ReadyPlanet.com
dot dot
กราบกลอนด้วยกลอนครู article

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

 

คือจังหวะจะโคนแห่งโทนทับ
   ทั้งฉิ่งฉับรับช่วงเป็นพวงพุ่ม
   ทำนองถ้อยร้อยสอดเข้ากอดกุม
   ค่อยโอบอุ้มชุมช่อลออองค์
   คือกระจังตาอ้อยค่อยแตกช่อ
   เป็นก้านต่อดอกช้อยลอยระหง
   กนกเปลวปลิวไหวในวนวง
   ละไมลงลึกซึ้งเป็นหนึ่งเดียว
   คือองค์พระพิสุทธิ์พุทธรูป
   กลางควันธูปเทียนเต้นเด่นโดดเดี่ยว
   สงบวางวายกลายกลมเกลียว
   ไม่เกาะเกี่ยวไม่คลายไม่เร่าร้อน
   คือลำนำคำกลอนสุนทรภู่
   คำกลอนครูคือศักดิ์แห่งอักษร
   คือค่าทิพย์อาถรรพณ์นิรันดร
   ประนมกลอนกราบกลอนด้วยกลอนครู

          กลอนสุนทรภู่นั้นเป็น “กลอนครู” ถือเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของกลอนไทย
ก็ว่าได้ 
          กลอนที่ว่านี้ คือ “กลอนแปด” วรรคหนึ่งมีแปดคำเป็นหลัก เช่น
          “โอ้ยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้
          ร่ำพิไรรัญจวนหวนละห้อย
          เมื่อยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย
          น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำชื่นอัมพร
”
          แปดคำหรือแปดพยางค์ลงตัวนี่แหละเป็นหลัก ถึงจะเพิ่มพยางค์ลงไปบ้างแต่ก็ไม่เสียจังหวะแปด เช่น
          “หนาวน้ำค้างกลางคืนสะอื้นอ้อน
          จะกางกรกอดน้องประคองขวัญ
          เอาดวงดาราระยับกับพระจันทร์
          ต่างช่อชั้นชวาลาระย้าย้อย
”
          สองวรรคท้ายนี้มี เก้าพยางค์ แต่อ่านแล้วก็ไม่เสียจังหวะแปด
          จังหวะแปดในหนึ่งวรรคนี้ แบ่งเป็นสามช่วงมีช่วงต้นสาม ช่วงกลางสอง
ช่วงท้ายสาม รวมแปดคำพอดี
          สองวรรคที่ว่า “เอาดวงดาราระยับกับพระจันทร์ ต่างช่อชั้นชวาลาระย้าย้อย” 
คำ “-ราระยับ” กับ “ชวาลา” ตรงนี้เป็นช่วงกลางวรรค การเพิ่มพยางค์ด้วยสระเสียงสั้น 
คือ “ระ” กับ “ช” เช่นนี้ ทำให้ต้องอ่านรวบคำอยู่ในจังหวะแปดอยู่นั้นเอง
          แม้บางทีจะเพิ่มช่วงท้าย ก็ยังไม่เสียจังหวะอยู่ดี เช่น “เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา” คำ “จึงเจรจา” นี่เพิ่มสระเสียงสั้นคือ “ระ” เข้าไป ไม่เสียจังหวะอยู่ดี
          ลองไปอ่านกลอนสุนทรภู่ดูเถิดจะคงจังหวะแปดอย่างนี้ไม่พลาดเลยสักวรรค
          จึงยกย่องกันว่า ท่านเป็น “บิดาของกลอนแปด”
          ไม่ได้หมายความว่าก่อนหน้านี้กลอนไทยจะไม่มี “กลอนแปด” เพียงแต่กลอนโบราณท่านไม่ถือเคร่งแปดคำลงตัวไปทุกวรรคแบบท่านสุนทรภู่เท่านั้น
          จังหวะกลอนนั้นกำหนดด้วย “สัมผัส” ดังตัวอย่างข้างต้น
 “โอ้ยามค่ำย่ำฆ้อง จะร้องไห้”
          คำ “ค่ำ – ย่ำ” คำ “ฆ้อง-ร้อง” นี่แหละใช้สระเดียวกันเรียกว่า สัมผัส
          สัมผัส บังคับให้ต้องอ่านเป็นสามช่วงจังหวะกลอนสุนทรภู่จะบังคับให้ต้องอ่านเป็นสามช่วงในแต่ละวรรคเสมอ เพราะท่านนิยมใช้คำสัมผัสชัดเจนแทบทุกวรรค
          เพราะฉะนั้น จึงเป็นแบบฉบับให้หัดอ่านหัดเขียน “กลอนไทย” ได้เป็นหลัก
เรียกว่า ท่านสุนทรภู่มาจัดระเบียบกลอนไทยขึ้นนั่นเอง
          ต่อนี้ไปใครจะเรียนเขียนกลอนหรืออ่านกลอนต้องเริ่มศึกษากลอนสุนทรภู่เป็นแม่แบบ
          นอกจากจังหวะแล้วยังมีเรื่อง “เสียง” อีกเป็นสำคัญลองกลับไปอ่านกลอนสองบทที่ยกมาข้างต้นดูเถิดอ่านช้าๆ ดังๆ ก็จะสังเกตได้ถึงความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของเสียงอักษรที่ไพเราะสละสลวยยิ่งนัก
          แม้อ่านในใจก็จะยินเสียงไพเราะอันอุโฆษอยู่ในใจ เช่นกัน
          เสียงกับจังหวะนี่แหละก่อให้เกิดความไพเราะเป็นหัวใจของความไพเราะทีเดียว
          ไม่เฉพาะกลอนเท่านั้น วรรณศิลป์ คีตศิลป์ คือทั้ง กาพย์ กลอนและดนตรี ต่างมีเสียงกับจังหวะเป็นเครื่องกำหนด ความไพเราะด้วยเหมือนกัน
          พิเศษตรงที่อักษรไทยนั้น บังคับเสียงตายตัวด้วย ฐานเสียง และวรรณยุกต์
          เพราะฉะนั้น กาพย์กลอนกลอนไทยจึงไพเราะด้วยเสียงสูงต่ำของอักษรอันมีอยู่แล้วเป็นพื้น
          ความไพเราะเป็นความงดงามศิลปะสาขาอื่นนอกไปจากวรรณศิลป์และคีตศิลป์ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และนาฏกรรม ก็ล้วนงดงามเฉกเช่นเดียวกับความไพเราะ ที่มีเสียงกับจังหวะเป็นตัวกำหนดเพียงใช้ศัพท์ต่างกันเท่านั้น
          เช่น จิตรกรรมมีองค์ประกอบหรือการจัดวางและแสงเงา เป็นต้น 
          การจัดวางก็คือจังหวะ แสงเงาอันก่อให้เกิดน้ำหมึกก็คือ ความเหลื่อมล้ำอันเปรียบได้กับน้ำหมักเหลื่อมล้ำของเสียงอักษรหรือตัวโน๊ตดนตรีนั้นรอง
          ศิลปะสาขาอื่นก็เฉกเช่นกันฉะนี้
          มีจังหวะและมิติอันเหลื่อมล้ำ เป็นองค์ประกอบของความงามด้วยกันทั้งสิ้น
          กลอนแปด กับ ทำนองดนตรีไทยนั้นลงตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดนตรีวรรคหนึ่งจะมีระเบียบแบ่งห้องจังหวะเป็นแปดห้อง เช่นเดียวกับวรรคกลอนที่แบ่งเป็นแปดคำ
          กลอนแปดและดนตรีไทยนั้นลองเทียบกับลายไทยที่เป็นตัวกนกเครือวัลย์ก็จะประพิมพ์ประพายคล้ายกัน
          เทียบแม้กับสถาปัตย์กรรมไทยทั้งที่เป็นเรือนไทยและพระอุโบสถที่อ่อนช้อยงดงามด้วยช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์
          จนชั้นองค์พระพุทธรูป เช่น พระปางลีลาหรือกระทั่งองค์พระชินราชในพระอุโบสถที่พิษณุโลกสองไปเพ่งพินิจดูเถิด ลางทีจะได้สดับอุโฆษอันแสนเสนาะแห่งกลอนแปดของท่านสุนทรภู่ เฉกกัน
          ความงามความไพเราะนี้เป็นสุนทรีย์ที่ปรุงจิตให้ประณีต
          สังคมไทยมีพื้นฐานแห่งสุนทรีย์อันเป็นแบบฉบับส่องสะท้อนซึ่งกันและกันอยู่ในศิลปะไทยทั้งหลายเหล่านี้ และจากพื้นฐานนี้จะคลี่คลายขยายตัว แตกหน่อต่อแขนงไปอย่างไร เป็นสิ่งพึงศึกษา
          ยุคสมัยของสุนทรภู่ เป็นยุคทองของศิลปกรรมทุกแขนง ซึ่งเริ่มจะลงตัวในยุคต้นรัตนโกสินทร์นั้นเอง
          กลอนสุนทรภู่ ก็คลี่คลายขยายตัวมาจากยุคอยุธยาและยังรุ่งเรืองเป็นหลักวรรณศิลป์ไทยมาจนวันนี้
          กลอนแปดเป็นอลังการของกวีนิพนธ์ไทย ที่สะท้อนความเป็นอารยะแห่งยุคสมัยให้เราได้ภาคภูมิใจ
          ความยิ่งใหญ่ของท่านสุนทรภู่นั้นนอกจากท่านจะเป็นดัง “บิดาของกลอนแปด” แล้ว ท่านยังใช้อลังการแห่งกลอนแปดมารับใช้ “เนื้อหา” ที่สะท้อนยุคสมัยอย่างสร้างสรรค์อีกด้วย
          เป็นรูปแบบหรูหรา – เนื้อหารุ่งโรจน์ ซึ่งน่าใจหายหากวันนี้จะมองไปก็เห็นแต่ 
          รูปแบบหรูหรา- เนื้อหารุ่งริ่ง




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ