ReadyPlanet.com
dot dot
ตลาดวิชาและบางสิ่งที่มองข้าม article

ตลาดวิชาและบางสิ่งที่มองข้าม

 

คงไม่สายนะครับ ถ้าจะสวัสดีปีใหม่

                พบกันสัปดาห์แรกของการรายงานวรรณกรรม มกราคม ๒๕๕๐ จึงย้อนทั้งเรื่องแต่ค้างคาไว้ตั้งแต่เมื่อปลายปี ๒๕๔๙ ที่ยังไม่ได้รายงาน

ขอเล่าเรื่องบรรยากาศค่ำคืนที่ไร่ประคอง***ล ลาดหญ้า กาญจนบุรี เมื่องานกิจกรรม “มองเส้นทางวรรณคดี มีประวัติศาสตร์” เมื่อวันที่ ๒๓ – ๒๔ ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งจัดโดย สโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล โดยการสนับสนุนของ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ที่มี ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ เป็นผู้อำนวยการสำนักฯ

ค่ำคืนนั้นเป็นเสวนารอบกองไฟแบบสบายๆ ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นของปลายปี

คืนนั้นมีคุณประสาร มฤคพิทักษ์ เป็นพิธีกร หลังจากรับประทานอาหารค่ำและฟังดนตรีจากวงเครื่องสายวิสุทธรังสีแล้ว จึงเป็นการเสวนาพูดคุยเรื่องรสทางวรรณศิลป์ ซึ่งเป็นเวทีเปิดให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นกันเต็มที่ไม่มีพิธีการใดๆ หลักๆ ที่ร่วมแสดงความคิดได้แก่ เจ้าของสถานที่ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แล้วมีคณะวิทยากรที่มาจากกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็น ผศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์,ทองแถม นาถจำนง,โชคชัย บัณฑิต’,จรูญพร ปรปักษ์ประลัย,พิเชฐ แสงทอง,นันทพร ไวศยสุวรรณ รวมทั้ง ขุน รำยอง

ประเด็นอยู่เรื่อง เสภาขุนช้าง – ขุนแผน ฉากและสถานที่บริเวณลาดหญ้า เมืองกาญจนบุรี และอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่อง ความเปลี่ยนแปลง ของ นายผี –อัศนี พลจันทร์

ความเปลี่ยนแปลง ของนายผี นั้นเป็นงานเขียนที่นายผีเขียนขึ้นก่อนจะตัดสินใจเข้าป่าถือว่าเป็น มหากาพย์ เรื่องหนึ่งของวรรณคดีไทยเรื่องหนึ่ง

อนึ่งกวีนิพนธ์เรื่องนี้ นายผี เขียนถึงความเป็นมาประวัติของต้นตระ***ลของนายผี ตั้งแต่ พระยาพล ซึ่งเป็นต้นตระ***ล พลจันทร์ – พลกุล ซึ่งเป็นลีลาของ กาพย์

เสน่ห์ของ กาพย์ คือความกระชับ และรัดกุมความหมาย กวีหลายท่านที่เชี่ยวชาญในการอ่านบทกวีตามเวทีม็อบต่างๆ มักจะนำกาพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยานี ๑๑ หรือว่า ฉบัง ๑๖ มาเป็นหลักในการอ่าน (อันนี้ไม่ได้หมายความเป็นมาตรฐานในการอ่านกวีนิพนธ์) ต่างกับกลอนสุภาพที่นิยมไว้ขับร้อง

ประหนึ่งว่ากวีนิพนธ์ กาพย์ นั้นเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ เห็นได้ชัดจากบทกวี อีศาน ของ นายผี ถูกนำมาใช้ในเวทีเรียกร้องเรื่องความทุกข์ยากของคนแผ่นดินตะวันออกเฉียงเหนือ

ทั้งนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บทกวีอีศาน ของนายผี นั้น พูดถึงความแห้งแล้วแต่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่นั้นด้วย อีสานจึงไม่ได้แห้งแล้งแต่อย่างเดียว มีห้วยหนองคลองบึงเต็มไปหมด ถ้าหน้าแล้งก็ย่อมจะแห้งแล้งเป็นธรรมดา ไม่ทำไมไม่ไปยามหน้าฝนหรือหน้าหนาวจะเห็นอีสานมีความอุดมสมบูรณ์

ฉะนั้น การต่อสู้ทางภาคประชาชนในการชูประเด็นกวีนิพนธ์ที่สะท้อนถึงความทุกข์ยาก จึงเป็นเงื่อนไขหนึ่ง สภาพภูมิศาสตร์จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องทำความเข้าหมากทั้งกระดานไม่ใช่มองแต่ด้านเดียว

แต่ต้องอาศัยหลักฐานจากวรรณคดีเพื่ออิงกับโบราณคดีในการทำความเข้าภูมิสังคมวัฒนธรรม เรื่องนี้การศึกษาในตำราเรียนไม่ค่อยให้ความสำคัญ

การที่นายผีเลือกเอากวีนิพนธ์ประเภท “กาพย์” เขียนเรื่องความเปลี่ยนแปลง ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวของนายผีเอง แล้วเมื่ออ่านก็สะเทือนถึงอารมณ์ยิ่งนัก เรื่องราวเหล่านี้ถือเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งนอกเหนือไปจาก “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ” ที่มีอยู่ในแบบเรียนตามหลักสูตรที่ใช้กันอยู่

เหตุผลหนึ่งที่ กวีนิพนธ์ร่วมสมัยขาดหายไปคือ ภูมิสังคมวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ ที่มีอยู่จึงเป็นแค่เรื่องอารมณ์ความรู้สึกล้วนๆ แล้วมองข้ามประเด็นทางสังคมประวัติศาสตร์

ถ้าจะกวีแล้งแหล่งสยามเพราะการมองข้ามเรื่องภูมิสังคมประวัติศาสตร์ก็คงไม่น่าแปลกประหลาดอันใดเลย เพราะนั่นคือผลสืบเนื่องจากหนึ่งที่เป็นความล้มเหลวของระบบจากศึกษาในระบบ

ทั้งนี้ ก็ใช้ว่าใครเกิดมาจะรู้จักลีลาการเขียนฉันทลักษณ์ ประกวดกลอนชนะเลิศมาแล้วเป็นสิบทิศจะเข้าถึงได้เป็นกวี อาจเป็นเพียงผู้รู้จักการเขียนกลอนแต่เขียนกลอนไม่เป็นก็ได้

กรณี นายผี ความเป็นกวีของนายผี จึงไม่ใช่อยู่ที่รางวี่รางวัลแต่เป็นผลงาน พี่เสมอ กลิ่นหอม หรือกวีนาม ขุน รำยอง เคยเขียนเป็นบทความจึงคัดมาให้อ่านดูนะครับ ชื่อเรื่องว่า “กวีอมตะอยู่ที่ผลงาน” ดังนี้

ผลงานของกวี  คือ  “ตัวปัญหา”  ที่ผูกร้อยปรุงแต่งขึ้นมาด้วยตัวอักษร  สอดประสานเป็นเกลียวคลื่นแห่งอารมณ์สุนทรี  เป็นดั่งเวทมนต์ขลังสะกดจิตสะกดใจของผู้เสพให้พิศวงอัศจรรย์ดั่งได้ดื่มรสทิพย์ประเทืองปัญญารู้เท่าทันโลก  ชีวิต  จักรวาล.....

                ผลงานของกวี  จะเป็นพยานยืนยันในความแตกฉานภายในของกวีแต่ละคน  ไม่มีใครลอกเลียนแบบจากใครได้  กวีแต่ละคนย่อม  “ปรากฏอยู่อย่างดวงตะวัน”  ลอยเด่นเป็นสง่า    ฟากฟ้านภากาศ  เป็น  “ศูนย์กลางแห่งดวงดาว”  ในระบบสุริยะหนึ่ง ๆ  ส่องแสงสว่างเจิดจ้าขับไล่ความมืดให้พ้นไป  เพิ่มฟืนไฟความอบอุ่นและร้อนแรงแห่งสำนึกของมวลมนุษย์เพื่อฉุดรั้งไม่ให้ตกนรก.....

                ผลงานของกวี  คือ  “ตัวตนกวี”  ที่แท้จริง

                ตัวตนกวีย่อมยืนยงเป็นอมตะตลอดไป

                ไม่ขึ้นอยู่กับความชอบหรือความชังของผู้คน.....

                อารมณ์ของผู้คนแห่งยุคสมัย  เป็นเพียงกระแสแปรเปลี่ยนไปตาม  “สมัยนิยม”  หรือ  “แฟชั่น”  เป็นไฟไหม้ฟาง  วูบ ๆ วาบ ๆ  ไม่มีแก่นสารอันใดหลงเหลืออยู่.....

                แต่  “ตัวตนกวี”  คือ  “ตัวปัญญาสากล”  คือ  สุนทรียารมณ์สง่างามข้ามยุคสมัย  ฉะนั้น  กวีที่แท้    วันนี้  เขาจะกิน  จะนั่ง  จะยืน  จะเดิน  จะมี  จะเป็น  จะเล็ก  จะใหญ่  จะอ้วน  จะผอม  จะทุกข์  จะสุข  ฯลฯ  อยู่    สถานถิ่นใด  .....มิใช่สาระสำคัญ  เพราะตัวตนของกวีไม่มี  “ฟอร์ม”  เหลืออยู่  ตัวตนของกวีไม่ใช่ซากเปลือกหอยที่กลิ้งเกลือกอยู่ชายหาด  ตัวตนของกวีคือ  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  ซึ่งผสมผสานกันเป็นทิวทรรศน์ธรรมชาติเรียงรายอยู่รอบตัว    หาดทรายงามยามเช้า  สาย  บ่าย  ค่ำ  ฉะนี้แล

ธาตุกวี

“กวี”  เป็นสถานะเป็น  “ธาตุ”  แทรกซึมซ่อนเร้นอยู่ใน.....นักคิด  นักเขียน  ศิลปิน  นักการเมือง  นักธุรกิจ  นักวิทยาศาสตร์  เศรษฐี  ยาจก  ชาวไร่  ชาวนา  กรรมกร  ขอทาน  คนตาบอด  คนหูหนวก..... 

ครับ  “ธาตุกวี”  มีอยู่ทั้งในศาสดาและซาตาน

                มีกวีเอกของโลกยืนเดินนั่งนอนอยู่ตามทางเท้าทั่วไป    ถนนชีวิต

                ตาดีได้  ตาร้ายเสีย  เทอญ”

พูดถึงการศึกษานอกระบบในระบบพอดีก็มีงานกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากเมืองกาญจนบุรี คือ ตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน ณ สาขา สกายไฮ (ข้างๆ สยามรัฐนี่แหละ) เมื่อวัน ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ เป็นการเสวนาฮาเฮเรื่อง “ป้องไพรมิให้ได้วิชา” จากเรื่องพระอภัยมณี

เรื่องที่มาของหัวข้อนั้นมาจาก

ซึ่งดนตรีตีค่าไว้ถึงแสน                       เพราะหวงแหนกำชับไว้ขับขัน

ใช่ประสงค์ตรงทรัพย์สิ่งสุวรรณ         จะป้องกันมิให้ไพร่ได้วิชา

ในพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ ตรงนี้แหละน่าสนใจถึงประเด็นการศึกษาในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีการเล่าเรียนกันเฉพาะเจ้าขุนมูลนายหรือผู้ดีมีเงิน ชาวบ้านไพร่ไม่สิทธิ์ที่จะเรียนเพราะไม่มีเงิน

เรื่องนี้เป็นประเด็นหนึ่งของการศึกษาที่จำกัดอยู่นะรบบนอกระบบ การจัดตั้งมหาวิทยาลัยชาวบ้าน ตลาดวิชานี้ เป็นการเผยแพร่เรียนรู้โดยระบบการศึกษานอกระบบ

สุนทรภู่ นั้นถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการแสวงหาความรู้ ศึกษาได้จากงานเขียนเรื่องต่างๆ ทั้งพระอภัยมณี หรือ รำพันพิลาป นอกจากนี้ นิราศเรื่องต่างๆ ที่ท่านเขียนขึ้น สามารถนำมาถอดองค์ความรู้ ร่วมกันสั่งสมได้ในรูปแบบ ตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน นี้แหละครับ

อนึ่ง ใครสงสัยเรื่อง มหากวีกระฎุมพี สุนทรภู่ อธิบายโดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงษ์ แล้วไม่ได้ไปฟังที่วัดเทพธิดาราม ขณะนี้มี ซีดีจำหน่ายแล้ว (ขายตรง) สามารถสั่งซื้อได้ที่ กองทุนสุนทรภู่ 081-4306730

.................

ขอแสดงความยินดีกับ มุกหอม วงษ์เทศ ที่ได้รางวัล “ม.ร.ว.อายุมงคล โสฌกุล” ประจำปี ๒๕๔๙ ซึ่งจะมีพิธีมอบในวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๐๐ น. ณ วังสวนผักกาด ถ.ศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ๑๗.๑๕ น. ชมสักวาบอกบท นำโดย ประยอม ซองทอง แห่งสโมสรสยามวรรณศิลป์ ประกอบดนตรีไทยคณะดุริยประณีต โดยอาจารย์สุดจิตต์ ดุริยประณีย์ ศิลปินแห่งชาติ  

…………….

มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ขอเรียนเชิญร่วมสัมมนาและเปิดตัวหนังสือ  ทหารกับการเมืองในอุษาคเนย์ :ศึกษาเปรียบเทียบกรณีของไทยพม่า อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ อาทิตย์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๒.๓๐ น.- ๑๗..๐๐ น. ณ ห้อง ๒๐๑ ชั้น ๒ คณะศิลปะศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

๑๓.๐๐ น. เปิดงานโดย ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ปาฐกถานำ “พม่า” โดย ศ.โรเบิร์ต เทเลอร์ ผู้เชียวชาญการเมืองพม่า และอดีต อธิการบดีมหาวิทยาลัยบัคกิ้งแฮม อังกฤษ (กล่าวเป็นภาษาอังกฤษ และมีสรุปความเป็นภาษาไทย และแนะนำหนังสือ “รัฐพม่า” โดย ผศ. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ และ ผศ. พรรณงาม เง่าธรรมสาร ภาคบ่ายจึงเป็นการสัมมนาเรื่อง ทหารกับการเมืองในอุษาคเนย์ :ศึกษาเปรียบเทียบกรณีของไทยพม่า อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (ไทย) ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์ (อินโดนีเชีย) ดร.สุรชาติ บำรุงสุข (ไทย) รศ.สีดา สอนศรี (ฟิลิปปินส์) อ.พรพิมล ตรีโชติ (พม่า) พิธีกรประจำวัน อ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ งานฟรีไม่ต้องลงทะเบียนครับ

 สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย มีเว็บไซต์ใช้แล้ว มิตรรักนักกลอนสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ www.thaipoet.net




Post : ซอกแซก
Date : 08-01-2007 17:48:09
IP : 58.9.135.175

หยัดอยู่

    เติมสีฟ้าอีกนิดนะทะเล  
    แล้วจะเห่ลมให้ระลอกคลื่น
    หลับอยู่ในความฝันทั้งวันคืน 
    ฉันอยากชื่นฉ่ำประกายกับสีฟ้า
    เติมสีเขียวอีกนิดนะแผ่นดิน 
    แล้วจะรินฝนล้างฝุ่นหมอกฝ้า
    ฉันอยากเห็นความเขียวเติมสายตา 
    เมื่อยามฉันตื่นมาพบความจริง
    ขอฟังเสียงนกหน่อยได้ไหม 
    มาร้องเพลงแห่งไพรให้สรรพสิ่ง
    ท่ามกลางกาลเวลาถูกทอดทิ้ง 
    ที่ป่าเถื่อนเกลื่อนกลิ้งอยู่รอบกาย
    ขอดอกไม้บานหน่อยนะดอกไม้ 
    แล้วจะให้ผีเสื้อมาฟ้อนส่าย
    ฉันอยากเห็นสีสันพรรณราย 
    มาต้อนรับรุ้งสายวสันต์ฤดู
    หยุดประเดี๋ยวได้ไหมพายุร้าย 
    หยุดส่งสายสุนีบาตรมาข่มขู่
    กัมปนาทกราดเกรี้ยวอันเกรียวกรู 
    เพื่อสักครู่เจ้าจะหลั่งซึ่งฝนริน
    เติมความรักสักหน่อยนะหัวใจ 
    เติมความหวังให้ไกลอย่าให้สิ้น
    เพื่อหยัดอยู่สู้ท้าเถื่อนธรณิน 
    เพื่อแผ่นดินจะงดงาม...ด้วยความรัก




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ