ReadyPlanet.com
dot dot
๓๕ เดนตายใน ขุนช้าง ขุนแผน article

 

คอลัมน์/วรรณคดี :

๓๕ เดนตายใน ขุนช้าง ขุนแผน

 

มีเรื่องวรรณคดีเอามาเล่าครับ เพื่อให้มันเข้ากับยุคสมัย และปัญหาการดึงระบบการศึกษาออกนอกระบบในพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ตอนแรกเลยนั้นมีการเขียนไว้เชิงบอกเรื่องระบบการศึกษาสมัยนั้นที่ไม่ยอมได้คนชั้นล่างลงมาเล่าเรียน

ซึ่งไม่แปลกอะไรในระบบการศึกษายุคนั้นจะเต็มไปด้วยลูกเจ้าขุนมูลนาย เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคมปีที่ผ่านมาจึงมีงานเสวนา “ป้องกันไพร่มิให้ได้วิชา” ขึ้นที่ ตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน สาขาสกายไฮ ถนนราชดำเนินกลางนี้เอง

เรื่องการป้องกันไพร่ไม่ให้ได้วิชานั้นปรากฏในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีเมื่อ ตอนพระอภัยมณีกับศรีสุวรรณไปเรียนวิชาที่สำนักพระฤๅษีแล้วเห็นข้อความที่หน้าบ้านติดไว้ว่า

แม้ผู้ใดใครจะเรียนวิชามั่ง                 จงอ่านหนังสือแจ้งแถลงไข

ถ้ามีทองแสนตำลึงมาถึง                    จึงจะได้ศึกษาวิชาการฯ

และ

เห็นแผ่นผาจารึกลายลิขิต                                  เข้ายืนชิดอ่านดูรู้ประจักษ์

ท่านอาจารย์การกระบองก็คล่องนัก                ได้ทองหนักแสนตำลึงจึงได้เรียน

ตรงนี้เป็นเหตุให้พระอภัยมณีและศรีสุวรรณเอาแหวนตีค่าราคาแล้วน่าจะพอกับค่าเล่าเรียนที่พระอาจารย์ได้ตั้งค่าหน่วยกิจไว้ จะเรียกว่าเอาแหวนทองมาจำนำก็คงไม่แปลกอะไรเลย

แต่เมื่อเล่าเรียนจบแล้วนั้น ก่อนจะล่ำลาพระอาจารย์เพื่อกลับกรุงรัตนา พระอาจารย์แถลงไขแจ้งความจริงให้รู้ถึงเหตุการณ์เรียกค่าหน่วยกิจแพงขนาดที่ชาวบ้านธรรมหมดสิทธิ์

นี่มิพักต้องพูดถึงไพร่ อย่าได้หวังว่าจะได้เล่าเรียนพระอาจารย์จึงคืนแหวนทองนั้นให้คืน ตอนนั้นพระอภัยมณีและศรีสุวรรณคงงงเป็นไก่ตาแตกเป็นแน่แท้ แต่ก็เมื่อมาถึงบางอ้อตอนพระอาจารย์ท่านเฉลยความ

ซึ่งดนตรีตีค่าไว้ถึงแสน                                      เพราะหวงแหนกำชับไว้ขับขัน

ใช่ประสงค์ตรงทรัพย์สิ่งสุวรรณ                      จะป้องกันมิให้ไพร่ได้วิชา

ต่อกษัตริย์เศรษฐีที่มีทรัพย์                 มาคำนับจึงได้ดังปรารถนา

จงคืนเข้าบุรีรักษ์นครา                                        ให้ชื่นจิตพระบิดาแลมารดร

 เหตุผลนี้น่าจะมีเงื่อนไขมาจากการศึกษานอกระบบที่พระอภัยมณีและศรีสุวรรณไปเล่าเรียนนอกพระราชวัง ซึ่งมีตำราให้เล่าเรียนในหอพระ เช่น หอพระมณเฑียรธรรม หรือ หอพระไตรปิฏก

ในหอพระจึงมีปราชญ์ราชบัณฑิตคอยดูแลประจำเพื่อสั่งสอนวิชาความรู้ในพระราชฐาน หรือเรียกตำแหน่ง “นายเฝ้าหอพระ” อย่างเช่น พันบุตรศรีเทพ ในเรื่อง สุริโยไท

การศึกษาในยุคอดีตจึงมีการเรียนรู้เฉพาะในรั่วในวังและสำนักสงฆ์เท่านั้น ก่อนจะมีการกระจายมาเป็นมหาวิทยาลัยเปิด

การศึกษาย้ายระบบการศึกษานอกระบบ ในระบบน่าจะเข้ากันได้กับการเสวนาเรื่อง “ป้องกันไพร่มิให้ได้วิชา”

มีอีกประเด็นหนึ่ง น่าสนใจไม่เกี่ยวกับการเมืองแต่พอดีว่ามันตรงกันโดยตัวเลข ๓๕ เหมือนกันพอดี

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า สสร. ได้ครบ ๑๐๐ คนแล้วและได้ ประธานสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้วคือ อ.นรนิติ เศรษฐบุตร คนในวงการวรรณศิลป์เก่าจากรั้วธรรมศาสตร์ อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

แต่อันนี้ไม่เกี่ยวกับ อ.นรนิติ แต่พอดีว่าหลังตั้งแต่เลือกประธาน,รองประธาน สสร. แล้วจะต้องมีการแต่งตั้ง กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดย สมาชิก สสร.จะเลือกเอง ๒๕ คน แล้ว คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ คมช. เลือกอีก ๑๐ คน เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมแล้ว ๓๕ คนพอดี

เลข ๓๕ คนนี้ ไปตรงกันพอดีกับ ตอนหนึ่งใน ขุนช้าง – ขุนแผน เมื่อสมเด็จพระพันวษา อภัยโทษให้ขุนแผน ซึ่งติดคุก นำทัพไปรบเมืองเชียงใหม่ แล้วให้กำลังทหารตามที่ขุนแผนต้องการ

ตอนนี้ขุนแผนเลือกเอาทหารแค่ ๓๕ คนเท่านั้น และที่สำคัญขุนทหารทั้ง ๓๕ คนนั้น คือเพื่อนร่วมรุ่น ติดคุกด้วยกันและมีการเบิกตัวรายงานมาเข้าเฝ้าด้วย แถมรายงานความประพฤติทุกกระบวนความในเสภาฉากนั้นว่าดังนี้

ข้าพเจ้าอ้ายพุกอยู่ลุกแก                      เมียชื่ออีแตพระเจ้าข้า

โทษปล้นให้รำระบำป่า                      ให้อีมารำรื้อไปมือเดียว

ถัดไปอ้ายมีบ้านยี่ล้น                           เมียชื่ออีผลปล้นตาเขียว

แทงถูกอีชังกำลังเยี่ยว                         ปากเบี้ยวล้มหงายน้ำลายฟด

ถัดไปอ้ายปานบ้านชีหน                    เมียชื่ออีสนปล้นบางปลากด

ผูกคอตาจ่ายกับยายรด                         เอาไฟจดจุดขนหล่นร่วงไป

ถัดนั้นอ้ายจันสามพันตึง                    เมียชื่ออีอึ่งบ้านเหมืองใหม่

พวกโจรปล้นขุนศรีวิชัย                     เอาไม้เสียบก้นแกจนตาย

ถัดมาข้าชื่ออ้ายคงเครา                       เมียชื่ออีเต่าบ้านหนองหวาย

ปล้นบ้านบางภาษีเมื่อปีกลาย            ได้ทรัพย์จับควายผูกต่างมา

ต่อมาข้านี้อ้ายสีอาด                            เมียชื่ออีกงราดพระเจ้าข้า

คบไทยไล่ปล้นบ้านละว้า                   แล้วเข่นฆ่าลาวชื่อท้าวเสน

ขึ้นย่องเบาเอาบาตรผ้าพาดเณร        ทุบตาเถรแล้วซ้ำปล้ำหลวงชี

ที่นั่งถัดไปอ้ายช้างดำ                          อยู่บ้านถ้ำย่องเบาเจ้าภาษี

เก็บเงินทองของข้าวบรรดามี            ของดีดีไม่น้อยทั้งพลอยเพชร

ถัดมาอ้ายบัวหัวกะโหลก                   โทษปล้นชีโคกที่ปากเกร็ด

แล้วตีอ้ายดูกจมูกเฟ็ด                          ฟันตาสายขายเป็ดบ้านตึกแดง

ถัดมาข้าชื่ออ้ายแตงโม                       เมียชื่ออีโตบ้านชุมแสง

ปล้นชีดักขนนขนพอแรง                  ฆ่าขุนทิพย์แสงเจ้าทรัพย์ตาย

อ้ายอินเสือเหลืองเมืองชัยนาท         เมียชื่ออีปาดบ้านขนาย

เที่ยวปล้นฆ่าคนสักร้อยปลาย            ลักควายแทงกินสิ้นเป็นเบือ

อ้ายมอญมือด่างบางโฉลง                 เมือชื่ออีโด่งเป็นชาวเหนือ

ลักถ้วนลักถี่ทั้งตีเรือ                            ครกกระบากสากกะเบือไล่เก็บครบ

ถัดไป***ทองอยู่หนอกฟูก เมียชื่ออีดูกลูกตาจบ

กลางวันปิดเรือนเหมือนชะมบ        แต่พอพลบคนเดียวเที่ยวย่องเบา

อ้ายมากสากเหล็กเจ๊กกือ                    เมียมันตาปรือชื่ออีเสา

 ถัดไปอ้ายกุ้งคุ้งตะเภา                       ฟันผัวแย่งอีเม้าเอาเป็นเมีย

อ้ายสงผัวอีคงอยู่กงคอน                    ตีชิงผ้าผ่อนฆ่ามอญเสีย

ถัดไปอ้ายกร่างอยู่บาง***                  หาเมียมิได้ไล่ตีเรือ

อ้ายกลิ้งผัวอีกลักดักขนน                   ลักควายขายคนปล้นเรือเหนือ

อ้ายเภาผัวอีพานบ้านนาเกลือ           เอายาเบื่อหลวงโชฏึกเก็บตึกเตียน

อ้ายจั่นผัวอีปรางบางน้ำชน               ขึ้นย่องเบาหมื่นธนขนเอาเลี่ยน

อ้ายแมวผัวอีมาอยู่ท่าเกวียน              เข้าบ้านพิตเพียนปล้นปลอมริบ

พิจารณาเป็นสัตย์ซัดทอดฟ้อง          เก็บเอาข้าวของนางทองกระหมิบ

ถัดไปอ้ายมั่นผัวอีจันทิพ                    อยู่น้ำดิบปล้นตีหลวงชีเภา

หาได้แทงแกไม่ดังให้การ                  นครบาลสอบแก้เป็นแผลเก่า

อ้ายจันผัวอีจานบ้านกะเพรา             โทษปล้นจีนเก๊าเผาโรงเจ๊ก

ยิงปืนปึงปังประดังโห่                        แล้วเอาสันพร้าโต้ต่อยหัวเด็ก

ถัดมานั้นอ้ายสานกเล็ก                      อยู่คุ้งถลุงเหล็กผัวอีดี

สกัดตีโคต่างทางโคราช                     แทงอ้ายชั่วผัวอีปาดล้มกลิ้งขี้

อ้ายมากหนวดผัวอีขวดอยู่บางพลี    โทษตีอีบางเอากลางวัน

อ้ายเกิดกระดูกดำผัวอีคำด่าง             โทษสะดมกรมช้างกับหมอมั่น

ปล้นละว้าป่าดงคงกระพัน                กระหำไขว้ไข่ดันเป็นทองแดง

สิริคนโทษซึ่งโปรดมา                        ครบสามสิบห้าล้วนกล้าแข็ง

อยู่ยงคงกระพันทั้งฟันแทง               เรี่ยวแรงทรหดอดทน

ทำกรรมต้องจำมาช้านาน                  สิ้นกรรมบันดาลจึงให้ผล

พลายงามทูลขอพ่อออกพ้น               จึงปล่อยโปรดโทษคนทั้งนี้มา

ครั้นตรวจตราสำเร็จเสร็จทั่ว              จึงมอบตัวไพร่ทั้งสามสิบห้า

ให้แก่ขุนแผนแสนศักดา                    ท่านพระยายมราชก็อวยพรฯ

ครับ เพื่อนร่วมรบไปทัพเมืองเชียงใหม่และเพื่อนร่วมรุ่นของขุนแผนในคุก ได้ ๓๕ คนพอดี แต่ละคนประวัติดุเด็ดเผ็ดมันแทบทั้งสิ้น

๓๕ เดนตายนี้ไม่เกี่ยวกับ ๓๕ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด อ่านพอแต่สนุน ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่เลขตรงกันครับ สโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล

รำลึก ๒ ขุนพลเพลงแห่งยุค ไพบูลย์ บุตรขัน – สุรพล สมบัติเจริญ
บทบาทเพลงพื้นบ้านผสมอิทธิพลวรรณคดีในบทเพลง

        โดย...มหา สุรารินทร์

เดือนสิงหาคมทุกปีในแง่ของคอเพลงลูกทุ่งมีความสำคัญถึงบุคคลของวงการเพลงถึงสองคนคือ ไพบูลย์ บุตรขัน คีตกวีเพลงคนสำคัญ และ สุรพล สมบัติเจริญ ราชาเพลงลูกทุ่งเลือดสุพรรณบุรี ผู้ล่วงลับ
เหตุใด? ผมโยงประเด็นเข้าหาบุคคลสองท่านในเดือนสิงหาคมนี้ นั่นเพราะว่า วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ สุรพล สมบัติเจริญ ถูกลอบยิงเสียชีวิตหน้าวิกแสงจันทร์ วัดหนองปลาไหล อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมด้วย ๓๗ ปี ๑๐ เดือน ๒๓ วัน ขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์สุดขีด นับล่วงจากวันนั้น ๓๘ ปี
และวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ไพบูลย์ บุตรขัน เสียชีวิตด้วยโรคลำไส้ ณ โรงพยาบาลเปาโล กรุงเทพฯ ด้วยวัย ๕๔ ปี ขณะที่ชีวิตก็กำลังจะกลับมารุ่งเรืองโรจน์อีกครั้ง นับจากวันนั้น ๓๔ ปี
นี่แหละครับ เหตุที่ผมจะต้องเขียนถึงสองนักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ของวงการ ณ บัญชรแห่งนี้
สองท่านนี้อยู่ในยุคเดียวกัน จะเรียกว่าอยู่ร่วมสมัยแม้ว่าวัยจะห่างกันไม่มากนัก และสองท่านนี้เคยร่วมงานโดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้แต่งและอีกฝ่ายเป็นผู้ร้อง
ภาพความเป็นเพลงลูกทุ่งมักถูกสะท้อนในย้อนนึกถึงภาพหรือเสียงเพลงของ สุรพล สมบัติเจริญ หากย้อนกลับมานึกถึงภาพนักแต่งเพลงที่ใช้คำได้วิจิตรงดงามภาพของ ครูไพบูลย์ บุตรขันย่อมอยู่ในในอันดับต้นๆ เช่นกัน
นักแต่งเพลงหลายๆ ท่านยึดถือครูไพบูลย์ บุตรขัน เป็นแม่แบบ อนึ่ง เนื้อในบทเพลงนั้นไพบูลย์ได้แทรกเนื้อทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างไว้อยู่ครบครัน ทั้งนี้ทำนองยังผสมผสานเพลงพื้นบ้านเข้าไปยิ่งเพิ่มมนต์เสน่ห์เข้าไปอีก
แต่ต้องนึกถึงแง่เรื่องบทเพลงเสียก่อนเพื่อจะง่ายแก่การทำความเข้าใจในเรื่องวรรณศิลป์ เพลงกับบทกลอน เหมือนและต่างกันอย่างไร
กลอนหรือบทกวีคือเพลงที่ยังไม่ใส่ทำนอง เพลงคือบทกวีหรือกลอนที่ใส่ทำนองแล้ว
นี่แหละ ความเหมือนในความต่างของบทเพลงและบทกลอน
บทเพลงของไพบูลย์ บุตรขัน มีกลิ่นอายของเพลงพื้นบ้านอยู่มากมายหลายเพลงทั้งในยุคแรกและยุคหลัง ไม่ว่าจะเป็น ลิเกชีวิต, มือพี่มีพลัง (ปรีชา บุญยเกียรติ),ตาสีกำสรวล ๑-๒ (คำรณ สัมบุณณานนท์), ดอกดินถวิลฟ้า,บางกอกกรุงเก่า ๑-๒-๓,แม่แตงร่มใบ (ชัยชนะ บุนะโชติ), แม่ผิวพม่านัยน์ตาแขก (ชาย เมืองสิงห์),แว่วเสียงซึง,แคนลำโขง (เรียม ดาราน้อย),หนุ่มเรือนแพ (กาเหว่า เสียงทอง) เป็นอาทิ
ขณะที่เพลงของสุรพล สมบัติเจริญ ก็มีลีลาจังหวะเพลงรำวงอยู่เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาลาวเวียง,เดือนหงายที่ริมโขง,อีสานตื่นกรุง,ใกล้เกลือกินด่าง,หนาวจะตายอยู่แล้ว,ลาวตีเขียด,รำเกี้ยวสาว,ของปลอม ฯลฯ
ขณะที่ยุคแรกของไพบูลย์นั้น เริ่มจากแนวเพลงสายลมแสงแดดและเสียดสีการเมือง ที่เด่นๆ อย่างในเพลงตาสีกำสรวล ๑-๒ เป็นทำนองลำตัดเข้าในบทเพลงซึ่งเสียดสีเรื่องข้าราชการกับการจัดเก็บภาษีในยุคนั้น
“ข้าราชการขอให้ทำงานเพื่อประชาชน อย่าได้คิดว่าตนอยู่เหนือหัวคนเพราะใส่ชฎา ตาสาตาสียายมายายมีอย่างผมเข้ามาเพื่อเสียภาษีค่านา อย่าใช้วาจาเป็นเจ้านาย”
หรือเพลงเทวดาขี้โกงที่ตีแสกหน้านักเมืองได้อย่างแสบสันต์
“โกงกันกินกันเข้าไป พ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา สงสารแต่ราษฎรเขาเดือดร้อนขาดคนพึ่งพา เลือกผู้แทนเข้าในสภาหวังว่าจะได้พึ่งพิงเอิงเอย”
วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนนามอุโฆษยุคปัจจุบันเขียนถึงบทเพลงของครูไพบูลย์ บุตรขัน  ผู้นี้ว่า
บางเพลงเป็นการวิจารณ์การแบ่งชนชั้นราวกับมีทฤษฎีศิลปวรรณคดีที่ได้รับพลังความคิดเชิงสังคมนิยม
ในวรรณคดีร้อยกรองเหยียดน้องว่าต่ำ รูปชั่วตัวดำเหมือนกับอีกา เขาเอ่ยประณามหยามลูกตาสาไม่น่าเคลียเคล้า แต่เขากินข้าวน้ำมือนางตลอดปี
เพลงลูกสาวตาสี ไพบูลย์ บุตรขัน ประพันธ์เพลง คำรณ สัมบุญณานนท์ ขับร้อง
พลังความคิดจากทฤษฎีชนชั้นยังสำแดงชัดในเพลงขวานของทองไทย
อันคนไทยที่อยู่ในภาคอีสาน ขออย่าล้อว่าเป็นบักหนาน หรือการเหยียดหยามนำหน้า มันหมดสมัยแล้วเอยเพื่อนไทยฟังว่า เมื่อครั้งก่อนนั้นชั้นต่ำช้า ถือศักดินากันจนเกินไป
ในวรรณคดีที่แต่งเป็นเรื่องอื้อฉาว มักจะย้ำเอ่ยคำว่าลาว หรือการต่ำต้อยเอาไว้ นี่แหละผู้ดีซึ่งมีทาสคอยรับใช้ เดี๋ยวนี้สมัยทาสสิ้นหมดไปเพื่อนไทยเสมอหน้ากัน
เพลงเหล่านี้นี้เกิดขึ้นระหว่างสถานการณ์ต่อสู้ทางการเมืองอันดุเดือดสภาพสังคมการเมืองเป็นแรงเร้าให้ผลงานเพลงที่ไพบูลย์เขียนให้คำรณและคนอื่น ๆ มีความคมเข้ม เป็นพัฒนาการทางความคิดต่อเนื่องจากยุคเพลงของพรานบูรพ์และแสงนภา บุญราศรี 
๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ คณะรัฐประหารของฝ่ายจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งบัญชาการโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ ได้ยึดอำนาจโค่นรัฐบาลของฝ่ายรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ลงไป
วัฒน์ วรรลยางกูร ยังให้ทรรศนะในแง่วรรณศิลป์ของครูไพบูลย์อีก
เพลงแสบทรวง ที่มีวรรคทองให้แฟนเพลงจดจำ
น้ำตาผู้ชายที่ไหลรินหมายถึงความสูญสิ้นอเนกอนันต์นานาผู้ชายที่หลั่งน้ำตายิ่งกว่าฟ้าร้องไห้ หรือ ฉันทำทุกอย่างเพราะเธอ ชื่นเพราะเธอ ช้ำเพราะเธอคนเดียว
ฟังไปฟังมาหลายบทตอนในกลอนเพลงของไพบูลย์ บุตรขัน มีจังหวะโคนเหมือนกาพย์ฉบัง ๑๖ ดังในวรรคทองของเพลงแสบทรวงที่ยกมา หรือในเพลงโลกนี้คือละครที่ยกมาในตอนที่แล้ว เพียงแต่ลดทอนคำออกนิดหน่อยก็สามารถวางผังเป็นฉบัง ๑๖ ได้
โลกนี้คือละคร  บทบาทบางตอน
ชีวิตยอกย้อนยับเยิน
 บางคนรุ่งเรืองจำเริญ บางคนแสนเพลิน
เหมือนเดินหนทางวิมาน
เป็นการทดลองเปรียบเทียบเพื่อความประจักษ์ในทักษะวรรณศิลป์ของครูเพลง
วรรคทอง น้ำตาผู้ชายที่ไหลริน นี้ยังเป็นที่โปรดปรานของเพื่อนนักเพลงอย่างเบญจมินทร์ ซึ่งยกย่องว่าไพบูลย์คือ “กวีชาวบ้าน” ทั้งยังตั้งคำถามว่า
ในหนึ่งร้อยปี เราสามารถมีนักการเมืองมากมาย
แล้วหนึ่งร้อยปี เราจะมีกวีเกิดมาสักกี่คน
(วัฒน์ วรรลยางกูร,คีตกวีลูกทุ่ง ไพบูลย์ บุตรขัน,แพรวสำนักพิมพ์,จัดพิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม ๒๕๔๑,หน้า ๕๑ – ๕๒,๒๐๔-๒๐๕)
บทเพลงของ สุรพล สมบัติเจริญ ส่วนมากจะเป็นเพลงผูกกับสถานการณ์หรือเพลงที่หยอกล้อหญิงสาวสมัยนั้น ทั้งแต่งเองร้องเอง เพลง ของปลอม
ผู้หญิงไทยสมัยนี้ผิดกว่าเดิม หน้าอกเสริมใส่ฟองน้ำกันให้ยุ่ง ผิดกับยายของฉันที่บ้านทุ่ง เอ้า ยายของฉันที่บ้านทุ่ง แกใส่เสื้อเลยพุงยานเป็นถุงกาแฟ
บางเพลงที่อุปมาถึงคนอีสานที่เข้ากรุงเทพเกิดอาการขยาดผ่านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อย่างเพลงอีสานตื่นกรุง
พี่อยู่อีสานเที่ยวทั้งวันทั้งคืน เก็บผักฟืนนั่งหลังเกวียนสุขสันต์ ห้าสิบสตางค์เที่ยวไปได้ทั้งวัน ไม่เหมือนเมืองสวรรค์ต้องพกเงินพันตลอดปี
เพลงของสุรพล สมบัติเจริญ นั้นทีความเป็น ลาว หรือ อีสานอยู่ค่อนข้างจะมาก โดยเฉพาะเพลงแรกที่บันทึกแผ่นเสียง คือ เพลง น้ำตาลาวเวียง ซึ่งบันทึกแผ่นเสียงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖
หนาวลมพัดผ่านแหล่งแล้งลม ตัวข้อยมานั่งเดี๋ยวเหมิดเพื่อน ยามยากใจ ไผ๋ไผ๋บ่เหลือตน ข้อยทุกข์ทนล้นใจเด๋ บ่มีผู้ได๋มาเยือน ข้องเบิ่งเว้าสาวเจ้าถือเฮือน เจ้ามาเลือนข้อยไปใจข้อยช้ำเด๋ โอ้ละเนอผู้สาวเอ่ย ซางมาลืมคำเว้าแต่เฮาฮักกันปางพุ่น ลืมวาจา ฮืยฮืยซางบ่อาย ฯลฯ
และยังมีอีกหลายๆ เพลงที่ สุรพล สมบัติเจริญ ใช้ลีลาเพลงรำโทนและภาษาอีสานเข้ามาสอดรับกับเนื้อเพลง ซึ่งข้อนี้ แวง พลังวรรณ ตั้งข้อสันนิษฐานจากข้อสนทนากับนักแต่งเพลงร่วมสมัยกับสุรพลว่า เป็นไปได้ที่บางเพลง หรือหลายเพลง หรือทุกเพลงเป็นผลงานของ เฉลิมชัย ศรีฤาชา ศิลปินเพลงรำวง เลือดเนื้อเชื้อไขร้อยเอ็ด เจ้าของฉายา “ไส้เดือนถูกขี้เถ้า” เพื่อนสนิทของสุรพลตั้งแต่อยู่วงกองดุริยางค์ทหารอากาศ (รายละเอียดมีใน อีสานคดีชุดลูกทุ่งอีสาน แวว พลังวรรณ เรียบเรียง บริษัทเรือนปัญญาจำกัด จัดพิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๒๕๔๕)
ตรงนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นธรรมนักสำหรับทั้งสุรพลและเฉลิมชัย ซึ่งเสียชีวิตไปแล้วทั้งคู่ สุรพล นั้นเป็นชาวสุพรรณบุรี มีวัฒนธรรมลาวอยู่มากมาย โดยเฉพาะ ลาวโซ่ง และอนึ่ง เป็นข้อที่น่าสังเกตเรื่องสำเนียงเสียงภาษาและวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานมายาวนาน
พลังลาว ชาวอีสานมาจากไหน ? ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ สำนักศิลปวัฒนธรรม บริษัทมติชนจัดพิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม ๒๕๔๙ กล่าวถึงประเด็นเรื่องสำเนียงภาษาพูด ไว้ว่า
ร่องรอยอีกอย่างหนึ่งคือสำเนียงภาษาพูดของกลุ่มชนพื้นเมืองตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำยมที่เมืองสุโขทัยลงมาทางฝั่งตะวันกลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี (ตามชื่อเมืองในจารึกพ่อขุนรามคำแหง) ที่จดหมายเหตุจีนเรียกว่าพวกเสียนหรือสยามนี้ ล้วนใกล้ชิดกับสำเนียงหลวงพระบาง (ล้านช้าง) อย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำเนียงสุพรรณฯ ที่คนต่างถิ่นฟังเป็นเหน่อ ยิ่งใกล้เคียงสำเนียงหลวงพระบางจนเกือบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์เคยตั้งข้อสังเกตไว้แล้ว (สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา,สำนักพิมพ์ไม้งาม พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๖.) ว่า
“ปลอกเขตภาษาที่เรียกกันว่าสำเนียงสุพรรณทั้งหมด ซึ่งคลุมในบริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี,กาญจนบุรี,นครปฐม,ราชบุรี และเพชรบุรี เป็นสำเนียงภาษาที่มีความสูงต่ำทางวรรณยุกต์คล้ายคลึงกับภาษาลาวเหนือทางแขวงหลวงพระบางไปถึงซำเหนือ (หัวพัน). นี่เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าแปลกใจมานานแล้ว.
ภาษาพูดที่ชาวสุพรรณบุรีและกลุ่มสำเนียงนี้พูดเป็นภาษาไทย(ที่ว่าภาษาไทยหมายความว่าเป็นภาษาที่ใช้ถ้อยคำและสำนวนอย่างไทยภาคกลาง ไม่ใช่ถ้อยคำและสำนวนอย่างลาวในประเทศลาว.) แต่สำเนียงเป็นสำเนียงลาวเหนือเจือปนจนสังเกตได้ชัด
จริงอยู่ในสมัยกรุงเทพฯ นี้ได้เคยมีการกวาดต้อนพวกผู้ไทยดำ (โซ่ง) ทางแขวงซำเหนือ และลาวทางเวียงทางเขตเวียงจันทน์ ตลอดจนชาวเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง) มาไว้ที่จังหวัดสุพรรณบุรี – ราชบุรี – เพชรบุรี;แต่นั่นไม่ใช่จ้นเหตุที่ทำให้สำเนียงภาษาไทยของชาวสุพรรณเป็นดังที่เป็นอยู่นี้ เพราะพวกที่ถูกกวาดมาในชั้นกรุงเทพฯ นี้ ตั้งบ้านของเขาอยู่เป็นหมู่ใหญ่ต่างหากไม่ปะปนกันกับชาวสุพรรณบุรี-ราชบุรี – เพชรบุรีเดิม และยังคงใช้ภาษาเดิมของตนจนกระทั่งทุกวันนี้, หาได้เคล้าคละปะปนทั้งชีวิตประจำวันและภาษาเข้ากับชาวเจ้าของถิ่นเดิมไม่ ทั้งสำเนียงของสุพรรณบุรีก็เป็นแบบลาวเหนือมิใช่แบบผู้ไทย”
สุรพล สมบัติเจริญ เป็นคนสุพรรณบุรี แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่ามีเชื้อชาติพันธุ์เป็นคนลาวโซ่ง ดังที่ แวว พลังวรรณ กล่าวพาดพิงถึง แต่ก็ใช่ว่าคนไทยจะมีสายพันธุ์ที่เป็นไทยแท้บริสุทธิ์หรือลาวแม้ที่บริสุทธิ์ หากแต่มีการรวมอยู่ผสมผสานกันอย่างมากมาย และใช้ว่าคนที่ไม่ได้เป็น ลาว จะไม่รู้สำเนียงเสียงภาษาและวัฒนธรรมการเล่นเต้นร้อง อย่างน้อยก็เรียนรู้ได้จากคนรอบข้างเป็นปฐม
กลับมาที่ระหว่าง ไพบูลย์ บุตรขันกับสุรพล สมบัติเจริญ สองศิลปินท่านนี้ได้ร่วมงานเพลงกันไม่มากนัก สุรพลนั้นรุ่นเยาว์กว่าไพบูลย์ราวหนึ่งรอบ เข้าวงการตั้งแต่อายุ ๒๓ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ งานเพลงของไพบูลย์ เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒
เพลงที่สุรพล สมบัติเจริญ ได้ร้องเพลงที่แต่งจากปลายปากกาของไพบูลย์ บุตรขัน ที่ใช้นามปากกาว่า สาโรช ศรีสำแล ไม่ว่าจะเป้นเพลง
 น้ำค้างเดือนหก,รักจริงหรือเล่น,ดอกกระถินในกระท่อม และ ชูชกรำพัน เป็นต้น
ลีลาเพลงที่ไพบูลย์ แต่งในห้สุรพล นั้นเป็นลีลาโทนเดียวกันกับสุรพลใช้แต่งคือแบบกลอนแปดเล่นสัมผัสอักษรและเป็นเพลงร้องง่ายๆ แต่งดงามด้วยจังหวะของเสียงและภาษา มีแอคคอร์เดี้ยนเป็นตัวนำ ควบคู่ไปกับการเล่นคำ
หากพี่เสนอแล้วเธอไม่ตอบสนอง น้ำค้างจะน้ำคลอง คู่จองก็เป็นคู่จาง ห้องจะกลายรังหนู เรือนหอที่รอรักอยู่จะกลับเรือนร้าง ข้าวที่มองเห็นอยู่เต็มฉางคงเหมือนก้อนดินที่วางอยู่ตามท้องนา
จากวรรคหนึ่งในเพลง น้ำค้างเดือนหก จะเห็นการเล่นสัมผัสอักษรที่มีความลื่นไหลในภาษา จังหวะรำวง ส่งจังหวะกลอนได้อย่างมีทักษะทางวรรณศิลป์
นี้ยังไม่ได้คัดมาให้ชิมสุนทรีรสอีกหลายเพลงของ  ๒ ขุนเพลงผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้
บทเพลงเป็นเรื่องของเสียง และภาษา วรรณคดี กวีนิพนธ์ ก็เป็นเรื่องของเสียงและภาษาเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องเสียงของคำกับเสียงของอักษร ที่สำคัญคือวิธีคิดที่จะนำเสนอออกมาเป็นรูปแบบใด
ปัญหาของการศึกษานั้นคือการขาดแคลนการเผยแพร่ความรู้ เพราะคนส่วนใหญ่มักอยากจะ “สั่งสอน” จนไม่ยอมใช้วิธีการ “สั่งสม” ระบบการศึกาจึงขาดการทำความเข้าว่าศาสตร์ทุกศาสตร์นั้นสัมพันธ์ แต่กลับมองว่าไม่เข้าเรื่องไม่เข้าทางไม่เกี่ยวข้องกันอยู่คนเดียวโดดๆ ก็เลยหลงทาง
 ทั้งนี้ก็เพราะ ครูสอนสังคมไม่อ่านวรรณคดี ครูสอนภาษาไม่อ่านประวัติศาสตร์ ครูสอนคนตรีไม่ชอบเล่นขับกลอน ก็เลยกลอนธรรมไม่ใส่ทำนองไม่เป็น ดังไพบูลย์ บุตรขัน และสุรพล สมบัติเจริญ หรือนักแต่งเพลงท่านอื่นๆ นำมาใช้ได้อย่างง่ายดาย
 นี่แหละ ไม่รู้จักเอาอดีตมารับใช้ปัจจุบันเลยมองไม่เห็นอนาคต

 

 ตลิ่งของสองข้างทางน้ำของ
     มหา สุรารินทร์/maha19_8@hotmail.com
กลายเป็นว่า ผมต้องเขียนเรื่อง แม่น้ำโขงต่ออีกคำรบหนึ่ง เพราะเรื่องแม่น้ำโขงนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาสำหรับผู้คนในแผ่นดินสุวรรณภูมิ
หากเราตื่นตา ตื่นใจ กับ ปิระมิต ในประเทศอิยิปต์ ว่ามีความอลังการยิ่งนัก ปิระมิต เป็นของขวัญ ซึ่งเกิดจากอารยะธรรมลุ่มน้ำไนส์
เช่นกัน นครวัด ก็เป็นของขวัญที่เกิดจากอารยะธรรมลุ่มน้ำโขง
ประเด็นนี้เมื่อผมนั่งฟังการบรรยายของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ หัวหน้าคณะวิทยากรที่นำพาเราไปเชียงรุ่ง สิบสองพันนา อาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ บอกว่ามาในนาม ๑ บริษัท ๒ มูลนิธิ คือ บริษัทโตโยต้าประเทศไทยฯ และในนาม มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ต้องขอบคุณที่ให้โอกาสได้ไปเห็นต่างบ้านต่างเมืองแต่ไม่ต่างแตกครับ และต้องขอบคุณหนักๆ ตรงที่เล็งเห็นความสำคัญของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นสายเลือดใหญ่ของคนภูมิภาคอุษาคเนย์
.................
เพลงเกี่ยวกับแม่น้ำโขงมีเยอะมา โดยเฉพาะเพลงของ ปอง ปรีดา เช่น สาวฝั่งโขง,โขงสองฝั่ง ฯลฯ
กวีหลายท่านหลายนามเขียนถึงแม่น้ำโขง ที่เห็นภาพวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำของได้ตลอดสายของ “นายผี” หรือ อัศนี พลจันทร์ มหากวีอีกท่านหนึ่งของสยามประเทศ
ตลิ่งของสองข้างทางน้ำของ
แม้ยืนมองดูยังคอตั้งบ่า
      เขาหาบน้ำตามขั้นบันไดมา
        แต่ตีนท่าลื่นลู่ดังถูเทียน
        เหงื่อที่กายไหลโลมลงโทรมร่าง
        แต่ละย่างตีนยันสั่นถึงเศียร
        อันความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียน
        ก็วนเวียนอยู่กับของสองฝั่งเอย
ในบทกวีมีพลังและสะท้อนภาพให้เห็นทั้งสองฟากฝั่งโขงตลอดร่ายทาง หากลองไล่มาที่ละวรรคๆ ก็ยิ่งจะเด่นชัด
ภาพชาวบ้านที่ลงมาตลิ่งหาบน้ำขึ้นบ้านปัจจุบัน ตลอดเส้นทางแม่น้ำโขงยังปรากฏให้เห็นอยู่มิได้จางหายไปกับกาลเวลาที่แปรเปลี่ยน แม้ว่าสังคมปัจจุบันที่มีเครื่องอุปโภคบริโภคใช้ยังสะดวก แต่ภาพ
“เขาหาบน้ำตามขั้นบันไดมา
        แต่ตีนท่าลื่นลู่ดังถูเทียน”
ยังมีเห็นอยู่และดูงดงาม ลองมโนภาพดูสิครับ “ตีนท่าลื่นลู่ดังถูเทียน” ท่าน้ำตลิ่งของนั้นผ่านรอยเท้าผู้คนมานับเนิ่นนานสักเท่าไหร่
ผู้คนสายน้ำ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ก่อกำเนินมาพร้อมๆ กันกับวัฒนธรรมที่หลากหลายไหลมาจากสายน้ำเป็นจุดที่อยู่ของผู้คนและอาศัยพึ่งพิงและพึ่งพากันและกัน
เราต้องเอาแม่น้ำเป้นที่ตั้งของจุดหนึ่งทางสังคมและต้องเอาแม่น้ำสายใหญ่เป็นแกนในการสืบเสาะค้นหาสังคมเดิมในอดีต
เหมือนๆ กับคนไทย มักจะอนุมานเอา “แม่น้ำเจ้าพระยา” เป็นแกน แต่หากเป็นอุษาคเนย์นั้นไม่ใช่ แม่น้ำเจ้าพระยาอาจมีส่วน แต่เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้นในสังคมอยุธยาและภาคกลางของประเทศไทย
แต่หากเป็น อุษาคเนย์ ต้อง แม่น้ำโขง เป็นแกนสำคัญ
เพราะความเป็นนานาชาติของแม่น้ำโขงทำให้เกิดความหลากหลายทาง ชาติพันธุ์ สังคม และวิถีชีวิต
ไก หรือสาหร่ายน้ำจืด ซึ่งถือว่าเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขง และไกนี้แหละครับ คือ อาหารของ ปลาบึก ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีแหล่งเพาะพันธุ์เฉพาะในแม่น้ำโขงเท่านั้น
แม่น้ำโขง มีความเชี่ยวไหลแรงและสีขุ่นอันเกิดจากตะกอนดิน ตลอดแม่น้ำเต็มไปด้วยเกาะแก่งหิน
และเกาะแก่งหินๆ ตลอดของข้างทางน้ำโขงนี้เชื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลานานาชนิดในแม่น้ำโขง รวมทั้ง ปลาบึก นี้ด้วย
เมื่อทางรัฐบาลจีนมีโครงการปรับปรุงแม่น้ำโขง (ตามโครงการใช้ว่า “ปรับปรุง”)เพื่อเป็นเส้นขนถ่ายสินค้าลงมาค้าขายกับประเทศตอนล่างแม่น้ำโขง เช่น สปป.ลาว เป็นอาทิ
คำว่า “ปรับปรุง” ก็คือ ที่มาการระเบิดแก่งหินต่างๆ ในแม่น้ำโขงตอนบนจนแทบจะไม่หลงเหลือให้เห็นแล้วในปัจจุบัน ในวันที่ผมนั่งเรือล่องลงมาจากเชียงรุ่งปรายตามองไปรอบด้านเห็นโขดหินน้อยมากเหมือนเทียบกับภาพที่เห็นและคำบอกเล่าของผู้เคยเดินทางมาก่อนหน้านี้ที่จะมีการระเบิดแก่งหิน
แก่งหินธรรมชาติ คือ ปฏิมากรมอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติที่รังสรรค์ขึ้นมาเองโดยอาศัยกาลเวลาหลายพันปีที่น้ำอันเชี่ยวคอยเซาะกร่อนหินเป็นรูปหลักตามกระแสธารจะบันดาลให้เป็น
ที่สำคัญชื่อแก่งหินต่างๆ ตามเรื่องเล่าพื้นบ้านและนิทานตำนานต่างๆ ก็ต่างมีกำเนิดจากอารยะธรรมลุ่มน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำโขง หากเราลองสังเกตให้ดีเถิดว่าตำนานเรื่อง “นาค” จะเต็มไปตลอดสองฟากแม่น้ำโขง รวมแม้กระทั่ง ตำนานพระพุทธเจ้าเสด็จเลียบโลก ดูเหมือนว่าจะจำกัดอยู่เฉพาะแอ่งอารยะธรรมย่านโดยส่วนมากไม่ปรากฏที่อื่นๆ
ย่านนี้ หมายถึง ลุ่มแม่น้ำโขง
ปัจจุบัน แม่น้ำโขง ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจและการคมนาคม อดีต ฝรังเศสในยุคล่าอาณานิคมใช้เป็นประตูเบิกทางไปสู่ประเทศจีน ในขณะปัจจุบันจีนใช้แม่น้ำโขงเป็นประตูเข้าสู่สุวรรณทวีป
ปัญหาแม่น้ำโขง จึงยังคงต้องร่วมด้วยช่วยกันรักษาแม่น้ำสายสำคัญแห่งนี้ให้เป้นของส่วนร่วมมิใช่เป็นเพียงสายน้ำแบ่งดินแดนในแผนที่และเรามีความเป็นเครือญาติชาติพันธุ์
ระบบทุนนิยมเสรีหรือทุนนิยมสามานย์จะไม่ค่อยแคร์อันใดกับสังคมและวัฒนธรรมเพราะมุ่งเอาแต่ประโยชน์เข้าเฉพาะตน
ไม่ว่าแม่น้ำโขงจะเป็นเช่น ถูกผลกระทบจากส่วนไหน “อันความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียน ก็วนเวียนอยู่กับของสองฝั่งเอย” นั่นแล


 สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย กับสมัยบริหารใหม่ระหว่าง ยุทธ – จุไรรัตน์
ใครจะมองวรรณกรรมด้วยตานกหรือตาหนอน

    วรรณคดี/มหา สุรารินทร์:maha19_8@hotmail.com

ใกล้จะสิ้นปี รวดเร็วปานติดจรวดเลยครับสำหรับเวลา ปีหนึ่งผ่านไว้มากจนเราตั้งตัวไม่ติด เวลาก็คงเป็นเวลาเคลื่อนทีคงเดิม แต่ความรู้สึกที่เราคิดว่ามันรวดเร็วเท่านั้นเอง
๑๐ ธันวาคม เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” ถัดมาวันที่ ๑๑ ธันวาคม นั้นถือว่าเป็น “วันกรมพระปรมานุชิตชิโนรส” วันประสูติของ สมเด็จพระมหาสมเจ้า กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ในสมัยบริหารที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่มีนายกสมาคมฯ ชื่อ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้เลือดเอาวันที่ ๑๐ ธันวาคม ซึ่งเป็นวันหยุดราชการเป็น “วันนักกลอน” (อนึ่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ถือให้เป็น “วันธรรมศาสตร์”)  จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่นั้นสืบมา
ทั้งนี้ สมาคมฯ จึงถือเอาวันนี้เป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีและบางปีก็เป็นวาระครบรอบเลือกตั้ง นายกสมาคมฯ และคณะบริหารสมาคมชุดใหม่ ในวาระเดียวกัน
ปีนี้ พ.ศ. ๒๕๔๙ จะครบวาระสมัยที่ ๑๔ ของ สมศักดิ์ ศรีเอี่ยมกูล นายกสมาคมฯคนปัจจุบัน ซึ่งบริหารมาสองสมัยสี่ปี ๒๕๔๕–๒๕๔๙
ซึ่งจะหมดวาระใน วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ธันวาคม นี้ และจะมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีและเลือกตั้งคณะผู้บริหารชุดใหม่ใน “วันนักกลอน” ณ ห้องนพรัตน์ โรงแรมรัตนโกสินทร์ (รอยัล) ถนนราชดำเนิน
เมื่อหมดวาระสมัยบริหารที่ ๑๒ ของ พลตรีหญิงอุษณีย์ เกษมสันต์ ณ อยุธยา เมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๕ มีการแข่งขันกันอย่างถึงพริกถึงขิงกันระหว่าง สมศักดิ์ ศรีเอี่ยมกูล อุปนายกคนที่ ๑ ในสมัยนั้น กับ อ.อำไพพรรณ น้อยหนูจรัส เลขาธิการในขณะนั้น อาจารย์แห่งโรงเรียนปากเกร็ด นนทบุรี เชือดเฉือนกันเพียงสี่คะแนน สมศักดิ์ คว้าชัยชนะอย่างเส้นยาแดงผ่าแปด
และวันนั้นเกิดอาการ “กรุแตก” แต่กรณีกรุแตกมิใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่น่าขบคิดว่า ผู้พ่ายแพ้ในการสมัครนายกสมาคมมักจะหันหลังให้สมาคมตั้งแต่การถ้อยห่างให้สมาคมฯของ ประยอม ซองทอง หลังแพ้เลือกตั้ง อุปถัมภ์ กรองแก้ว เมื่อ ส.เชื้อหอม แพ้เลือกตั้ง สมบัติ กิ่งกาญจนวงศ์ ประกาศลาออกจากสมาชิกทันที อนันต์ คู่มณี จะต่อสมัยแต่แพ้เลือกตั้งต่อ อุษณีย์ เกษมสันต์ ณ อยุธยา ก็เบนเข็มไปเป็น เลขาธิการสถาบันสุนทรภู่ ที่มี เสวต เปี่ยมพงศ์ศาสน์ นั่งแท่นเป็นผู้อำนวยการอยู่ในขณะนั้น
จุดนี้ใครเล่าจะเชื่อมแผลตรงนี้ หรือเพราะดวงของสมาคมฯ ก็ยากแก่การพยากรณ์!
มาถึงสมัยบริหารที่ ๑๓ หรือ สมศักดิ์ ๑ หมดวาระลง ตามธรรมเนียมที่จะต่อสมัยย่อมจะมีการเลือกตั้งเป็นธรรมดา สมศักดิ์ ศรีเอี่ยมกูล ประกาศต่อสมัยที่ ๑๔ โดยมีคู่แข่งเป็นเพื่อนรักอย่าง สุพจน์ ชีรานนท์ แห่งชมรมเพื่อนขวัญวรรณศิลป์
ผลเลือกตั้งปรากฏว่า สมศักดิ์ ก็ชนะไปเพียง ๑๔ คะแนนเท่านั้น แต่คราวนี้ไม่มีอาการวงแตกอย่างคราวที่แล้ว ซึ่งจริงๆ แล้วการมาของ สุพจน์ ชีรานนท์ หรือที่สายนักข่าวกีฬาวงการหมัดๆมวยๆจะรู้จักในนาม กี้ บ่อนไก่ หรือ ชายพจน์ นั้นจะมาผิดที่ผิดเวลาหากมาเมื่อคราวก่อนั้น
ผลย่อมเปลี่ยนทิศเปลี่ยนทางเป็นแน่แท้
ขณะที่คล้อยหลังเลือกตั้งไม่นาน สุพจน์ ชีรานนท์ ก้าวขึ้นไปเป็น ผู้อำนวยการสถาบันสุนทรภู่ แทน อนันต์ คู่มณี อดีตนายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย สมัยบริหารที่ ๑๐ ซึ่งเป็น ประธานมูลนิธิสถาบันสุนทรภู่
นี่! ผมเพียงเกริ่นให้ทราบเพียงเรียกน้ำย่อยเท่านั้น เพราะคราวนี้ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ สมัยบริหารที่ ๑๕ กำลังจะลั่นปี่ตีกลองเริ่มขึ้นนั้น
ยุทธ โตอดิเทพย์ ศึกษานิเทศเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต ๒ ,อุปนายกสมาคมฯ คนที่ ๒ ,ศิลปินดีเด่นจังหวัดนครปฐมและกรรมการตัดสินรางวัลเซ่เว่านบุ๊คฯ ประกาศลงชิงชัยแต่ไก่โห่และเสียงเชียร์จากเพื่อรอบข้างในกลุ่มกรรมการสมาคมด้วยกัน
ขณะที่อีกฝ่ายที่เสนอตัวนั้นยังไม่เป็นข่าวตามสื่อซอกแซกวงการวรรณกรรม คือ จุไรรัตน์ วรรณยิ่ง อาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดม ระดับ ๙ อุปนายกสมาคมคนที่ ๑
ยุทธ โตอดิเทพย์ นั้นเป็นรู้จักกันวงกว้างของคนในหมู่วรรณกรรม ความเป็นนักวิชาการการศึกษาและร่วมร่างแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการและฝีมือเชิงชั้นเรื่อง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน นั้นเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งรางวี่รางวัล
เสน่ห์อย่างหนึ่งที่มีนั้นคือความเป็นคนเข้ากับสังคมได้ง่ายและเป็นกันเองความทั้งความมีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง ไม่มีบุคคลแบบความรู้อย่าง “ดอกเตอร์ดอกตีน” (สำนวนอาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์) ฉะนั้น ยุทธ จึงมีเพื่อนมากในวงการกลอนและวงการครู
ทั้งนี้อาจความเป็น “นักเลงกลอนเมืององค์พระ”
ผมมีโอกาศพบปะอยู่หลายครั้งหลายคราวได้พูดคุยและสอบถามเรื่องราวนโยบายเกี่ยวกับการบริหารสมาคมฯ ในเมื่อเสนอตัวมาเป็นนายกสมาคมฯกับว่าที่ผู้สมัครท่านนี้
“นโยบายคือจะประสานทำงานร่วมกับองค์กรวรรณกรรมอื่นๆ ที่มีอยู่และสมานฉันท์ด้วยวรรณคดี เอาของดีที่มีอยู่มาเล่นให้เกิดรสเกิดชาติ แต่ต้องไม่เมาของเก่าไม่หลงของใหม่ อยู่บนความพอดี และมือไม้ที่จะมาทำงานต้องให้เกียรติ เคารพในความคิดของแต่ละฝ่าย
ที่สำคัญ! อำนาจการบริหารไม่จำเป็นต้องกระจุกอยู่ที่นายสมาคมฯ แต่เพียงผู้เดียว ต้องแบ่งงานให้อุปนายกสมาคมและกรรมการร่วมกันร่างวิธีการทำงานปฏิทินปีมาเลยว่าจะทำอะไรบ้าง
สิ่งที่ทำมาแต่เดิมนั้นจะคงไว้เช่น แข่งขันประชันกลอนสดทุกภาค และแบ่งเวลากระจายไปทั่วๆ ทุกเดือน ไม่ใช่รวมอยู่ที่เดือนพฤศจิกายน เพราะกรรมการทุกท่านก็มีงานประจำที่ต้องรับผิด ฉะนั้นการกระจายกิจกรรมแล้ววางแผนค่ายนอกจากแข่งขันอย่างเดียวน่าจะมีกิจกรรมอย่างอื่นเป็นองค์ประกอบเช่น เข้าค่ายอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การแข่งขันรางวัลเป็นเรื่องน้ำจิ้มล่อใจเท่านั้น
ที่สำคัญคือ แกน ของประเด็นที่จะทำว่าเราต้องการนำเสนออะไร เรื่องของภาษามันความเคลื่อนไหวอยูตลอดเวลา สิ่งนี้และจะทำให้เกิดผลสืบเนื่อง ดีกว่าประชันกลอน ประกวดกลอนแล้วก็เลิกๆ กันไปปีหน้าเอาใหม่อีกที อย่างนี้ไม่ใช่”
นี้อาจเป็นเพียงประเด็นความคิดที่จะเริ่มทำงานของว่าที่ผู้สมัครนาม ยุทธ โตอดิเทพย์ แต่นอกเหนือจากนั้น วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ธันวาคม ศกนี้ คงให้ตอบได้ชัดเจนกว่า หากมีมือที่สามเข้าสมัครเสียงย่อมแตกเป็นเสี่ยงอย่างแน่นอนล
จริงๆ แล้วผมเองก็เกี่ยวพันกับสมาคมนักกลอนคลุกคลีทำงานก็กินเวลาเกือบสี่ปี ตลอดสมัย สมศักดิ์ ศรีเอี่ยมกูล ในฐานะกรรมการในสมัยบริหารที่ ๑๔ แต่อายุการเป็นกรรมการแค่ปีครึ่งเท่านั้นเพราะคุณวิทูรย์ ไพรวัลย์ กรรมการฝ่ายสวัสดิการ มีปัญหาทางสุขภาพทำให้ตำแหน่งว่างลง กรรมการสมาคมหลายท่านได้เสนอชื่อให้ผมเข้าไปเป็นกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างในการประชุมประจำเดือนของสมาคมฯ ณ กุฎีสุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม
ผู้เสนอคือ คุณมังกร แพ่งต่าย บรรณาธิการหนังสือสื่อถ้อยร้อยฝัน (นิตยสารกวีนิพนธ์เล่มเดียวที่หลงเหลือในบรรณพิภพ) อุปนายก คนที่ ๓ และคุณภาสกร วิเวกวรรณ รองเลขาธิการ ฯ
รวมทั้ง นายกสมาคมฯ สมศักดิ์ ศรีเอี่ยมกูล ซึ่งถือว่าเป็นเปิดร่องทางให้เข้ามาคลุกคลีตีโมง และผมก็ไม่ได้ทำอะไรให้สมาคมมากนัก
จริงๆ แล้ว ถึงจะได้เป็น กรรมการ หรือไม่เป็น ผมก็ยินดีช่วยอยู่แล้ว ในฐานะเราเป็นเครือญาติชาติพันธุ์เดียวกัน มีเลือดสีเดียวกัน คือ “สีน้ำหมึก” แม้ทัศนะเรื่องสังคมการเมืองอาจแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็ตามที
แต่ภาพสมาคมนักกลอนฯ ถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่ “เชย” คือวิธีคิดติดในรูปแบบจำเพาะอยู่ในเรื่องวิธีคิด สำนึกทางการเมือง และปัจจัยอื่นอีกสาระพัน
จะกล่าว “เชย” ดูเหมือนจะ “ขื่นจิตใจ” คนในสมาคมอยู่พอสมควร โดยเฉพาะคำวิพากษ์ที่คุณศิริวร แก้วกาญจน์ พูดถึงวงการกวีนิพนธ์ไทยในนิตยสาร คนรักหนังสือ ว่า “กวีนิพนธ์ไทยเหมือนการเตาะแตะต้วมเตี้ยมของฝูงเต่าแก่ๆ” เล่นเอาหลายคนถึงกับเนื้อเต้น (ไม่เชื่อถามคุณสมบัติ ตั้งก่อเกียรติ อดีตนายกสมาคมการอ่านแห่งประเทศไทย ดูเลยก็ได้)
เหตุที่ว่า “เชย” นั้น คงเพราะว่า งานกวีนิพนธ์ ในซีกสมาคมนักกลอนฯ ไม่ปรากฏในหน้านิตยสารทั่วไปมากนัก จะพบก็ในวาระสำคัญ วันสำคัญ และบทอาเศียรวาท
ที่สำคัญ “เวทีประกวดประชันขันแข่ง” จะพบอย่างมากมายเหมือนดอกเห็ดในหน้าฝนเลยทีเดียว และอีกเรื่องหนึ่งคือเอาวิธีคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งแล้ววัดกันที่ฝีไม้ลายมือทางเชิงชั้นลีลา โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย การประกวดก็มีส่วนดีและส่วนเสียคือยึดมั่นถือมั่นต่อรางวัลที่เป็นแค่เปลือกเท่านั้น
กวีนิพนธ์ ไม่ได้อยู่แค่ตรงนี้ แต่อยู่ที่อารมณ์ ความรู้สึก และการสัมพันธ์กับสังคม โดยเฉพาะ “เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฏร์” จนปลายปากกาเป็น “ทวนที่ทระนง เหนือธรณี”
หากสมัยบริหารชุดใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้ามานั้น มีเรื่องที่จะต้องทำอีกมากมายหลายอย่าง ซึ่งสามารถผนวกการประกวดกลอนเพิ่มเติมเป็นสีสันได้เป็นอย่างดี โดยยึดหลักเอาแก่นแกนที่    วรรณคดีเป็นที่ตั้ง แล้วเก็บปัจจัยรอบข้างทั้งประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “สั่งสม” ที่ไม่ใช่ “สั่งสอน” แต่คงไม่ถึง “ปฏิวัติวัฒนธรรมความคิด” กันทีเดียว
ตรงนี้ ขึ้นอยู่กับว่าคณะผู้บริหารสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทยชุดใหม่จะมองโลกวรรณกรรมและสังคมอุษาคเนย์ด้วย “ตานก” หรือ “ตาหนอน” เท่านั้นเอง
 

 เบื้องหลังเพลง หลังเพลงมีเรื่องเล่า
    มหา สุรารินทร์/maha19_8@hotmail.com

พอดีได้หนังสือมาใหม่หนึ่งเล่ม เรื่องได้หนังสือฟรีนั้นไม่เท่าไหร่หรอกครับ หากแต่ว่าหนังสือนั้นมีแรงดึงดูดให้เราอยากจะมาพูดถึงหรือเปล่า
แต่หนังสืออะไรก็ช่างเถอะ ได้มาก็ขออ่านหน่อยก็แล้วกัน
หนังสือเล่มที่ว่า “เบื้องหลังเพลงดัง” เขียนโดย สุรินทร์ ภาคศิริ ในเล่มยังแถม ซีดีเพลง ๑๕ เพลงดังไว้ด้วย หาฟังยากครับ ยิ่งต้นฉบับแท้แล้วด้วยยิ่งหาฟังยากกว่า
เพราะอารมณ์แรกๆ มันบริสุทธิ์กว่าครับ
ครูเพลงชาวอีสานท่านสร้างผลงานเพลงไว้มากมาย ให้นักร้องหลายท่านดังดังๆ ก็เยอะ เช่น ศรชัย เมฆวิเชียร ในเพลงทหารเกณฑ์ผลัดสอง พรไพร เพชรดำเนิน เพลงงานนัร้อง บุปผา สายชล วอนลมฝากรัก บรรจบ เจริญพร เพลงอย่าเดินโชว์ กาเหว่า เสียงทอง เพลงบ้องกัญชา เพลงผ้าขาวม้า สุนทร สุจริตฉันท์ หรือ สุราอันว่าเหล้า ชาตรี ศรีชล เป็นอาทิ
โดยเฉพาะ ศักดิ์สยาม เพชรชมพู นักร้องจากมหาสารคาม
มีหลายเพลงมาก จนแทบจะบอกว่าเกือบทุกเพลงที่ดัง
เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ,อ.ส. รอรัก ,รวมอักษร ฯลฯ
ครูสุรินทร์ นั้นไม่ใช่ชื่อจริงหรอกครับ ชื่อจริงของครูนั้นชื่อ ชานนท์ ภาคศิริ เป็นชาวจังหวัดอำนาจเจริญ
เพลงของ ครูสุรินทร์ นั้นร้องไว้เกี่ยวกับอีสานย่อมมีเยอะเป็นธรรมดา ผมเองก็เพิ่งรู้ว่าเพลง หนาวลมที่เรณู ที่ ศรคีรี ศรีประจวบ ร้องนั้นรู้ว่าครูสุรินทร์แต่ง แต่ไม่รู้มาก่อนเลยว่าตอนแต่งเพลงนี้ครูสุรินทร์ไม่เคยไป อ.เรณูนคร จ.นครพนม เพียงที่เฉียดๆ ไปงานพระธาตุพนมเท่านั้น
สมัยนั้นเรณูนคร ยังเป็นเพียงตำบล ยังไม่ได้เป็นอำเภออย่างปัจจุบันนี้
เรณูนคร นั้น เป็นเมืองที่มีผู้คนชาวผู้ไทอยู่มากไปจนถึงจังหวัดสกลนคร
ในเนื้อเพลงมีเขียนถึง ดูดอุร้อยไหไม่คลายหนาวได้หรอกหนา ห่างน้องพี่ต้องหนาวหนักอุรา คอยนับเวลาจะกลับมาอบไอรักเก่า
อุ เป็นน้ำเมาอย่างหนึ่งซึ่งหมักด้วยแกลบและปลายข้าวใส่ไว้ในไห เวลาจะกินก็เติมน้ำแล้วเจาะไม้ดูด ไม่ใช่เฉพาะที่เรณูนคร-นครพนมหรอกครับที่ ทางเหนือก็มีเยอะ ที่ฝั่งลาวก็มีหลาย
ดูดไปดูดไปสลับกันดูด เมาไม่รู้ตัว เมาเป็นเงียบๆ พอมืนๆ
อีกเพลงของครูสุรินทร์ ภาคศิริ ที่ คุณศักดิ์สยาม เพชรชมพู ร้อง คือเพลง ทุ่งกุลาร้องไห้
เพลงนี้ดังมากครับ เป็นเพลงช้าหวานปนเศร้า และเล่าถึงทุ่งกุลาร้องไห้ แผ่นดินอีสานเป็นพื้นที่กว้าง พอบอกว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” คนก็คิดถึงความแห้งแล้ง กันดาร ก็ไปคิดถึงหน้าแล้งมันก็แล้งสิครับ ไม่คิดถึงหน้าฝนต้นไม้กำลังสีเขียว ต้นหนาวใบไม้กำลังผลัดใบเปลี่ยนสี
ช่วงนี้แหละงามมากเลยล่ะ ลองไปดูสิ
ทุ่งกุลาก็มีนิทานครับ ผมเลยคัดมาให้อ่านกันจาก พลังลาว ชาวอีสานมาจากไหน ของคุณ
สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ ๒๕๔๙ ดังนี้
ทะเลกว้างใหญ่ได้กลายสภาพมาเป็นท้องทุ่งทุ่งอันกว้างใหญ่ไพศาลจนมองสุดลูกหูลูกตา มองเห็นขอบทุ่งจดขอบฟ้าประหนึ่งว่าทองดูทะเล
ตำนานเรื่องทุ่งกุลาร้องไห้นี้ นับว่าเป็นตำนานที่มีความใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุดเพราะตรงกับข้อสันนิษฐานทางภูมิศาสตร์กล่าวว่า
“บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเป็นแอ่งแผ่นดิน ๒ แอ่ง เป็นที่ต่ำ  มีบ่อ หนอง บึงหรือมีน้ำท่วมถึงในฤดูฝน แอ่งแผ่นดินตอนล่างมีอาณาเขตกว้างขวางคือ แอ่งโคราชมีแม่น้ำมูลและสาขาใหญ่น้อย คือ ลำชี ลำน้ำพอง ลำปาว ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำโขงทางด้านตะวันออก แต่แม่น้ำเหล่านี้โดยเฉพาะแม่น้ำมูลไหลลงสู่แม่น้ำโขงไม่สะดวกเพราะพื้นดินตรงกลางเป็นแอ่งดังกล่าวทำให้บริเวณนี้มีน้ำขังตลอดฤดูน้ำเกิดน้ำท่วมล้นฝั่งแทบทุกปี บริเวณทุ่งราบที่กว้างขวางเป็นแอ่งนี้ ได้แก่ ทุ่งกุลาร้องไห้ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ ยโสธร พอถึงหน้าแล้งน้ำจะแห้งระเหยไปจนกลางเป็นทุ่งโล่ง ดินกร่อย ทำการเพาะปลูกไม่ได้ มีแต่ป่าละเมาะขึ้นประปราย หญ้าที่ขึ้นก็ใช้เลี้ยงสัตว์ไม่ได้ พอถึงหน้าน้ำก็มีน้ำท่วมเต็มบริเวณถึงกับมีการจับปลากันได้มีผู้สันนิษฐานว่าเมื่อหลายพันปีมาแล้วบริเวณนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน”
นิทานทุ่งกุลาร้องไห้
เมื่อทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาลได้กลายสภาพมาเป็นท้องทุ่งอันกว้างใหญ่ ทำให้มองเห็นดินจดขอบฟ้ามาแล้วเป็นเวลานานเท่าไรไม่มีใครสามารถจะบอกได้ แต่คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าสืบต่อกันมา ว่าเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ได้มีการไปมาค้าขายติดต่อกับพ่อค้าต่างบ้านต่างเมือง ทั้งที่ใกล้เคียงและห่างไกลกัน มีพ่อค้าหาบสินค้าเที่ยวขายไปตามหมู่บ้านแถบทุ่งกว้างนี้เป็นประจำ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง
บรรดาพ่อค้าที่มาค้าขายในเขตทุ่งกุลาร้องไห้นี้ ได้มีพ่อค้าพม่าเผ่าหนึ่งมีชื่อว่า เผ่ากุลา ได้นำสินค้าเร่ขาย และมากันเป็นหมู่ๆ ละ ๒๐ – ๓๐ คน สินค้าที่นำมาขายได้แก่ สีย้อมผ้า เข็ม แพรพรรณ ยาสมุทรไพร เครื่องถมซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ทารักลงสี ลวดลายสวยงาม เป็นกล่องคล้ายกระติบข้าวเหนียว ชาวบ้านนิยมซื้อไว้ใส่บุหรี่และหมากพลูเวลาเดินทางไปไหนมาไหน พวกพ่อค้าจะนำสินค้าใส่ถังใบใหญ่ที่เรียกว่า ถังกระเทียว มาขาย จะหาบเร่ร่อนรอนแรมไปเรื่อยๆ เป็นแรมเดือนแรมปี ขายหมดที่ใดจะซื้อสินค้าหาบขายไปเรื่อย ๆ
ครั้งหนึ่ง ได้มีกุลาพวกหนึ่งเที่ยวเร่ขายสินค้าจากอุบลราชธานี ศรีสะเกษ เรื่อยมาจนถึงสุรินทร์ พอมาถึงท่าตูม พวกกุลาได้พากันซื้อครั่งเป็นจำนวนมากเพื่อจะนำไปทำสีย้อมผ้ามาขายอีกต่อหนึ่ง พวกกุลาต่างพากันหาบครั่งข้ามแม่น้ำมูล พอมาได้สักหน่อยหนึ่งก็ถึงท้องทุ่งอันกว้างใหญ่ หมายใจว่าจะเดินตัดทุ่งไปสู่เมืองป่าหลาน (อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย) มหาสารคาม ขอนแก่น อุดรธานี ขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเส้นทางที่พ่อค้าพวกนี้ยังไม่เคยเดินผ่านทุ่งนี้มาก่อน ทำให้ไม่ทราบระยะทางที่แท้จริง เพราะมองเห็นเมืองป่าหลานอยู่หลัดๆ หาทราบไม่ว่า ใกล้ตาแต่ไกลตีน (สำนวนภาษาอีสาน คือ มองเห็นเป็นใกล้แต่ต้องเดินไกล)
ขณะที่เดินข้ามทุ่ง รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามาก และเป็นฤดูแล้งด้วย น้ำจะดื่มก็ไม่มี ต้นไม้จะอาศัยร่มเงาแม้เพียงต้นเดียวก็ไม่มีทั้งแดดก็ร้อนจัด ต่างก็พากันอิดโรยไปตามๆ กัน ครั่งที่หาบมาจะทิ้งก็เสียดาย จึงพากันโอดครวญ และคิดว่าคงจะเอาชีวิตมาตายในทุ่งนี้เป็นแน่ จึงพากันร้องไห้ไปตามๆ กัน ดังตำนานคำกลอนภาษาอีสานว่า...
 ตกกลางทุ่งแล้งล้าเดินฝ่าเทิงหัว
เห็นแต่ทุ่งเป็นทิวมือกุมควันกุ้ม
เหลียวไปไสฟ้าหุ่มงุมลงคือสักสุ่ม
มือกลางเวนจุ้มกุ้มคงไม้กะบ่มี
คักละนอบาดนี่หลงท่งคนเดียว
ถิ่มฮอดถงกะเทียวย่ามของสินค้า
เหลียวทางหลังหางหน้ากุลายั้งย่อยู่
ลมออกหูจ้าวจ้าวไคค้าวย่าวไหล
จนปัญญาแล้วไห้เทิงจ่มระงมหา
คึดฮอดภรรยาลูกเมียอยู่ทางบ้าน
ลมอัสสวาสกั้นเนื้อสะเม็นเย็นหนาว
อ้าปากหาวโหยแฮงแข้งลาขาล้า
เพื่อไปนำกองหญ้าเวลาค่ายค่ำ
ยากนำปากและท้องเวรข่องจ่องเถิง
ป่าหญ้าแฝกอึ้งตึงกุลาฮ่ำโมโห
ตายย้อยความโลภล่องเดินเทียวค้า
ใจคะนึงไปหน้าโศกาไห้ฮ่ำ
คึดผู้เดียวอ้ำล้ำทางบ้านบ่เห็น
ในหนังสือกล่าวไว้บอกว่ากุลา
หรือแม่นไปทางได้แต่นานมาไว้
ท่งกุลาฮ้องไห้ที่หลังท้ายหมู่
อยู่โดนมาแต่พ้นพันร้อยกว่าปี
พวกกุลาต่างพากันร้องไห้ แล้วได้พากันพักพอหายเหนื่อยจึงเดินทางต่อไปอีก แต่ครั้งที่หาบมาหนักมาก พวกกุลาจึงพากันเทครั่งทิ้งบ้างเล็กน้อย ต่อมากลายเป็นหมู่บ้านครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
เมื่อกุลาเดินต่อไปอีก รู้สึกอิดโรยมาก ครั้นไปถึงกลางทุ่งจึงตัดสินใจเทครั่งทั้งหมดทิ้ง ต่อมาได้ชื่อว่า บ้านครั่งใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
เมื่อพวกกุลาเดินทางมาพ้นทุ่งแล้ว เข้าสู่หมู่บ้าน มีคนมามุงดูจะขอซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก แต่พวกกุลาไม่มีสินค้าจะขายให้แก่ชาวบ้าน พวกกุลาพากันเสียใจและเสียดายสินค้าที่ตนได้เททิ้งกลางทุ่งพวกกุลาจึงพากันร้องไห้เป็นครั้งที่สอง ทำให้เกิดเป็นชื่อเรียกทุ่งอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ มาตราบเท่าทุกวันนี้
ในเพลงก็มีประวัติศาสตร์ถ้ามีการเอามาอธิบายขยายต่อ คนก็ได้รู้ทั่วกัน เพลงนั้นสื่อสารได้ง่ายกว่าการอ่านและหลังจากเพลงที่มีเบื้องหลังแล้วก็ยังมีปมประวัติศาสตร์ให้ศึกษากันในหลายด้าน หลายมุมอีกทีเดียว
หนังสือ เบื้องหลังเพลงดังของ ครูสุรินทร์ ภาคศิริ ซึ่งเกร็ดหนึ่งของเพลงที่เราน่าจะมาสึกษาว่าเพลงแต่ละเพลงนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วมาค้นหาดูภูมิศาสตร์ในเพลงผมว่าน่าจะสนุกดีนะครับ
เกือบลืม!หนังสือเล่มนี้เพิ่งออกใหม่เอี่ยมสด ใครอยากรู้ว่าแต่ละเพลงดังที่ครูสุรินทร์แต่งนั้นได้อะไรมาบันดาลใจ สั่งซื้อโดยตรงได้ที่คุณรักษมนัญญา สมเทพ โทรศัพท์ ๐๘-๑๖๙๗-๑๖๔๕,๐-๒๘๘๓๕๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๘๘๓๕๓๔๑ หรือร้านหนังสือทั่วไปครับ เล่มละ ๒๕๐ บาทพร้อมซีดีเพลง

 “แม่น้ำโขง” สายน้ำมหากาพย์อุษาคเนย์กับภาวะวิกฤต
      มหา สุรารินทร์/maha19_8@hotmail.com

วรรณคดีเรื่อง พระลอ ฉบับที่แพร่หลายทุกวันนี้ บอกความเป็นมาของตัวละครสองฝ่าย คือ พระลอ กับฝ่ายพระเพื่อนพระแพง
ศูนย์กลางของเรื่องนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าอยู่ที่ไหน ? และแต่งขึ้นเมื่อใดยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่คาดคะเนกันต่างๆ นานา โดยเฉพาะเรื่อง แม่น้ำกาหลง จุดที่พระลอเสี่ยงข้ามแม่น้ำ เคยมีนักค้นคว้าชี้ไปที่เวียงกาหลงนั้น ปัจจุบันน่าจะอยู่ในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย แต่เวียงป่าเป้านั้นทำเลเป็นเนินเขาเตี้ย มีลำน้ำชื่อแม่น้ำลาว ไม่ใช่แม่น้ำกาหลง และคงไม่เกี่ยวพันอันกับแม่น้ำกาหลงในวรรณคดีเรื่องพระลอ
เพียงแต่ชื่อพ้องกันเท่านั้น
คัดจาก ภูมิสังคมวัฒนธรรม มติชน ฉบับวันศุกร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๘ คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ สันนิษฐานว่าตามหลักฐานว่า “แท้จริงแล้วน้ำแม่กาหลงก็คือแม่น้ำโขง หรือแม่น้ำแม่ของ มีอยู่ในโคลงกลอนท้าวฮุ้ง ท้าวเจือง ที่ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ รวบรวมต้นฉบับให้บริษัทมติชน พิมพ์แยกกัน ๒ เล่ม ใส่กล่องแข็งแรง
เล่มแรกเป็นโคลงสองฝั่งโขงยาว ๔,๙๙๗ บท เรียกมหากาพย์แห่งอุษาคเนย์ มีรูปเก่าลงประกอบ เล่มหลัง เป็นร้อยแก้วถอดจากโคลงกลอนทุกคำ ทุกวรรค ทุกบรรทัด เรียกวีรบุรุษสองฝั่งโขง พร้อมคำอธิบายว่าชื่อน้ำกาหลง มาจากเก้าลวง หมายถึงพญานาค ๙ ตัว (เพราะคำว่าลวง ในภาษาลาว แปลว่านาค) นานเข้าชื่อเก้าลวง เพี้ยนเป็นกาหลง
น้ำแม่กาหลงในท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง เป็นแม่น้ำเดียวกันกับน้ำแม่กาหลงในพระลอ เพราะวรรณคดีสองเรื่องนี้เกี้ยวข้องต่อเนื่องกัน พูดง่ายๆ ว่าท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง เป็นเรื่องตอนต้อของพระลอ ส่วนพระลอเป็นเรื่องตอนปลายของท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง
ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง เป็นใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง (เรียกแม่กาหลง) ชื่อดินแดน “โยนก” บริเวณที่ราบลุ่มน้ำกก – อิง ทางเขียงแสน-เชียงราย-พะเยา ได้ขยายอำนาจข้ามน้ำแม่โขงไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นเขตของแถนกับแมน โดยมีแถนลอเป็นใหญ่ ได้ร่วมกันต่อต้านแล้วฆ่าท้าวฮุ่งขาดคอช้างตายในสนามรบ เชื้อสายของท้าวฮุ่งสืบมาถึงพระพิษณุกร ครองเมืองสรองอยู่ตะวันตกของน้ำแม่กาหลง (ในพระลอ) มีลูกสาว ๒ คนชื่อ พระเพื่อน พระแพง”
เหตุที่ยกวรรณคดีสองเรื่องนี้มาเปรียบเทียบให้ดู ก็มิใช่อะไรหรอกครับ พอดีเพิ่งไปล่องแม่น้ำโขง
คือล่องจาก เชียงรุ่งล่องลงมาเชียงแสน ไป “เพรสทัวร์” กับคณะผู้สื่อข่าว จัดโดย มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เป็นผู้พาคณะไป
เมืองเชียงรุ่ง ซึ่งเป็นเมืองเอก เมืองหลวงของสิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา มณฑลยูนนาน สาธารณะประชาชนจีน
เมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา นี้เกี้ยวพันกับ ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง มหากาพย์แห่งอุษาคเนย์ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าชาวไทลื้อและล้านนาออกเสียง “พ” เป็น “ป” ออกเสียง “เชียงรุ่ง” เป็น “เจียงฮุ้ง” เหมือนกับภาษาคำเมือง
“สิบสองพันนา” จึงกลายเป็น “สิบสองปันนา”
เมืองเชียงรุ่ง นี้อยู่ติดกับแม่น้ำโขง แต่คนที่นี้เรียกว่า “แม่น้ำล้านช้าง” หรือออกเสียงว่า “หลางซาง”
ชื่อเมืองนั้นมีตามตำนานเรื่ององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเลียบโลกมาโปรดสัตว์ถึงยังดินแดนริมฝั่งแม่น้ำโขง ถึงบริเวณที่เชียงรุ่งในเวลารุ่งอรุณของวันใหม่พอดี จึงเรียกแห่งนี้ว่า “เชียง” ที่แปลว่า “เมือง” และ รุ้ง” ที่มาจากคำว่า “รุ่ง” แปลว่า เมืองแห่งรุ่งอรุณ
ชนพื้นเมืองของเมืองเชียงรุ่ง นั้น ส่วนใหญ่เป็นชาวไทลื้อ หรือ ไตลื้อ (ในเมืองเชียงรุ่ง ปัจจุบันแทบจะไม่มีแล้ว ส่วนมากอยู่บริเวณชายของออกไปฉานเมือง) ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อื่นๆ เช่นการ การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่างๆ
เอกสารที่คณะผู้จัดทำของมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ระบุว่า เมืองเชียงรุ่งนั้นมีจำนวนประชากร ราวๆ ๓๖๐,๐๐๐ คน เมืองเมงฮาย หรือ เมืองฮาย ทางตะวันตก ๓๐๐,๐๐๐ เมืองเมงล่า หรือ เมืองล่า ทางตะวันออก ๑๘๐,๐๐๐ คน และ อื่นๆ อีก ๑๑ เมือง
และแบ่งออกเป็นชนเผ่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่าเป็น ชาวไท ๒๙.๘๙ เปอร์เซ็นต์ ชาวฮั่น ๒๙.๑๑ เปอร์เซ็นต์ ชาวอาข่า ๑๘.๗๓ เปอร์เซ็นต์ ชาวยี๕.๖๑ เปอร์เซ็นต์ ชาวลาหู่ ๕.๕๙ เปอร์เซ็นต์ ชาวBlang เปอร์เซ็นต์ ชาวJino ๒.๐๓ เปอร์เซ็นต์ ชาวเย้า ๑.๘๘ เปอร์เซ็นต์ ชาวม้ง ๑.๑๑ เปอร์เซ็นต์ ชาวBai๐.๖ เปอร์เซ็นต์ ชาวฮุ้ย ๐.๕๗ เปอร์เซ็นต์ ชาวว้า ๐.๓๙ เปอร์เซ็นต์ ชาวจ้วง ๐๒๑ เปอร์เซ็นต์ และชาวเผ่าอื่นๆ ๐.๓ เปอร์เซ็นต์ 
พงศวาดารไทลื้อระบุว่า ขุนเจื่อง หรือ พญาเจื่อง นั้นคือพระเจ้าแผ่นดินของชาวไทลื้อพระองค์แรก ที่สามารถรวบรวมชาวไทลื้อกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยให้เป็นปึกแผ่น
พญาเจื่องก็คือ ท้าวเจื่อง หรือท้าวฮุ่ง นั่นเอง ไม่แปลอะไรที่วีระบุรุษในตำนาจะถูกยกย่องจากผู้คนให้เป็นกษัติย์ ลางทีวีระบุรุษอาจไม่มีตัวตนจริงอย่างในตำนาน แต่ตำนานเป็นเครื่องมือในการสร้างวีระบุรุษเพื่อความเป็นรัฐชาติ
ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง นั้นเป็นวรรณคดีที่เป็นมหากาพย์แห่งอุษาคเนย์ หรือวีระบุรุสองฝั่งโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภูมิภาคนี้
ความสำคัญของแม่น้ำโขงนั้นไม่เป็นแต่เพียงแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนที่อยู่ตลอดริมฝั่งเท่านั้นยังเอื้อไปยังผู้คนรอบข้างอีกจำนวนมหาศาลบนความเป็นพหุลักษณ์ทางสังคมของแม่น้ำโขงนี้เองจำเป็นที่มาของการแสวงผลประโยชน์จากสายน้ำแห่งนี้
แม่น้ำโขง นั้นไหลผ่าน ตั้งแต่ทิเบต – ยูนนาน ประเทศจีน ผ่านรัฐฉานประเทศพม่า สปป.ลาว ตั้งแต่ต้นประเทศจนปลายประเทศแบ่งสองกับประเทศไทยลงผ่ากลางประเทศกัมพูชาและออกที่ประเทศเวียตนามทางตอนใต้
ผลกระทบที่กำลังเป็นปัญหาของแม่น้ำโขงนั้นคือ การสร้างเขื่อนจำนวนมากตลอดแม่น้ำสายนี้ และการระเบิดเกาะแก่งต่างๆ เพื่อการเดินเรือสินค้าจากประเทศจีนมาค้าขาย
การรระเบิดเกาะแก่งต่างตามลุ่มน้ำแม่โขงตั้งแต่จีนจนถึงหลวงพระบาง ซึ่งขณะนี้ระเบิดได้เขตแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านเขตแดนพม่ากับลาว เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนตลอดสายน้ำเปลี่ยนอย่างน้อยๆ ระดับแรงของแม่น้ำโขงก็เพิ่งขึ้นเรือขนาดใหญ่ที่แล่นผ่านค่อยๆ เซาะตลิ่งให้พังลง ปัญหาน้ำท่วมที่ตามมา
ที่สำคัญเมืองท่าเรือมีความคึกคักปัญหาเรื่องสถานรับกระทำชำเราให้บุรุษก็พุดขึ้นมากระแสที่เป็นเฟชั่นนิยม
หลายคนในคณะผิดคาดกับเมืองเชียงรุ่งที่จินตภาพถึงอดีตและความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย แต่ความงามที่ยังคงอยู่ในบ้างส่วน บ้างจุด หลายคนเคยนั่งเรือเห็นเกาะแก่งต่างมากมายตลอดสายน้ำที่จะถึงสามเหลี่ยมทองคำที่เชียงแสน ในขณะนั้นแก่งหินกำลังท้าทายระเบิดที่กำลังคุกคามแม่น้ำโขง บัดนี้ไม่มีเห็นแล้วเหลือแต่ภาพที่จจำและจางหาย
ภาพท้าวฮุ่ง ท้าวเจืองยกทัพสู้รบระหว่างแม่น้ำโขงหรือคณะสำรวจของนายแพทย์วิลเลียม คลิฟตัน ด็อดด์ หรือรู้จักกันนามหมอด็อดด์ผ่าอุปสรรค์จากเกาะแก่งกว่าจะถึงสิบสองปันนา ไม่มีให้เห็นเห็นเรือท้องแบนขนาดใหญ่ขนสินค้าแล่นสวนมาส่งผลให้เรือเล็กครื้นเครงกระหึ่มคราง
นี้!อาจเป็นปัญหาปลีกย่อยยับไม่นับปัญหาใหญ่ที่จะตามมาอีกให้ภายหน้าอีกมากโข ซึ่งแก่การพยากรณ์

 

 ตลิ่งของสองข้างทางน้ำ

ตลิ่งของสองข้างทางน้ำของ
     มหา สุรารินทร์/maha19_8@hotmail.com
กลายเป็นว่า ผมต้องเขียนเรื่อง แม่น้ำโขงต่ออีกคำรบหนึ่ง เพราะเรื่องแม่น้ำโขงนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาสำหรับผู้คนในแผ่นดินสุวรรณภูมิ
หากเราตื่นตา ตื่นใจ กับ ปิระมิต ในประเทศอิยิปต์ ว่ามีความอลังการยิ่งนัก ปิระมิต เป็นของขวัญ ซึ่งเกิดจากอารยะธรรมลุ่มน้ำไนส์
เช่นกัน นครวัด ก็เป็นของขวัญที่เกิดจากอารยะธรรมลุ่มน้ำโขง
ประเด็นนี้เมื่อผมนั่งฟังการบรรยายของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ หัวหน้าคณะวิทยากรที่นำพาเราไปเชียงรุ่ง สิบสองพันนา อาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ บอกว่ามาในนาม ๑ บริษัท ๒ มูลนิธิ คือ บริษัทโตโยต้าประเทศไทยฯ และในนาม มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ต้องขอบคุณที่ให้โอกาสได้ไปเห็นต่างบ้านต่างเมืองแต่ไม่ต่างแตกครับ และต้องขอบคุณหนักๆ ตรงที่เล็งเห็นความสำคัญของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นสายเลือดใหญ่ของคนภูมิภาคอุษาคเนย์
.................
เพลงเกี่ยวกับแม่น้ำโขงมีเยอะมา โดยเฉพาะเพลงของ ปอง ปรีดา เช่น สาวฝั่งโขง,โขงสองฝั่ง ฯลฯ
กวีหลายท่านหลายนามเขียนถึงแม่น้ำโขง ที่เห็นภาพวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำของได้ตลอดสายของ “นายผี” หรือ อัศนี พลจันทร์ มหากวีอีกท่านหนึ่งของสยามประเทศ
ตลิ่งของสองข้างทางน้ำของ
แม้ยืนมองดูยังคอตั้งบ่า
      เขาหาบน้ำตามขั้นบันไดมา
        แต่ตีนท่าลื่นลู่ดังถูเทียน
        เหงื่อที่กายไหลโลมลงโทรมร่าง
        แต่ละย่างตีนยันสั่นถึงเศียร
        อันความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียน
        ก็วนเวียนอยู่กับของสองฝั่งเอย
ในบทกวีมีพลังและสะท้อนภาพให้เห็นทั้งสองฟากฝั่งโขงตลอดร่ายทาง หากลองไล่มาที่ละวรรคๆ ก็ยิ่งจะเด่นชัด
ภาพชาวบ้านที่ลงมาตลิ่งหาบน้ำขึ้นบ้านปัจจุบัน ตลอดเส้นทางแม่น้ำโขงยังปรากฏให้เห็นอยู่มิได้จางหายไปกับกาลเวลาที่แปรเปลี่ยน แม้ว่าสังคมปัจจุบันที่มีเครื่องอุปโภคบริโภคใช้ยังสะดวก แต่ภาพ
“เขาหาบน้ำตามขั้นบันไดมา
        แต่ตีนท่าลื่นลู่ดังถูเทียน”
ยังมีเห็นอยู่และดูงดงาม ลองมโนภาพดูสิครับ “ตีนท่าลื่นลู่ดังถูเทียน” ท่าน้ำตลิ่งของนั้นผ่านรอยเท้าผู้คนมานับเนิ่นนานสักเท่าไหร่
ผู้คนสายน้ำ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ก่อกำเนินมาพร้อมๆ กันกับวัฒนธรรมที่หลากหลายไหลมาจากสายน้ำเป็นจุดที่อยู่ของผู้คนและอาศัยพึ่งพิงและพึ่งพากันและกัน
เราต้องเอาแม่น้ำเป้นที่ตั้งของจุดหนึ่งทางสังคมและต้องเอาแม่น้ำสายใหญ่เป็นแกนในการสืบเสาะค้นหาสังคมเดิมในอดีต
เหมือนๆ กับคนไทย มักจะอนุมานเอา “แม่น้ำเจ้าพระยา” เป็นแกน แต่หากเป็นอุษาคเนย์นั้นไม่ใช่ แม่น้ำเจ้าพระยาอาจมีส่วน แต่เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้นในสังคมอยุธยาและภาคกลางของประเทศไทย
แต่หากเป็น อุษาคเนย์ ต้อง แม่น้ำโขง เป็นแกนสำคัญ
เพราะความเป็นนานาชาติของแม่น้ำโขงทำให้เกิดความหลากหลายทาง ชาติพันธุ์ สังคม และวิถีชีวิต
ไก หรือสาหร่ายน้ำจืด ซึ่งถือว่าเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขง และไกนี้แหละครับ คือ อาหารของ ปลาบึก ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีแหล่งเพาะพันธุ์เฉพาะในแม่น้ำโขงเท่านั้น
แม่น้ำโขง มีความเชี่ยวไหลแรงและสีขุ่นอันเกิดจากตะกอนดิน ตลอดแม่น้ำเต็มไปด้วยเกาะแก่งหิน
และเกาะแก่งหินๆ ตลอดของข้างทางน้ำโขงนี้เชื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลานานาชนิดในแม่น้ำโขง รวมทั้ง ปลาบึก นี้ด้วย
เมื่อทางรัฐบาลจีนมีโครงการปรับปรุงแม่น้ำโขง (ตามโครงการใช้ว่า “ปรับปรุง”)เพื่อเป็นเส้นขนถ่ายสินค้าลงมาค้าขายกับประเทศตอนล่างแม่น้ำโขง เช่น สปป.ลาว เป็นอาทิ
คำว่า “ปรับปรุง” ก็คือ ที่มาการระเบิดแก่งหินต่างๆ ในแม่น้ำโขงตอนบนจนแทบจะไม่หลงเหลือให้เห็นแล้วในปัจจุบัน ในวันที่ผมนั่งเรือล่องลงมาจากเชียงรุ่งปรายตามองไปรอบด้านเห็นโขดหินน้อยมากเหมือนเทียบกับภาพที่เห็นและคำบอกเล่าของผู้เคยเดินทางมาก่อนหน้านี้ที่จะมีการระเบิดแก่งหิน
แก่งหินธรรมชาติ คือ ปฏิมากรมอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติที่รังสรรค์ขึ้นมาเองโดยอาศัยกาลเวลาหลายพันปีที่น้ำอันเชี่ยวคอยเซาะกร่อนหินเป็นรูปหลักตามกระแสธารจะบันดาลให้เป็น
ที่สำคัญชื่อแก่งหินต่างๆ ตามเรื่องเล่าพื้นบ้านและนิทานตำนานต่างๆ ก็ต่างมีกำเนิดจากอารยะธรรมลุ่มน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำโขง หากเราลองสังเกตให้ดีเถิดว่าตำนานเรื่อง “นาค” จะเต็มไปตลอดสองฟากแม่น้ำโขง รวมแม้กระทั่ง ตำนานพระพุทธเจ้าเสด็จเลียบโลก ดูเหมือนว่าจะจำกัดอยู่เฉพาะแอ่งอารยะธรรมย่านโดยส่วนมากไม่ปรากฏที่อื่นๆ
ย่านนี้ หมายถึง ลุ่มแม่น้ำโขง
ปัจจุบัน แม่น้ำโขง ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจและการคมนาคม อดีต ฝรังเศสในยุคล่าอาณานิคมใช้เป็นประตูเบิกทางไปสู่ประเทศจีน ในขณะปัจจุบันจีนใช้แม่น้ำโขงเป็นประตูเข้าสู่สุวรรณทวีป
ปัญหาแม่น้ำโขง จึงยังคงต้องร่วมด้วยช่วยกันรักษาแม่น้ำสายสำคัญแห่งนี้ให้เป้นของส่วนร่วมมิใช่เป็นเพียงสายน้ำแบ่งดินแดนในแผนที่และเรามีความเป็นเครือญาติชาติพันธุ์
ระบบทุนนิยมเสรีหรือทุนนิยมสามานย์จะไม่ค่อยแคร์อันใดกับสังคมและวัฒนธรรมเพราะมุ่งเอาแต่ประโยชน์เข้าเฉพาะตน
ไม่ว่าแม่น้ำโขงจะเป็นเช่น ถูกผลกระทบจากส่วนไหน “อันความทุกข์มากมายหลายเล่มเกวียน ก็วนเวียนอยู่กับของสองฝั่งเอย” นั่นแล

 

  ครบรอบวันเกิด

พรใดล้ำเลิศ       อวยชัยให้พรมหา

                       ขอให้ได้ภรรยา

รูปร่างโสภา        คอยรินสุรายาเมา

                       รินไปบ่นไปนานเนา

กลัวตัวสั่นเทา   จนต้องเลิกเหล้าเลิกเบียร์

                       สุขกายสุขใจได้เสีย

มหาได้เมีย        รู้ว่านรกมีจริง (ฮา....)

 
Post : กรยุทธ
Date : 09-01-2007 06:09:04
IP : 125.25.33.69




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ