ReadyPlanet.com
dot dot
แม่น้ำโขง แม่น้ำแห่งอุษาคเนย์ : เชียงรุ่ง1-2 article

แม่น้ำโขง แม่น้ำแห่งอุษาคเนย์ : เชียงรุ่ง (๑)


มีหลายคนพูดเป็น “เมืองจีน” เป็นแหล่งอารยธรรมที่ใหญ่แห่งในโลก ตรงนี้ผมคงไม่ไม่ข้อเถียงแต่อย่างใด เมืองจีนมีอะไรมากมายจนเกินกว่าเราจะทำความเข้าใจได้หมดจดละเอียดลออ

ผมมีโอกาสไปจีนเป็นครั้งในชีวิต ถึงแม้จะไม่ได้ไปถึงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศนี้ แต่ก็ถือว่าบุญพาวสานาส่งให้ได้ไปเห็นบ้านเห็นเมืองเขาว่าไปเป็นเช่นไรบ้าง

ต้องขอขอบคุณ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย  องค์กรสาธารณะประโยชน์ ของ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของประศาสตร์เอเชียอุษาคเนย์ ซึ่งปีที่แล้วได้จัดทำเรื่อง ๓๐ ปี ความสัมพันธ์ไทย – จีน และ ๖๐๐ ปี ซำปกกง/เจิ้งเหอ โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ปีนี้ จึงเป็นเรื่องที่ถือว่าเรื่องยิ่งใหญ่มากสำหรับอุษาคเนย์ คือ แม่น้ำโขง แม่น้ำแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์ของผู้คนภูมิภาคนี้

เมืองแห่งนกยูง หรือ เชียงรุ่ง เมืองเอกแห่ง สิบสองปันนาที่คนไทยเรียก ซึ่งจริงๆ คือ สิบสองพันนา เพราะคนท้องถิ่นออกเสียง “พ” เป็น “ป”  จึงกลายเสียงเรียกสิบสองปันนาอย่างทุกวันนี้ ซึ่งเป็นเรียกปกติของชื่อบ้านนามเมืองที่มีการเพี้ยนทางภาษาของการเรียกของคนต่างถิ่นกับคนท้องถิ่น

ผมเองรู้จัก เชียงรุ่ง ไม่เคยสัมผัสด้วยตา เพียงสัมผัสผ่านหนังสือเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น หนังสือสารคดีเรื่อง เส้นทางสายฝัน ของ ทองแถม นาถจำนง (บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามรัฐนี่แหละ) ,สิบสองพันนา : รัฐจารีต ของ ณัชชา เลาหศิรินาถ และงานเขียนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มาบ้างแต่ถือว่าไม่มากนัก รวมทั้งคำบอกเล่าจากผู้ที่เห็นได้มาเยี่ยมเยือนเมืองเหนือสุดของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท

ครั้งนี้เป็นครั้งที่จะได้สัมผัสที่ต่างจากตัวอักษรและเข้าใจว่าที่เขียนๆ กันมาให้อ่าน เชียงรุ่ง ย่อมเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์และความเจริญของยุคสมัยเป็นแน่แท้

เวลาที่นั่น ต่างจากบ้านเราหนึ่งชั่วโมงเราไปถึงสนามบินสุวรรณภูมิแต่เช้ารอเตรียมตัวขึ้นเครื่องบทความล่าช้าของระบบที่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอยดีนัก แต่ช่างเถอะไม่ตกเครื่องก็ถือว่าเป็นบุญแล้ว

ไปครั้งนี้  แกนแก่นที่สำคัญคือ แม่น้ำโขง สายน้ำ สายเลือดหลักของอุษาคเนย์กับวิกฤตแม่น้ำโขง หลายปีมานี้เราได้ยินเรื่องผลกระทบเกี่ยวกับแม่น้ำโขงอย่างหนาหู ไม่ว่าจะเป็น วิกฤตการลดลงของน้ำ การจับปลาบึก ได้น้อยลง รวมทั้งปัญหาการจัดการน้ำของประเทศต้นน้ำอย่างจีนซึ่งมีโครงการสร้างเขื่อนจำนวนมาปิดอกแม่น้ำโขงตลอดเส้นทาง แม้กระทั่ง การระเบิดเกาะ แก่ง ซึ่งถือว่าเป็นเขื่อนทางธรรมชาติ ที่ชะลอความเชี่ยวของสายน้ำให้เบาลง แก่งหินต่างๆ ในจีนถูกระเบิดทิ้งหมดแล้ว เหลือเพียงเขตเกาะแก่งที่เป็นของไทยตามสนธิสัญญากรุงสยาม – ฝรั่งเศส โดย ลาว เป็นผู้รับมรดก

ตรงบริเวณ “คอนผีหลง”  อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ยังดูเหมือนท้าทายโครงการนี้โดยพลังของชาวบ้านออกมาตัดค้าน และส่งผลการระเบิดในจุดต่างๆ ที่ถูกชะลอต่อไป ผมนั่งมองจากเครื่องบินมายังพื้นล่างมองเห็นแม่น้ำโขงคดเคี้ยวบีบตัวทอดสายเลาะหุบเขา เชียงรุ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงห่างจากเชียงแสนที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงถึงราวๆ สองร้อยกว่ากิโลเมตร

เชียงรุ่ง เป็นอาณาจักรหนึ่งในอดีต หรือที่รู้จักว่าเป็นเมือง “สองฝ่ายฟ้า” เพราะอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญระหว่างรัฐอังวะและจักรพรรดจีน บ้างครั้งล้านนาเข้มแข็งต้องต้องประนีประนอมกับรัฐล้านนาเป็นบ้างครั้งบ้างคราว

สิบสองพันนา รับพระพุทธศาสนาในสมัยพระติโลกราช ของล้านนา จึงไม่แปลกเมื่อไปถึงจะพบศิลปะสถาปัตยกรรมที่มีความผสมผสานระหว่าง จีน – พม่า – ล้านนา แม้กระทั่งตัวอักษรที่ใกล้เคียง มอญ – พม่า และ อักษรธรรม ของล้านนา รวมทั้งอาหารการกิน

โรงแรมที่เราพักนั้นข้างๆ จะมีสถานบันเทิงของคนหนุ่มสาว ข้างในจะอบอวลไปด้วยควันบุหรี่และเสียงอึกกะทึกจนหูชา เมื่อยามที่เรามาถึงในบ่ายของวันแรกหลายคนแห่งสถานีแห่งนี้คิดว่าเป็นวัด เพราะมีลักษณะศิลปะแบบวัดคือหน้าบั้นช่อฟ้าและบนยอดนั้นมีเจดีย์ตั้งตระหว่านอยู่เชื่อว่าหลายๆ คนต้องคิดเป็นทางเดียวกันว่านั้นคือ “วัด” แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เป็น “เธค”

อาหารมื้อแรกในเชียงรุ่งเป็นอาหารไตลื้อ ที่ร้านอาหาริมแม่น้ำโขง คนที่นี้เรียกแม่น้ำโขงว่า  “แม่น้ำล้านช้าง” หรือ “หลางซาง” เครื่องดื่มชนิด เบียร์ ก็ใช้ชื่อ แม่น้ำเป็นยี่ห้อประกอบสินค้า ราคาถูกมากครับ แค่กระป๋องละหนึ่งหยวน ถ้าเป็นขวดก็ราวๆ สองหยวนเท่านั้น
pต้องนั่งรถข้ามสะพานแขวนมา ณ ร้านอาหารซึ่งอยู่ติดกับท่าเรือ ในวันที่เราเดินทางกลับจะต้องมาลงเรือ ณ ที่แห่งนี้ 

อาหารคงเคยลิ้นสำหรับคนที่ชื่นชอบอาหารแบบภาคเหนือบ้านเราและไม่แตกต่างกันเลย มีทั้ง ลู่ หรือ ลาบอีสานบ้านเฮา ต่างกันตรงเครื่องปรุง แต่อาหารที่นี้จะไม่รสจัด จึงเป็นปัญหาสำหรับคนที่ติดปากสำหรับกินข้าวต้องมีพริกน้ำปลา แต่ก็มีหลายอย่างที่ถึงรสถึงชาติ ระหว่างนั่งรับประทานอาหารก็นั่งชมรำแบบไตลื้อซึ่งทางร้านจัดแสดงสำหรับเป็นบริการแก่ลูกค้าที่มารับประทานอาหาร และยังมีมุมสำหรับที่อยากนั่งกินลมชมสะพานก็มีให้นั่ง

หลังจากกินอิ่มเดินทางต่อเพื่อไปดูระบำ พานาราสี ใครนึกไม่ออกก็นึกถึง ภูเก็ตแฟนตาซี นั่นแหละคล้ายๆ กัน แต่เขาใช้ความการละเล่นแฟนชั่นโชว์ด้วยการแสดงและกายกรรม รวมทั้งละครที่เป็นตำนาน เช่นเรื่อง พระเอกเป็นกษัตริย์มาเจอนางเอกจึงมีลักษณะเป็นคนแต่มีปีกเช่นนก กึ่งคนกึ่งนกยูง

เรื่องเล่านิทานตำนานแบบนี้ คงเป็นต้นเค้าเดียวกันกับเรื่อง พระสุธน -  มโนราห์ ของสยาม อ.สมฤทธิ์ ลือชัย อธิบายให้ฟงัเมื่อเราเลิกราจากการแสดงว่านี้ลักษณะของสังคมอุษาคเนย์ที่จะมีตำนานสอดคล้องใกล้เคียงกัน ไม่ใช่ของใครเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของอุษาคเนย์
รำนาฏศิลป์ “พาณาราสี” นั้น “จีน” ทำได้ยิ่งใหญ่ขนาดนี้เชียวหรือ แม้ว่าช่วงท้ายๆ จะจบไม่ค่อยงดงามก็ตามที

เข้าใจว่า “รำพาณาราสี” นั้น ต้องบอกถึงความเป็นเมืองพาณาราสีในชมพูทวีปซึ่งเป็นเมืองสำคัญตามพุทธประวัติของพระพุทธศาสนา รำพาณาราสี อาจต้องบ่งบอกความเป็นเมืองพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาททางเหนือสุดของภูมิภาคอุษาคเนย์ ปัจจุบัน คนฮั่น ทางภาคกลางนิยมมากเที่ยวที่เชียงรุ่ง เหมือนคนกรุงเทพฯ ไปเที่ยวเชียงใหม่หรือหาดใหญ่ ยังไงยังงั้น

เมืองเชียงรุ่ง ออกเสียง เจียงฮุ่ง ความเป็นพุทธเถรวาท หลายคนคิดว่าน่าจะมีอะไรที่คล้ายกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำนาน พระพุทธเจ้า เสด็จโปรดเวไนยสัตว์เลียบโลกมารุ่งอรุณ ณ บริเวณที่ตั้งเมืองเชียงรุ่ง จึงกลายเป็นที่มาของชื่อบ้านนามเมืองดังปัจจุบัน

“เชียง” คือ เมือง  “รุ่ง”  คือ รุ่งอรุณ คือ เมืองแห่งรุ่งอรุณ ยิ่งเจ้าเมืองที่รวบรวมแผ่นดินให้เป็นเอกภาพ ก็ชื่อ พญาเจื่อง คงสัมพันธ์ ท้าวฮุ่ง ท้าวเจื่อง วีระบุรุษสองฝั่งเป็นแน่เทียว!


แม่น้ำโขง แม่น้ำแห่งอุษาคเนย์ : เชียงรุ่ง (๒)

เชียงรุ่ง เป็นเมืองสำคัญ เพราะเป็นเมืองเอกของสิบสองพันนา อนึ่ง เมืองเชียงรุ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง หากทอดตัวแม่น้ำโขงลงเบื้องล่างว่าจะเจอพื้นที่ราบลุ่มจะสร้างอาณาจักรได้ก็ไกลถึงสองร้อยกว่ากิโลเมตร ผ่านความคดเคี้ยว คุ้งโค้ง โขนหิน แก่งเกาะ มากมาย

คุณทองแถม นาถจำนง เขียนถึงเมืองเชียงรุ่ง เมื่อครั้งไปเห็นเชียงรุ่งครั้งแรกไว้หนังสือ เส้นทางสายฝันไว้ว่า “วัฒนธรรมชีวิตความเป้นอยู่และภาษาพูดของชาวไตลื้อละม้ายคล้ายคลึงกับชาวล้านนาและล้านช้าง จนหลายๆ คนที่ไม่ค่อยได้ติดตามความเคลื่อนไหวทราบรายงานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพากันตื่นเต้นสงสัยกันว่า คนไทยคงอพยพลงไปจากสิบสองปันนา แต่จากการศึกษาบันทึกประวัติศาสตร์และวิเคราะห์จากตำนานต่างๆ

ผมมีความเห็นตรงกันข้าม คือเชื่อว่า ชาวไตลื้อในสิบสองปันนานั้นเครื่อนย้ายขึ้นไปจากทางใต้คือจากลาวภาคเหนือ ตามประวัติศาสตร์ “เจ้าแผ่นดิน” องค์แรกของ “เมืองลื้อ” คือ “พญาเจิง” (หรือขุนเขื๋ยงนั่นเอง) พญาเจิงขึ้นไปก่อตั้ง “เมืองหอคำเชียงรุ่ง” เมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๓ แล้วยังต้องใช้เวลารบพุ่งปราบปรามคนพื้นถิ่น ได้แก่ ข่าปะลัง (ชนชาติปู้หล่าง) ข่าก้อ (ชนชาติฮานี) ฯลฯ และชุมชนไทกลุ่มอื่นๆ อีกถึง ๑๐ ปีเมืองลื้อหรือสิบสองปันนา จึงก่อเป็นรูปเป็นร่าง เป็นเอกภาพขึ้นมา

พ.ศ. ๑๗๓๓ พญาเจิงสร้างเมืองหลวงที่เชียงล้าน ซึ่งบริเวณนั้นเดี๋ยวนี้เป็นดงร้านอาหารไตลื้อ ขายอาหารพื้นเมืองประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองสิบสองปันนา นักท่องเที่ยวที่ไปเชียงรุ่งทุกคน “ต้อง” แวะไปกินไปชมอย่างน้อยก็สักมื้อ ไม่อย่างนั้นเขาจะว่าไม่ถึงเชียงรุ่ง ในยุคของพญาเจิงหรือขุนเจื๋อง ท่านเป็นขุนศึกใหญ่ ทั้งล้านนา เมืองลาว เมืองแกว ล้วนต้องยอมอยู่ใต้อิทธิพล แต่อย่างไรก็ตาม พญาเจิงก็ยังเกรงใจพญาฮ่อผู้ประทาน “จุ้มหยินหัวเสือ” หรือ “จุ้มกาบหลาบคำ” หรือ “ลายจุ้มลายเจีย” (สัญจกรรูปหัวเสือ) เป็นการรับรองให้พญาเจิงเป็นเจ้าแผ่นดินของดินแดนแถบนี้

แหล่งต้นเค้าที่มั่นใหญ่ซึ่งพญาเจิงหรือขุนเจื๋องเริ่มต้นขยายอิทธิพลออกไปนั้น คือที่ใด
ตอบยากครับ”
นั่น เป็นอีกทัศนะหนึ่งที่คุณทองแถม มองเชียงรุ่ง เมื่อ พ.ศ ๒๕๓๖ สักเกือบสิบปีแล้วเห็นจะได้ 

ร้านอาหารไตลื้อที่คุณทองแถม ไปรับประทานในมื้อนั้น ก็คงจะเป็นร้านเดียวกันกับที่คณะเรา ซึ่งโดย มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยและมูลนิธิโครงการตำราฯ พาไปประทานเป็นแน่แท้ เพราะสังเกตจากทั้งข้อเขียนที่พูดถึงการแสดงนาฏศิลป์ท้องถิ่นไตลื้อ และแขกเรื่อที่เข้าไปที่ร้าน บรรยากาศก็คึกคักไม่เบา

กรณี “พญาเจิง” นั้นน่าจะสอดคล้องกับที่คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ วิเคราะห์ไว้ในสูจิบัตรศูนย์สังคีตศิลป์สัญจร ท้าวฮุ่ง ท้าวเจืองว่า “ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง เป็นใหญ่ในหมู่ชาติพันธุ์ชนเผ่าต่างๆ ทางลุ่มน้ำกก – อิง บริเวณเชียงราย –พะเยา ทุกวันนี้ ซึ่งเป็นคนละพวกกับเมงคบุตรทางรัฐหริภุญไชย ที่ลุ่มน้ำปิง – วัง และคนละพวกกับแถนทางลุ่มน้ำอู – น้ำคาน เมืองหลวงพระบางปัจจุบัน

ต่อมาท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ขยายอำนาจได้เป็นใหญ่เหนือเมืองเงินยางเชียงแสน ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จนถึงตอนใต้ของยูนนานที่สิงสองพันนา (จึงมีชื่อเมืองว่าเชียงรุ่ง หรือเจียงฮุ่ง จากนามท้าวฮุ่งนี่เอง) แล้วแผ่ข้ามแม่น้ำโขงเข้าไปทางฟากตะวันออกถึงภาคเหนือของลาวกับภาคเหนือของเวียดนาม”

คงไม่แปลกอะไรสำหรับชื่อวีระบุรุษในตำนานจะแปรมาเป็น “เจ้า” ผู้ครอบครองนครรัฐ โดยเฉพาะลักษณะความเป็นสุวรรณภูมิหรือความเป็นอุษาคเนย์ที่จะมีตำนานความเชื่อที่ใกล้เคียงกันบนความเป็นพหุลักษณ์ทางสังคมที่มีความหลากหลาย
................

รุ่งอรุณสำหรับคืนแรกที่เราหลับนอนในเมืองเชียงรุ่ง ตามเวลานัดเดินทางต่อตามกำหนดเราจะต้องไปเที่ยวตลาดในเมืองฮัม การเที่ยวชมตลาดตามเมืองต่างๆ นั้น การได้ดูมาดูความเป็นบ้านเป็นเมืองของแต่แหล่งอย่างแท้จริง โดยเฉพาะตลาดยามเช้า ความเป็นวิถีชีวิตของผู้คนจะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยแลกเปลี่ยนสินค้า

หลายคนที่เคยมาตลาดเมืองฮัมนี้บอกจะมีเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ตรงถนนหนทาง ส่วนแม่ค้าร้านตลาดยังคงเค้าหน้าเดิมของแม่ค้าอยู่
อาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ หัวหน้าคณะวิทยากรการเดินทางครั้งนี้ บอกว่า แม่ค้าหลายเจ้าที่คุ้นหน้าคุ้นตาและยังอยู่จุดที่เขาเคยขายเดิม อย่าง ร้านขายผ้าหรือร้านที่ขายไห เป็นต้น

หลังจากนั้นเราจึงเดินทางต่อเพื่อไปหมู่บ้านไตลื้อ การไปครั้งนี้ทางคณะผู้จัด คือ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย โดยการประสานงานของ มูลนิธิโครงการตำราฯ แจ้งว่า จะพาไปเยี่ยมชมหมู่บ้านไต้ลื้อ ซึ่งเป็นบ้านธรรมดาๆ ไม่มีการจัดฉาก เพราะไม่ใช่หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ เป็นหมู่บ้านธรรมดาในเมืองฮัมนี่แหละ ชื่อว่า หมู่บ้านตับ กับหมู่บ้านเตา

แต่ครั้นเมื่อไปถึง เห็นวัด หลายคนก็โอเค ใช่เลย แต่พลันที่ลงรถแทบจะตกใจกับพิธีต้อนรับของชาวบ้านที่ต้อนรับเราเสียยกใหญ่ จนความรู้สึกว่าเราอายตัวเองที่จะให้ พ่ออุ๊ย แม่อุ๊ย มาขุกเขาโปรยข้าวตอกต้อนรับ มีฆ้อง กลองยาว เป็นริ้วขบวนตั้งแต่ทางเข้าวัดจนถึงโบสถ์

เมื่อสอบถามทางผู้นำทางก็ไม่คาดคิดว่ารูปแบบจะออกในในรูปการนี้ แต่อย่างน้อยในแง่ความรู้สึกของเจ้าบ้านที่รู้ว่าจะมีแขกทางไกลจะมาเยี่ยมก็ต้องต้อนรับขับสู้อย่างเต็มที่ ข้าวปลาอาหาร เตรียมกันมาอย่างเต็มอัตราศึก ดูใบหน้าหลายคนอิ่มเอมไปกับการต้อนรับและรอยยิ้มต้อนรับของชาวบ้านก็ชื่นชมต่อแขกผู้มาเยือน เหล้า ยา ปลา ปิ้ง มีครบครัน

ลักษณะเช่นนี้เป็นความงดงามอย่างหนึ่งของชาวบ้านชนบทที่มีต่อแขกผู้สัญจรมาเยี่ยมเยียน โดยเฉพาะความเป็นหมู่บ้านที่ไม่ความเป็นธุรกิจท่องเที่ยวปะปนทำให้บรรยากาศความเป็นเครือญาติสึกกร่อน

หลังรับประทานสำรับขันโตก เพื่อนพ้องน้องพี่เราหลายเดินชมหมู่บ้านอย่างรื่นรมย์หลายหน้าแดงกร่ำเพราะฤทธิ์เหล้าต้ม รวมทั้งผมเองด้วย

บ้านไตลื้อ ดูจะหลังใหญ่ไปเสียทุกหลังคาเรือน เราเยี่ยมชมขึ้นเรือนชมชานบ้าน ในคณะมีบ้างกลุ่มตั้งวงแม้หลายคนจะสื่อสารกันไม่ได้ด้วยภาษาของตัวเอง แต่รอยยิ้มที่มีมาให้ทั้งสองย่อมจะสื่อสารให้เข้าใจกันได้ง่าย เสียงไชโยตำจอกชนแก้ว จึงดังขึ้นเป็นระยะ จนกว่ารถของเราเคลื่อนที่จากหมู่บ้าน เพื่อไปยังอีกทีหนึ่ง ตามกำหนดที่ว่างไว้




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ