ReadyPlanet.com
dot dot
สนิมในวรรณคดี article

พูดถึงวรรณคดีไทยแล้ว ใครๆ ก็ต้องยอมรับว่าทรงความวิเศษ เพราะว่าไพเราะทั้งรสถ้อย,รสความ และสัมผัส เช่น -

                “อันมนุษย์สุดดีที่ลมปาก                   จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา

                หรือ

                “อดข้าวดอกนะเจ้าชีวิตวาย               ไม่ตายดอกเพราะอดเสน่หา”

                หรือ

                “ดูทองคำน้ำเม็ดเพ็ชรรัตน์                               พอรู้ชัดชัดไม่ลำบากยากตาหู

                แต่ปัญญานั้นไม่แน่ด้วยแลดู                             แม้นจะรู้ต้องปรากฏต้องทดลอง”

                ในบทเข้าพระเข้านางหรืออย่างที่สมัยใหม่เรียก “บทรัก” นั้นการพรรณนาโวหารธรรมดาอย่างเราๆ ไม่อาจกล่าวให้ลึกซึ้งถึงแก่นได้โดยไม่หยาบคาย, แต่ในวรรณคดีนั้นท่านหลีกไปได้อย่างสะดวก. เช่น;-

                “เอนอิงพิงประทับลงกับหมอน

                สะอื้นอ้อนอ่อนแอบลงแนบหน้า

                กระเดือกเสือกดิ้นอยู่ไปมา

                เกิดมหาเมฆมืดโพยมบน

                ฮือฮืออื้อเสียงพยุพัด

                กลิ้งกลัดเกลื่อนกลุ้มชอุ่มฝน

                เป็นห่าแรกแตกยับโพยมบน

                ไม่ทานทนทั่วกระทั่งทั้งแดนไตร”

                นี่เป็นเหตุการณ์ของหนุ่มรุ่นและสาวน้อย เมื่อร่วมภิรมย์เป็นครั้งแรก คือพลายแก้วกับนางพิม. พอครั้งที่สอง

                “กำเริบราคเสียวกระสันประหวั่นจิตต์

                หวุดหวิดวุ่นวายกายกระฉ่อน

                พระพายพัดซัดคลื่นในสาคร

                กระท้อนกระทบกระทั่งฝั่งกระเทือน

                เรือไหหลำแล่นล่องเข้าคลองน้อย

                ฝนปรอยฟ้าลั่นสนั่นเลื่อน

                ไต้ก๋งหลงบ่ายศีรษะเชือน

                เบือนเข้าติดตื้นแตกกับตอ”

                นี่เป็นรสสวาทจากสาวน้อย คือนางพิม.

                ที่นี้ลองมาดูรสสวาทของสาวใหญ่บ้าง คือนางสายทอง

                “ทำตาปริบปรอยม่อยประวิง

                เจ้าพลายอิงเอนทับลงกับเตียง

                ค่อยขยับจับเขยื้อนน้อยน้อย

                ฝนปรอยฟ้าลั่นสั่นเปรี้ยง

                ลมพัดซัดคลื่นสำเภาเอียง

                ค่อยหลีกเลี่ยงแล่นเลียบตลิ่งมา

                พยุหนักชักใบได้ครึ่งรอก

                แต่เกลือกกลอกกลับกลิ้งอยู่หนักหนา

                ทอดสมอรอท้ายเป็นหลายครา

                เภตราหยุดแล่นเป็นคราวคราว...”

                นอกจากบรรยายเหตุการณ์แล้ว ท่านก็สรุปเปรียบเทียบไว้อย่างสวย;

                “สมพาสพิมดุจริมแม่น้ำตื้น

                ไม่มีคลื่นแต่ระลอกกระฉอกฉาว...”

                ระลอกนั้นไม่เป็นไรพอจะประคองเรืออกทะเลไปได้

                “ปะสายทองดุจต้องพายุว่าว

                พอออกอ่าวก็พอจมล่มลงไป”

                แต่พอเจอพายุเข้า ไปไม่รอด,เรือต้องล่มลงเสียก่อนที่จะออกอ่าว และนี่แหละคือที่มาของคำ “ล่มปากอ่าว” ที่เราพูดกันอยู่

                หรืออย่างตอนที่พระไวยไปลักนางวันทองมาให้พ่อ, นางวันทองไม่ลงใจด้วย ขุนแผนก็ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งจนสำเร็จกิจไปข้างเดียวโดยนางวันทองมิได้เสียหาย, ก็ว่าไว้ให้เห็นอย่างไม่มีกระดางลาง ;-

                “ว่าพลางเคลียเคล้าเข้าแนบข้าง

                จูบพลางทางกอดประโลมขวัญ

                ก่ายกอดสอดเกี่ยวพัลวัน

                วันทองกั้นกีดไว้ไม่ตามใจ

                พลิกผลักชักชวนให้ชื่นชิด

                เบือนบิดแบ่งรักหาร่วมไม่

                สยดสยองพองเสียวแสยงใจ

                พระพายพัดมาลัยตระหลบลอย

                แมลงภู่เคล้าไม้ในไพรชัด

                ไม่เบิกบานก้านกลัดเกสรสร้อย

                บันดาลคงคาทิพย์กะปริบกะปรอย

                พรมพร้อยท้องฟ้านภาลัย

                อสุนีครื้นครั่นสนั่นก้อง

                น้ำฟ้าหาต้องดอกไม้ไม่

                กระเซ็นรอบขอบสระสมุทไท

                หวิวใจแล้วก็หลับกับเตียงนอน”

                สิ่งเหล่านี้นักวรรณคดีมือใหม่ๆ อาจจะชื่นชมแล้วหยิบยกเอาไปประดับไว้ในข้อเขียนของตนเพื่อให้ข้อเขียนของตนคมขำ,เพริศแพร้ว,ทรงคุณค่าขึ้น. แต่สำหรับนักวรรณคดีที่คร่ำหวอดแล้วออกจะรู้สึกอึดอัด.

                เพราะอะไร

                เพราะวรรณคดีมิได้ให้แต่ความเอมโอชอย่างเดียว แต่ยังเป็นจดหมายเหตุอีกส่วนหนึ่ง. อย่างเช่นอาจารย์สตรีท่านหนึ่งซึ่งเมื่อคราวประชุมซิมโปเซียมที่คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ ท่านได้เสนอผลงานค้นคว้าเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องเชิงศรีปราชญ์ไม่ได้แต่งกำศรวล หรือกำศรวลไม่ใช่ศรีปราชญ์แต่งอะไรทำนองนี้.หนักฐานข้อหนึ่งที่ท่านอ้างก็คือ โคลงกำศรวลบทที่ ๙ ที่ว่า :-

                                “ยามพลบเสียงกึกก้อง                       กาหล

                เสียงแฉ่งเสียงสาวทรอ                                       ข่าวชู้

                อยุธยายิ่งเมืองทล                                                มาโนช ***เอย

                แตรตระหลบข่าวรู้                                              ข่าวยาม”.

                ท่านอ้างว่า “แตร” นี้มีมาก่อนศรีปราชญ์ ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว, ฉะนั้นจะเป็นศรีปราชญ์แต่งไม่ได้.

                อันวรรณคดีไทยนั้น บรรดานักเลงหนังสือเราก็ย่อมทราบแล้วว่าต้นฉบับเดิมเป็นตัวเขียน, เขียนลงในสมุดข่อย. และแต่ละเรื่องก็มิได้มีเล่มเดียว. และแต่ละเล่ม ถ้อยคำและอักขรวิธีก็มิได้ตรงกัน.ทั้งนี้ก็เป็นเพราะการคัด-ลอก ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของเสมือนผู้ลอก. และในการพิมพ์ในเวลาเมื่อจะพิมพ์ก็หยิบเอามาแต่เล่มใดเล่มหนึ่งมาพิมพ์.จึงแน่ใจได้หรือว่าถูกต้อง.

                และโดยเฉพาะเรื่องนี้ (กำศรวล) กรมศิลปากร โดยคุณธนิต อยู่โพธิ์ ได้ชำระจากต้นฉบับตัวเขียน ๙ ฉบับ ซึ่งพิมพ์ออกมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ความออกมา (เฉพาะบาทที่ ๔) ว่า “เขตรตระหลบข่าวรู้ ข่าวยาม”. อย่างนี้แล้วจะอิงได้อย่างไร   

                นี้ข้อที่ ๑

ข้อที่ ๒ อักขรวิธีของไทยเราแต่สมัยสุโขทัยมามีวรรณยุกต์แค่ไม้เอก,ไม้โท,ไม้ตรี,ไม้จัตวา,ไม่มี. นี่เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปในบรรดานักอักษรศาสตร์ เพราะมีโคลงในหนังสือจินดามณีอันเป็นตำราซึ่งแต่งเมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์บอกไว้:-

                                “สมุห์เสมียนเรียนรอบรู้                   วิสัญ       ชะนีนา

                พินธุ์เอกพินธุ์โททัณฑ-                                     ฆาตคู้

                ฝนทองอีกฟองมัน                                              นฤคหิต

                แปดสิ่งนี้ใครรู้                                                      จึ่งให้เป็นเสมียน”

                วิสัญชนี, ไม้เอก,ไม้โท,ทัณฑฆาต,ไม้ไต่คู้,ฝนทอง,ฟองมัน,นฤคหิต,รวมเป็น ๘.ไม่มีมีไม้ตรี ,ไม้จัตวา.

                แต่ว่าในหนังสือสมุทรโฆษคำฉันท์ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกันก็มีความว่า :-

                “นกกรอดลอดตับคาเคียง                  ช่างเหล็กเต๊กเสียง

                กระวานกระแวนแกลนกลัว”

                “โอะโอ๋มาทนทุกข์ทำงาน                 เพราะว่าพรากพธูสมร”

                จะเห็นว่ามีทั้งไม้ตรีและไม้จัตวา. อย่างนี้แล้วจะเชื่อไหน.

                ข้อที่ ๓ ในบรรดานักโหราศาสตร์ย่อมทราบกันอยู่ทั่วไปว่าดาว เคราะห์แต่เดิมมีเพียง ๘ ดวง คือ อาทิตย์,จันทร์,อังคาร,พุธ,พฤหัส,ศุกร์,เสาร์,ราหู. รวมเรียกอัฐเคราะห์ ดังปรากฏในตำราชั้นโกสินทร์ นี่เอง, แต่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงอันเป็นหนังสือในสมัยสุโขทัยกลับกล่าวว่า:-

                “เท่าแต่พระอาทิตย์พระจันทร์กับแลดาว ๖ ดวงคือดาวอังคารและพระพุทธ, พระพฤหัสบดี,พระศุกร,พระเสาร์,พระเกตุ,อันเป็นนพเคราะห์ หากรู้คลาดกันไส้ไปในทักษิณวรรตนั้น”.

                ในนี้ของท่านมีพระเข้าแล้ว,แต่ราหูหายไปเพราะลอกตก,คำนพเคราะห์บอกอยู่.

                อย่างนี้แล้วจะเชื่อใคร.

                ในไตรภูมินั้นมีคำวิปลาสเป็นอันมาก. แต่คำที่ถูกๆ ต้องๆ ยังอ่านกันไม่ค่อยรู้เรื่องอยู่แล้ว ยังไปวิปลาสเสียอีก แล้วจะเข้าใจได้อย่างไร. หนังสือมีไว้ไม่อ่านมีไว้ทำไม. ความรู้อยู่ในตู้สมุดมีประโยชน์อะไร.

                เมื่อสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ชำระเอกสารและประวัติศาสตร์ ในความมุ่งหมายนั้นก็มีวรรณคดีอยู่ด้วย. แต่ผลงานที่มีออกมาก็มีแต่ประวัติศาสตร์,กรรมการชำระเอกสารก็กลายเป็นกรรมการจัดพิมพ์เอกสารไป,ผลงานที่ปรากฏออกมาก็มีแต่จดหมายเหตุ

                เมื่อไหร่หนอเราจะได้วรรณคดีที่บริสุทธิ์พอจะอ้างอิงได้ถนัดสักที.

                หอสมุดแห่งชาติเองก็ได้เคยจัดสัมมนาศิลาจารึกมาแล้วถึง ๒ หลัก. จะเอาวรรณคดีที่มีแง่งงเหล่านี้ไปต่อหางแถวเข้าบ้างจะไม่ได้เชียวหรือ.

(คัดจาก ภาษาใหม่ เขียนโดย ภาษิต จิตรภาษา.สำนักพิมพ์มติชน.พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธุ์ ๒๕๔๘)




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ