำนวนโวหาร ตลอดจนความกระทบใจกระทบความรู้สึกที่ถ่ายทอดไปยังผู้อ่านแล้ว บทกวีที่ดีควรจะบาดคมความคิดลงไปในความรับรู้ของผู้อ่าน ให้เก็บไปคิดใคร่ครวญ ตีความ ต่อยอดความคิดต่อไป ดังตัวอย่างบทกวีในรูปกลอนเปล่า ชิ้นที่ชื่อ สายน้ำ ของ เทพศิริ  สุขโสภา
    ข้าเห็นเรือที่ไม่อาจลอย
    ซ่อนลำในท่อนไม้ทื่อ ไกลมือช่าง
    ไม่มีขวานใครถาก ไม่มีสิ่วใดสกัด
    กลายเป็นซุงผุ รอวันเผา
    สายน้ำ ไหลระเริง
    สำรวจไม้รายต้นตลอดฝั่งจนสุดแผ่นดิน
    ไม่เห็นต้นใดฝันอยากเป็นเรือ
     (มติชนสุดสัปดาห์ 2539)
 ผู้อ่านต้องตีความเอาเองว่า “ต้นไม้” ในบทกวีชิ้นนี้  ผู้เขียนต้องการให้กินความไปถึงอะไร หรือบุคคลใดบ้าง รวมทั้งสัญลักษณ์ “เรือ” ที่ผู้อ่านต้องตีความเอาเองตามแต่ประสบการณ์เฉพาะตน หรือแม้แต่จะอ่านบทกวีชิ้นนี้เพื่อรับเอาแต่ภาพและอารมณ์กวีล้วน ๆ ก็ย่อมกระทำได้เช่นกัน
 สำหรับบทกวีชื่อสั้น ๆ ว่า มือ ของ ประกายพฤกษ์  จิตกาธาน ที่จะยกเป็นตัวอย่างต่อไป ก็ให้ความคิดชนิดไม่ต้องตีความซับซ้อน เป็นการเสนอคมความคิดในบทกวีอีกแบบหนึ่ง ลองศึกษาและทำความเข้าใจดู
    มือ
    มือเด็ก เด็ก
    อ่อนนุ่ม
    รู้เกาะกุม
    รู้ปล่อยวาง
    มือ
    มือผู้ใหญ่
    หยาบกระด้าง
    ไม่รู้ปล่อยวาง
    รู้แต่เกาะกุม
     (มติชนสุดสัปดาห์ 2528)
 ก่อนจรดปากกาบันทึกอารมณ์คราวต่อไป คงต้องเจียระไนความคิดให้คมคาย คิดให้ตลอดว่าต้องการบอกอะไร หรือทิ้งอะไรไว้ในความรับรู้ของผู้อ่านบ้าง นอกจากความพริ้งพรายของถ้อยคำ

ประดิษฐ์ถ้อยคำกวี
 ในที่นี้หมายถึงการ “สร้าง” และ “สรร” ถ้อยคำมาใช้ให้เหมาะแก่ใจ และเหมาะกับเนื้อหาในแต่ละจุด แต่ละวรรค หรือแต่ละชิ้น รวมถึงการตรวจทาน ขัดเกลา แก้ไขผลงานที่เขียนขึ้น โดยเก็บไว้สักระยะหนึ่งจนลืมความอิ่มเอมขณะเมื่อเขียนเสร็จใหม่ ๆ แล้วนำกลับมาอ่านอีกครั้งในฐานะผู้อ่าน มิใช่ในฐานะของผู้เขียน เพื่อแก้ไขบางคำ บางวรรค บางสำนวนให้ลงตัวยิ่งขึ้น
 ในประเด็นของการสร้างคำก็เช่นคำว่า “พลิ้ว” ซึ่งกวีอย่าง เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์ เห็นว่าอาการที่ใบไม้ไหวลม บางครั้งมันเกินกว่าคำ พลิ้ว ที่ใช้ “ล”กล้ำ ตามพจนานุกรมจะบรรยายถ่ายทอดได้ แต่น่าจะเป็นอาการ “พริ้ว” อย่างที่ใช้ “ร”กล้ำ
 หรืออย่างบทกวีชื่อ  แล้งที่ร่วงราย ของ แรคำ  ประโดยคำ ที่ขึ้นต้นไว้ว่า
    แกรบเกรียบเมื่อเหยียบใบไม้กรอบ แล้งไล้รุมรอบทุกกรอบกร้าน
  กระจ่างฟ้ากว้างกว้างก็ว่างงาน  แรงร้อนตะวันฉานอยู่ฉาดโชน
 คำว่า “แกรบเกรียบ” ทีให้ภาพและเสียงใบไม้แห้งถูกเท้าเหยียบ ไม่มีในพจนานุกรม(มีแต่คำว่า กรอบ  กรอบแกรบ และ กรอบเกรียบ) แต่ แรคำ นำคำสองคำมาเข้าคู่กันใหม่ทำให้ได้อารมณ์ความรู้สึกมากกว่าคำเดิม นับเป็นการสร้างคำอีกอย่างหนึ่งของกวี
 การแผลงคำ ก็จัดอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยการสร้างคำใหม่ของกวีเช่นกัน
 สำหรับการ “สรร”คำ ก็เช่นคำที่มีความหมายว่าผู้หญิง มีมากมาย อาทิ กัลยา นารี บังอร นงคราญ นงราม พธู ฯลฯ  หรือคำที่หมายถึง นก อาทิ วิหค สกุณา ปักษา ปักษี ทิชาชาติ ฯลฯ คนเขียนบทกวีสามารถหยิบมาใช้ให้เหมาะกับเนื้อหาหรือเหมาะกับอารมณ์เป็นเรื่อง ๆ  ไป คำเหล่านี้คือ“คำไวพจน์” ในวิชาภาษาไทยนั่นเอง
 สำหรับผู้เริ่มต้นเขียนบทกวี เอาแค่การสรรคำและการตรวจทานแก้ไขผลงานเป็นเบื้องต้นก่อนก็คงจะพอ ยังไม่ต้องถึงขั้นการสร้างคำหรือเล่นกับคำจนหลงลืมเนื้อหาและความสะเทือนอารมณ์ซึ่งเป็นหัวใจของบทกวี
 จากที่กล่าวมาทั้ง 4 ประเด็น เป็นการอธิบายแบบแยกส่วนเพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจ แต่บทกวีที่ดีควรจะต้องนำเสนอด้วยวิธีการทั้ง 4 ข้อไปพร้อม ๆ กัน โดยจะให้น้ำหนักไปในข้อใดมากน้อยกว่ากันเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของบทกวีแต่ละชิ้น
 เพื่อให้จำง่าย เราสามารถสรุปหัวข้อให้กระชับลงได้อีก เหลือเพียง รู้สึก นึก  คิด  เขียน
 นี่คือสิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกหนึ่งทัศนะ.

 

 

 




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ