ReadyPlanet.com
dot dot
กาพย์ยานี : ตำนานฉันทลักษณ์กับหลักการใหม่ article

คมทวน คันธนู
กวีซีไรต์ ปี ๒๕๒๖
 

การถอดทิ้งตำราเก่าซึ่งคนเขารับรู้มานานมนาน ยิ่งถือเป็นโบราณลีลายิ่งยากกว่าขึ้นไปอีก เมื่อต้องฉีกกฎเกณฑ์สารพัด แถมถูกคัดค้านพิพากษาราวกับว่าเป็นมหาโจรไปโน่น ทั้งที่บางทีลีลาใหม่มิใช่ความเลวร้ายอันใดเลย

การคุ้นเคยอันนานยาวยากแก่การฝ่าก้าวฉะนี้แล...แต่สำหรับร้อยกรอง (ครรลองใหม่) ต้องอาศัยกาลเวลา ใครจะคิดว่ากลอนแบบสุนทรภู่ซึ่งมีอิทธิพลอยู่ยาวนานนั้น มาถึงวันนี้จะถูกตีแนบโดยกลอนแบบบทละคร หรือกลอนกลบทอันเป็นกฎบนการสำแดงฝีมือแห่งกวีแทบจะมิมีบทบาทเท่าไหร่ในวงฉันทลักษณ์

ฉันใดกาพย์ยานี ๑๑ ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศวร์จักต้องสั่นสะเทือนให้แก่การเคลื่อนตัวของกาพย์ยานี แบบนายผี ที่ว่า

๏ในฟ้าบ่มีน้ำ                   ในดินซ้ำมีแต่ทราย
น้ำตาที่ตกราย                  ก็รีบซาบบ่รอซึม
แดดเปรี้ยงปานหัวแตก       แผ่นดินแยกอยู่ทึบทึม
แผ่นอกที่ครางครึม            ขยับแยกอยู่ตาปี

คือลีลาที่ทิ้งสัมผัสใน แล้วหันมาใช้สัมผัสตัวอักษรแทน และเดินความหนักแน่นในจังหวะเกือบชัดเจน เป็น ๒ (-๑)-๒ ในวรรคที่มี ๕ คำ และเป็น ๒-(๑) –(๑)-๒ ในจังหวะมี ๖ คำ ถ้าใช้ความสังเกตสังกาอีกตลบจะพบว่า วรรค ๒ และวรรค ๔ คำที่ ๑,๒ และ ๔ จะมีน้ำหนักเบากว่าคำที่ ๓,๕ และ ๖ ส่วนวรรคที่มี ๕ คำ คำที่ ๓ จะมีน้ำหนักเบาเช่นกัน และมักจะเป็นคำโดดด้วยอ่านแล้วจะสละสลวย คล้ายอินทรวิเชียรฉันท์กลายๆ นั่นเอง

แต่การประเลงลีลาใหม่นี้นายผียังมีจุดมิลงตัวอยู่ ๒-๓ แห่ง ดังจะแสดงให้เห็นเป็นฉากๆ

- ทิ้งสัมผัสในมากไป เพราะในการเขียนหรืออ่านงานยาวจักต้องตละเค้ากันคือ บางวรรคนั้นถ้าทำได้จะช่วยในการสร้างความอลังการได้ดี
- วรรคที่ ๒ มีการลงท้ายด้วยเสียงจัตวาซึ่งผมย้ำนักหนาว่าไม่น่าจะทำในกาพย์ยานีและฉันท์ที่มี ๔ วรรค เป็น ๑ บท แม้มิใช่กฎเกณฑ์แน่นเหนียว แต่จงเฉลียวคิดสักนิดหนึ่ง ถึงอย่างไรก็บั่นทอนความไพเราะลงจริงๆ ยิ่งลงด้วยเสียงเอกหรือโท ยิ่งจะเห็นช่องโหว่ยิ่งขึ้น

- พื้นฐานของกาพย์ยานี อยู่ที่จังหวะลีลาโดยอาศัยการเดินคำเป็นสำคัญ และนายผีก็ทำได้ดี แต่เห็นว่ามีคำอยู่หลายคำที่สื่อความหมายไม่กระชับชัดนัก ดัง :-

๏เมื่อใดทั้งสองเสียง            อันครางคร่ำอยู่ในโหยหวน
จากสองใจรำจวน              จะเป็นเสียงอันเดียวกัน
เมื่อนั้นแลทั้งสอง               ก็จะสิ้นที่โศกศัลย์
เมื่อนั้นแลสองขัน               ก็จะขุกได้สุขสม
จึงทิพรูปแสน                    จะระทดระทมตรม             
เตร็จในพนมงม                  ดูเง่าเพชรอยู่งึมงำ

             การทำกาพย์ยานีลีลาใหม่ แม้จะไม่แพร่หลายในช่วงแรก แต่ก็ถือว่าแหวกวงล้อมแบบเก่าได้สำเร็จ กาพย์ยานี ๑๑ ของนายผีได้รับการคลี่คลายโดยจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ตระหนักเห็นทั้งพลังทั้งคุณค่า จึงนำมาใช้โดยไม่ตะขิดตะขวง มิติดบ่วงบาศแห่งอัตตา และถูกนำมาขยายแนว จากแนวร่วมทางความคิดอีกครั้ง ภายหลังปี ๒๕๑๔ ถึงช่วงปี ๒๕๑๕ กาพย์ยานีลีลาใหม่กลายเป็นไฟลามทุ่งรุ่งเรืองแล้วตกต่ำ (เพราะย้ำคำคิดคล้ายจิตร คล้ายนายผีโดยมิมีการเคลื่อนขบวน ชวนให้อ่านแล้วน่าเบื่อยิ่งเมื่อยุคสมัยไร้ป่าไร้ดาว ก้าวของกาพย์ยานีลีลาใหม่ก็ต้องถอยหลังถอยจังหวะอีกระยะหนึ่ง)

             กวีซึ่งจับกาพย์ยานี และยังมีผลงานออกมาเช่น สถาพร ศรีสังจัง ไพวรินทร์ ขาวงาม เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และคมทวน คันธนู เป็นต้น ผลงานของเขาเหล่านี้ส่วนมากเป็นกาพย์ยานีลีลาใหม่ทั้งสิ้นต่างคนต่างเดินลีลาเฉพาะตัว

ลองดูตัวอย่าง:

๏ การเกิดต้องเจ็บปวด             ต้องร้าวรวดและทรมา
ในสายฝนมีสายฟ้า               ในผาทึบมีถ้ำทอง
มาเถิดมาทุกข์ยาก                มาบั่นบากกับเพื่อนพ้อง
อย่าหวังเลยรังรอง                จะเรืองไรในชีพนี้
ห้าวแรกที่เราย่าง                  จะสร้างทางในทุกที่
ป่าเถื่อนในปฐพี                    ยังมีไว้รอให้เดิน

(หนทางแห่งหอยทาก:เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

และ:-

๏ด้วยธรรมนั้นเทียมเท่า          แต่ใครเล่าที่ครอบงำ
เอาเปรียบและเหยียบย่ำ          มวลชีวิตจนผิดไป
ในน้ำทุกหยดน้ำ                   หรือใช่น้ำเฉพาะใคร
ลมแดดหรือดินใด                ล้วนสมบัติอันเป็นกลาง
โลกนี้คือที่อยู่                     ให้หมู่สรรพสัตว์สร้าง
เลี้ยงธรรมชาติวาง                ตำแหน่งไว้ชั่วนิรันดร์

(เพลงไทยของคนทุกข์:ไพวรินทร์ ขาวงาม)

จะเห็นได้ว่า ความ – คำ – ลีลา – และจังหวะของกวีทั้งสองอยู่ใกล้ร่องรอยเดียวกัน การเดินกาพย์นั้นราบรื่นดี
แต่ยังมีอะไรหลวมๆ ปรากฏร่วมทาง
ฉะนั้นการวางจังหวะ – ลีลากาพย์ยานีใหม่ (หลังจากพัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง ซึ่งนายผีได้ปูทอดวิถีไว้ก่อน) จักต้องมีขั้นตอนยกระดับรับขึ้นด้วย
จังหวะอันสละสลวยก็ดี
ลีลาสง่างามก็ดี
น่าจะเป็นกาพย์ยานีที่ลงตัวที่สุด
เท่าที่ขุดค้นพบและตกแต่งต่อ!

(คัดจาก วรรณวิเคราะห์ ตำนานฉันทลักษณ์กับหลักการใหม่, คมทวน คันธนู,สำนักพิมพ์สุขภาพใจ,พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ ๒๕๔๕)




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ