ReadyPlanet.com
dot dot
บางกอก

พ.ศ.2300 หรือ 250 ปีมาแล้ว กรุงธนบุรี-กรุงรัตนโกสินทร์

ราชอาณาจักรสยาม ก่อนสมัยใหม่                                                                                                                                                                                                                                                                 สุจิตต์ วงษ์เทศ

สุวรรณภูมิสังคมวัฒนธรรม :มติชน 17 มีนาคม 2550

 

บางกอก บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ใกล้อ่าวไทย กลายเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของราชอาณาจักรสยาม หลังกรุงศรีอยุธยา (ที่อยู่เหนือบางกอก) ล่มสลายเมื่อ พ.ศ.2310 แล้วสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นบริเวณเมืองบางกอกที่มีมาก่อนแล้ว

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรวบรวมผู้คนและดินแดนบ้านเมืองห่างไกลให้อยู่ในอำนาจ เช่น ทางเหนือถึงดินแดนล้านนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงเวียงจันและสองฝั่งโขง ทางใต้ถึงนครศรีธรรมราชและฝั่งทะเลอันดามัน แต่รัฐปัตตานียังเป็น เอกเทศ

ครั้น พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นบริเวณบางกอกที่เรียกกันต่อมาว่า กรุงเทพฯ ขยายดินแดนลงไปครอบครองเมืองปัตตานีและเมืองไทรบุรี เป็นเวลาเดียวกับจักรวรรดิอังกฤษล่าอาณานิคมมาถึงแหลมมลายูและอ่าวเบงกอล

ความเคลื่อนไหวให้มีพัฒนาการบ้านเมืองในยุคนี้ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์แห่งชาติ (พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2549) ดังต่อไปนี้

 

ประเทศไทยก่อนสมัยใหม่

 

แม้ว่ายุคสมัยของการค้าจะสิ้นสุดลงหลัง พ.ศ.2100 แต่เฉพาะพ่อค้าตะวันตกและญี่ปุ่นเท่านั้นที่ลดปริมาณการค้าของตนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลง พ่อค้าจีนและพ่อค้าพื้นเมืองยังคงทำการค้าต่อไป ตลาดสำคัญๆ กลับมาอยู่ในเอเชียโดยเฉพาะจีน

มีพ่อค้าจีนเข้ามาตั้งภูมิลำเนาในประเทศไทยตามเมืองท่าที่ค้าขายกับจีนเป็นจำนวนมาก ไม่เฉพาะอยุธยาเท่านั้น แต่รวมถึงบางปลาสร้อย, จันทบุรี, นครศรีธรรมราช, สงขลา และปัตตานี ฯลฯ ด้วย ชนชั้นปกครองตามเมืองท่าเหล่านี้ ได้ประโยชน์จากการค้าทางทะเลไม่น้อย ชาวจีนเข้ามามีบทบาทในราชการของกรุงศรีอยุธยา และอาจได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองในเมืองท่าเหล่านี้บางเมืองด้วย หรือมิฉะนั้นก็รับเป็นนายอากรให้แก่รัฐ

ช่วงสมัยนี้ มีพัฒนาการทางการเมืองที่สำคัญก็คือ เกิดการสร้างรัฐศูนย์กลางที่เข้มแข็งขึ้นใหม่ในลุ่มน้ำใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ เว้ (ตอนใต้ของลุ่มน้ำแดง) บางกอก (แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง) และอังวะ (แม่น้ำอิระวดี) มีการจัดระเบียบภายในให้ศูนย์กลางที่ทำให้สามารถควบคุมหัวเมืองและประเทศราชได้รัดกุมขึ้นทั้ง 3 แห่ง

ทั้ง 3 ศูนย์กลางนี้ประสบความสำเร็จในการแผ่อำนาจออกไปยังรัฐอิสระหรือกึ่งอิสระที่อยู่รายรอบได้กว้างขวาง เป็นผลให้เกิดสงครามแย่งชิงอำนาจกันระหว่างศูนย์กลางทั้ง 3 เพื่อแข่งขันอิทธิพลกันในรัฐเล็กๆ เหล่านี้หลายแห่ง เช่น มะริด ตะนาวศรี เชียงใหม่ เวียงจัน พนมเปญ รวมทั้งรัฐมลายูซึ่งบางกอกต้องเผชิญการขยายตัวของจักรวรรดิอังกฤษ

ในประเทศไทย การขยายอำนาจของส่วนกลางเข้าไปยังประเทศราชและหัวเมืองกระทำกันหลายรูปแบบ บางกอกสามารถทำให้การสืบทอดตำแหน่งเจ้าเมืองในประเทศราชต้องอยู่ภายใต้การยินยอมหรือแม้แต่การแต่งตั้งจากส่วนกลางอย่างค่อนข้างเด็ดขาดในหัวเมืองต่างๆ

บางกอกกลายเป็นศูนย์การค้าสำคัญของการค้าในทะเลจีนตอนใต้ แม้บทบาทของการค้าส่งผ่าน (entrepot trade) จะลดความสำคัญลง แต่บางกอกก็เป็นแหล่งรับซื้อสินค้าจากจีนอยู่ไม่น้อย (เพราะเป็นศูนย์ที่กระจายสินค้าเข้าสู่ส่วนในของแผ่นดิน) ในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งส่งออกสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการในตลาดจีนที่สำคัญด้วย เช่น น้ำตาล, ของป่า, เครื่องสำเภา, พริกไทย, และข้าวปริมาณไม่สู้มากนัก เป็นต้น

แม้ว่าของป่ายังเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าออก แต่จำนวนของสินค้าที่ต้องผ่านการผลิตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ที่เป็นไปได้เช่นนี้ก็เพราะการอพยพเข้าของชาวจีนจำนวนมากอย่างรวดเร็ว กลายเป็นแรงงานในสังคมที่ไม่มีแรงงานเสรี และริเริ่มธุรกิจขึ้นหลายอย่างในสังคมที่ขาดผู้บริหารทางธุรกิจ

นอกจากนี้ชาวจีนยังเริ่มกระจายไปตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขายในหัวเมืองใหญ่ ทั้งที่เป็นเมืองท่า หรือเป็นแหล่งชุมนุมประชากรหนาแน่น ทั้งเพื่อค้าขายในการค้าทางทะเลและผลิตเหล้าหรือสัมปทานบ่อนการพนัน เป็นแรงงานในทำเลที่มีการลงทุนทำเหมือง ในขณะเดียวกันก็ซอกซอนทะลุทะลวงนำเอาตลาดเข้าไปในชนบทห่างไกลบางกอกมากขึ้นเรื่อยมา ฉะนั้นในขณะที่รัฐบาลขยายทางการเมืองของตนออกไปยังหัวเมือง คนจีนก็ได้สร้างตลาดที่มีเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้นไปพร้อมกัน อย่างน้อยก็ในภาคกลางและชายฝั่งภาคใต้ซึ่งการคมนาคมสะดวก

ขุนนางและเจ้านายเข้ามาหาผลประโยชน์จากการค้าอย่างมาก ทั้งเป็นเจ้าของสำเภาเอง, ร่วมทุนกับพ่อค้าจีน, หรือขูดรีดการผลิตสินค้าของจีน การผูกขาดการค้าที่ให้กำไรดีอันเป็นนโยบายของรัฐไทยมาแต่โบราณจึงไม่ค่อยมีประโยชน์แก่คลังหลวงนัก

ฉะนั้น ในความเป็นจริงแล้วนโยบายผูกขาดการค้าของรัฐบาลไทย ไม่อำนวยประโยชน์ที่แท้จริงมานานแล้วก่อนถูกยกเลิกไปในสนธิสัญญาเบาว์ริง เช่นเดียวกับระบบไพร่และทาส ก็เริ่มไม่เหมาะกับการใช้เป็นแรงงานในการผลิตทางเศรษฐกิจซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้นตามลำดับ

การขยายอำนาจของส่วนกลางออกไป เป็นโอกาสให้กลุ่มตระกูลที่ได้ครองหัวเมืองใหญ่ขยายอิทธิพลและผลประโยชน์ของตนเช่นกัน เพราะหัวเมืองใหญ่เป็นตัวแทนในการเรียกเก็บ "ส่วย" (แรงงานและสินค้า) จากเมืองที่ขึ้นกับตัวส่งให้บางกอก ฉะนั้นจึงผลักดันให้เจ้าเมืองพากันไปจัดตั้งชุมชนต่างๆ ขึ้นเป็นเมือง แล้วขอให้บางกอกยอมรับว่าเป็นเมืองขึ้นของตน โดยเฉพาะในดินแดนชายขอบ เช่น ในอีสานหรือรัฐมลายู ผลก็คือยิ่งทำให้การขยายอำนาจของส่วนกลางเป็นไปในแนวลึกมากขึ้น (อย่างน้อยก็ในนาม nominally)

ฉะนั้นในช่วงสมัยนี้จึงจะพบว่ามีความขัดแย้งระหว่างหัวเมืองใหญ่อยู่เสมอ เช่น ระหว่างสงขลากับนครศรีธรรมราช, ระหว่างโคราชกับเวียงจัน เป็นต้น บางครั้งถึงกับก่อให้เกิดศึกสงครามที่บางกอกอาจมองว่าเป็นการกบฏ ในขณะเดียวกันการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าเมือง จากเมืองที่ขึ้นกับตัวก็อาจทำอย่างรุนแรงเสียจนเจ้าเมืองในประเทศราชหรือดินแดนที่เปิดใหม่เหล่านั้นไม่พอใจจนแข็งเมืองขึ้นจริงๆ ด้วย

ในส่วนประชากรทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วยังอยู่ในเศรษฐกิจยังชีพ ถึงมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและแรงงานก็ยังทำในระบบเศรษฐกิจยังชีพ จึงไม่เป็นตลาดใหญ่สำหรับการค้ามากนัก

อย่างไรก็ตาม การค้าที่ขยายตัวมากขึ้นก็กระทบต่อประชากรบางส่วน โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมซึ่งเชื่อมโยงกับเมืองท่าขนาดใหญ่ พันธะที่มีต่อรัฐคือถูกเกณฑ์แรงงานไปใช้โดยตรงหรือเก็บส่วยส่ง และถูกเกณฑ์ไปรบในช่วงสมัยนี้ซึ่งเป็นยุคสมัยของสงครามและการปราบปรามบ่อยครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

รัฐที่เกิดจากศูนย์กลางทั้ง 3 นี้ ซึ่งยังคงเป็นรัฐจารีต แต่เป็นรัฐด่านหน้าที่ต้องเผชิญกับจักรวรรดินิยมตะวันตกในหลัง พ.ศ.2300 อำนาจที่มีอยู่เดิมถูกแทนที่-โดยตรงหรืออ้อม-ด้วยระบบอาณานิคมซึ่งตะวันตกสร้างขึ้น ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นแกนกลางของการรวมตัวกันขึ้นเป็นรัฐชาติในเวลาต่อมา




บทความ

คำฉันท์ (๘)
คำฉันท์ (๗)
คำฉันท์ (๖)
คำฉันท์ (5)
คำฉันท์ (4)
คำฉันท์ (3)
คำฉันท์ (2)
ชื่อวรรณคดีที่ควรรู้จัก (เพิ่มเติม)
คำฉันท์ (1)
ฉากรบใน “ดาหลัง”
กลอนคนฝรั่งเขียน
กลอนบรรยายเมืองสิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ 2466
ท้องถิ่นกับอาเซียน...จุดเชื่อมที่ยังต้องค้นหา
วันภาษาไทย? บางปัญหาที่น่าแลกเปลี่ยนทัศนะ
กลอนไหว้ครูโนห์ราชาตรี
ข้อเสียของวิชาประวัติศาสตร์
จากระบบบรรณาการถึงการปกครองแบบพิเศษในปะตานี
พระราชนิพนธ์แปลสามเรื่อง
การส่งเสริมและข้อจำกัดของวรรณกรรมมุสลิม
สุนทรคึก เขียนถึง สุนทรภู่ (1) ตามรอยคึกฤทธิ์
กลอนคนฝรั่งเขียน
50 ปีสมาคมนักกลอนฯ กับการก้าวสู่เวทีสากล
สารลึบพะสูน: วรรณคดีลุ่มน้ำโขงที่ไม่โปร่งใส
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
สุภาษิตโบราณ
ง่ายและงามอย่างลาว
การเมืองในกวีของ “คุณพุ่ม”
ตำนานการสร้างโลกของชาวจ้วง
เวียงจัน 450 ปี
วันภาษาไทยฯ ที่ราชภัฏมหาสารคาม
แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย
ย้อนรอยวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
นครปฐมและพระปฐมเจดีย์ในวรรณคดีนิราศ
ตามรอยภาษาศาสตร์ภาษากะเหรี่ยงบ้านไร่
ชาตินิยมสยาม และชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทเขาพระวิหารมรดกโลก
จัดอันดับความนิยมของบทความในเว็บสมาคมฯ
ตำนานนิทานพื้นบ้าน กำเนิดแม่น้ำโขง "ยักษ์สะลึคึ"
เอกสารวิชาการ ร่องรอยกาลเวลา หัวข้อ "ศิลปะ เพลง ดนตรี กวี" วังสะพุง, เลย
มุทิตาบูชาครูวันสุนทรภู่ที่ราชภัฏมหาสารคาม
สัมพันธ์ไทย – จีน (จ้วง) เครือญาติชาติภาษา
ตามล่าหารัก
แม่น้ำโขง โลกร้อน หรือเพราะจีนปิดเขื่อนกั้นน้ำ
The Ides of March และ “โภชนสติ” จาก ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์ (๒) article
200 ปี เอบราแฮม ลิงคอล์น: “บ้านที่แตกแยกกันเอง ไม่อาจตั้งอยู่ได้”
มองรูป-เสียงกลอน (ว่าด้วยเสียงตรี วรรค ๒) ผ่าน อังคาร กัลยาณพงศ์
ที่เรียกว่า วัฒนธรรม และคำว่า ภาษา
ของ-โขง จิตวิญญาณแห่งสายน้ำ
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
ประชาภิวัฒน์(ไทยกับอาเซียน)
วันสารทไทย
สุนทรภู่-ครูมีแขก จากโซนาต้าถึงเพลงทยอยเดี่ยว
สังคม"ทันสมัย" แต่ไร้สมอง
มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ
บรูซแกสตันไว้อาลัยละมูล
รากเหง้าความศักดิ์สิทธิ์ของกวีนิพนธ์ไทย
บทสัมภาษณ์ กวีรากหญ้า
ความเชื่อ
ทำไม
ร่องรอยกาลเวลา
โขงนที เพลงกวี ดนตรีชีวิต
ประชาชนในชาตินิยม
รักสามเศร้า ที่แหลมมลายู
ความหมายทางวัฒนธรรม
เที่ยว 9 วัดศักดิ์สิทธิ์ ไหว้พระทำบุญปีใหม่ สไตล์ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"
ปาฐกถาช่างวรรณกรรม
รัฐบุรุษ
หนึ่งคนสองวัฒนธรรม
สุนทรภู่ ต่อต้านสงครามล่าเมืองขึ้น
วัฒนธรรม เปลี่ยน...ซีไรต์ก็เปลี่ยน
สยามเมืองยิ้ม
ปราสาทเขาพระวิหาร
เสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ของสุนทรภู่
ตะเกียงเจ้าพายุ
ต้นแบบ"กลอนสุนทรภู่"
สุนทรภู่ "ความรู้ใหม่" โยงใย "ความรู้เก่า"
จากร้อยกรอง สู่บทกวีมีทำนอง
รามายณะ (รามเกียรติ์) เล่าใหม่
พายุนาร์กีสหรืออคติในใจไทยที่ทำร้ายคนพม่า?
เห่ช้าพญาหงส์
การเทครัวในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์
เมืองร้อยเอ็ดประตู
พล นิกร กิมหงวน
ภูมิประเทศอีสาน ไม่มีในประวัติศาสตร์ไทย
มิตาเกะ
เค้าขวัญวรรณกรรม
เรือพระราชพิธี
The Secret
โลกดนตรี
ลมปากที่ไร้มารยา
คำกวี เส้น สี และแสงเงา
ยิ่งกระจะยิ่งกระจ่างอยู่กลางใจ
วรรคทอง
การะเกด
ในวรรณคดีมีกลอน (หรือ) เปล่า...?
ในวรรณคดีก็มีกลอนเปล่า
โล้ชิงช้า ประเพณีประดิษฐ์ใหม่ของพราหมณ์สยาม
เพลงลูกทุ่งมาจากไหน?
สนุกเล่นแต่เป็นจริง



bulletผลร้อยกรองออนไลน์ 2558
dot
ประกวดร้อยกรองออนไลน์ครั้งที่ 7
dot
bulletข้อมูลการประกวดครั้งที่ 7, 2557
bulletผังร้อยกรอง
bulletอ่านโคลงประกวด 2557
bulletอ่านกลอนประกวด 2557
bulletอ่านกาพย์ยานีประกวด 2557
bulletผลการประกวดร้อยกรอง ปี 2557
dot
ข่าวสาร ข้อมูลสมาคม
dot
bulletกรรมการสมาคมสมัยที่ ๑๕-๑๖
bulletนายกสมาคมสมัยที่ ๑๗
bulletติดต่อนายกสมาคมนักกลอน
bulletติดต่อฝ่ายดูแลส่วนต่างๆ
bulletสมัครสมาชิกสมาคมนักกลอน
bulletนักกลอนตัวอย่าง ๒๕๕๓
dot
หัวข้อน่าสนใจ
dot
bulletรวมลิ้งค์เว็บไซต์น่าสนใจ
bulletส่งบทสักวา น.ส.พ. สยามรัฐ
bulletวารสารวิทยาจารย์ รับต้นฉบับ
bulletส่งข้อเขียนครูในดวงใจ
dot
แนะนำหนังสือ
dot
bulletหน้ารวมหนังสือ
bulletคู่มือเรียนเขียนกลอน
bulletกาสรคำฉันท์ - สมคิด สิงสง
bulletหนังสือสุรินทร์สโมสร
bulletฝากโลกนี้ไว้ในหัวใจเธอ - กอนกูย
bulletเลือน - อติภพ
bulletธาร ธรรมโฆษณ์
bulletนายทิวา
bulletกลอนเกียรติยศ
bulletอ้อมกอดแห่งท้องทุ่ง
bulletทองแถม นาถจำนง
bulletพงศาวดารพิภพ
bulletโป๊ยเซียน คะนองฤทธิ์
dot
โครงการประกวดต่างๆ
dot
bulletนายอินทร์อะวอร์ด ๒๕๕๖
bulletประกวดรางวัลซีไรท์ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลพานแว่นฟ้า ปี ๒๕๕๖
bulletรางวัลวรรณกรรมรามคำแหง ๒๕๕๖
dot
ผลตัดสินรางวัลต่างๆ
dot
bulletรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletผลรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๗
bulletผลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ๒๕๕๗
bulletผลรางวัลแว่นแก้ว ๗ (๒๕๕๓)
bulletผลกลอนวิถีคนกับควาย
bulletผลร้อยกรอง “ผมจะเป็นคนดี”
bulletรางวัลนราธิป ๒๕๕๓
bulletนักเขียนอมตะ คนที่ ๖ (๒๕๕๕)
bulletนักเขียนรางวัลศรีบูรพา ๒๕๕๖
bulletศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๕๔
bulletผลรางวัลพานแว่นฟ้า ๒๕๕๕
bulletผลรางวัลรามคำแหง ๒๕๕๖
bulletศิลปินแห่งชาติ ๒๕๕๕
bulletผลประกวดหนังสือ ชีวิตใหม่ 2
dot
ข่าวคราวของลมหายใจ
dot
dot
Weblink
dot
bulletอ่านกลอนประกวด 2556

หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย มศว
เว็บรวมกระทู้ อาศรมชาวโคลง ใน pantip.com
หนังสืออีศาน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
ติดต่อ นายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ทองแถม นาถจำนง
โทรศัพท์ ๐๘๙-๑๒๓๔๗๕๔ อีเมล์ tongtham.n@hotmail.com

สำนักพิมพ์แม่โพสพ