ReadyPlanet.com
dot dot
จากปากแพรกถึงท่าดินแดง article

จากปากแพรกถึงท่าดินแดง

ทองแถม  นาถจำนง  เรียบเรียง

ปัจจุบันเราเดินทางตามถนนคอนกรีตหรือถนนลาดยาง  กันจนลืมเส้นทางการเดินทางในสมัยโบราณไปหมดแล้ว   การศึกษาเส้นทางการเดินทางของคนรุ่นก่อน ๆ  ย้อนหลังไปจากประวัติศาสตร์ยุคใกล้  กลับไปสู่ยุคเก่าขึ้นเรื่อย ๆ   หากย้อนไปได้มากขึ้นเท่าไร   ประโยชน์ที่เราจะทำความเข้าใจเรื่องราวในอดีตของบรรพชนสยาม  ก็ยิ่งจะมีมากขึ้น   บทความนี้เป็นความพยายามเพิ่มเติมข้อมูลในเรื่องเหล่านี้ไว้เล็ก ๆ น้อย ๆ  เท่าที่จะมีสติปัญญาทำได้

ตัวเมืองกาญจนบุรีปัจจุบันนั้น  เดิมคือบ้านปากแพรก เป็นจุดที่แม่น้ำสองสบ  ได้แก่  แม่น้ำแควใหญ่(ลำน้ำศรีสวัสดิ์)และแม่น้ำแควน้อย(ลำน้ำไทรโยค)  มาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง 

“ตรงระหว่างแม่น้ำมาบรรจบกันนี้   ในสมัยก่อนเป็นหัวแหลมใหญ่  มีหาดทรายด้านหลังเป็นฉากทิวเขาใหญ่สลับซับซ้อนดูสวยงามมาก   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๕  ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

 ๐ ลำน้ำสามแยกยั้ง                   เรือเรา
 ชมฝั่งทั้งลำเนา                           หมู่ไม้
 สลอนสลับซับซ้อนเขา            เขียวชอุ่ม
 แลเล่ห์นฤมิตให้                          ติดต้องหทัย ๐

ความงามของลำน้ำไทรโยคนั้น  เป็นความงามอย่างประหลาด  มีความละเมียดละไม  สองฝั่งและบนฝั่งมีต้นไม้นานาพรรณขึ้นเขียวชอุ่ม  มีภุเขาขนาดเขื่องอยู่สองฝั่งลำน้ำ  บางแห่งยื่นลงไปในแม่น้ำมีหน้าผาสูงชัน  บางแห่งงุ้มมาทางลำน้ำ  มีถ้ำรูปพรรณต่าง ๆ   ตลิ่งทั้งสองข้างมีก้อนหิน แผ่นหิน แลสลับซับซ้อน  เป็นหลืบเป็นคูหา  มีน้ำพุ น้ำตก เป็นระยะ ๆ   ในท้องน้ำอันใสมีแก่งหินและเรี่ยวเป็นตอน ๆ   เป็นความงามที่เป็นไปอย่างมีจังหวะจังโคน  คืองามจากธรรมดา  จะค่อย ๆ เพิ่มความงามขึ้นทีละน้อย ๆ  จนถึงงามสุดพรรณนาได้  แล้วก็ลดลงสู่ความงามปกติ  สลับกันไป  มีอย่างโน้นนิด  อย่างนี้หน่อย  ทำให้ดูงามดีไม่เบื่อตา  ดังที่พระบาทมสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ฯ ทรงรับสั่งว่า  “เมืองกาญจนบุรีสนุกนัก  ขึ้นไปทางแม่น้ำแควน้อย  ยิ่งไปยิ่งสนุกขึ้นทุกที” (ดูหนังสือ “เสด็จประพาสไทรโยค” โรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ ๒๕๐๔  หน้า  ๑๕๗)  นอกจากนั้นยังจะมีสัตว์ป่านานาชนิดออกมาปรากฏให้เห็นอยู่บ่อย ๆ  เป็นที่ตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ได้ไปชมอย่างยิ่ง  ดังที่กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  ทรงนิพนธ์ไว้ว่า 

 ๐ หมู่ลิงโลดแล่นเลี้ยว                  ไล่กัน
 ลูกกอดอกผายผัน                             สู่ไม้
 บ้างโน้มเหนี่ยวเถาวัลย์                โหนจับ  ไม้แฮ
 เรือหลีกหาดเข้าใกล้                      โดดเร้นป่าสูญ ๐

 ๐ โคกม้าจับหาดจ้อง                  จิกปลา
 ยืนอยู่แต่เอกา                                   คู่ไร้
 เรามาเพื่อนมีมา                              เยาะนก  เล่นแฮ
 นกนึกอายเราไผล้                          หลีกหน้าเลยหนี ๐

จากหน้าเมืองไปก็จะถึงหมู่เขาน้ำตก  เป็นที่ตั้งกองผสมสัตว์และทำหญ้าแห้งของทหารบก  หมู่เขานี้มีถ้ำที่สวยงามอยู่แห่งหนึ่ง  ชื่อว่า “ถ้ำมังกรทอง”  ( จากหนังสือ “ที่ระลึกในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรและถวายผ้าพระกฐิน ณ จังหวัด กาญจนบุรี ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๖” )

ถ้าอ่านจาก “เพลงยาวนิราศรบพม่าท่าดินแดง” พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑   พระองค์ทรงบรรยายภาพหลังจากออกจากปากแพรก  ไว้ดังนี้

 ๐ ครั้นได้ศุภวารเวลา                 
ให้ยกขึ้นตามทางไทรโยคสถาน                
ทั้งบกเรือล้วนทหารอาสา             
จะสังหารอริราชพาลา
อันสถิตอยู่ยังท่าดินแดง
ย่ำรุ่งสี่บาทอรุณแสง                    
จึงให้ยกพหลรณแรง
ล้วนกำแหงหาญเหี้ยมสงครามครัน
ไปโดยพยุหบาตรรัถยา                                 
พลนาวาตามไปเป็นหลั่นหลั่น
สะพรึบพร้อมหน้าหลังดั้งกัน                       
โห่สนั่นสะเทือนท้องนทีธาร ๐

จากนั้นก็จับเนื้อความถึง “แก่งหลวง”  ไม่ได้กล่าวถึง “ถ้ำมังกรทอง”   เข้าใจว่า “ถ้ำมังกรทอง”  เป็นสถานที่ซึ่งมาเป็นที่นิยมเที่ยวกันภายหลัง

วัดถ้ำมังกรทอง  สร้างเมื่อ พ.ส ๒๔๔๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๕   อยู่ในตำบลบ้านแหลม อำเภอเมืองกาญจนบุรี  ในหมู่เขาน้ำตก  ห่างจากแม่น้ำแควน้อยเข้าไปประมาณ ๓ กิโลเมตร  ที่ไหล่เขาสูงจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ ๑๐๐ เมตร  ทางขึ้นมีบันไดก่ออิฐถือปูนประมาณ ๙๐ ขั้น   สองข้างทำเป็นรูปมังกรชูศรีษะ  เมื่อขึ้นไปข้างบนมรีศาลาและกุฏิสงฆ์ปลูกไว้ตามไหล่เขา  มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่งเรียกว่า “ถ้ำมังกรทอง”  มีหินก้อนใหญ่ตรงปากถ้ำ  ทำเป็นรูปหน้าสิงโตขนาดใหญ่ติดกับแท่งหินซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ภายในถ้ำมีซอกหินสลับซับซ้อน 

จากแถบถ้ำมังกรทอง  ก็ไปถึง “บ้านยายญวณ”  ฝั่งตะวันออกของแควน้อยเป็นทุ่งนาคราช  ในท้องทุ่งสมัยก่อนโน้นเต็มไปด้วยเม็ดกรวดกลม ๆ ขนาดเล็ก  มีสีคล้ายสีเหล็ก  จากนั้นต่อไปก็ถึงแก่งหลวง   ซึ่งในพระราชนิพนธ์ ร.๑ มีว่า

 ๐รีบเร่งพลพายให้เร่งพาย                     ฝืนสายชลเชี่ยวฉ่าฉาน
 ถึงตำแหน่งแก่งหลวงศิลาดาล              ชลธารไหลเชี่ยวเป็นเกลียวมา
 แต่จำเพาะเพราะเตราะตรอกซอกทาง   แก่งเกาะขัดขวางอยู่หนักหนา
 แสนลำบากยากใจที่ไคลคลา                 ใครจะเห็นเวทนาบรรดามี ๐

 จากนั้นอีกสองวันกองทัพสยามไปรบพม่าท่าดินแดงจึงเดินทางถึงวังยาง
 ที่แก่งหลวงนี้  ร.๕ ทรงโปรดมาก   ทรงพระราชนิพนธ์ อุปเปนทรฉันท์ ๑๑ บรรยายแก่งหลวง ไว้ว่า

 ๐ ลุแหล่ง ณ แก่งหลวง                      ก็ระลวงระลุงลาญ
 ละน้องนิราสถาน                              จะสนุกสนานใด
 อุทกกระทบผา                                   ดุจมากระทบใน
 อุรา บ ราไหล                                    ประทะกับประทุกแด
 จะชมนทีธาร                                     ก็ บ บานกระมลแล
 จะนึกสนุกแปร                                  จิตรเศร้า บ โดยจง ๐

ต่อจากแก่งหลวง  ผ่าน แก่งน้อย  ท่ากระบือ  วังอ้ายหมู  ท่าเสา  ท่าเสด็จ จระเข้เผือก  ถึง วังหมึกซึ่ง ร.๕  ทรงประทับแรมคราวเสด็จประพาสไทรโยค  ที่วังหมึกนี้  ขึ้นฝั่งตะวันออกเดินทางไปไม่ไกลนักก็จะถึงปราสาทเมืองสิงห์
ตามลำน้ำแควน้อยต่อไปก็จะถึง ท่าตะกั่ว  พุท้องช้าง

แต่ในเพลงยาวนิราศรบพม่าท่าดินแดน  ร.๑   พระองค์ทรงเขียนว่า  จากแก่งหลวงเดินทางสองวันถึง “วังยาง”  แล้วถึง  บางลาน  จากนั้นถึงตรงที่มี

“จึงรีบเร่งนาวาคลาไคล                มาถึงไศลชลธีศีขรินทร์              
สูงสง่าตรงโตรกโดดเดี่ยว             อยู่ริมสายชลเชี่ยวกระแสสินธุ์ 
พรายแพร้วดังแก้วแกมนิล            ปักษิณบินร้องระงมไพร ๐

แล้วก็ถึง “ปากน้ำ”แห่งหนึ่ง  มีศาลเทพารักษ์ประจำท่า   
ต่อมา ร.๑ เดินทาง ถึง “วังนางตะเคียน”  แล้วผ่านอีกหลายตำบลจนถึง “เขาท้องไอยรารมย์”  ในช่วงนี้  ความงดงามของสองฝั่งแควน้อยคือแมกไม้   ขอให้ลองเทียบเคียงคำบรรยายของ ร.๑ ในฉากการเดินทางจาก “วังนางตะเคียน” ถึง “เขาท้องไอยรารมย์”(หรือพุท้องช้าง)  กับคำบรรยายของ ร.๕ จาก ท่าตะกั่วถึงพุท้องช้าง  ดังนี้

๐ ครั้นมาถึงวังนางตะเคียน                  พิสเพี้ยนกิ่งไม้ใบหนา
คั่งเคียงเรียงเรียบริมชลา                       สาขารื่นร่มสำรายใจ
ต้นไม้เปลาเปลาอยู่สล้าง                      เหมือนไม้กระถางวางเรียงงามไสว
ชมพลางพลางรีบนาวาไป                    บรรลุมาได้หลายตำบล ๐
    (เพลงยาวนิราศรบพม่าท่าดินแดง)
๐ แม่น้ำน้อยตอนนี้งามดีมาก               ทั้งสองฟากเป็นเนินเทือกเทินผา
แม่น้ำไปในระหว่างบรรพตา            ต้นพฤกษาเรียงกันเป็นหลั่นลด
ชายวารีมีต้นตะไคร้น้ำ                      ขึ้นประจำรายทางสองข้างหมด
ถัดขึ้นไปแถวไผ่ไม้ตะพด                  เห็นปรากฏเหมือนอย่างชั้นคั่นบันได
ที่ชั้นสูงฝูงทุมาพฤกษาชาติ                เดียรดาษยางยูงสูงไสว
เห็นตลอดลำต้นจนข้างใน                 สูงขึ้นไปช้อนสลับลำดับกัน
ถัดไม้ใหญ่ไปแล้วจึงถึงตัวเขา            ล้วนต่างเค้าต่างทีมีแผกผัน
บ้างเป็นเพิ้งเวิ้งผาบ้างน่าชัน               ต้นไม้นั้นโกร๋นแห้งด้วยแรงร้อน
ไม่ปกคลุมหุ้มน่าศิลาเด่น                    แต่ใช่เช่นโกรนโกร๋นโกนฤาถอน
เหมือนไม้คัดจัดลำเนาเขาละคร          เข้าข้างหลังซับซ้อนจนสุดตา ๐
    (พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ ๕)
พอมาถึง “พุท้องช้าง”  ตรงนี้มีสิ่งมหัสจรรย์หลายสิ่ง   ดูจากสภาพสมัย ร.๑   แล้วลองเปรียบเทียบดูกับสภาพปัจจุบันนี้เถิดว่า   ชาติไทยได้สูญเสียอะไรไปมากมายอย่างไร
๐ มาทางพลางแสนคะนึงหา                นัยนาแลลับไพรสณฑ์
ยิ่งแดดาลร่านร้อนทุรนทน                   จนลุดลเขาท้องไอยรารมย์
เป็นช่องชั้นเชิงผาศิลาลาด                     รุกขชาติรื่นรวยสวยสม
ไพจิตรพิศพรรณอยู่น่าชม                     ลมพัดพากลิ่นสุมาลย์มา
มีท่อธารน้ำพุดุดั้น                                 ตลอดลั่นไหลลงแต่ยอดผา
เป็นโปลงปล่องช่องชั้นบรรพตา           เซ็นซ่าดังสายสุหร่ายริน 
บ้างเป็นท่อแถวทางหว่างบรรพต          เลี้ยวลดไหลมาไม่รู้สิ้น
น้ำใสไหลซอกศิขรินทร์                        แสนถวิลถึงสวาดิไม่คลาดคลา
เกษมสุขสรงสนานสำราญเริง                บันเทิงจิตพิศวงหรรษา
ชะลอได้ก็ใคร่ชะลอมา                          ให้เป็นที่ผาสุกทุกนางใน ๐ 
  (เพลงยาวนิราศรบพม่าท่าดินแดง)

ความตรงที่พระราชนิพนธ์ไว้ว่า “ท่อธารน้ำพุดุดั้น” นั้น  มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ไว้โดยกรมโลหิจ (พ.ศ ๒๕๐๕) ว่า  “เป็นเรื่องของน้ำใต้ดิน  ที่อยู่ในระดับสูงทำให้มีแรงกด  เมื่อใดมีช่องว่างจะปรากฏตัวออกมาได้  น้ำที่ถูกแรงกดนั้นจะพุออกมาทางรู  ถ้ารูเล็กแรงกดสูง  น้ำก็จะพุดุดั้น  ถ้าแรงกดต่ำ  น้ำก็จะซึมเป็นน้ำซึมออกมา”                                              

มีอีกความหนึ่งที่น่าสังเกตคือ  “ชะลอได้ก็ใคร่ชะลอมา     ให้เป็นที่ผาสุกทุกนางใน”   ธารน้ำตกและป่าเขาธรรมชาติยกมาตั้งในวังหลวงไม่ได้   แต่ภายในพระราชวังก็มีเขามอที่ช่างตกแต่งขึ้นเลียนแบบธรรมชาติ   ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงวิจารณ์ไว้ในเรื่อง “เสด็จประพาสไทรโยค”ว่า   นายช่างที่ทำเขามอเหล่านั้น  น่าจะได้เคยมาเห็นสภาพจริงที่แควน้อย
“ลำธารน้ำพุดุดั้น”ที่ ร.๑ ทรงประทับพระทัยมากนั้น  ปรากฏว่า ร.๒ ก็ทรงประทับพระทัยมากเช่นกัน   ดังพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา ตอนประพาสป่าตอนหนึ่ง  บทกลอนบรรยายสภาพธรรมชาติของแควน้อยช่วงนี้นั่นเอง 
ร.๒ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

๐ ครั้นถึงจึงลงในท้องธาร                      สรงสนานน้ำพุที่เงื้อมผา
ย้อยหยัดดังสหัสธารา                             ไหลออกจากศิลาซ่าเซ็น
พร้อย ๆ ต้องกายดังสายฝน                    เมื่อไรนฤมลจะมาเห็น
จะแสนสุขทุกวันไม่วายเว้น                   ลงเล่นชลธารสำราญใจ
ไหนจะชมคณามัจฉาชาติ                       ล้วนประหลาดว่ายคล่ำในน้ำใส
แล้วจะเก็บกรวดแก้วแววไว                    จะเที่ยวไปประพาสหาดทรายทอง ๐
จากพุท้องช้าง  เดินทางต่อไปถึง แก่งละว้า เขาน้ำโจน(ไทรโยค) ตัวแก่งละว้า  และเขาน้ำโจน(น้ำตกไทรโยค)นั้น  ร.๕ ทรงบรรยายไว้ในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค   แต่ในพระราชนิพนธ์รบพม่าท่าดินแดง  ตัดความกล่าวถึงไทรโยคเลย
๐ ชมเขาลำเนาพนาวาส                            แสนสวาดิไม่วายถวิลหา
ถึงไทรโยคปลายแดนนัครา                      มิให้หยุดโยธาเร่งคลาไคล
แต่เห็นทางท่าชลานั้น                               เป็นเกาะแก่งขัดขั้นล้วนเนินไศล
ยากที่นาวีจะหลีกไป                                 จึงรับสั่งให้รอรั้งยั้งนาวา
เร่งรีบคชสารอัสดร                                    บทจรตามแถวแนวพฤกษา
ชมพรรณมิ่งไม้นานา                                 บ้างทรงผลปนผกาเขียวขจี ๐                    

กองทัพสยามเดินบกไปตั้งทัพตามเชิงเขาที่ “ด่านท่าขนุน” สมัยนั้นเป็นหนึ่งในเจ็ด “หัวเมืองมอญ”ในพื้นที่กาญจนบุรี  ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ

จากนั้นเข้าโจมตีค่ายพม่า  โดย ร.๑ นำทัพหลวงเข้าโจมตีค่ายหลวงของพม่าที่ท่าดินแดงส่วนกรมพระราชวังบวรฯ   ทรงนำทัพเข้าตีค่ายทัพหน้าของพม่าที่สามสบ(ดูแผนที่)  รบกันอยู่สามวัน  กองทัพพม่าแตกพ่ายยับเยิน   และนับแต่นั้นมา  พม่าก็อ่อนเปลี้ยลงเรื่อย ๆ

น่าเสียดายที่ปัจจุบัน “ท่าดินแดง” จมอยู่ใต้น้ำเสียแล้ว  เราจึงไม่อาจมองเห็นสมรภูมิสำคัญได้อีกต่อไป   สิ่งที่จะมองเห็นได้ก็มีแต่จินตนาการจากการอ่านวรรณคดีเรื่อง “เพลงยาวนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง”เท่านั้น




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ