ReadyPlanet.com
dot dot
เวตาลเป็นใคร article

ปริศนาพาสนุก  /  เลือดผา  สัปดาหวิจารณ์

 

มีคำถามจากผู้สนใจวรรณคดี(ใกล้ ๆ ตัวเลือดผา)  ถามว่า  วรรณคดีเรื่อง “นิทานเวตาล” พระนิพนธ์แปลของ น.ม.ส. ในแบบเรียนวรรณคดีสมัยก่อน (เดี๋ยวนี้ไม่รู้ยังต้องเรียนเรื่องนี้อยู่หรือเปล่า)อ่านสนุกดี   นิทานที่ตัวเวตาลเล่าทดลองปัญหาพระเจ้าวิกรมาทิตย์ก็เพลิดเพลิน  ประเทืองปัญญา  แต่มีปัญหาอยู่หน่อยตรงที่ว่า  ในเรื่องไม่มีคำอธิบายว่าเวตาลเป็นตัวอะไร  มาจากไหน  อยู่ ๆ ก็ว่า  เป็นอมุนษย์เหมือนซากศพเกาะห้อยหัวบนกิ่งอโศก  รูปร่างเหมือนค้างคาว  อ่านจากฉบับที่ ศ.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา แปลจากฉบับสมบูรณ์ในภาษาสันสกฤต  ก็ไม่มีอธิบายไว้  จึงอยากรู้ว่าตัวเวตาลมาจากไหนกันแน่

 

ตอบผู้สนใจวรรณคดี     พจนานุกรมชุดภาษาสันสกฤต-อังกฤษ และอังกฤษ-สันสกฤต ที่ผมซื้อจากริมคลองหลอดนานแล้ว  บอกเพียงว่า เวตาล Vetal เป็นผีหรือปีศาจ ชอบอยู่ในป่าช้า 

 

อ่านหนังสือ “นิทานเวตาล” ของ น.ม.ส.  และ “เวตาลปัญจวีสติ” ของ ศ.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา  ก็ไม่อธิบายว่าเวตาลมีความเป็นมาอย่างไร

 

ผมมาพบคำตอบจากหนังสือภาษาไทยเรานี่เองครับ  เป็นวรรณคดีสมัยอยุธยา  คือเรื่อง “เวตาลปกรณัม”  รวมอยู่ในหนังสือ “ประชุมกรณัม ภาค ๑-๕”  นี่แสดงว่าเรื่องเวตาลได้แพร่เข้ามาถึงสยามตั้งแต่สมัยตอนกลางกรุงศรีอยุธยา เป็นอย่างน้อย  เพราะวรรณคดีเรื่องนี้แต่งเป็นคำกลอนครับ 

 

พระยาพระคลัง(หน)  กวีคนสำคัญยุคกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์  ได้นำเค้าโครงเรื่องนิทานเวตาลนั้นมาแต่งเป็นวรรณคดีเรื่องหนึ่งชื่อ “ลิลิตเพชรมงกุฎ”

 

ในหนังสือ “เวตาลปกรณัม” บ่งบอกความเปผ้นมาของเวตาลไว้ชัด  ว่าเวตาลนั้นเป็น “ยักษ์”  เป็นข้ารับใช้ตนหนึ่งของพระอิศวรผู้เป็นเจ้า  คราวหนึ่งเวตาลไปเที่ยวเล่นในป่าเพลิน  ขาดเวรเข้าเฝ้าถวายการรับใช้พระอิศวร  พระอิศวรจึงสาปให้เวตาลรับโทษ  โดยให้รูปร่างของเวตาลเปลี่ยนไป  คือมีปีกและเท้าเหมือนนกแร้งหรือคิชฌา    และต้องไปเกาะห้อยหัวลงอยู่กับกิ่งกัลปพฤกษ์   จนกว่าจะได้ช่วยพระเอกในเรื่อง  คือพระอภัยสิน  ฆ่าโยคี(เดิมเป็นพระเจ้าพรหมทัต)ที่คิดร้ายต่อพระอภัยสินแล้ว  จึงจะพ้นกรรม  ให้พระอภัยสินขว้างตัวเวตาลกลับขึ้นสวรรค์

 

วรรณคดีเรื่อง “เวตาลปกรณัม” ตอบคำถามที่คุณสงสัยได้  แถมยังอ่านสนุกมาก ๆ เลย  เยาวชนที่นึกว่าบทประพันธ์สมัยเก่า ๆ  อ่านเข้าใจยาก  น่าเบื่อ  ถ้าลองอ่านดูแล้วจะติดใจ และก็น่าดีใจนะครับ  ที่มีคนรุ่นหนุ่มสาว  เขียนหนังสือสนุก ๆ เกี่ยวกับเวตาลขึ้นมาใหม่อีกเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “นิทานเวเตย”  สร้างตัวละครให้ “เวเตยเป็นอมนุษย์อีกตัวหนึ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเวตาล แล้วเวตาลกับเวเตยก็ล้อเล่นกันด้วยนิทานประเทืองปัญญาที่สนุกมาก ๆ ครับ 




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ