ReadyPlanet.com
dot dot
ร่าย – โคลงในโองการแช่งน้ำฉันทลักษณ์จากสองฝั่งโขง article

สุจิตต์ วงษ์เทศ:ศิลปินแห่งชาติ

 

          โองการแช่งน้ำ แต่งเป็นร่ายกับโคลง สลับกันตามเนื้อความของโองการ

                ร่าย เป็นกลอนแบบหนึ่ง มีเค้าต้นจากคำคล้องจองของผู้คนชนเผ่าเหล่ากอตระกูลไทย – ลาว ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ก่อนรับศาสนาจากชมพูทวีป เรียกกลอนร่ายหรือภาษาร่าย ถือเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของหมอผีหรือหมอขวัญ

                โคลง ก็เป็นกลอนอีกแบบหนึ่ง เรียกกลอนลำ คำกลอนประเภทนี้ไม่ยึดถือสัมผัสคล้องจองอย่างกลอนเพลงของภาคกลาง แต่อาศัยจังหวะถ้อยคำและระดับเสียงสูงเสียงต่ำเป็นหลักล้วนๆ พบร่องรอยอยู่ในคำพูดประจำวันของประชาชนตระกูลไทย – ลาวกลุ่มอีสาน ลื้อและลาว มีตัวอย่างอยู่ในคำคมหรือภาษิตที่เรียกกันว่าผญา

                ภาษาลาว ในตระกูลไทย – ลาว มีธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่ง คือคำคล้องจอง ที่จะมีพัฒนาการเป็นภาษาขับลำทำเพลง หรือเรียกง่ายๆ ว่าภาษาเพลงต่อไป แต่ที่สำคัญคือเป็นต้นเค้าฉันทลักษณ์ ที่จะเรียกต่อไปในวรรณคดีว่า ร่าย และ โคลง

                ผู้คนในตระกูลภาษานี้ มีคำพูดคล้องจองกันสอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันเป็นธรรมดา ๆเช่น ทำไร่ไถนา, ทำมาหากิน, เป็นต้น เป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ฯลฯ แม้คำพูดว่า เฮ็ดไฮ่เฮ็ดนา,กินข้าวกินปลา, กินแลงกินงาย ฯลฯ เหล่านี้ก็นับเนื่องเป็นคำคล้องจองด้วยทั้งนั้น

                ฉะนั้น ในคำบอกเล่าทั่วไปจึงมักมีคำคล้องจองสอดแทรกอยู่ด้วยเสมอ ดังพบในคำบอกเล่าเรื่องแถนและกำเนิดคนจากน้ำเต้าปุง ที่เป็นเอกสารเก่าแก่จดจากปากชาวบ้านโบราณกาล มีคำคล้องจองสอดสลับเป็นระยะๆ ตามธรรมชาติของคนบอกเล่าในตระกูลไทย – ลาว เช่น สร้างบ้านเมืองลุ่มกินปลา เฮ็ดนาเมืองลุ่มกินข้าว,กินข้าวให้บอกให้หมาย กินแลงกอนงายให้บอกแก่แถน,ได้กินชิ้นให้ส่งขา ได้กินปลาให้ส่งรอย เป็นต้น

                ในขณะบอกเล่าเรื่องราวที่มีรายละอียด จะมีบางตอนต้องเน้นต้องย้ำเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์กว่าตอนอื่น และเพื่อให้เกิดความรู้สึกสะเทือนใจหรือกระทบใจร่วมกันเป็นพิเศษ แล้วจดจำเป็นอาจิณตราบนานเท่านาน ตรงนี้แหละที่ผู้เล่าเรื่องจะผูกเป็นคำคล้องจอง ดังมีตัวอย่างอยู่ในคำบอกเล่าเรื่องแถน ตอนขุนบูลม (ขุนบรม) สั่งสอนแล้วแช่งลูกทั้งเจ็ดให้ประสบภัยพิบัติถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสอน ตรงนี้ต้องผูกเป็นคำคล้องจองมีว่า

                เฮ็ดอันใดอย่าให้เป็น เข็นอันใดอย่าให้ได้ ปลูกไม้อย่าให้ทันตาย ปลูกหวายอย่าให้ทันล่อน ข้อม่อนอย่าให้รี ปีมันอย่าให้กว้าง เที่ยวทางให้ฟ้าผ่า เมือป่าให้เสือกิน ไปทางน้ำให้เงือกท่อเฮอฉก ไปทางบกให้เสือท่อม้ากิน มันแล

                นานเข้า คำคล้องจองก็มีความสำคัญมากขึ้น เพราะในพิธีกรรมที่มีหมอเป็นหัวหน้า (คือหมอผี หรือหมอพร หรือหมอขวัญ ต้องท่องบ่นบอกเล่าความเป็นมาของเผ่าพันธุ์แก่โคตรตระกูลทั้งชุมชนเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้งในพิธีเลี้ยงผี (บรรพบุรุษ) ซึ้งต้องสร้างพลังให้เกิดความขลังและศักดิ์สิทธิ์เพื่อเข้าทรงร่วมกัน

                พิธีกรรมอย่างนี้มีขึ้นในโอกาสพิเศษย่อมต้องการสิ่งพิเศษ เช่น ภาษามีลีลา สำนวน โวหารพิเศษ ที่ต่างจากภาษาพูดในชีวิตประจำวัน นั่นก็คือเพิ่มคำคล้องจองเข้ามามากกว่าปกติ แล้วกำหนดทำนองเมื่อทำพิธีกรรมนั้น ทั้งสองอย่างนี้เกื้อหนุนกันอย่างกลมกลืน คือคล้องจองทำให้เกิดทำนอง/หรือทำนองทำให้ต้องสร้างคำคล้องจองมากขึ้น

                ผลอีกอย่างหนึ่งคือช่วยให้จำได้ไม่ลืมถ้อยความ เพราะยังไม่มีตัวเขียน ยังไม่ได้จดเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องใช้ความจำเท่านั้น ต่อเมื่อมีตัวเขียนแล้วจึงจดไว้

                ตัวอย่างเรื่องนี้มีในความโทเมืองของพวกผู้ไทที่มีหลักแหล่งอยู่ทางภาคเหนือของเวียดนาม คำว่า โท แปลว่าบอก,เล่า ฉะนั้นความโทเมืองตรงกับคำบอกเล่าความเป็นมาของเมือง (ต้นฉบับและคำอธิบายมีอยู่ในบทความชื่อความโทเมืองจากเมืองหม้วย โดย James R” Chamberlain ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาถิ่นตระกูลไทย – ลาว พิมพ์ในหนังสือรวมบทความประวัติศาสตร์ ของสมาคมประวัติศาสตร์ฯ ฉบับที่ ๘ :กุมภาพันธุ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๗๑ – ๑๐๙.) ว่าดังนี้

                “จี่ก่อเปนหย้า  ก่อเปนฟ้าท่อถวงเหด  ก่อเปนดินเจดก้อน ก่อเปนน้ำเก้าแควปากแททาว

                ฟ้าต่ำเซื่องหม้อขาง  ฟ้าบางเอยื่องเปือกถ้วย ตำเข้ายังคุ้งสาก  ตากเข้ายังคุ้งเพิง  งัวดำไปคุ้งหนอก  หมูผอกไปคุ้งดัง

                ยามนั้นปู่เจ้าโซโค้มฟ้า  จั่งตัดสายโบนให้หม้า  ตัดสายฟ้าให้ขาด ฟ้าจั่งฮวาดเมือเหนือ  จั่งเปนฟ้าเตมเหน  เปนแถนเตมผ่อ

                จั่งเอาสิบตาวหน้าห้าตาวโองแบ่นตามกันขึ้น ก่อเบ่าฮอด จั่งเอาซาวกองบายท่อแม่ช้างมาสืบตามกันขึ้น ก่อเบ่าฮอด

                จั่งเอาสิบตาวหน้าห้าตาวโองแบ่งตามกันขึ้น ก่อเบ่าฮอด

จั่งเอาสิบเสียงด้องกับเก้าเสียงกองมาทับตามกันขึ้น ก่อเบ่าฮอดเบ่าเงิน

ยามนั้นโตสัดหนั่งเมืองลุ่ม ชู่โตชู่ฮู้ปาก ชู่โตทากฮู้จา ชู่โตหมูโตหมา ชู่ฮู้เว้าฮู้ว่า โตสัดหนั่งเมืองลุ่มจังเมืองก่าวเถิงแถน แถนจั่งแต่งแผบข้าโคนเมืองลุ่มเสิยเหมด

ยามนั้นฟ้าจั่งแล้งสีแสด แดดสีสาว งัวควายจั่งตายอยากอย้าบ่าวค้าตายห่างทาง เข้าอยู่ไฮ่ตายผอย หอยอยู่นาตายแล้ง แป้งอยู่สาควนโฮม มันอยู่ชุ่มตายเอ้า เป้าอยู่ป่าตายแขวน บ่าวเฮือตายอยากน้ำ

ยามนั้นปู่เจ้าโชโค้มฟ้า เอางูมาเอยิยด เอาเขิยดมาดอย เอาหอยมายดว่างเด้า แมงงวนมาเยดช่างปาด ปาหลาดมาเยดบ่าวชัว โนกถัวมาเยอดนางล่าม...”

ในที่สุดคำคล้องจองเหล่านั้นจะมีพัฒนาการส่งสัมผัสแยกออกไปอย่างน้อย ๒ ทาง คือ กลอนส่งสัมผัสร่ายอย่างหนึ่ง และกลอนส่งสัมผัสเพลงอีกอย่างหนึ่ง ที่ปัจจุบันเรียกกลอนเฉยๆ

 

 

(คัดจาก “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน? ,สุจิตต์ วงษ์เทศ.ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ.พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ปรับปรุงจาก เบิ่งสังคมและวัฒนธรรมอีสาน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๑)



บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ